กระชายเป็นสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ร้อน จึงช่วยขับลม ช่วยย่อยอาหาร บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ รักษาโรคในช่องปาก กระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกัน รวมทั้งใช้เป็นยาบำรุงกำลังร่างกาย ซึ่งครัวไทยได้นำกระชายมาเป็นส่วนประกอบของอาหารหลากหลายเมนูมาช้านาน ขณะที่ภูมิปัญญาพื้นบ้านก็ยังนำกระชายขาวมาใช้บรรเทาอาการจมูกไม่ได้กลิ่น
ต่อมาทางมหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) ได้ทำการวิจัยพบว่า สารสกัดจากกระชายขาว 2 ตัว คือ แพนดูราทิน เอ (Panduratin A) และฟิโนสโตรบิน (Pinostrobin) มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในหลอดเพาะเชื้อได้ถึง 100% และเมื่อทดลองในสัตว์ เบื้องต้นก็พบว่าทำให้สัตว์ทดลองที่ติดเชื้อมีสุขภาพที่ดีขึ้น และลดภาวะปอดอักเสบในสัตว์ทดลองได้ดีมาก
ทั้งนี้ ได้มีการทดลองนำสารสกัดกระชายมาใช้กับผู้ต้องขังในเรือนจำที่ติดโควิด 19 และไม่มีอาการ พบว่า กระชายมีฤทธิ์กำจัดเชื้อได้ภายใน 8 วัน คล้ายกับฟ้าทะลายโจร และดีกว่าการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ แต่ต้องเป็นการสกัดด้วยเอทานอล (แอลกอฮอล์) จึงจะมีสารสกัดออกมาอย่างเพียงพอที่จะยับยั้งเชื้อได้ ต่างจากการกินกระชายสด หรือการสกัดสารด้วยน้ำที่จะมีสารสำคัญออกมาน้อยกว่ามาก
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีผลิตภัณฑ์กระชายที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์จำหน่ายในท้องตลาด ดังนั้น อาจจะกล่าวได้ว่า เรายังไม่สามารถกินกระชายขาวเพียงอย่างเดียวเพื่อหวังผลป้องกันหรือรักษาโควิด เนื่องจากปริมาณของสารสกัดที่ได้ไม่เพียงพอ ซึ่งขณะนี้นักวิจัยกำลังการศึกษาเพิ่มเติมถึงความปลอดภัยและปริมาณที่เหมาะสมเพื่อนำมาใช้ต้านโควิด 19 ในมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
วิธีกินกระชายขาว สำหรับคนที่ยังไม่ติดโควิด
วิธีกินกระชายขาว สำหรับคนติดโควิด
- นำเหง้าและรากกระชายแห้งมาบดเป็นผง เทน้ำร้อนแล้วคนให้เข้ากัน ควรดื่มทั้งน้ำและเนื้อ เนื่องจากสารสำคัญในกระชายไม่ละลายน้ำ จึงต้องรับประทานเนื้อด้วย
- กรณีมีแคปซูลกระชายขาว ให้รับประทานครั้งละ 2 กรัม หลังอาหาร 3 มื้อ
ใช้เหง้ากระชายสด 1 ขีด หรือ 25 กรัม ล้างให้สะอาด ปั่นให้ละเอียดกับน้ำสะอาด 300 มิลลิลิตร ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว 20 มิลลิลิตร และน้ำผึ้ง 20 มิลลิลิตร แบ่งดื่มหลังอาหาร 3 มื้อ
ทั้งนี้ แนะนำให้รับประทานต่อเนื่อง 5 วัน และควรกินกระชายทั้งน้ำและเนื้อจึงจะได้รับสารสำคัญที่ครบถ้วนที่สุด
- ไม่ควรกินกระชายติดต่อกันทุกวัน หรือนานเกิน 7 วัน เพราะกระชายเป็นยารสร้อนจะทำให้ร่างกายร้อนเกินไป เกิดอาการร้อนใน เป็นแผลในปาก ใจสั่น เซลล์ประสาททำงานไม่สมดุล รวมทั้งน้ำมันหอมระเหยในกระชายขาวอาจระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารได้
- ไม่ควรกินกระชายในปริมาณมากต่อเนื่อง เช่น การดื่มน้ำกระชายก็ไม่ควรเกิน 1 แก้วต่อวัน และไม่กินติดต่อกันทุกวัน
- ควรรับประทานกระชายในแบบปรุงสุกจะดีกว่ารับประทานแบบสด ๆ
- หากต้องการดื่มน้ำกระชาย ให้ต้มกับน้ำ และใส่สมุนไพรอื่น ๆ ลงไปช่วยเสริมตัวยาด้วย เช่น เติมน้ำผึ้งเพื่อลดความร้อนของกระชาย เติมมะนาวซึ่งเป็นยารสเปรี้ยวไปช่วยลดอาการปากแห้ง จมูกแห้ง เนื่องจากการรับประทานอาหารที่งเผ็ดร้อนมากไป จะทำให้รู้สึกปากแห้ง จมูกแห้ง
บุคคลต่อไปนี้ควรหลีกเลี่ยงหรือต้องระวังการรับประทานกระชาย เพราะอาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้น
คนที่ห้ามใช้กระชาย
- ผู้ที่มีไข้สูง
- ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางเดินท่อน้ำดี ถุงน้ำดีอุดตัน เพราะกระชายหรือสมุนไพรรสร้อนทั้งหลายจะไปเพิ่มการหลั่งของน้ำดี
- เด็ก สตรีมีครรภ์ หรือสตรีให้นมบุตร
- คนที่มีอาการแพ้กระชาย เช่น กินกระชายแล้วมีผื่นขึ้น หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ หลังรับประทานกระชาย
คนที่ไม่ควรใช้กระชายในขนาดสูง
- ผู้ที่มีความผิดปกติของตับ
- ผู้ป่วยโรคไต โรคหัวใจ หรือผู้ที่ต้องควบคุมโพแทสเซียม เพราะกระชายมีโพแทสเซียมสูง
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว
- ผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน หรือยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
บทความที่เกี่ยวข้องกับกระชายขาว
- วิธีปลูกกระชาย สมุนไพรมากสรรพคุณ ทำอาหารได้หลายเมนู
- กระชายขาว ต้านโควิด 19 ได้จริงไหม พร้อมสรรพคุณที่น่าสนใจ
- 10 เมนูกระชาย สูตรอาหารและเครื่องดื่มอร่อยต้านไวรัส
- น้ำกระชายใบเตยน้ำผึ้ง สรรพคุณเยอะต้านโรคจากสมุนไพรพื้นบ้าน
- น้ำกระชาย 2 สูตร สมุนไพรต้านหวัดต้านโรคทำง่ายใน 10 นาที
- ฟ้าทะลายโจร กระชายขาว กินคู่กันได้ไหม ไขข้อสงสัยเรื่องสมุนไพรรักษาโควิด
ขอบคุณข้อมูลจาก
สมุนไพรอภัยภูเบศร
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ชัวร์ก่อนแชร์
รายการโหนกระแส
TNN