อย่าเพิ่งตระหนกโรคขี้แมวขึ้นตาจนพาน้องเหมียวไปทิ้ง เพราะจริง ๆ โรคนี้เกิดไม่บ่อย และป้องกันไม่ยาก ถ้าไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงโรคนี้ก็ไม่รุนแรงถึงชีวิต
เหล่าทาสแมวที่ได้ยินข่าวผู้ป่วยติดเชื้อ Toxoplasma จากขี้แมว จนป่วยเป็นโรคขี้แมวขึ้นสมอง มีอาการตาแดง ป่วยคล้ายเป็นหวัด อาจจะรู้สึกกลัวขึ้นมาบ้างว่าเหมียว ๆ ในปกครองจะส่งต่อโรคให้เราไหม ดังนั้น เพื่อความสบายใจ และความปลอดภัยของทั้งน้องเหมียวและเหล่าทาส เรามาทำความรู้จักโรคขี้แมวขึ้นสมอง หรือโรคทอกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis) กันดีกว่า
โรคขี้แมวขึ้นสมอง เป็นโรคติดเชื้อปรสิตที่ชื่อว่า Toxoplasma gondii ซึ่งเชื้อนี้พบได้บ่อยในอุจจาระของแมว แต่นอกจากแมวแล้ว ยังพบเชื้อชนิดนี้ได้อีกในอุจจาระของแกะ แพะ สุกร รวมไปถึงสุนัข
โรคขี้แมวขึ้นสมอง ติดต่อกันได้ยังไง
การติดเชื้อ Toxoplasma gondii มักจะติดต่อผ่านการกินอาหารปนเปื้อนเชื้อ เช่น สัตว์ที่มีเชื้อจะปล่อยไข่ของเชื้อโปรโตชัวออกมาพร้อมอุจจาระ แล้วสัตว์อื่นมาเล็มหญ้า หรือกินอาหารใกล้ ๆ จุดที่มีอุจจาระปนเปื้อนเชื้อ หรืออาจจะติดจากการกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่มีเชื้ออยู่ อย่างแมวไปกินหนูติดเชื้อก็สามารถเป็นโรค Toxoplasmosis ได้
ส่วนในคน มักจะติดเชื้อตัวนี้จากอุจจาระของแมว โดยเฉพาะคนที่เก็บขี้แมวแล้วไม่ล้างมือ หรือจับสัตว์เลี้ยงแล้วไม่ค่อยล้างมือก่อนหยิบอาหารเข้าปาก หรือเกิดจากการที่แมวไปขับถ่ายลงดิน แล้วเรากินผักหรือเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนเชื้อตัวนี้อยู่ รวมไปถึงการถ่ายเลือด ปลูกถ่ายอวัยวะ หรือถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกผ่านทางรก
โรคขี้แมวขึ้นสมอง อันตรายแค่ไหน
ความรุนแรงของโรคนี้ต้องบอกว่าขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน โดยคนที่มีภูมิคุ้มกันปกติอาจไม่แสดงอาการอะไร หรืออาจมีอาการคล้ายไข้หวัด แต่คนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจมีอาการตั้งแต่ระยะเบา เช่น มีรอยโรคทางตา ตาแดง ทำให้เจ็บตา หรืออาการหนักก็อาจถึงขั้นชัก และเสียชีวิตได้
โรคขี้แมวขึ้นสมอง ใครเสี่ยงบ้าง
กลุ่มเสี่ยงที่ควรระวังโรคขี้แมวขึ้นสมอง ได้แก่
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยโรคเอดส์ เป็นต้น ซึ่งเสี่ยงที่เชื้อจะขึ้นสมอง และส่งผลให้ร่างกายแย่ลง จนอาจถึงแก่ชีวิต
- เด็กที่ระบบภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง
- หญิงมีครรภ์ โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรก เสี่ยงแท้ง หรือเด็กในครรภ์พิการแต่กำเนิด ซึ่งจะมีผลต่อการมองเห็นของเด็ก หรือเสี่ยงเกิดภาวะหัวบาตรหรือโรคน้ำคั่งในโพรงสมอง และภาวะสะสมแคลเซียมที่ผิดปกติในเนื้อสมอง
โรคขี้แมวขึ้นสมอง อาการเป็นอย่างไร
ส่วนในคน มักจะติดเชื้อตัวนี้จากอุจจาระของแมว โดยเฉพาะคนที่เก็บขี้แมวแล้วไม่ล้างมือ หรือจับสัตว์เลี้ยงแล้วไม่ค่อยล้างมือก่อนหยิบอาหารเข้าปาก หรือเกิดจากการที่แมวไปขับถ่ายลงดิน แล้วเรากินผักหรือเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนเชื้อตัวนี้อยู่ รวมไปถึงการถ่ายเลือด ปลูกถ่ายอวัยวะ หรือถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกผ่านทางรก
โรคขี้แมวขึ้นสมอง อันตรายแค่ไหน
ความรุนแรงของโรคนี้ต้องบอกว่าขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน โดยคนที่มีภูมิคุ้มกันปกติอาจไม่แสดงอาการอะไร หรืออาจมีอาการคล้ายไข้หวัด แต่คนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจมีอาการตั้งแต่ระยะเบา เช่น มีรอยโรคทางตา ตาแดง ทำให้เจ็บตา หรืออาการหนักก็อาจถึงขั้นชัก และเสียชีวิตได้
