
ผิวแตกลาย (หมอชาวบ้าน)
โดย นพ.ประวิตร พิศาลบุตร
ปัญหาผิวแตกลายพบได้บ่อย แม้จะไม่ได้เป็นโรคที่ทำให้เจ็บไข้ได้ป่วย แต่ก็สร้างความรำคาญให้แก่เจ้าของเรือนร่างมากทีเดียว ภาษาอังกฤษเรียกผิวแตกลายว่า stretch marks หรือ striae

ผิวแตกลายคือรอยที่ผิวหนัง ที่เกิดจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันใต้ผิวหนังฉีกขาด อาจจะเกิดจากการที่ร่างกายเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว หรือการออกกำลังกายที่ยืดร่างกายมากเกินไป (เช่น นักกีฬายิมนาสติก) พบภาวะผิวแตกลายได้บ่อย ไม่มีปัญหาต่อต้านสุขภาพทางกายแต่อย่างใด แต่มีผลในแง่ความงาม
คำว่า striae แปลว่า ร่อง ลายเส้นขนาน ชื่ออื่น ๆ ของผิวแตกลายนอกจากที่ใช้ว่า striae แล้ว บางครั้งอาจเรียกว่า striae distensae (ลายเส้นขนานจากการยืด) striae atrophicans (ลายเส้นขนานที่มีลักษณะผิวฝ่อ) striae rubra (ลายเส้นขนานที่มีสีแดง) มักจะพบในระยะเริ่มแรก และลายเส้นขนานที่มีสีขาว (striae alba) ซึ่งมักพบในระยะหลัง


มักพบรอยแตกลายที่ผิวหนังบริเวณตำแหน่งของร่างกายที่มีการยืดขยายอย่างต่อเนื่องและมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น



มีรายงานว่า วัยรุ่นบางรายนิยมใช้สารอะนาบอลิกสตีรอยด์ สารตัวนี้รู้จักกันดีในนักกีฬาเพราะเป็นสารกระตุ้น เพื่อเพิ่มสมรรถภาพของร่างกาย นักกีฬาที่ถูกตรวจพบสารนี้จะถูกลงโทษ
ปัจจุบันการใช้สารสตีรอยด์แพร่หลายไปสู่กลุ่มประชากรอื่น ๆ เช่น วัยรุ่นที่ต้องการจะสร้างกล้ามเนื้อลดไขมัน และเพิ่มศักยภาพในการเล่นกีฬา
เพศชาย การใช้สารอะนาบอลิกสตีรอยด์ทำให้ร่างกายหยุดการเจริญเติบโต และยังทำลายหัวใจ ไต และตับ อาจทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
เพศหญิง อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีเสียงทุ้มขึ้น และมีหน้าอกเล็กลง
อะนาบอลิกสตีรอยด์ยังทำให้ผู้ใช้มีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวมากขึ้น และเมื่อหยุดใช้จะเกิดความรู้สึกซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ความต้องการทางเพศลดลง


ลักษณะของกลุ่มอาการคุชชิ่งที่พบคือ ใบหน้ากลมเหมือนดวงจันทร์ (moon facies) ใบหน้าแดง (facial plethora) มีก้อนไขมันเหนือไหปลาร้า (supraclavecular fat pads) คอเป็นหนอกเหมือนกระบือ (buffalo hump) ลำตัวอ้วน (truncal obesity) มีรอยแตกลายสีแดง-ม่วง น่าสังเกตว่ารอยแตกลายในผู้ป่วยกลุ่มอาการนี้จะมีสีม่วงหรือสีแดงคงอยู่ตลอดไป ไม่เปลี่ยนเป็นสีขาวเหมือนในกรณีผิวแตกลายแบบอื่น ๆ
สาเหตุที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการคุชชิ่งที่พบบ่อยที่สุดคือ เกิดจากการใช้สารสตีรอยด์ต่อเนื่องมานาน (อาจมาจากการได้ยารักษาโรค เช่น ไต หอบหืด ฯลฯ) หรือพบบ่อยในเด็กที่บางครั้งพ่อแม่อาจซื้อยาลูกกลอนมาให้กิน โดยเข้าใจว่าเป็นแค่สมุนไพร เพราะหวังจะให้ลูกอ้วนท้วน พบเสมอว่าในยาลูกกลอนหลายตัวอย่างมีการเจือปนสารสตีรอยด์ ทำให้เด็กกินแล้วดูอ้วนท้วน ทั้งที่เป็นการอ้วนแบบบวมฉุ และตัวยาสตีรอยด์ยังมีผลเสียต่อร่างกายมากมาย


ปกติรอยแตกลายไม่มีผลต่อสุขภาพร่างกาย จะมีแค่เรื่องความสวยความงาม แต่อาจพบว่าผิวที่มีรอยแตกลายมาก ๆ เมื่อผิวได้รับบาดเจ็บอาจเกิดแผล หรือฉีกขาดได้ง่ายกว่าปกติ ส่วนรอยแตกลายในวัยรุ่นอาจจางลงได้บ้างเมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ
การรักษาและป้องกันรอยแตกลายมีหลายแบบ แต่อาจได้ผลบ้างแตกต่างกันไปในแต่ละราย โดยมีแนวทางดังนี้




ขอขอบคุณข้อมูลจาก
