หินปูนเกาะในกระดูก หรือโรคกระดูกงอก ไม่ต้องรอให้แก่ก็เป็นได้ หากมีอาการปวดคอ ปวดไหล่ประจำ ต้องเช็กดูสักหน่อย
ต้องบอกก่อนว่า หินปูนเกาะกระดูกแบบนี้ ไม่เหมือนกับหินปูนที่ติดตามซอกฟัน เพราะหินปูนที่ฟันนั้นเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งรวมตัวกับโปรตีนหรือเศษอาหาร จนกลายเป็นแผ่นจุลินทรีย์เกาะอยู่ที่ขอบฟันที่ติดกับเหงือก
แต่หินปูนเกาะกระดูก หรือในทางการแพทย์เรียกว่า "โรคกระดูกงอก" สาเหตุเกิดจากการที่ร่างกายดึงแคลเซียมไปซ่อมแซมกระดูกส่วนที่เสื่อม แตก หัก ทำให้กระดูกส่วนนั้นสะสมแคลเซียมพอกหนาผิดธรรมชาติ และเสียรูปทรงไป
- หญิงวัยหมดประจำเดือน
- คนที่ได้รับแรงกระแทกบ่อย ๆ เช่น เล่นกีฬาอย่างหักโหม ได้รับบาดเจ็บจากการทำงานเป็นประจำแล้วไม่ยอมพัก ทำให้เอ็นที่เกาะกล้ามเนื้อฉีกขาด มีอาการอักเสบเรื้อรัง จนร่างกายต้องดึงแคลเซียมมาซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
- ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ ได้รับบาดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อ กระดูก
- คนที่มีน้ำหนักเกิน
- คนที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย หรือคนที่ขยับร่างกายน้อย เช่น พนักงานออฟฟิศที่นั่งทำงานทั้งวัน พบได้ไม่บ่อย แต่ก็มีโอกาสเป็นได้
โรคหินปูนเกาะกระดูกหู (Otosclerosis)
เกิดจากหินปูนมีการเจริญเติบโตผิดปกติในหูชั้นกลาง ทำให้เสียงลอดผ่านเข้าไปในหูชั้นในไม่ได้ จึงมีอาการหูอื้อ หูตึง มักเป็นข้างเดียวก่อน จากนั้นจะมีเสียงดังในหู รู้สึกดังขึ้นเรื่อย ๆ จนเวียนศีรษะ บ้านหมุน เนื่องจากมีหินปูนเจริญผิดที่ในหูชั้นใน หรือหินปูนที่ผิดปกติในหูชั้นกลางปล่อยเอนไซม์บางชนิดเข้าไปในหูชั้นใน หากปล่อยไว้ไม่รักษามีสิทธิ์หูหนวกถาวร
สำหรับสาเหตุของโรคหินปูนเกาะกระดูกหู ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่จากการศึกษาพบว่ามีแนวโน้มที่โรคนี้จะถ่ายทอดทางพันธุกรรม รวมทั้งมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์ หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสบางชนิด โดยโรคนี้มักพบในคนอายุ 30-40 ปี และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
ทั้งนี้ แพทย์จะรักษาตามอาการ หากเป็นไม่มากจะใช้เครื่องช่วยฟัง เพื่อช่วยขยายเสียงที่ได้ยิน หรือหากเป็นมากจะต้องทำการผ่าตัด
หินปูนเกาะกระดูกคอ
มักเกิดในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งกระดูกคอเริ่มเสื่อมแล้ว ทำให้มีหินปูนมาจับ จึงมีอาการปวดต้นคอ และหากกดทับเส้นประสาทด้วยจะรู้สึกชา ปวดร้าวลงมาที่แขน ปลายนิ้วมือ
หินปูนเกาะกระดูกไหล่
หินปูนเกาะกระดูกสันหลัง
- มีอาการเจ็บปวดบริเวณที่มีกระดูกงอก
- อาจใช้งานอวัยวะดังกล่าวได้ไม่ปกติ เช่น หากหินปูนเกาะกระดูกหูจะมีอาการหูอื้อ หูตึง หรือถ้าเกาะข้อเข่าก็จะนั่งพับเพียบ นั่งยอง ๆ ไม่ได้
- ใช้ชีวิตประจำวันไม่คล่องแคล่วเหมือนเดิม เช่น หากเกิดบริเวณส้นเท้า จะทำให้เดินเหินช้าลง หรือลำบากในการเดิน การยืน
- หากหินปูนเกาะมาก ๆ อาจทิ่มกล้ามเนื้อ หรือกดทับเส้นประสาท ส่งผลต่ออวัยวะส่วนอื่น ทำให้มีอาการชา ไปจนถึงขั้นอัมพาต
