เมื่อ 40 ปีก่อน โรค PCOS เป็นโรคที่ไม่ค่อยมีใครเป็นกัน แต่ปัจจุบันผู้หญิงทุก 1 ใน 10 คนจะเป็นโรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบเป็นอันดับต้น ๆ ทว่าก็อย่าเพิ่งด่วนยอมรับการวินิจฉัยเร็วเกินไป ผู้เขียน (Lara Grinevitch) เคยเห็นผู้ป่วยหลายคนถูกวินิจฉัยว่าเป็น PCOS หลังการไปทำอัลตราซาวด์ หรือไปตรวจพบว่ามีระดับฮอร์โมน luteinizing hormone (LH) มีระดับสูงเพียงครั้งเดียว ในการวินิจฉัยนั้นจะต้องประกอบด้วยสองสิ่งต่อไปนี้คือ
- อย่างที่ 1 ไม่มีรอบเดือนหรือมีรอบเดือนที่ผิดปกติ, มีระดับเทสโทสเตอโรนในเลือดสูงขึ้น, และอัลตราซาวด์พบว่ารังไข่มีถุงน้ำหลายใบอยู่ด้วย
- อย่างที่สอง PCOS มักเป็นโรคที่รักษาได้ ถุงน้ำ หรือ cyst ที่เกิดเป็นเพียง follicle หรือไข่ที่เจริญไม่เต็มที่ ที่ถูกดูดซึมกลับมาในขณะที่รังไข่พยายามจะตกไข่ออกมา สาเหตุของโรคนี้ได้แก่ โรคของต่อมไทรอยด์, ความเครียด และผอม
อย่างไรก็ตาม PCOS ที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนซึ่งจะสามารถตรวจพบได้จากการตรวจเลือดเท่านั้น การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุ ที่พบมากที่สุดคือเกิดจากการดื้ออินซูลิน PCOS ที่เกิดจากสาเหตุนี้จะตอบสนองได้ดีกับการลดน้ำหนักตัวลง และการใช้ยาคุมระดับน้ำตาลในเลือด ส่วน PCOS ที่เกิดจากสาเหตุอื่นก็ต้องการการรักษาที่แตกต่างกันออกไป
มีด้านบวกอะไรอยู่บ้าง ?
แมเรียม ฮูดีโคว่า นักวิจัยกล่าวว่า "เมื่อผู้ป่วย PCOS มีอายุมากขึ้น โอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้ก็สูงขึ้นด้วย" การทำงานของเมตาบอลึซึมที่ต่ำที่ทำให้ผู้หญิงมีอาการดื้ออินซูลินอาจไปมีผลในการ "สงวน" ปริมาณไข่สำรองที่มีอยู่ การวิจัยแสดงให้เห็นว่า เมื่ออายุได้ 35 ปี สตรีที่เป็น PCOS ประสบความสำเร็จในการมีครรภ์ได้เท่ากับสตรีที่ไม่เป็น PCOS แล้วก็ไม่ต้องไปทำการบำบัดการเจริญพันธุ์อีกด้วย
ชนิดที่ 1 PCOS จากการดื้ออินซูลิน
เป็น PCOS ชนิดที่พบได้มากที่สุด การตอบสนองผิดปกติต่ออินซูลิน (ดื้ออินซูลิน) ไปรบกวนการผลิตเอสโตรเจนและการตกไข่ เราสามารถยืนยันว่าป่วยด้วยโรค PCOS ชนิดที่ 1 ได้จากการตรวจเลือดหาความผิดปกติในความทนทานต่ออินซูลิน (glucose tole rance test) ไม่แนะนำให้ผู้ป่วย PCOS แบบนี้ รับประทานยาคุมกำเนิด
โรคนี้ยังเกิดขึ้นได้จากความไม่สมดุลของฮอร์โมนเลปติน (leptin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับเมตาบอลึซึม ปัญหาของเลปตินเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในสตรีที่มีประวัติการรับประทานอย่างผิดปกติ และการเล่นกีฬาอย่างหนัก โรคนี้สามารถวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจเลือด
อาการที่เห็น
- สิว
- ขนบนใบหน้า
- ผมร่วง
- รอบเดือนผิดปกติ
- เทสโทสเตอโรนสูง
- น้ำหนักตัวเพิ่ม
- ไม่เจริญพันธุ์
ชนิดที่ 2 PCOS ที่ไม่ได้เกิดจากการดื้ออินซูลิน
ผู้ป่วยด้วย PCOS ชนิดนี้มักมีรูปร่าง ผอมบาง มีระดับอินซูลินและเลปตินปกติ ดังนั้น จึงมีสาเหตุอื่นที่ทำให้การตกไข่ระดับเทสโทสเตอโรนเพิ่มสูงผิดปกติ PCOS ชนิดนี้ไม่ตอบสนองต่อการลดน้ำหนักตัวหรือยารักษาโรคเบาหวาน
อุปสรรค์ได้แก่ :
- ยาคุมกำเนิด จะไปขัดขวางการตอบสนองของฮอร์โมนและเพิ่มระดับฮอร์โมนพิทูอิทารี LH สำหรับสตรีส่วนมากแล้ว LH จะตกลงเมื่อหยุดใช้ยาคุมกำเนิด แต่บางคนก็ยังมีระดับสูงอยู่ การมีระดับ LH สูงเรื้อรังจะไปรบกวนการตกไข่, กระตุ้นเทสโทสเตอโรน, และนำไปสู่การเป็น PCOS การใช้ยาสมุนไพรอย่าง peony และชะเอมเทศ (licorice) สามารถยับยั้ง LH, ทำให้การตกไข่กลับมาเป็นปกติ, และทำให้อาการ PCOS ดีขึ้น
- ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำเกินไป ทำให้รอบเดือนผิดปกติ ซึ่งทางเทคนิคแล้วยังไม่ถือว่าเป็น PCOS แต่อาจทำให้วินิจฉัยผิดพลาดได้ ที่ยุ่งยากไปกว่านั้น โรค PCOS ที่แท้จริงกับโรคภูมิคุ้มกันจำตัวเองไม่ได้ หรือเล่นงานตัวเองจากปัญหาของต่อมไทรอยด์อีกด้วย
- ขาดวิตามินดี รังไข่ต้องการไวตามิน ดี เพื่อที่จะทำงานได้ หากตรวจพบแน่ว่าขาดวิตามินนี้ การรับประทานในรูปอาหารเสริมจะช่วยได้
- โปรแลคติน เป็นฮอร์โมนพิทูอิทารีที่สามารถกดการตกไข่ และทำให้รอบเดือนผิดปกติ นี่ไม่ใช่อาการของ PCOS แต่ก็น่าประหลาดใจที่ไม่ค่อยจะทำการตรวจเลือดหาสาเหตุนี้กันมากนัก
- ความเสียหายของฮอร์โมน เกิดจากการได้รับสาร bisphenol-A และ Phthalates ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเกิด PCOS
- แบคทีเรียในลำไส้ แบคทีเรียชนิดเลวสามารถกดการทำงานของโปรตีน sex hormone-binding globulin-SHBG ซึ่งควบคุมการทำงานของเทสโทสเตอโรน ทำให้เทสโทสเตอโรนทำงานผิดปกติ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
แปลและเรียบเรียงโดย ฉัตรตระกูล เจียจันทร์พงษ์