โรคขี้แมวขึ้นสมอง ใครเสี่ยงบ้าง
กลุ่มเสี่ยงที่ควรระวังโรคขี้แมวขึ้นสมอง ได้แก่
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยโรคเอดส์ เป็นต้น ซึ่งเสี่ยงที่เชื้อจะขึ้นสมอง และส่งผลให้ร่างกายแย่ลง จนอาจถึงแก่ชีวิต
- เด็กที่ระบบภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง
- หญิงมีครรภ์ โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรก เสี่ยงแท้ง หรือเด็กในครรภ์พิการแต่กำเนิด ซึ่งจะมีผลต่อการมองเห็นของเด็ก หรือเสี่ยงเกิดภาวะหัวบาตรหรือโรคน้ำคั่งในโพรงสมอง และภาวะสะสมแคลเซียมที่ผิดปกติในเนื้อสมอง
โรคขี้แมวขึ้นสมอง อาการเป็นอย่างไร
◆ อาการในคนที่ภูมิคุ้มกันดี
ในคนทั่วไปที่ติดโรคมักไม่แสดงอาการและหายได้เอง แต่ในคนที่มีอาการอาจเป็นเช่นนี้
- มีไข้ มีอาการคล้ายไข้หวัด
- ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต แต่หายได้เอง
- กดเจ็บบริเวณศีรษะและคอ
- ปวดเมื่อยตามตัว ปวดกล้ามเนื้อ
- ปวดหัว
◆ อาการในกลุ่มเสี่ยง
- มึนงง
- มีไข้
- ปวดหัว
- สายตาพร่ามัว
- คลื่นไส้
- การประสานงานของร่างกายไม่ดี
- ชัก
- ปอดอักเสบ
- ติดเชื้อในสมอง ทำให้แขนขาอ่อนแรงได้
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า เชื้อ Toxoplasma gondii อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต ด้านบุคลิกภาพและพฤติกรรม โดยทำให้เกิดบุคลิกภาพแบบหวั่นไหว (Neuroticism) โรคจิตเภท (Schizophrenia) โรคซึมเศร้า (Depression) และมีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ยังคงต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไป จนกว่าจะได้ข้อสรุปอย่างเป็นทางการ
โรคขี้แมวขึ้นสมอง ป้องกันดี ลดเสี่ยงได้
ในคนทั่วไปที่ติดโรคมักไม่แสดงอาการและหายได้เอง แต่ในคนที่มีอาการอาจเป็นเช่นนี้
- มีไข้ มีอาการคล้ายไข้หวัด
- ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต แต่หายได้เอง
- กดเจ็บบริเวณศีรษะและคอ
- ปวดเมื่อยตามตัว ปวดกล้ามเนื้อ
- ปวดหัว
◆ อาการในกลุ่มเสี่ยง
- มึนงง
- มีไข้
- ปวดหัว
- สายตาพร่ามัว
- คลื่นไส้
- การประสานงานของร่างกายไม่ดี
- ชัก
- ปอดอักเสบ
- ติดเชื้อในสมอง ทำให้แขนขาอ่อนแรงได้
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า เชื้อ Toxoplasma gondii อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต ด้านบุคลิกภาพและพฤติกรรม โดยทำให้เกิดบุคลิกภาพแบบหวั่นไหว (Neuroticism) โรคจิตเภท (Schizophrenia) โรคซึมเศร้า (Depression) และมีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ยังคงต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไป จนกว่าจะได้ข้อสรุปอย่างเป็นทางการ
โรคขี้แมวขึ้นสมอง ป้องกันดี ลดเสี่ยงได้
เราสามารถลดความเสี่ยงโรคขี้แมวขึ้นสมองได้ ด้วยแนวทางป้องกันโรค ดังนี้
- เลี้ยงแมวในระบบปิด เพื่อลดโอกาสรับเชื้อที่ปนเปื้อนในดิน รวมไปถึงการติดเชื้อจากสัตว์ตัวอื่น
- เลี้ยงแมวให้ห่างจากบริเวณที่เลี้ยงปศุสัตว์
- ไม่ควรให้แมวกินเนื้อดิบ หรืออาหารที่ไม่สุก
- สวมถุงมือทุกครั้งที่เก็บอุจจาระแมว หรือสัตว์เลี้ยง
- ล้างมือทุกครั้งหลังเก็บอุจจาระสัตว์เลี้ยง และควรล้างมือทุกครั้งหลังจับสัตว์เลี้ยง
- หลีกเลี่ยงการจูบสัตว์เลี้ยงที่ปาก ซึ่งอาจสัมผัสน้ำลายปนเปื้อนเชื้อ จากการที่แมวเลียเท้า หรือทวารหนักหลังขับถ่าย และลดความเสี่ยงโรคมะเร็งกระเพาะอาหารด้วย
- จูบสัตว์เลี้ยงบ่อย ๆ อันตราย เพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร !
