
นอนกรน รักษาได้ (ธรรมลีลา)
เรื่องการนอนกรนนั้น ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ตนเองอาจนึกไม่ถึง แต่คนข้างเคียงร้อยทั้งร้อยต่างส่งสัญญาณว่าควรแก้ไขเถอะ.....
ปัญหาการนอนกรน เป็นความผิดปกติของการนอนหลับที่พบบ่อย สำหรับในคนไทยแล้วยังไม่ปรากฏตัวเลขแน่ชัดแต่ในต่างประเทศ ช่วงอายุ 30-35 ปี พบว่าประมาณร้อยละ 20 ของเพศชาย และร้อยละ 5 ของเพศหญิงจะมีอาการนอนกรนและเมื่ออายุมากขึ้นถึง 60 ปี ประมาณร้อยละ 60 ของเพศชาย และร้อยละ 40 ของเพศหญิงจะกรนเป็นนิสัย ซึ่งถ้าดูกันแล้วจะเห็นได้ว่าอาการนอนกรนจะเพิ่มขึ้นตามอายุ
การนอนกรนเป็นอาการที่บ่งบอกถึงการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน มีความสัมพันธ์โดยตรงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งเป็นภาวะที่มีการอุดกั้นในทางเดินหายใจมาก จนกระทั้งทำให้เกิดการหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ ขณะนอนหลับ ภาวะหยุดหายในขณะหลับพบได้ประมาณร้อยละ 4 ในเพศชายและร้อยละ 2 ในเพศหญิง








วิธีนี้สามารถลดขนาดเนื้อเยื่อต่าง ๆ ที่อุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น เป็นผลให้อาการนอนกรนและ/หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับน้อยลง ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้น วิธีนี้ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อรอบ ๆ น้อย และยังทำให้อาการปวดหรือเจ็บแผลหลังผ่าตัดน้อยด้วย สามารถทำได้โดยใช้ยาชาเฉพาะที่ ผู้ป่วยจึงไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล ผลของการลดขนาดของเนื้อเยื่อดังกล่าวจะเห็นชัดเจนใน 4-6 สัปดาห์ อาจทำซ้ำได้อีก ถ้าผลยังไม่เป็นที่น่าพอใจวิธีนี้ง่ายในการทำ ผลข้างเคียงน้อยและได้ผลดี

พิลลาร์จะช่วยลดการสั่นสะเทือนหรือการสะบัดตัวของเพดานอ่อน และพยุงไม่ให้เพดาอ่อนในปากปิดทางเดินหายใจได้โดยง่าย และเมื่อเวลาผ่านไปเนื้อเยื่อของเพดานอ่อนรอบ ๆ จะตอบสนองต่อแท่งพิลลาร์โดยการเกิดพังผืด ช่วยเพิ่มความแข็งแรงสมบูรณ์ทางด้านโครงสร้างของเพดานอ่อนในปากมากขึ้น ทำให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น หายใจได้สะดวกขึ้น และอาการนอนกรนน้อยลง โดยไม่รบกวนการพูด การกลืน หรือการทำงานปกติของเพดานอ่อน มักนิยมใช้รักษาการนอนกรน และ/หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่เป็นไม่มาก

ว่าแต่จะรักษาด้วยวิธีใด หายหรือไม่นั้นอย่าเพิ่งกังวล ขอให้มาพบแพทย์แต่เนิ่น ๆ เพื่อทำการวินิจฉัย ตรวจหาสาเหตุของโรค ประเมินความรุนแรงและพิจารณาแนวทางรักษาที่เหมาะสม เนื่องจากหากให้การรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที จะช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ และยังทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น



ขอขอบคุณข้อมูลจาก
