เพราะต้องใช้ฟันในการบดเคี้ยวอาหารทุกวัน ถ้าดูแลรักษาความสะอาดช่องปากไม่ดี ก็ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทำไมโรคเหงือกอักเสบ และอาการเหงือกบวมจะถามหา ใครที่แปรงฟันแล้วชอบมีเลือดออกนั่นแหละค่ะ สัญญาณเริ่มต้นของเหงือกอักเสบ
ไหน ! ลองมาดูซิว่า เหงือกอักเสบเกิดจากอะไร แล้วเราจะสามารถป้องกันและรักษาโรคเหงือกอักเสบ และอาการเหงือกบวมได้อย่างไรบ้าง
เช็ก ! อาการเหงือกอักเสบกันก่อน
สำหรับคนที่สงสัย หรือไม่แน่ใจว่าตัวเองเป็นโรคเหงือกอักเสบหรือไม่ ลองดูอาการต่อไปนี้ แล้วเช็กดูว่าตรงกับคุณกี่ข้อ
- มีเลือดออกตามไรฟันขณะแปรงฟัน หรือใช้ไหมขัดฟัน ข้อนี้หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่จริง ๆ แล้ว หากมีเลือดออกตามไรฟัน แสดงว่าเหงือกเริ่มมีการอักเสบแล้ว หากไม่ได้รับการรักษาจะมีอาการอื่น ๆ ตามมา
- เหงือกมีสีแดง ชมพูเข้ม แดงคล้ำ อาจบวม ดูเป็นมัน
- รู้สึกเจ็บ และปวดเวลาสัมผัสเหงือก
- มีกลิ่นปาก เพราะเศษอาหารจะไปตกค้างบริเวณที่เหงือกอักเสบบวม
- เหงือกจะเริ่มแยกตัวออกจากฟัน
- รู้สึกว่าฟันตัวเองยาวขึ้น
- เหงือกร่น
- มีหนองไหลออกมาจากร่องของเหงือก
- ฟันเริ่มโยก เพราะมีการละลายของกระดูกที่รองรับฟัน และเหงือกเป็นหนอง หากใครมีอาการฟันโยก แสดงว่าเป็นโรคเหงือกในระยะที่เป็นมากแล้ว
เช็ก ! อาการเหงือกอักเสบกันก่อน
สำหรับคนที่สงสัย หรือไม่แน่ใจว่าตัวเองเป็นโรคเหงือกอักเสบหรือไม่ ลองดูอาการต่อไปนี้ แล้วเช็กดูว่าตรงกับคุณกี่ข้อ
- มีเลือดออกตามไรฟันขณะแปรงฟัน หรือใช้ไหมขัดฟัน ข้อนี้หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่จริง ๆ แล้ว หากมีเลือดออกตามไรฟัน แสดงว่าเหงือกเริ่มมีการอักเสบแล้ว หากไม่ได้รับการรักษาจะมีอาการอื่น ๆ ตามมา
- เหงือกมีสีแดง ชมพูเข้ม แดงคล้ำ อาจบวม ดูเป็นมัน
- รู้สึกเจ็บ และปวดเวลาสัมผัสเหงือก
- มีกลิ่นปาก เพราะเศษอาหารจะไปตกค้างบริเวณที่เหงือกอักเสบบวม
- เหงือกจะเริ่มแยกตัวออกจากฟัน
- รู้สึกว่าฟันตัวเองยาวขึ้น
- เหงือกร่น
- มีหนองไหลออกมาจากร่องของเหงือก
- ฟันเริ่มโยก เพราะมีการละลายของกระดูกที่รองรับฟัน และเหงือกเป็นหนอง หากใครมีอาการฟันโยก แสดงว่าเป็นโรคเหงือกในระยะที่เป็นมากแล้ว
แล้วเหงือกอักเสบเกิดจากอะไรล่ะ
1. การขาดการดูแลรักษาความสะอาดช่องปากอย่างถูกวิธี ไม่ขูดหินปูนเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการสะสมของคราบจุลินทรีย์และหินปูน ซึ่งเป็นที่สะสมของเชื้อโรค
2. ยาบางชนิด หากรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานานก็มีผลทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบได้ เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาต้านอาการซึมเศร้า ยาระงับชัก และยาโรคหัวใจ
3. การขาดสารอาหารบางประเภท เช่น แคลเซียม วิตามินบี วิตามินซี ก็อาจทำให้เกิดโรคเหงือกได้เช่นกัน
4. โรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคเหงือกอักเสบที่รุนแรงกว่าคนทั่วโลก โดยเฉพาะในกรณีหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวาน
