ผักสีเขียวที่หลายคนกินได้ชิล ๆ อย่างบรอกโคลี นอกจากจะเป็นผักที่อร่อยแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกนานัปการเลย
บรอกโคลีเป็นผักอีกชนิดที่เราจะเจอได้ในเมนูอาหารหลากหลายอย่าง และบรอกโคลียังเป็นผักที่มีรสชาติอร่อย ให้พลังงานน้อย เราจึงจะเห็นว่าในอาหารลดน้ำหนักจะมีบรอกโคลีเป็นหนึ่งในผักเคียงเสมอ แล้วบรอกโคลีที่มีจะประโยชน์อื่น ๆ ยังไงบ้าง สายเขียวที่ชอบกินบรอกโคลี มารู้จักบรอกโคลี ให้มากขึ้นกันดีกว่า
บรอกโคลี กับที่มา
บรอกโคลี (Broccoli) เป็นผักที่มีต้นกำเนิดอยู่ที่ตอนใต้ของยุโรป แถว ๆ ประเทศอิตาลี บรอกโคลีเป็นผักในตระกูล Cruciferae ตระกูลเดียวกับกะหล่ำ ส่วนชื่อทางวิทยาศาสตร์ของบรอกโคลีคือ Brassica oleracea var. italica สำหรับในประเทศไทย พื้นที่ที่ปลูกบรอกโคลีมากที่สุดคือจังหวัดเพชรบูรณ์ กาญจนบุรี และกรุงเทพมหานคร
บรอกโคลี คุณค่าทางโภชนาการมีอะไรบ้าง
ข้อมูลจากกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แสดงคุณค่าทางโภชนาการของบรอกโคลีสด ปริมาณ 100 กรัม ดังนี้
- พลังงาน 33 กิโลแคลอรี
- น้ำ 91.2 กรัม
- โปรตีน 2.7 กรัม
- ไขมัน 0.3 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 4.9 กรัม
- ไฟเบอร์ 1.3 กรัม
- เถ้า 0.9 กรัม
- แคลเซียม 10 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 44 มิลลิกรัม
- เหล็ก 1.2 มิลลิกรัม
- วิตามินเอ 292 ไมโครกรัม
- ไทอะมีน 0.05 มิลลิกรัม
- ไรโบฟลาวิน 0.23 มิลลิกรัม
- ไนอะซิน 2.8 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 183 มิลลิกรัม
บรอกโคลี ประโยชน์ดี ๆ ที่อยากบอกต่อ
สรรพคุณของบรอกโคลีจะดีต่อสุขภาพยังไงบ้าง เราลองมาดูกัน
1. สารต้านอนุมูลอิสระสูง
ในบรอกโคลีมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่หลายชนิดด้วยกัน และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหลัก ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้จะช่วยลดการเสื่อมของเซลล์ และช่วยลดการอักเสบในร่างกาย
2. ช่วยระบบขับถ่าย
ขึ้นชื่อว่าผักก็ย่อมต้องมีกากใยอาหาร ที่มีส่วนสำคัญในการทำงานของลำไส้ ช่วยในการขับถ่าย แก้ปัญหาท้องผูก ถ่ายยาก ลองกินบรอกโคลีเข้าไปปัญหาเหล่านี้ก็จะคลี่คลายไปในทางที่ดี
สารบำรุงสายตาอย่างลูทีนและซีแซนทีนก็มีอยู่ในบรอกโคลีค่อนข้างสูง ดังนั้นใครอยากมีสายตาแจ่มใส แข็งแรง ลดความเสี่ยงโรคตาต่าง ๆ และกำลังมองหาอาหารบำรุงสายตาไปในตัว จัดบรอกโคลีเพิ่มไปในมื้ออาหารได้เลย
4. ช่วยให้ดูเด็ก
ทั้งสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินซีที่มีอยู่ในบรอกโคลี ก็ช่วยการันตีได้ว่ากินบรอกโคลีเข้าไปแล้วจะได้สารบำรุงเซลล์ บำรุงผิวให้ดูอ่อนกว่าวัย อีกทั้งไฟเบอร์ในบรอกโคลียังช่วยในการขับถ่าย กำจัดของเสียออกจากร่างกาย เพิ่มความผ่องใสให้ผิวพรรณ
5. บำรุงกระดูก และฟัน
แคลเซียม วิตามินซี และวิตามินเคในบรอกโคลีมีส่วนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน อีกทั้งสารอาหารอื่น ๆ ในบรอกโคลี เช่น วิตามินเอ ฟอสฟอรัส และสังกะสี ยังเป็นสารอาหารสำคัญของกระดูกด้วยนะ
6. ดีต่อแม่ท้อง
