ถั่วฝักยาวกินดิบได้ไหม
มีโทษอย่างไร
ถั่วฝักยาวมียาฆ่าแมลงปนเปื้อนสูง
ตลอดหลายปีที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขเคยเก็บตัวอย่างผักสดมาทดสอบการตกค้างของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช หรือยาฆ่าแมลง และมักพบว่าถั่วฝักยาวเป็นผักที่มีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในปริมาณสูงเป็นอันดับต้น ๆ
สาเหตุก็มาจากถั่วฝักยาวมีแมลงศัตรูพืชรบกวนหลายชนิด เกษตรกรบางรายจึงต้องใช้ยาฆ่าแมลงในช่วงใกล้เก็บเกี่ยว เพื่อไม่ให้ถั่วฝักยาวเสียหาย ซึ่งผิวฝักของถั่วฝักยาวก็ค่อนข้างบางด้วย ทำให้สารเคมีต่าง ๆ ซึมผ่านได้ง่ายและตกค้างอยู่ภายใน
ถ้ารับประทานถั่วฝักยาวดิบที่มีสารปนเปื้อนเข้าไปจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย วิงเวียนศีรษะ มีผื่นคัน เป็นลมพิษ และในกรณีที่ได้รับสารพิษสะสมเข้าไปในร่างกายมาก ๆ อาจนำไปสู่โรคทางระบบประสาท ที่ทำให้เป็นตะคริวที่ท้อง น้ำตาไหล ม่านตาหรี่ ความดันโลหิตสูง ชัก หัวใจล้มเหลว ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลย
ถั่วฝักยาวมีเลคตินสูง
ถั่วฝักยาวดิบย่อยยากกว่าแบบสุก
วิธีกินถั่วฝักยาวให้ปลอดภัย
แน่นอนว่าถ้าจะกินถั่วฝักยาวให้ปลอดภัยที่สุดก็ควรล้างให้สะอาดและรับประทานแบบสุก คือ นำถั่วฝักยาวไปต้ม ลวก หรือผ่านความร้อนด้วยวิธีต่าง ๆ เสียก่อน ทั้งนี้ เพื่อชะล้างสารเคมีต่าง ๆ พร้อมกับลดปริมาณสารเลคติน อีกทั้งความร้อนยังช่วยให้ถั่วฝักยาวนิ่มลง ย่อยได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญก็คือ ถั่วฝักยาวที่ปรุงสุกแล้วจะมีรสชาติเข้มข้นอร่อยขึ้นด้วยล่ะ
แต่สำหรับคนที่ต้องการกินถั่วฝักยาวแบบดิบจริง ๆ ก็พอจะมีวิธีรับประทานให้ปลอดภัยขึ้นมาอีกนิด นั่นก็คือ
กรณีต้องการกินถั่วฝักยาวดิบ
- เลือกซื้อถั่วฝักยาวที่ปลูกแบบออร์แกนิกหรือเกษตรอินทรีย์ เพราะมั่นใจได้ว่าจะไม่มีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เป็นอันตรายตกค้าง
- ล้างถั่วฝักยาวให้สะอาดผ่านน้ำไหลแรง ๆ หลาย ๆ รอบ
- หักถั่วฝักยาวเป็นท่อน ๆ เพื่อให้มีผิวสัมผัสกับน้ำมากที่สุด แล้วนำไปแช่ในน้ำเกลือหรือน้ำส้มสายชู 10-15 นาที
- ไม่รับประทานถั่วฝักยาวดิบเป็นประจำ โดยควรสลับรับประทานกับถั่วฝักยาวสุก รวมทั้งผักชนิดอื่นบ้าง