ช่วงนี้ถ้ามีความรู้สึกหวาดระแวงไปกับทุกสิ่งรอบ ๆ กาย ลองเช็กดูหน่อยว่าเราแค่คิดมากไป หรือมีอาการพารานอยด์แบบจริงจัง
ตั้งแต่มีการระบาดของโรค COVID-19 (โควิด 19) ก็เริ่มระแวงหน่อย ๆ แล้วว่าแต่ละวันที่ตื่นมา เราจะมีอาการป่วยไหม นี่ฉันติด COVID-19 ไปหรือยัง และความหวาดระแวงที่เกิดขึ้นนี้แหละค่ะที่ทำให้เกิดอาการนอยด์แบบหน่วง ๆ ตลอดช่วงที่ผ่านมา อ๊ะ ! ...นี่เรานอยด์จริง ๆ หรือแค่ระแวงเกินเหตุไปเท่านั้น มาเช็กดีกว่า
นอยด์ ย่อมาจากพารานอยด์ ที่ไม่ใช่การนอยด์แบบธรรมดา
เราอาจจะคุ้นกับคำว่านอยด์ ที่เข้าใจกันไปว่าเป็นอาการที่แสดงออกถึงความไม่โอเคในบางสิ่ง ค่อนไปทางจิตตกหน่อย ๆ คิดมาก และมักจะคิดไปในทางลบ แต่จริง ๆ แล้วความหมายของนอยด์ ที่ย่อมาจากคำว่าพารานอยด์ บิดเบือนไปไกลเลยทีเดียว
โดยพารานอยด์ (Paranoid) คือ อาการหวาดระแวงและความรู้สึกกลัวที่มีมากจนเกินไป โดยอาการพารานอยด์อาจจะเกิดตั้งแต่ระดับน้อย ๆ ไปจนถึงขั้นรุนแรง และอาจนำไปสู่อาการจิตหลงผิด ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง เช่น คิดว่าตนเองจะถูกทำร้าย ถูกฆ่า
- โรคจิตหลงผิด ชอบหวาดระแวง-เชื่ออะไรแปลก ๆ อาการนี้ต้องรักษา
ทั้งนี้ ดร.ดาเนียล ฟรีแมน นักจิตวิทยา มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และผู้เขียนหนังสือ Paranoia : The 21st Century Fear ได้แบ่งอาการพารานอยด์ออกเป็น 2 แบบ คือ
1. Non-Clinical
คือความหวาดระแวงที่พบได้ในชีวิตประจำวัน หรือความระมัดระวังตัว ซึ่งสิ่งที่เป็นนี้จะไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคในการใช้ชีวิตมากนัก โดยอาจจะมีอาการ ดังนี้
- วิตกกังวลมากกว่าคนทั่วไป
- มีความรู้สึกไม่ไว้ใจใครง่าย ๆ
- ระแวงว่าคนอื่นจะไม่เป็นมิตรกับเรา และอาจจะหวาดกลัวภัยอันตรายที่อยู่ใกล้ตัวเรา
- รู้สึกเหมือนโดนจับผิดมากกว่าคนอื่น ๆ
2. Clinical
อาการพารานอยด์แบบนี้จะมีอาการที่เข้าขั้นโรคทางจิตเวช กล่าวคือ ความรู้สึกนึกคิดมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น
- คิดไปเองว่าจะมีคนมาทำร้าย
- หูแว่ว
- มักจะแยกตัวจากผู้อื่น
- ไม่สามารถแยกแยะความเป็นจริงกับจินตนาการได้
- การใช้เหตุผลและความจำเสื่อมถอย
- หวาดระแวงเรื่องต่าง ๆ โดยไม่อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง
เช่น มุดไปนอนใต้โต๊ะเพราะกลัวแผ่นดินไหว ทั้งที่ไม่มีสัญญาณแผ่นดินไหวใด ๆ เกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม อาการพารานอยด์ในกลุ่มแรก หรือกลุ่ม Non-Clinical มักจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อเราต้องปรับตัวต่อสถานการณ์ที่อาจเป็นอันตรายต่อตัวเราเอง ซึ่งถ้ามองอีกแง่หนึ่งก็เป็นสิ่งที่ดี ที่น่าจะช่วยลดความเสี่ยงต่าง ๆ ได้มากกว่าการไม่ระวังอะไรเลย
แต่ทั้งนี้หากมีอาการระแวงมากเกินไป จนส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวัน นอนไม่หลับ เครียดมาก ชีวิตไร้ซึ่งพลังบวกต่าง ๆ อาจต้องปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาสักหน่อยนะคะ