บรอกโคลีเป็นผักที่มีสารอาหารค่อนข้างสูง โดยเฉพาะสารโฟเลต ที่ดีต่อผู้หญิงตั้งครรภ์ เพราะเป็นสารที่ช่วยพัฒนาการเจริญเติบโตของสมองและเส้นประสาท ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ควรกินบรอกโคลีเป็นประจำเพื่อเสริมโฟเลตให้ร่างกาย
7. ขับสารพิษ
นายแพทย์บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล คณบดีวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เผยว่า สารซัลเฟอร์ราเฟน (Sulforaphane) ที่มีอยู่มากในบรอกโคลีมีส่วนช่วยให้ตับและเซลล์เยื่อบุสลายสารพิษได้ดีขึ้น โดยสารดังกล่าวจะช่วยเปลี่ยนสารละลายไขมันให้ละลายน้ำ แล้วขับออกทางน้ำดีและปัสสาวะ ดังนั้นหากอยากขับสารพิษในร่างกาย แนะนำให้กินบรอกโคลีเพิ่มเข้าไป อ้อ ! แต่สารซัลเฟอร์ราเฟน (Sulforaphane) จะอยู่ในบรอกโคลีสดเท่านั้น เพราะผ่านความร้อนแล้วสารตัวนี้จะหายไป ฉะนั้นควรกินแบบน้ำบรอกโคลีสดจะดีกว่า
8. ป้องกันแสง UV และโรคมะเร็งผิวหนัง
นายแพทย์บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล คณบดีวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เผยว่า สารซัลเฟอร์ราเฟน (Sulforaphane) ที่มีอยู่มากในบรอกโคลีมีส่วนช่วยให้ตับและเซลล์เยื่อบุสลายสารพิษได้ดีขึ้น โดยสารดังกล่าวจะช่วยเปลี่ยนสารละลายไขมันให้ละลายน้ำ แล้วขับออกทางน้ำดีและปัสสาวะ ดังนั้นหากอยากขับสารพิษในร่างกาย แนะนำให้กินบรอกโคลีเพิ่มเข้าไป อ้อ ! แต่สารซัลเฟอร์ราเฟน (Sulforaphane) จะอยู่ในบรอกโคลีสดเท่านั้น เพราะผ่านความร้อนแล้วสารตัวนี้จะหายไป ฉะนั้นควรกินแบบน้ำบรอกโคลีสดจะดีกว่า
8. ป้องกันแสง UV และโรคมะเร็งผิวหนัง
ดร.พอล ทาลาเลย์ จากมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ ได้ศึกษาการใช้สารสกัดจากเมล็ดบรอกโคลีกับการรักษาผิวที่แดงจากรังสี UV ซึ่งจากการทดลองพบว่า สารซัลเฟอร์ราเฟน (Sulforaphane) ในเมล็ดบรอกโคลีสามารถลดความแดงของผิวได้ดีกว่าผิวที่ไม่ได้ทาสารสกัดจากบรอกโคลีมากถึง 1 ใน 3 โดยสารสกัดจากบรอกโคลีจะช่วยให้เซลล์ผิวต่อสู้กับผลกระทบจากรังสี UV ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า สารสกัดจากเมล็ดบรอกโคลีสามารถป้องกันผิวจากรังสี UV ได้ โดยเฉพาะในคนที่เป็นโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งผิวหนังด้วย
ข้อมูลจาก Department of Internal Medicine and Nutritional Sciences Program of the University of Kentucky เผยว่า ไฟเบอร์ในบรอกโคลีก็มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารได้ หากกินบรอกโคลีและอาหารที่มีกากใยสูงเป็นประจำ
10. บรรเทาอาการปอดอักเสบ
งานวิจัยชิ้นเล็ก ๆ ที่ Healthline ได้นำเสนอ รายงานผลการศึกษาจากผู้ที่สูบบุหรี่จัด ๆ ว่า การกินบรอกโคลีให้มากขึ้นมีส่วนช่วยลดภาวะปอดเป็นจุด หรือภาวะปอดอักเสบในคนที่สูบบุหรี่ได้ แต่ทั้งนี้คงต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต
11. ลดน้ำตาลในเลือด
การศึกษาจากศูนย์โรคเบาหวาน มหาวิทยาลัยลุนด์ ประเทสสวีเดน พบว่า ในบรอกโคลีมีสารซัลเฟอร์ราเฟน (Sulforaphane) ที่ช่วยลดน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 และในโรคอ้วนได้ อ้างอิงจากการวิจัยในคนหลาย ๆ ครั้ง แต่อย่างไรก็ดี ยังคงต้องมีการวิจัยในขั้นลึก ๆ ขึ้นไป เผื่อหาทางสกัดสารซัลเฟอร์ราเฟน (Sulforaphane) จากบรอกโคลีออกมาในรูปแบบยาหรืออาหารเสริม เนื่องจากหากหวังผลในการกินบรอกโคลีเพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด จำเป็นต้องกินบรอกโคลีมากถึง 5 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งในทางปฏิบัติคงทำได้ยาก
