คนที่นอนหลับแล้วชอบละเมอ หรือเดินละเมอไปเรื่อย ๆ เกิดจากอะไร เราจะแก้นอนละเมอยังไงได้บ้าง ลองมาดู

เป็นเรื่องปกติที่เราจะนอนละเมอในบางครั้ง โดยมีตั้งแต่อาการละเมอเบา ๆ เช่น ละเมอพูดไปเรื่อยเปื่อย ละเมอหัวเราะ ร้องไห้ สะดุ้งตื่น มึนงง สับสน ลุกขึ้นมาลืมตา ละเมอทำร้ายคนที่นอนด้วยข้าง ๆ แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่มีอาการละเมอเดิน ซึ่งกรณีนี้น่าเป็นห่วงไม่น้อยเลยนะ เพราะคนละเมอไม่รู้สึกตัวเอง ไม่มีสตินึกคิดมากพอจะระมัดระวังตัว ดังนั้นอาจเดินละเมอไปนอกบ้าน เสี่ยงอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด หรือหากอยู่คอนโด บ้านเป็นตึกสูง ก็อาจละเมอเดินตกตึกกันได้ งั้นเรามาหาวิธีแก้กันดีกว่า จะรักษายังไงได้บ้างนะแบบนี้
นอนละเมอ เกิดจากอะไร

การนอนละเมอเป็นภาวะผิดปกติที่มักจะเกิดขึ้นหลังจากเรานอนหลับไปแล้ว 1-3 ชั่วโมง ซึ่งเป็นช่วงที่สมองของเราหลับลึก แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบกะทันหัน โดยมีคลื่นไฟฟ้าแบบการตื่นเข้ามาผสม ทำให้เวลาที่เราละเมอจะมีอาการคล้าย ๆ กึ่งหลับกึ่งตื่น อย่างบางคนอาจละเมอแบบลืมตา แต่จริง ๆ แล้วไม่รู้สึกตัว เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นอยู่ไม่กี่นาที และกลับมานอนต่อได้อย่างรวดเร็ว พอตื่นขึ้นมาเช้าอาจจำเรื่องที่เกิดขึ้นไม่ได้แล้ว
อย่างไรก็ตาม การนอนละเมอพบได้บ่อยในวัยเด็ก ซึ่งทางการแพทย์สันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะสมองเด็กยังไม่พัฒนาเต็มที่ จึงมีการละเมอเกิดขึ้นบ่อยครั้ง นอกจากนี้ในครอบครัวที่มีประวัตินอนละเมอบ่อย ยังมีโอกาสที่คนรุ่นหลัง ๆ จะนอนละเมอได้มากกว่าปกติเป็นเท่าตัวเลยทีเดียว
ทั้งนี้ การนอนละเมอยังเกิดได้กับคนที่นอนไม่หลับ อดหลับอดนอนเป็นเวลานาน คนที่มีภาวะเครียด รู้สึกเหนื่อยล้า ผู้ป่วยที่ไม่สบาย เป็นไข้ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า หรือเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิดด้วย รวมทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคซึ่งกระทบกับการนอนหลับ เช่น โรคกรดไหลย้อน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ภาวะง่วงนอนมากเกินไป กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข ไมเกรน เป็นต้น
ละเมอเดิน อาการเป็นยังไง
อย่างไรก็ตาม การนอนละเมอพบได้บ่อยในวัยเด็ก ซึ่งทางการแพทย์สันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะสมองเด็กยังไม่พัฒนาเต็มที่ จึงมีการละเมอเกิดขึ้นบ่อยครั้ง นอกจากนี้ในครอบครัวที่มีประวัตินอนละเมอบ่อย ยังมีโอกาสที่คนรุ่นหลัง ๆ จะนอนละเมอได้มากกว่าปกติเป็นเท่าตัวเลยทีเดียว
ทั้งนี้ การนอนละเมอยังเกิดได้กับคนที่นอนไม่หลับ อดหลับอดนอนเป็นเวลานาน คนที่มีภาวะเครียด รู้สึกเหนื่อยล้า ผู้ป่วยที่ไม่สบาย เป็นไข้ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า หรือเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิดด้วย รวมทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคซึ่งกระทบกับการนอนหลับ เช่น โรคกรดไหลย้อน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ภาวะง่วงนอนมากเกินไป กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข ไมเกรน เป็นต้น
ละเมอเดิน อาการเป็นยังไง

