
เมื่ออาการร้อนวูบวาบทำให้คุณร้อนรุ่มเป็นไฟ (Health plus)
คุณใช่ไหมที่รู้สึกร้อนเป็นไฟทั้งที่อากาศภายนอกหนาวจับใจ ต่อไปนี้คือวิธีที่จะช่วยให้คุณรู้สึกเย็นสดชื่นสบายตัว
ผ้าเช็ดหน้าในมือ พัดลมในห้องนอน สวมเสื้อผ้าฝ้ายหลวม ๆ แม้ในยามอากาศหนาว เหล่านี้คือสิ่งที่คนมีอาการร้อนวูบวาบในวัยทองมักขาดไม่ได้ ว่ากันว่า 4 ใน 5 ของผู้หญิงก่อนวัยทองและวัยทองต้องเผชิญกับอาการดังกล่าว ต่อไปนี้คือคำแนะนำในการรับมือที่ทำให้ฮอร์โมนของคุณแปรปรวน

"อาการร้อนวูบวาบเริ่มในวัย 40 ขึ้นไป ในช่วงก่อนเข้าวัยทองประจำเดือนจะมาไม่ปกติก่อนจะหมดไปอย่างถาวร จะเกิดบ่อยขึ้น เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงต่ำสุด ขณะที่ฮอร์โมนซึ่งต่อมพิทูอิทารีผลิตออกมาเรียกว่า Follicle Stimulating Hormone (FSH) อยู่ในระดับสูงสุด" ดร.แอนน์ วอล์กเกอร์ ผู้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับอาการก่อนวัยทองและอาการวัยทองในเพศหญิง ในฐานะผู้บรรยายอาวุโสด้านโภชนาการในมนุษย์แห่งมหาวิทยาลัยเรดดิ้ง และนักสมุนไพรบำบัดกล่าว
ดร.เพนนี สแตนเวย์ ผู้เขียนเรื่อง The Natural Guide to Woman’s Health กล่าวว่า ตามปกติอาการร้อนวูบวาบจากฮอร์โมนจะหายไป ภายใน 2-3 ปี แม้ว่า 1 ใน 4 ของผู้หญิงอาจมีอาการดังกล่าวอยู่นานถึง 5 ปี และ 1 ใน 20 มีอาการอยู่อย่างต่อเนื่องเป็นระยะ ๆ
และอาการร้อนวูบวาบมีโอกาสเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ หากคุณหยุดการได้รับฮอร์โมนเพศเสริม (HRT) เร็วเกินไป ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์และควรค่อย ๆ หยุดการรับ HRT แทนที่จะหยุดทันที่โดยสิ้นเชิง
"อาการร้อนวูบวาบเกิดขึ้นได้หากคุณตัดรังไข่ทิ้ง" ซูซาน เคอร์ทิส ผู้เขียนหนังสือคู่มือเรื่อง HRT Alternatives บอก

เราทุกคนมีอาการร้อนวูบวาบได้ในบางโอกาส เช่น หากเป็นไข้หวัด หรือหลังจากวิ่งไล่ตามรถเมล์จนเหนื่อยหอบ ว่าแต่จะทราบได้อย่างไรว่านี่คืออาการร้อนวูบวาบที่เกิดจากฮอร์โมน "คลื่นความร้อนจะแผ่ซ่านอย่างรวดเร็วไปทั่วร่างกาย" อลิสัน เบลอคร์ต นักโภชนาการบำบัดแห่ง Marilyn Glenville’s Natural Health Practice อธิบาย "ใบหน้า ลำคอ และหน้าอกจะแดง บางครั้งมีเหงื่อไหลออกจากผิว" เธอกล่าว
"อาการดังกล่าวเป็นที่รู้จักในชื่อของ vasomotor flushing โดยจะร้อนวูบวาบอยู่ตั้งแต่ไม่กี่วินาทีไปจนถึงครึ่งชั่วโมง และเกิดขึ้นได้วันละหลายครั้ง ในรายที่มีเหงื่อออกตอนกลางคืน คุณอาจสะดุ้งตื่นขึ้นกลางดึกเพราะความร้อน จนทนนอนบนเตียงหรือสวมชุดนอนไม่ไหว"
"บางคนอาจมีอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ มักมีอาการตื่นตระหนกควบคู่ไปกับความวิตกกังวล" ดร.แอนน์ แพทย์ผู้ตรวจสอบผลกระทบที่เกิดจากอาการร้อนวูบวาบในคนไข้กล่าว ผู้หญิงบางคนมีอาการมือชา และแม้แต่คลื่นไส้อาเจียน
โดยมากหลังจากอาการร้อนวูบวาบและเหงื่อออกหายไป ผลที่ตามมาคือความรู้สึกหนาว เนื่องจากเหงื่อเริ่มระเหยไป คลื่นความร้อนที่แผ่ซ่านนี้จะเกิดขึ้นโดยฉับพลัน เมื่อใดก็ได้ทั้งกลางวันหรือกลางคืน แล้วจะค่อย ๆ หายไปอย่างรวดเร็วเหมือนที่เกิดขึ้น