- รวมศูนย์ปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต เครียด กังวลใจ พบจิตแพทย์ที่ไหนดี
นอยด์มากเกินไป แก้ยังไงดี
บางคนอาจจะรู้สึกเบื่อตัวเองที่พารานอยด์เก่ง ระแวงสิ่งนั้น กลัวสิ่งนี้ได้ตลอด เอางี้ค่ะ เรามีวิธีแก้นอยด์มาฝาก
* จัดการสิ่งที่ค้างคาใจ
ถ้าสิ่งที่เราวิตกกังวล มีทางออกที่พอทำได้ เราก็ควรจัดการทำสิ่งนั้นให้เสร็จสิ้นไป จะได้ไม่ค้างคาใจจนต้องมาพารานอยด์อีก เช่น หากกังวลว่าจะป่วยไหม จะติดโรค COVID-19 จากใครหรือเปล่า เราก็ลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในทุกกรณี และดูแลตัวเองให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือหากไม่อยากออกจากบ้านบ่อย ๆ เพราะกลัวโรค ก็ไปเตรียมซื้อสินค้า ของแห้ง อาหารแห้ง เก็บไว้บ้าง เพื่อความสบายใจ
* ปล่อยวางบ้าง
ในสิ่งที่เกินความควบคุมของเรา ไม่ว่าจะด้านไหน พยายามปล่อยวางให้ได้จะดีที่สุด เพราะกังวลไปก็ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น
* ไม่เชื่อใจใคร แต่ต้องเชื่อใจตัวเอง
หากระแวงคนรอบตัวจนบางทีก็รู้สึกรำคาญตัวเอง งั้นลองโฟกัสแค่ตัวเราดูไหม แม้คนอื่น ๆ จะดูไม่น่าไว้ใจ ไม่น่าเข้าใกล้ด้วยเหตุผลอื่นใดก็ตาม แต่หากเรารู้จักป้องกันตัวเอง หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้คนอื่น ๆ ได้ ก็น่าจะช่วยให้รู้สึกสบายใจขึ้น
- Social Distancing ต้องทำยังไงบ้าง
* อยู่กับตัวเองสักพัก
หลบหลีกความจอแจวุ่นวายที่เจอในแต่ละวัน มาหาเวลาอยู่คนเดียวสักพัก ให้เราได้เว้นระยะห่างจากความรู้สึกพารานอยด์ และใช้เวลานี้ทบทวนตัวเองอย่างเงียบ ๆ วิธีนี้อาจช่วยลดความนอยด์ที่มีได้ด้วย
นอยด์ ย่อมาจากพารานอยด์ ที่ไม่ใช่การนอยด์แบบธรรมดา
เราอาจจะคุ้นกับคำว่านอยด์ ที่เข้าใจกันไปว่าเป็นอาการที่แสดงออกถึงความไม่โอเคในบางสิ่ง ค่อนไปทางจิตตกหน่อย ๆ คิดมาก และมักจะคิดไปในทางลบ แต่จริง ๆ แล้วความหมายของนอยด์ ที่ย่อมาจากคำว่าพารานอยด์ บิดเบือนไปไกลเลยทีเดียว
โดยพารานอยด์ (Paranoid) คือ อาการหวาดระแวงและความรู้สึกกลัวที่มีมากจนเกินไป โดยอาการพารานอยด์อาจจะเกิดตั้งแต่ระดับน้อย ๆ ไปจนถึงขั้นรุนแรง และอาจนำไปสู่อาการจิตหลงผิด ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง เช่น คิดว่าตนเองจะถูกทำร้าย ถูกฆ่า
- โรคจิตหลงผิด ชอบหวาดระแวง-เชื่ออะไรแปลก ๆ อาการนี้ต้องรักษา
ทั้งนี้ ดร.ดาเนียล ฟรีแมน นักจิตวิทยา มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และผู้เขียนหนังสือ Paranoia : The 21st Century Fear ได้แบ่งอาการพารานอยด์ออกเป็น 2 แบบ คือ
1. Non-Clinical
คือความหวาดระแวงที่พบได้ในชีวิตประจำวัน หรือความระมัดระวังตัว ซึ่งสิ่งที่เป็นนี้จะไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคในการใช้ชีวิตมากนัก โดยอาจจะมีอาการ ดังนี้
- วิตกกังวลมากกว่าคนทั่วไป
- มีความรู้สึกไม่ไว้ใจใครง่าย ๆ
- ระแวงว่าคนอื่นจะไม่เป็นมิตรกับเรา และอาจจะหวาดกลัวภัยอันตรายที่อยู่ใกล้ตัวเรา