การละเมอเดินเป็นการละเมอชนิดหนึ่ง เกิดจากความผิดปกติระหว่างช่วงหลับลึกและหลับตื้น โดยอาการมีตั้งแต่เบา ๆ เช่น เดินไปเปิดไฟ แล้วเดินกลับมานอนต่อ ไปจนเดินละเมอทำกิจกรรมที่ซับซ้อนขึ้น เช่น ละเมอขับรถ หรือละเมอมีเพศสัมพันธ์ ละเมอเดินไปนอนที่อื่น และเมื่อตื่นขึ้นมาก็จะรู้สึกสับสน ไม่รู้ว่าตัวเองมาอยู่ตรงนี้ได้ยังไง ซึ่งเป็นภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายได้
ควรปลุกคนนอนละเมอ-ละเมอเดิน ให้ตื่นหรือไม่ ?
จริง ๆ แล้ว ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าการปลุกคนละเมอให้ตื่นจะเป็นอันตรายกับร่างกาย เพียงแต่เมื่อคนละเมอตื่นขึ้นมาแล้ว จะรู้สึกมึนงง สับสนอย่างรุนแรงชั่วขณะ ไม่รู้ว่าตัวเองทำอะไรอยู่ หรือมาอยู่ตรงบริเวณนั้นได้อย่างไร ซึ่งหากเดินหรือทำกิจกรรมอะไรอยู่ในขณะนั้น อาจล้มหรือเป็นอันตรายได้
ควรปลุกคนนอนละเมอ-ละเมอเดิน ให้ตื่นหรือไม่ ?
จริง ๆ แล้ว ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าการปลุกคนละเมอให้ตื่นจะเป็นอันตรายกับร่างกาย เพียงแต่เมื่อคนละเมอตื่นขึ้นมาแล้ว จะรู้สึกมึนงง สับสนอย่างรุนแรงชั่วขณะ ไม่รู้ว่าตัวเองทำอะไรอยู่ หรือมาอยู่ตรงบริเวณนั้นได้อย่างไร ซึ่งหากเดินหรือทำกิจกรรมอะไรอยู่ในขณะนั้น อาจล้มหรือเป็นอันตรายได้
ดังนั้น เราจึงมักไม่ค่อยปลุกให้คนละเมอเดินตื่น และไม่ควรตะโกนใส่ เพราะเขาอาจตื่นตระหนกจนเป็นอันตรายกับตัวเอง วิธีที่ดีที่สุดเมื่อเห็นคนนอนละเมอ หรือละเมอเดินก็คือ จะพยายามกล่อมและพาเขากลับไปที่เตียงอย่างปลอดภัย เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ
นอนละเมอแบบไหน ควรพบแพทย์
นอนละเมอแบบไหน ควรพบแพทย์

คนทั่วไปจะนอนละเมอได้คืนละ 1-2 ครั้ง ตามรอบของการหลับลึก แต่ถ้าละเมอมากกว่า 2 ครั้ง อาจไม่ใช่การละเมอ เพราะอาจเกิดจากความผิดปกติของการนอน มีอาการชัก หรือปัญหาสุขภาพจิตก็ได้ จึงควรพบแพทย์เพื่อตรวจสอบสาเหตุที่แท้จริง
นอกจากนี้ หากเป็นวัยรุ่น หรือผู้ใหญ่แล้วยังมีการละเมออยู่บ่อย ๆ หรือการละเมอเป็นอันตรายต่อตัวเองและผู้อื่น ทำให้ตัวเองอับอาย รบกวนคุณภาพชีวิต ก็ควรปรึกษาแพทย์เช่นกัน
นอกจากนี้ หากเป็นวัยรุ่น หรือผู้ใหญ่แล้วยังมีการละเมออยู่บ่อย ๆ หรือการละเมอเป็นอันตรายต่อตัวเองและผู้อื่น ทำให้ตัวเองอับอาย รบกวนคุณภาพชีวิต ก็ควรปรึกษาแพทย์เช่นกัน
ละเมอเดิน รักษาได้ไหม
โดยปกติแล้วการเดินละเมอมักจะเกิดในช่วงวัยเด็ก พอโตขึ้นอาการจะค่อย ๆ หายไปเอง แต่ในผู้ใหญ่ที่ยังมีอาการเดินละเมอ และเป็นบ่อยครั้ง แพทย์อาจจะรักษาด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- ซักประวัติและตรวจร่างกาย เพื่อหาปัจจัยที่ทำให้ละเมอ
- หากไม่พบปัจจัยที่ทำให้ละเมอ เช่น ความเครียด หรือการใช้ยาบางชนิด อาจตรวจการนอนหลับร่วมด้วย
- ในคนที่มีอาการละเมอหนัก ๆ แพทย์อาจให้ยาเพื่อลดการละเมอ
วิธีแก้นอนละเมอ รู้เคล็ดลับก็ป้องกันได้

เราสามารถป้องกันการนอนละเมอได้ด้วยการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ โดยส่งเสริมสุขนิสัยที่ดีในการนอนหลับ เช่น นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ตื่นและนอนให้เป็นเวลา ลดการดื่มกาแฟและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ พยายามทำให้ตัวเองผ่อนคลายก่อนเข้านอน ไม่เล่นคอมพิวเตอร์ ไม่เล่นโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการละเมอได้ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้หากพบว่ากินยาบางตัวแล้วมีอาการละเมอเกิดขึ้น อาจปรึกษาแพทย์ให้เปลี่ยนยาเพื่อลดผลข้างเคียงดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในกรณีเป็นการละเมอเดิน อาจรักษาไม่หายขาดในทันที ดังนั้นหากคนในบ้านละเมอเดินบ่อยครั้ง ก็จำเป็นต้องช่วยกันดูแลอย่างใกล้ชิด พยายามให้เขานอนในบริเวณที่เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุน้อย เช่น นอนในชั้นล่างของบ้าน นอนในห้องที่ไม่มีสิ่งของมาก และควรล็อกประตู หน้าต่าง ให้แน่นหนา เพื่อป้องกันเขาละเมอเดินออกนอกบ้านไป
ขอบคุณข้อมูลจาก
Rama Channel
ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
อย่างไรก็ตาม ในกรณีเป็นการละเมอเดิน อาจรักษาไม่หายขาดในทันที ดังนั้นหากคนในบ้านละเมอเดินบ่อยครั้ง ก็จำเป็นต้องช่วยกันดูแลอย่างใกล้ชิด พยายามให้เขานอนในบริเวณที่เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุน้อย เช่น นอนในชั้นล่างของบ้าน นอนในห้องที่ไม่มีสิ่งของมาก และควรล็อกประตู หน้าต่าง ให้แน่นหนา เพื่อป้องกันเขาละเมอเดินออกนอกบ้านไป
ขอบคุณข้อมูลจาก
Rama Channel
ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์