ไม่มีใครทราบว่าแน่ชัดสาเหตุของอาการร้อนวูบวาบเกิดจากอะไร ดร.แอนน์ชี้ว่าอาการดังกล่าวไม่ได้เกิดกับผู้หญิงทุกคน "แต่เชื่อกันว่าอาการร้อนวูบวาบเกิดจากระดับฮอร์โมน FSH ผันผวน" อลิสันกล่าว เมื่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดต่ำลง สมองจะบอกให้ต่อมพิทูอิทารี ปล่อยฮอร์โมน FSH ออกมาจากขึ้น เมื่อฮอร์โมน ดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นก็จะส่งผลให้เส้นโลหิตแดงใหญ่ขยายตัว และเมื่อหลอดเลือดกว้างขึ้นเลือดก็จะไหลไปที่เส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดขยายตัวเฉียบพลัน ผลคือการไหลของเลือดไปที่เส้นเลือดเพิ่มขึ้นทำให้ผิวหนังร้อนขึ้น แดงขึ้น และอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการร้อนวูบวาบ

มองอีกด้านหนึ่งนับว่าเป็นเรื่องน่าขำความร้อนที่เกิดขึ้นเป็นเพราะเราตัวร้อนเองหรือว่าอากาศร้อนกันแน่ หลายคนต้องคอยเอากระดาษทิชชู่ซับบริเวณคิ้วที่ร้อนผ่าวเหมือนมีไข้จำไว้ว่าควรสวมเสื้อผ้าที่มีซับในซึ่งจะช่วยซึมซับเหงื่อจากอาการร้อนวูบวาบที่เกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ อย่าลืมพกทิชชู่ ขวดน้ำเล็ก ๆ พัดลมมือถือ และสเปรย์น้ำแร่ติดกระเป๋าเอาไว้ด้วย รวมทั้งปฏิบัติตามคำแนะนำ 7 ประการจากผู้เชี่ยวชาญดังต่อไปนี้


"หลีกเลี่ยงอาการที่มีส่วนผสมของสารกระตุ้นเช่น คาเฟอีน แอลกอฮอล์ อาหารที่มีรสเผ็ด เครื่องดื่มร้อน ๆ และคาร์โบไฮเดรตผ่านการขัดสี เพราะจะทำให้เส้นเลือดฝอยขยายตัว ควรทานอาหารที่มีไฟโตเอสโตรเจน เพราะจะไปหลอกสมองให้เข้าใจว่า นี่คือฮอร์โมนเอสโตรเจน สมองก็จะไม่ส่งสัญญาณไปกระตุ้นให้มีการผลิต FSH ออกมาเป็นจำนวนมาก" อลิสัน เบลคอร์ต นักโภชนาการบำบัดอธิบาย ที่น่าสนใจคือมีผู้หญิงญี่ปุ่นน้อยมากที่มีอาการร้อนวูบวาบ เพราะพวกเธอทานถั่วเหลืองซึ่งมีไฟโตเอสโตรเจนสูงในปริมาณมาก แนะให้ทานนมถั่วเหลืองและโยเกิร์ตที่ทำจากถั่วเหลือง ทานผลิตภัณฑ์ประเภทถั่วเหลืองหมักเช่น ซีอิ๊ว เมล็ดพืชต่าง ๆ โฮลเกรน และผลไม้ (แอปเปิ้ล ลูกพลัม ลูกแพร์) และผัก (ขึ้นฉ่าย บร็อกโคลี แครอท) มาก ๆ

การนั่งสมาธิและการพักผ่อนช่วยลดอาการร้อนวูบวาบในผู้หญิง โดยทั่วไปโยคะจะเน้นฝึกเทคนิคหายใจอย่างถูกต้อง ผู้หญิงหลายคนพบว่าการฝังเข็มทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนความเครียดออกมาน้อยลง ซึ่งจะทำให้อาการร้อนวูบวาบแย่ลงไปอีก

ออกกำลังกายแบบแอโรบิกทุกวัน วันละครึ่งชั่วโมงเป็นอย่างน้อย จะทำให้ออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือดและถูกสูบฉีดไปเลี้ยงเซลล์อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ การออกกำลังกายกลางแจ้งทุกวันจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน และช่วยชะลอการลดลงอย่างรวดเร็วของฮอร์โมนดังกล่าว"
ดร.เพนนี สแตนเวย์กล่าว

ดร.เพนนีแนะวิธีอาบน้ำโดยอาบน้ำร้อนสลับกับน้ำเย็นทุกเช้า ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตและทำให้เส้นเลือดแข็งแรง

การนอนไม่หลับเนื่องจากเหงื่อออกรุนแรงตอนกลางคืนอาจทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้ โดยเฉพาะหากความผิดปกติดังกล่าวไปขัดขวางการทำงานของคุณ ควรไปพบแพทย์ ซึ่งแพทย์อาจจ่ายยาต้านอาการซึมเศร้าที่เหมาะสมให้รับประทาน หรือถ้าต้องการรับฮอร์โมนเพศเสริม (HRT) เพื่อให้ระดับเอสโตรเจนคงที่ แพทย์ก็จะอธิบายข้อดีข้อเสียของการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว

เภสัชกรอาจแนะให้ใช้ครีมทาผิวไวลด์แยม (wild yam skin cream) ซึ่งมีส่วนผสมของโปรเจสเตอโรน "ใช้ได้ผลดีกับหญิงก่อนวัยทองถึง 85% ใช้ครีมดังกล่าวในปริมาณ ¾ ช้อนชาทาให้ทั่วผิว วันละครั้งจะช่วยบรรเทาอาการร้อนวูบวาบได้"
ดร.คริสเตียเน่แนะนำ ขณะที่ดร.มาริลีน เกลนวิลล์ แนะให้รับประทานอาหารเสริมจำพวกวิตามินและเกลือแร่รวมคุณภาพดี โดยเฉพาะสูตรที่เหมาะกับหญิงวัยทอง

สมุนไพรช่วยบรรเทาอาการร้อนวูบวาบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เชื่อลองทำตามคำแนะนำต่อไปนี้


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