แพทย์จะตรวจร่างกายก่อนด้วยการเอกซเรย์ หรืออัลตราซาวด์ เพื่อดูปริมาณและการกระจายตัวของแคลเซียม รวมทั้งความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับอวัยวะต่าง ๆ จากนั้นจึงวางแผนรักษาต่อไป โดยมีหลายวิธีที่จะช่วยรักษาได้ เช่น
- รับประทานยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ
- ทำกายภาพบำบัด
- ลดกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อกระดูกบริเวณนั้น รวมทั้งลดความอ้วน หากน้ำหนักเกิน
- ฉีดยาสเตียรอยด์
- รักษาด้วยคลื่นกระแทกความถี่สูง (Radial shockwave) เพื่อสลายหินปูน ช่วยลดอาการปวดบริเวณข้อต่อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ
- ผ่าตัด เนื่องจากเป็นวิธีที่มีความเสี่ยงสูง ดังนั้นแพทย์จะใช้วิธีนี้เมื่อผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดมาก และการรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ช่วยบรรเทาอาการ
อย่างไรก็ตาม การรักษาจะขึ้นอยู่กับบริเวณที่มีหินปูนเกาะอยู่ด้วย
รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง
เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระดูก โดยกรมอนามัยแนะนำว่า ผู้ใหญ่อายุน้อยกว่า 50 ปี ควรได้รับแคลเซียมวันละ 800 มิลลิกรัม ส่วนคนที่อายุมากกว่า 50 ปีต้องการแคลเซียมวันละ 1,000 มิลลิกรัม ซึ่งสามารถหารับประทานแคลเซียมได้จากเนื้อสัตว์ ปลาเล็กปลาน้อย นม โยเกิร์ต ชีส เต้าหู้ ถั่ว งาดำ ผักใบเขียว ดอกแค เป็นต้น
รับประทานอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3
ออกกำลังกายเป็นประจำ
ควรออกกำลังกายอย่างน้อยครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง โดยเลือกการออกกำลังกายแบบลงน้ำหนักที่มีการใช้แรงต้าน เช่น วิ่งเหยาะ ๆ เดินไกล เดินสลับวิ่ง เต้นแอโรบิก เต้นรำ รำมวยจีน ยกน้ำหนัก กระโดดเชือก ฟุตบอล วอลเลย์บอล ฯลฯ เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อส่วนต่าง ๆ แข็งแรง
อย่างไรก็ตาม จะเลือกออกกำลังกายแบบไหนต้องพิจารณาลักษณะของตัวเองด้วย เช่น
- หากมีอาการหินปูนเกาะบริเวณหัวไหล่ ควรเลี่ยงการออกกำลังกายที่ต้องใช้ไหล่และแขน เช่น การแกว่งแขน เทนนิส แบดมินตัน เป็นต้น เพราะจะยิ่งทำให้เอ็นข้อไหล่ทำงานหนักขึ้น โดยเลือกการออกกำลังกายที่ช่วยบริหารยืดข้อไหล่อย่างช้า ๆ แทน เช่น ใช้มือไต่ผนัง รำกระบอง รำมวยจีน
- หากรูปร่างอ้วนเกินไป ก็ไม่ควรออกกำลังกายแบบเต้น เพราะจะยิ่งทำให้เอ็นกล้ามเนื้อทำงานมากและฉีกขาด ส่งผลให้ร่างกายดึงแคลเซียมมาซ่อมแซมจุดที่เสียหาย กลายเป็นกระดูกงอกขึ้นมาได้อีก ดังนั้น คนอ้วนควรออกกำลังด้วยการเดิน หรือแกว่งแขนจะดีกว่า
สัมผัสแสงแดดอ่อน ๆ ทุกวัน
ตรวจค่าความหนาแน่นมวลกระดูกเสมอ
ลดพฤติกรรมที่ขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม
ลดความอ้วน
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
เฟซบุ๊ก กรมการแพทย์
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โรงพยาบาลกรุงเทพ
โรงพยาบาลเปาโล
หมอชาวบ้าน