วัคซีน Bivalent คืออะไร
วัคซีนโควิด 19 ชนิดไบวาเลนท์ (Bivalent) เป็นวัคซีนโควิดรุ่นใหม่ หรือรุ่นที่ 2 ของบริษัท Pfizer-Biontech ที่ใช้ mRNA ของสายพันธุ์ดั้งเดิม (อู่ฮั่น) และสายพันธุ์โอมิครอน เช่น สายพันธุ์ย่อย BA.1, BA.4, BA.5 อย่างละครึ่ง มาผสมกันกลายเป็นวัคซีน 2 สายพันธุ์ จึงมีความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าเดิม เพราะมีความจำเพาะต่อโควิดโอมิครอนมากขึ้นนั่นเอง
โดยวัคซีนไฟเซอร์รุ่นใหม่นี้มีใช้แล้วในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, ออสเตรเลีย, สิงคโปร์, เกาหลีใต้ รวมถึงประเทศไทย นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีของบริษัท โมเดอร์นา ที่เป็นวัคซีนไบวาเลนท์ด้วยเช่นกัน
วัคซีน Bivalent
ประสิทธิภาพเป็นอย่างไร
ในส่วนของประสิทธิภาพวัคซีนรุ่นใหม่ Bivalent ทาง ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผอ.วิจัยกลุ่มนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ไบโอเทค สวทช. เคยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาในประเด็นนี้ไว้ว่า วัคซีนเข็มกระตุ้นสูตรใหม่สามารถให้ภูมิที่ยับยั้งไวรัสสายพันธุ์กลุ่มโอมิครอนได้มากกว่ากลุ่มที่กระตุ้นด้วยวัคซีนสูตรเก่า โดยเฉพาะไวรัสกลุ่ม BA.4 และ BA.5 โดยภูมิถูกกระตุ้นจากก่อนฉีดขึ้นมา 13 เท่า ในขณะที่วัคซีนสูตรเก่ากระตุ้นขึ้นมาได้ประมาณ 3 เท่า
อีกทั้งความสามารถในการกระตุ้นด้วยวัคซีนสูตรใหม่ดูเหมือนจะได้ภูมิที่ยับยั้งไวรัสกลุ่มที่เป็นลูกหลานของ BA.4/BA.5 เช่น กลุ่ม BA.4.6, BQ.1.1 ได้พอสมควร โดยตัวเลขภูมิที่กระตุ้นขึ้นมาได้อยู่ระดับ 8.7-11.1 เท่า เทียบกับวัคซีนสูตรเดิมที่ 1.8-2.3 เท่า
ในส่วนของประเทศสหรัฐอเมริกาและองค์การอนามัยโลก ได้ออกคำแนะนำให้ใช้วัคซีนไฟเซอร์ ไบวาเลนท์ เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นในผู้ที่เคยได้รับวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็มขึ้นไป ซึ่งจะช่วยลดการติดเชื้อแบบมีอาการได้ประมาณ 28-56% โดยที่ความปลอดภัยไม่ต่างกับวัคซีนรุ่นแรก
วัคซีนรุ่นใหม่ป้องกันสายพันธุ์ XBB.1.16 ได้ไหม
ปัจจุบันทั่วโลกกำลังจับตาการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 ซึ่งแพร่ได้เร็วกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ ทำให้คนสงสัยว่า แล้ววัคซีนไบวาเลนท์จะสามารถป้องกัน สายพันธุ์ XBB.1.16 ได้หรือไม่
เกี่ยวกับประเด็นนี้ พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ให้ข้อมูลว่า วัคซีนรุ่นใหม่ป้องกันสายพันธุ์ใหม่ได้ประมาณ 60-80% โดยเฉพาะเมื่อฉีดมาแล้วหลายเข็ม และจะป้องกันได้ดีในช่วง 3-4 เดือนหลังฉีด ซึ่งแม้จะป้องกันได้ไม่ 100% แต่ลดความรุนแรงของโรคได้ ซึ่งสำคัญมากสำหรับกลุ่มเสี่ยง 608
ส่วนที่หลายคนมีคำถามว่า ฉีดวัคซีนมาแล้วตั้งหลายเข็มยังต้องฉีดวัคซีนอีกหรือไม่ เรื่องนี้ทางกระทรวงสาธารณสุขแนะนำว่า ควรฉีดหากเข็มสุดท้ายนานเกิน 3-4 เดือน เพราะสายพันธุ์ XBB ค่อนข้างจะหลบภูมิได้ดี ทำให้ภูมิคุ้มกันของเดิมประสิทธิภาพสั้นลง ดังนั้นเราควรฉีดกระตุ้นปีละครั้ง ไม่ต้องนับจำนวนเข็มที่ผ่านมา แต่หากเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงมาก ๆ อาจพิจารณาฉีดปีละ 2 ครั้ง