5. พันธุกรรม มีข้อมูลระบุว่า ผู้ที่เป็นโรคเหงือกอักเสบ ร้อยละ 30 เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม
6. การสูบบุหรี่ รายงานการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่า ผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเหงือกอักเสบมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ 4-6 เท่า นอกจากนี้ สารทาร์ในบุหรี่ยังเป็นตัวเร่งการเกิดคราบหินปูนในผู้ป่วยที่เป็นโรคชนิดรุนแรงมากถึงร้อยละ 60
หลายคนอาจคิดว่า แค่เหงือกบวม เหงือกอักเสบนิด ๆ หน่อย ๆ ไม่น่าจะเป็นอะไร แต่รู้ไหมคะ หากปล่อยให้เหงือกอักเสบไปนาน ๆ อาการเล็ก ๆ น้อย ๆ อาจจะรุนแรงมากขึ้น คือ ฟันจะยื่นยาวมากขึ้น ฟันโยก รู้สึกเจ็บเวลาเคี้ยวอาหาร เพราะเหงือก และกระดูกเบ้าฟันถูกทำลายจนต้องถอนทิ้ง หรือต้องทำการรักษาที่ยุ่งยากมากขึ้น เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลารักษา แถมยังเจ็บตัวมากกว่าเดิมอีกต่างหาก
แต่ว่าที่ร้ายแรงกว่านั้นยังมีอีกค่ะ เพราะมีผลวิจัยชี้ออกมาแล้วว่า ผู้ที่เป็นโรคเหงือกอักเสบจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากขึ้น หรือถ้าใครเป็นเบาหวานอยู่ก็จะยิ่งควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ยาก ส่วนหญิงมีครรภ์ก็จะมีความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดได้ ฟังดูแล้ว เหงือกอักเสบ อันตรายกว่าที่คิดจริง ๆ
แล้วทำอย่างไรดีล่ะ เมื่อตัวเองเป็นเหงือกอักเสบ
ไม่ยากเลย ถ้าเราพบอาการผิดปกติในช่องปากแม้เพียงเล็กน้อย ก็ควรไปพบทันตแพทย์ตั้งแต่ระยะแรก เพื่อขอคำแนะนำในการดูแลช่องปาก และเพื่อให้แพทย์แก้ไขปัญหาให้ โดยโรคนี้เป็นโรคที่ป้องกันได้ แต่รักษาไม่หายขาด ต้องมาพบแพทย์เป็นประจำ แต่เราก็สามารถดูแลตัวเองไม่ให้อาการรุนแรงขึ้นได้
ป้องกันเหงือกอักเสบด้วยตัวเอง
แน่นอนค่ะว่า ต่อให้เราไปพบทันตแพทย์เพื่อรักษาโรคเหงือกอักเสบแล้ว แต่ถ้าเรายังไม่ปรับเปลี่ยนนิสัยการดูแลสุขภาพช่องปากของตัวเอง อาการเหงือกอักเสบก็จะย้อนกลับมาทำร้ายช่องปากเราได้อีก เพราะฉะนั้น จำวิธีป้องกันเหงือกอักเสบไว้เลยค่ะว่า อะไรที่ "ควรทำ" และอะไรที่ "ควรเลี่ยง"
ควรทำ
- ทำความสะอาดฟันอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ร่วมกับใช้ไหมขัดฟันวันละ 1 ครั้ง
- เลือกใช้แปรงที่มีขนแปรงอ่อนนุ่ม
- พบทันตแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพปากและฟันทุก ๆ 6 เดือน
ควรเลี่ยง
- หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีความเป็นกรดสูง เพื่อถนอมฟัน แต่หากเลี่ยงไม่ได้ ให้ดื่มน้ำหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง เพื่อลดกรดในช่องปาก
- ไม่ควรแปรงฟันหลังทานอาหารทันที เนื่องจากผิวฟันยังอ่อนนุ่มอยู่ อาจทำให้ฟันสึกได้ ควรรออย่างน้อย 30 นาที
- ไม่ควรแปรงฟันนานเกินไป เพราะจะทำให้เหงือกเกิดการอักเสบได้
อย่าลืมนะคะ สุขภาพภายในช่องปากเป็นสิ่งสำคัญมาก หากเราละเลย ไม่ดูแลมันให้ดี เกิดมีปัญหาขึ้นมา อาจถึงขั้นกินไม่ได้ นอนไม่หลับ เพราะเจ็บปวดกับการรักษาแน่ ๆ เราเตือนแล้วนะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
bangkokhealth.com