
ไซนัสอักเสบ...โรคใกล้ตัวที่ควรรู้ (e-magazine)
ไซนัสอักเสบ โรคที่เราคุ้นหูเพราะมักจะได้ยินชื่ออยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะช่วงที่อากาศเปลี่ยน หลายคนเป็นโรคนี้แต่กลับไม่เข้าใจถ่องแท้ว่าโรคนี้คืออะไร หลากหลายเรื่องราวที่เราควรรู้แต่กลับไม่รู้ ไซนัสอักเสบจริง ๆ แล้วเป็นอย่างไรหรือ วันนี้อีแมกกาซีนมีคำตอบมาฝากค่ะ

หลาย ๆ คนอาจไม่เข้าใจหรือไม่รู้ว่าไซนัสคืออะไร และอยู่ตรงส่วนไหนในร่างกายของเราบ้าง โดยไซนัส (Sinus) นั้นก็คือโพรงอากาศในกะโหลกซึ่งถูกเรียกว่าโพรงไซนัส ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกันสี่ตำแหน่งเป็นคู่ ๆ ดังนี้




สำหรับหน้าที่ของไซนัสนั้นก็คือการทำให้กะโหลกศีรษะเบาขึ้น และในขณะที่เราพูดก็จะทำให้มีเสียงก้องกังวานขึ้น อีกทั้งเยื่อบุไซนัสและจมูกจะทำการผลิตน้ำมูกใส ๆ เพื่อดักจับฝุ่นละออง และสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เราหายใจเข้าไป ซึ่งเยื่อบุเหล่านี้จะมีขนเล็ก ๆ พัดพาน้ำมูกลงไปด้านหลังของจมูก และเดินทางผ่านช่องคอ ก่อนกลืนลงไปสู่กระเพาะอาหาร จากนั้นจะถูกกรดในกระเพาะทำลายเชื้อโรคจนหมดไป

สาเหตุของไซนัสอักเสบเกิดขึ้นจากการที่จมูกมีการติดเชื้อ อักเสบ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเพราะหวัด ภูมิแพ้ หรือเพราะมีสารระคายเคือง และสิ่งแปลกปลอมอยู่ในจมูก รวมทั้งเพราะมีฟันกรามที่ผุถึงโพรงรากฟัน เป็นโรคหัด และเกิดอุบัติเหตุที่กระดูกบนใบหน้า ดังนั้นจึงทำให้ท่อที่ติดต่อระหว่างโพรงไซนัสและจมูกมีอาการบวมจนตีบตัน ทำให้มีน้ำเมือกในโพรงจมูกคั่งค้างอยู่ เมื่อมูกภายในสะสมมากขึ้นก็จะมีความหนืด และลายสภาพเป็นกรด ทำให้เชื้อโรคเข้าไป จนกลายเป็น ไซนัสอักเสบ
สำหรับอาการทั่ว ๆ ไปของผู้ที่เป็นไซนัสอักเสบนั้นยากที่จะยืนยันได้ชัดเจนทันทีว่าใช่หรือไม่ เพราะมีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดามาก นั่นคือมีอาการไข้ ปวดเมื่อย เจ็บคอ แต่ก็มักจะหายภายใน 7-10 วัน ส่วนอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ อาจเป็นต่อเนื่องถึง 2-3 สัปดาห์ แต่ความรุนแรงจะลดลงจนหายได้ในที่สุด
แต่ถ้าหากเป็นอาการของไซนัสอักเสบล่ะก็ หลังจากที่มีอาการไข้หวัดผ่านไปจนถึง 10 วันแล้ว แต่อาการต่าง ๆ กลับไม่ดีขึ้น หรือดีขึ้นแล้วกลับทรุดลงไปอีก หรือเป็นซ้ำอีก ที่สำคัญคือปวดบริเวณใบหน้า ลักษณะเช่นนี้ให้วินิจฉัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นอาการของไซนัสอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โดยผู้ป่วยจะมีอาการคัดแน่นจมูก น้ำมูกไหลลงรูจมูก หรือไหลลงคอ และอาจปวดตื้อบริเวณด้านข้างจมูก และใบหน้า ถ้าหากท่านมีอาการเช่นนี้ให้รีบไปพบแพทย์ทันที


จริง ๆ แล้วโรคไซนัสอักเสบนั้นไม่ถึงกับเป็นอันตราย เพียงแค่ทำให้รู้สึกรำคาญบ้างเท่านั้น แต่ก็อย่าประมาทไป เพราะในบางรายอาจเกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นได้ ดังนี้



ไซนัสอักเสบสามารถป้องกันได้แค่เพียงดูแลสุขภาพร่างกายตัวเราให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ พยายามหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนแออัด หรือบริเวณที่มีฝุ่นควันมาก ๆ รวมทั้งรักษาสุขภาพปากและฟันให้ดี และถ้าเป็นหวัดก็ควรรีบรักษาให้หายขาดแต่เนิ่น ๆ เท่านี้ท่านก็ห่างไกลจากโรคใกล้ตัวโรคนี้ได้แล้วล่ะค่ะ
เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย

ลิขสิทธิ์บทความของ e-magazine.info
ติดตามบทความ สุขภาพ หรืออ่าน แมกกาซีน