วัคซีน Bivalent มีผลข้างเคียงหรือไม่
ใครควรฉีดวัคซีน Bivalent
คนทั่วไปสามารถฉีดวัคซีนโควิดรุ่นใหม่นี้ได้ โดยเฉพาะกลุ่มต่อไปนี้
-
บุคลากรด่านหน้าที่ต้องสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย อาสาสมัครสาธารณสุข
-
กลุ่มเสี่ยง 608 เช่น ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยติดเตียง
-
ประชาชนที่เคยฉีดวัคซีนโควิด 19 มาแล้วอย่างน้อย 2 เข็ม และฉีดเข็มล่าสุดมานานเกิน 4 เดือนแล้ว สามารถฉีดวัคซีนไบวาเลนท์เป็นเข็มกระตุ้นได้เช่นกัน
ทั้งนี้ ผู้ที่เคยฉีดวัคซีนโควิด 19 มาแล้ว และต้องการฉีดวัคซีนไบวาเลนท์เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ควรเว้นระยะห่างจากวัคซีนเข็มก่อนหน้า ดังนี้
- ผู้ที่ต้องการฉีดวัคซีนไบวาเลนท์เป็นเข็มที่ 3 ควรมีระยะห่างจากเข็มที่ 2 เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือน
- ผู้ที่ต้องการฉีดวัคซีนไบวาเลนท์เป็นเข็มที่ 4 ควรมีระยะห่างจากเข็มที่ 3 เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 4 เดือน
- ผู้ที่เคยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเคยได้รับวัคซีนโควิด 19 มาแล้วอย่างน้อย 2 เข็ม แนะนำให้ฉีดวัคซีนไบวาเลนท์หลังติดเชื้ออย่างน้อย 6 เดือน
- สำหรับการฉีดวัคซีนไบวาเลนท์ ตั้งแต่เข็มที่ 5 เป็นต้นไป ปัจจุบันข้อมูลการศึกษายังคงจำกัด การเข้ารับวัคซีนจึงเป็นไปตามความสมัครใจและตามดุลพินิจของแพทย์
ฉีดวัคซีนโควิดรุ่นใหม่ Gen 2
ที่ไหนได้บ้าง
สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เปิดบริการฉีดวัคซีน COVID-19 เข็มกระตุ้น ด้วยวัคซีนภูมิคุ้มกันสําเร็จรูป LAAB และไฟเซอร์ รุ่นใหม่ (Bivalent) สำหรับประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป โดย Walk in มาได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 13.00-15.00 น. ณ คลินิกตรวจสุขภาพ ชั้น 2 อาคารดำรงนิราดูร
ศูนย์บริการสาธารณสุข 45 ร่มเกล้า ลาดกระบัง
โรงพยาบาลศณิสา (ชินเขต)
ข้อมูลเพิ่มเติม : โรงพยาบาลศณิสา (ชินเขต)
ฉีดวัคซีนโควิดฟรี เดือนพฤษภาคม 2566 Walk in-ลงทะเบียนที่ไหนได้บ้าง
บทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิดรุ่นใหม่
* หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 29 เมษายน 2566
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : กระทรวงสาธารณสุข (2), เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana, CVC กลางบางซื่อ, ศูนย์บริการสาธารณุสุข 45 ร่มเกล้า ลาดกระบัง, โรงพยาบาลราชวิถี, โรงพยาบาลศรีธัญญา, โรงพยาบาลปิยะเวท, โรงพยาบาลศณิสา (ชินเขต), โรงพยาบาลธนบุรี, สถานเสาวภา สภากาชาดไทย, โรงพยาบาลนครธน, โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร, สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า, mayoclinic.org