12. บำรุงหัวใจ
การศึกษาชิ้นหนึ่งเผยว่า การกินผงสกัดจากหน่อบรอกโคลีมีส่วนช่วยลดระดับไขมันไม่ดี อย่าง ไขมัน LDL และไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ ทั้งยังช่วยเพิ่มระดับไขมันดีในร่างกายได้อย่างมีนัยสำคัญ ส่วนอีกหนึ่งการทดลองเชื่อว่า สารต้านอนุมูลอิสระชนิดที่มีอยู่ในบรอกโคลี มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจไปพร้อม ๆ กัน
13. ชะลอการเกิดโรคทางจิตเวช และช่วยบำรุงการทำงานของสมอง
การศึกษาที่ทดลองกับผู้สูงอายุจำนวน 960 คน เผยว่า การกินผักสีเขียวเข้ม 1 มื้อเป็นประจำ มีส่วนช่วยชะลอการเกิดโรคจิตเวชที่มักจะมาพร้อมกับวัยได้ นอกจากนี้สารซัลเฟอร์ราเฟน (Sulforaphane) ในบรอกโคลียังมีส่วนช่วยบำรุงการทำงานของเซลล์สมอง ลดโอกาสเกิดภาวะสโตรก (Stroke) ได้ด้วย
14. ป้องกันมะเร็ง
สารซัลเฟอร์ราเฟน (Sulforaphane) ในบรอกโคลีไม่ได้มีดีแค่ช่วยลดน้ำตาลในเลือดเท่านั้น แต่จากการศึกษายังพบว่าเจ้าสารตัวนี้มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ โดยเฉพาะโรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด และมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยสารซัลเฟอร์ราเฟน (Sulforaphane) จะเข้าไปยับยั้งเอนไซม์ HDAC (Histone deacetylase) เอนไซม์ที่มีส่วนในการพัฒนาเซลล์มะเร็งร้าย ให้หยุดการทำงาน ลดความเสี่ยงเซลล์มะเร็งลุกลามในร่างกาย
นอกจากนี้สารซัลเฟอร์ราเฟน (Sulforaphane) ยังช่วยจัดการแบคทีเรีย H. Pylori อันเป็นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหาร ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ด้วย
โทษของบรอกโคลี กินทุกวันจะเป็นอะไรไหม
แม้บรอกโคลีจะเป็นผักที่มีสารอาหารสูง แต่ก็มีข้อควรระวังในการกินบรอกโคลีอยู่เหมือนกัน ดังนี้
- คนที่กินยาเจือจางเลือด (Blood thinners)
บรอกโคลีมีวิตามินเคค่อนข้างสูง ซึ่งจะช่วยเสริมให้เลือดไหลเวียนได้ดี แต่หากกินยาเจือจางเลือดอยู่แล้ว บรอกโคลีอาจเข้าไปเสริมฤทธิ์ยาเกินความจำเป็นได้ ดังนั้นทางที่ดีควรกินบรอกโคลีแต่น้อย เพื่อคงระดับวิตามินเคในเลือด
- คนที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวน
บรอกโคลีเป็นผักที่เพิ่มแก๊สในกระเพาะอาหารได้ ดังนั้นหากเป็นโรคลำไส้แปรปรวนควรหลีกเลี่ยงการกินบรอกโคลี รวมไปถึงผักประเภทเดียวกับกะหล่ำด้วย
เนื่องจากบรอกโคลีมีฟอสฟอรัสค่อนข้างสูง ซึ่งไม่ดีต่อคนเป็นโรคไต ดังนั้นพยายามหลีกเลี่ยงบรอกโคลีไว้จะดีกว่า
หากไม่ได้มีข้อจำกัดอย่างที่บอกไว้ ก็สามารถกินบรอกโคลีทุกวันได้ แต่ทั้งนี้ก็ควรกินบรอกโคลีอย่างเหมาะสม เพราะอะไรมากไปก็ไม่ดีหรอกเนอะ
บรอกโคลี เมนูอะไรก็ดีไปหมด
- 10 เมนูจากบรอกโคลี สูตรเฮลธ์ตี้อร่อยถูกใจคนไม่กินผัก
ใครที่ไม่ชอบกินบรอกโคลีเลย ได้อ่านประโยชน์ของบรอกโคลีไปแล้ว รู้สึกอยากเปลี่ยนใจบ้างไหมล่ะเนี่ย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, medicalnewstoday, healthline, webmd