- รู้สึกเหมือนโดนจับผิดมากกว่าคนอื่น ๆ
2. Clinical
อาการพารานอยด์แบบนี้จะมีอาการที่เข้าขั้นโรคทางจิตเวช กล่าวคือ ความรู้สึกนึกคิดมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น
- คิดไปเองว่าจะมีคนมาทำร้าย
- หูแว่ว
- มักจะแยกตัวจากผู้อื่น
- ไม่สามารถแยกแยะความเป็นจริงกับจินตนาการได้
- การใช้เหตุผลและความจำเสื่อมถอย
- หวาดระแวงเรื่องต่าง ๆ โดยไม่อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง
เช่น มุดไปนอนใต้โต๊ะเพราะกลัวแผ่นดินไหว ทั้งที่ไม่มีสัญญาณแผ่นดินไหวใด ๆ เกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม อาการพารานอยด์ในกลุ่มแรก หรือกลุ่ม Non-Clinical มักจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อเราต้องปรับตัวต่อสถานการณ์ที่อาจเป็นอันตรายต่อตัวเราเอง ซึ่งถ้ามองอีกแง่หนึ่งก็เป็นสิ่งที่ดี ที่น่าจะช่วยลดความเสี่ยงต่าง ๆ ได้มากกว่าการไม่ระวังอะไรเลย
แต่ทั้งนี้หากมีอาการระแวงมากเกินไป จนส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวัน นอนไม่หลับ เครียดมาก ชีวิตไร้ซึ่งพลังบวกต่าง ๆ อาจต้องปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาสักหน่อยนะคะ
- รวมศูนย์ปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต เครียด กังวลใจ พบจิตแพทย์ที่ไหนดี
นอยด์มากเกินไป แก้ยังไงดี
บางคนอาจจะรู้สึกเบื่อตัวเองที่พารานอยด์เก่ง ระแวงสิ่งนั้น กลัวสิ่งนี้ได้ตลอด เอางี้ค่ะ เรามีวิธีแก้นอยด์มาฝาก
* จัดการสิ่งที่ค้างคาใจ
ถ้าสิ่งที่เราวิตกกังวล มีทางออกที่พอทำได้ เราก็ควรจัดการทำสิ่งนั้นให้เสร็จสิ้นไป จะได้ไม่ค้างคาใจจนต้องมาพารานอยด์อีก เช่น หากกังวลว่าจะป่วยไหม จะติดโรค COVID-19 จากใครหรือเปล่า เราก็ลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในทุกกรณี และดูแลตัวเองให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือหากไม่อยากออกจากบ้านบ่อย ๆ เพราะกลัวโรค ก็ไปเตรียมซื้อสินค้า ของแห้ง อาหารแห้ง เก็บไว้บ้าง เพื่อความสบายใจ
* ปล่อยวางบ้าง
ในสิ่งที่เกินความควบคุมของเรา ไม่ว่าจะด้านไหน พยายามปล่อยวางให้ได้จะดีที่สุด เพราะกังวลไปก็ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น
* ไม่เชื่อใจใคร แต่ต้องเชื่อใจตัวเอง
หากระแวงคนรอบตัวจนบางทีก็รู้สึกรำคาญตัวเอง งั้นลองโฟกัสแค่ตัวเราดูไหม แม้คนอื่น ๆ จะดูไม่น่าไว้ใจ ไม่น่าเข้าใกล้ด้วยเหตุผลอื่นใดก็ตาม แต่หากเรารู้จักป้องกันตัวเอง หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้คนอื่น ๆ ได้ ก็น่าจะช่วยให้รู้สึกสบายใจขึ้น
- Social Distancing ต้องทำยังไงบ้าง
* อยู่กับตัวเองสักพัก
หลบหลีกความจอแจวุ่นวายที่เจอในแต่ละวัน มาหาเวลาอยู่คนเดียวสักพัก ให้เราได้เว้นระยะห่างจากความรู้สึกพารานอยด์ และใช้เวลานี้ทบทวนตัวเองอย่างเงียบ ๆ วิธีนี้อาจช่วยลดความนอยด์ที่มีได้ด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก
เฟซบุ๊ก นิตยสารชีวจิต, webmd, ช่อง 3