x close

เรื่องน่ารู้ .. วิธีการทำบัตรประกันสังคม

 สปสช. ไฟเขียว ฟื้น 30 บาทรักษาทุกโรค เริ่ม 1 ส.ค.


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          คนทำงานประจำ ล้วนต้องจ่ายเงินสมทบให้กับสำนักงานประกันสังคม จำนวน 5% ของเงินเดือน เพื่อแลกกับสิทธิประโยชน์ทางการแพทย์ที่จะได้รับ รวมถึงสิทธิประโยชน์อื่น ๆ แต่หลายคนก็ยังคงไม่เข้าใจกับรายละเอียดของประกันสังคมเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะเรื่องของการทำบัตรประกันสังคม ดังนั้นวันนี้กระปุกดอทคอมจึงมีข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับวิธีการทำประกันสังคมมาฝาก เพื่อไขข้อข้องใจกันจ้า ..

          ก่อนที่จะไปรู้จักกับวิธีการทำบัตรประกันสังคม ลองมารู้จักกับประเภทของประกันสังคมกันก่อนดีกว่า ซึ่งประเภทของประกันสังคมนั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ลูกจ้าง, พนักงาน)

          คือบุคคลที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปี ที่ทำงานประจำ และอยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป โดยจะเป็นการส่งเงินสมทบ 5% ของเงินเดือน และนายจ้างจะทบเงินให้อีก 5% ซึ่งในส่วนนี้ทางนายจ้างจะเป็นผู้ดำเนินการทำบัตรประกันสังคมให้เอง

2. ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (ผู้ประกันตนแบบสมัครใจ)

          คือบุคคลที่ประกอบอาชีพอิสระ เช่น พนักงานที่ลาออกจากที่ทำงานเพื่อมารับทำงานอิสระ แต่เคยส่งเงินสมทบประกันสังคมไปแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ที่ประสงค์จะส่งเงินสมทบเพื่อเป็นผู้ประกันตนต่อไป จะต้องแจ้งขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ภายใน 6 เดือน หลังไม่ได้ส่งเงินสมทบในฐานะผู้ประกันตนตามมาตรา 33

3. ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (แรงงานนอกระบบ)

           คือบุคคลที่ไม่ใช่ลูกจ้าง และไม่เคยเป็นผู้ประกันตน แต่มีความประสงค์อยากใช้สิทธิ์ประกันสังคม เช่น พ่อค้า, แม่ค้า, คนขับรถแท็กซี่, มอเตอร์ไซค์รับจ้าง หรืออาชีพอิสระอื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันสามารถสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนได้เช่นกัน

วิธีการทำบัตรประกันสังคม

          วิธีการทำบัตรประกันสังคมสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นผู้ประกันตน มีรายละเอียดแบ่งตามประเภทของผู้ประกันตน ดังนี้

1. วิธีทำบัตรประกันสังคม ของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ลูกจ้าง, พนักงาน)

คุณสมบัติ

          - เป็นลูกจ้างหรือพนักงานประจำที่อยู่ในสถานประกอบการที่มีพนักงานมากกว่า 1 คนขึ้นไป

          - อายุ 15 – 60 ปี บริบูรณ์ (ยกเว้นอายุเกิน 60 ปี แต่ยังไม่สิ้นสุดความเป็นลูกจ้าง)

วิธีการสมัคร

          - หากเป็นผู้ที่ไม่เคยขึ้นทะเบียนประกันสังคมมาก่อน นายจ้างจะต้องยื่นแบบ (สปส. 1-03) โดยกรอกข้อมูลเลือกสถานพยาบาล และแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของลูกจ้าง

          - หากเป็นผู้ที่เคยมีบัตรประกันสังคมอยู่แล้ว แต่เปลี่ยนที่ทำงานใหม่ นายจ้างจะต้องยื่นแบบ (สปส. 6-08) พร้อมกรอกข้อมูลของลูกจ้างให้ชัดเจน

การส่งเงินสมทบ


          - ลูกจ้างจะถูกหักเงิน 5% ของเงินเดือน เพื่อสมทบประกันสังคม โดยนายจ้างจะสมทบเงินให้อีก 5%

2. วิธีทำบัตรประกันสังคม ของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (ผู้ประกันตนแบบสมัครใจ)

คุณสมบัติ

          - เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานมาแล้วไม่เกิน6 เดือน

          - ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม

วิธีการสมัคร

          - ทำเรื่องยื่นแบบ (สปส.1-20) ด้วยตนเอง ภายใน 6 เดือนหลังออกจากงาน

          - แนบเอกสารสำเนาบัตรประชาชน

การส่งเงินสมทบ

          - เดือนละ 432 บาท โดยใช้อัตราเงินเดือน 4,800 บาท เป็นฐานในการคิดอัตราเงินสมทบเท่ากันทุกคน และคิดที่ 9%

3. วิธีทำบัตรประกันสังคม ของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (แรงงานนอกระบบ)

คุณสมบัติ

          - อายุ 15 – 60 ปีบริบูรณ์

          - ไม่เป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 หรือ มาตรา 39

วิธีการสมัคร

          - ยื่นแบบ (สปส. 1-40) ด้วยตนเอง พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน

          - จ่ายเงินสมทบงวดแรก

การส่งเงินสมทบ มีให้เลือก 2 แบบคือ


          - ชุดสิทธิประโยชน์  1 จ่าย 100 บาท/เดือน (จ่ายเอง 70 บาท รัฐสนับสนุน 30 บาท)

          - ชุดสิทธิประโยชน์  2 จ่าย 150 บาท/เดือน (จ่ายเอง 100 บาท รัฐสนับสนุน 50 บาท)

          ทั้งนี้หากมีข้อสงสัยหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้จาก www.sso.go.th หรือ สายด่วน 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง






ขอขอบคุณข้อมูลจาก











เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เรื่องน่ารู้ .. วิธีการทำบัตรประกันสังคม อัปเดตล่าสุด 23 ตุลาคม 2560 เวลา 09:32:00 145,878 อ่าน
TOP