- รับประทานอาหารที่ปรุงสุก
- ล้างมือบ่อย ๆ
- รักษาสุขอนามัยของทั้งตัวเองและสัตว์เลี้ยง
- หมั่นตรวจสุขภาพ
- หญิงมีครรภ์ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไม่ควรสัมผัสมูลแมว เช่น ทำความสะอาดกระบะถ่ายอุจจาระของแมว
การเลี้ยงแมวไม่ได้ก่อโรคให้มนุษย์จนน่ากังวลใจ แต่คนที่เลี้ยงแมวแบบไม่ระมัดระวังสุขภาพต่างหากที่พาตัวเองไปเสี่ยงกับโรคต่าง ๆ ดังนั้นอย่าเพิ่งใจร้ายกับน้องเหมียวกันนะคะ แค่ดูแลสุขอนามัยของกันและกันให้ดีที่สุด เท่านี้ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปลอดภัยแล้ว
ขอบคุณข้อมูลจาก
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เดลินิวส์
CFSPH
เฟซบุ๊ก PDRC ศูนย์วิจัยโรคปรสิต สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- เลี้ยงแมวในระบบปิด เพื่อลดโอกาสรับเชื้อที่ปนเปื้อนในดิน รวมไปถึงการติดเชื้อจากสัตว์ตัวอื่น
- เลี้ยงแมวให้ห่างจากบริเวณที่เลี้ยงปศุสัตว์
- ไม่ควรให้แมวกินเนื้อดิบ หรืออาหารที่ไม่สุก
- สวมถุงมือทุกครั้งที่เก็บอุจจาระแมว หรือสัตว์เลี้ยง
- ล้างมือทุกครั้งหลังเก็บอุจจาระสัตว์เลี้ยง และควรล้างมือทุกครั้งหลังจับสัตว์เลี้ยง
- หลีกเลี่ยงการจูบสัตว์เลี้ยงที่ปาก ซึ่งอาจสัมผัสน้ำลายปนเปื้อนเชื้อ จากการที่แมวเลียเท้า หรือทวารหนักหลังขับถ่าย และลดความเสี่ยงโรคมะเร็งกระเพาะอาหารด้วย
- จูบสัตว์เลี้ยงบ่อย ๆ อันตราย เพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร !
- รับประทานอาหารที่ปรุงสุก
- ล้างมือบ่อย ๆ
- รักษาสุขอนามัยของทั้งตัวเองและสัตว์เลี้ยง
- หมั่นตรวจสุขภาพ
- หญิงมีครรภ์ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไม่ควรสัมผัสมูลแมว เช่น ทำความสะอาดกระบะถ่ายอุจจาระของแมว
การเลี้ยงแมวไม่ได้ก่อโรคให้มนุษย์จนน่ากังวลใจ แต่คนที่เลี้ยงแมวแบบไม่ระมัดระวังสุขภาพต่างหากที่พาตัวเองไปเสี่ยงกับโรคต่าง ๆ ดังนั้นอย่าเพิ่งใจร้ายกับน้องเหมียวกันนะคะ แค่ดูแลสุขอนามัยของกันและกันให้ดีที่สุด เท่านี้ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปลอดภัยแล้ว
ขอบคุณข้อมูลจาก
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เดลินิวส์
CFSPH
เฟซบุ๊ก PDRC ศูนย์วิจัยโรคปรสิต สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี