มะเร็งหลังโพรงจมูก (Nasopharynx cancer) ภัยเงียบที่ควรระวัง เพราะเกิดขึ้นกับอวัยวะภายในยากแก่การมองเห็น แต่อย่างน้อยลองสำรวจอาการตัวเองในเบื้องต้นว่าเราเสี่ยงเป็นมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะคนที่หูอื้อ คัดจมูกบ่อย มีน้ำมูกปนเลือด และคนชอบกินของหมักดอง
มะเร็งหลังโพรงจมูก (Nasopharynx cancer) เป็นมายังไง
โรคมะเร็งหลังโพรงจมูก (Nasopharynx cancer) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศจีน ฮ่องกง และไต้หวัน รวมถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างบ้านเราด้วย โดยโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกมักจะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงประมาณ 2 เท่า ซึ่งผู้ป่วยส่วนมากจะอยู่ในกลุ่มอายุ 2 ช่วงด้วยกัน คือ ช่วงอายุ 15-25 ปี และ 50-60 ปี
มะเร็งหลังโพรงจมูก สาเหตุคืออะไร
สาเหตุของโรคมะเร็งหลังโพรงจมูก ได้แก่
1. พันธุกรรม
เนื่องจากโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกมีความชุกสูงเฉพาะในเขตภูมิศาสตร์ เช่น ประเทศจีนตอนใต้ และพื้นที่ที่มีชาวจีนอพยพไปอยู่ เช่น ฮ่องกง ไต้หวัน ทำให้มีการสันนิษฐานว่า พันธุกรรมอาจเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกได้
2. อาหารการกิน
สารก่อมะเร็งไนโตรซามีน (Nitrosamine) เป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งหลังโพรงจมูก โดยหากสูดดมสารนี้เข้าไปสัมผัสกับเยื่อบุหลังโพรงจมูก อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ DNA ของเซลล์เยื่อบุผิว จนเกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์ได้ ซึ่งเราจะพบสารก่อมะเร็งชนิดนี้ปนเปื้อนอยู่ในอาหารหมักดอง เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม แหนม ไส้กรอกอีสาน หรือแม้แต่อาหารปิ้งย่างต่าง ๆ ก็มี
3. เชื้อไวรัส
จากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูกจะมีสารภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเอปสไตน์บาร์ (Epstein-Barr virus - EBV) ในปริมาณที่สูงกว่าประชากรทั่วไปที่มีสุขภาพดี จึงสันนิษฐานว่าเชื้อไวรัสตัวนี้เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกด้วย
4. สิ่งแวดล้อม
ปัจจัยทางแวดล้อม เช่น ฝุ่นละออง ควันไฟจากการเผาไม้หรือหญ้า สารเคมีต่าง ๆ รวมไปถึงควันจากมวนบุหรี่ อาจมีผลต่อการเกิดมะเร็งหลังโพรงจมูกได้เช่นกัน
5. สุขภาพช่องปากที่ไม่ดี และภาวะอักเสบเรื้อรังของโพรงจมูก
สุขอนามัยทางช่องปากที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างที่ควร รวมไปถึงการอักเสบเรื้อรังของโพรงที่อยู่หลังจมูก ก็เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกได้นะคะ
มะเร็งหลังโพรงจมูก อาการเป็นอย่างไร
อาการแสดงของโรคมะเร็งหลังโพรงจมูก สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
1. อาการทางจมูก
มีอาการระคายเคืองหลังโพรงจมูก มีน้ำมูกปนเลือด มีเลือดออกทางจมูกบ่อย ๆ แน่นจมูก หายใจไม่ค่อยสะดวก หรือคัดจมูก มีน้ำมูกไหลลงคอเรื้อรัง หรือเสียงเปลี่ยนไป ซึ่งอาการเหล่านี้อาจทำให้ผู้ป่วยหลายรายต้องเข้ารับการรักษาแบบเดียวกับโรคโพรงจมูกอักเสบ หรือไซนัสอักเสบเรื้อรังมาก่อน
2. อาการทางหู
การได้ยินบกพร่อง มีเสียงดังในหู รู้สึกปวดหู หรือมีของเหลวไหลออกจากหู อันเนื่องมาจากการทำงานผิดปกติของท่อเชื่อมหูชั้นกลาง เพราะการลุกลามของมะเร็ง เป็นผลให้ความกดอากาศในหูชั้นกลางลดลง ก่อให้เกิดอาการหูอื้อ และอาการนี้จะมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ
3. ก้อนที่คอ
เป็นอาการที่สังเกตได้ค่อนข้างชัดของโรคนี้ โดยเฉพาะอาการของโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกระยะที่ลุกลามไปถึงต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ ซึ่งจะตรวจพบก้อนที่คอเพียงก้อนเดียว หรือหลายก้อนแบบติดกัน ห่างกันก็ได้ ทว่าเคสที่พบบ่อยมักจะเจอก้อนที่คอเพียงก้อนเดียว มีลักษณะแข็ง ไม่เจ็บ และเคลื่อนไหวไป-มาได้
4. อาการทางระบบประสาท
ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดศีรษะ มองเห็นภาพซ้อน ชาที่ใบหน้า เจ็บเสียวที่แก้มข้างเดียวกับตำแหน่งที่เป็นมะเร็ง และในรายที่อาการลุกลามมาก ผู้ป่วยอาจเป็นอัมพาตที่กล้ามเนื้อใบหน้า เวียนศีรษะ เสียงแหบ กลืนลำบาก หรือสำลักอาหาร รวมทั้งมีการรับกลิ่นและรสเปลี่ยนไปได้
5. อาการอื่น ๆ
เช่น น้ำหนักลด เบื่ออาหาร มีไข้ต่ำ ๆ และอาจมีอาการอ้าปากไม่ขึ้น สำลักน้ำขึ้นจมูก เป็นต้น ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากการลุกลามของเซลล์มะเร็งไปยังอวัยวะตำแหน่งอื่น
หากสังเกตว่าตัวเองมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะคลำเจอก้อนที่คอ ร่วมกับรู้ตัวว่ามีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหลังโพรงจมูก ก็ควรรีบเข้าไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยและซักประวัติเพิ่มเติม ทั้งนี้ เพื่อการรักษาที่รวดเร็วในกรณีที่มีเซลล์มะเร็งซ่อนตัวอยู่นะคะ
มะเร็งหลังโพรงจมูก รักษาหายไหม
โรคมะเร็งหลังโพรงจมูกสามารถรักษาให้หายขาดได้ ในกรณีที่ตรวจพบรอยโรคในระยะเริ่มแรก นั่นหมายความว่า ยิ่งรู้ตัวว่าป่วยเร็วเท่าไร โอกาสในการรักษาโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกให้หายขาดก็ยิ่งมีความหวังมากเท่านั้น ซึ่งแนวทางการรักษาโรคมะเร็งหลังโพรงจมูก มีดังนี้
1. การฉายรังสี
เนื่องจากบริเวณหลังโพรงจมูกเป็นตำแหน่งที่ยากต่อการผ่าตัด ดังนั้น การรักษาหลัก ๆ จึงเป็นการฉายรังสี โดยการฉายรังสีเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งหลังโพรงจมูก ระยะที่ 1 พบผลการรักษาที่น่าพอใจ เพราะช่วยควบคุมโรคเฉพาะที่ได้กว่า 90% นั่นหมายความว่ามีโอกาสตัดเซลล์มะเร็งทิ้งไปได้เกือบทั้งหมด
2. การฉายรังสีร่วมกับเคมีบำบัด
สำหรับกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกในระยะที่ 2 ขึ้นไป แพทย์อาจต้องใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีควบคู่กันเพื่อประสิทธิภาพการรักษาที่ดีขึ้น
3. การผ่าตัด
ในกรณีที่สามารถควบคุมเซลล์มะเร็งหลังโพรงจมูกได้แล้ว แต่ยังคงมีก้อนที่คออยู่ หรือในเคสที่ผู้ป่วยมีมะเร็งเกิดซ้ำหรือหลงเหลือเซลล์มะเร็งในบริเวณที่จำกัด เคสแบบนี้จะสามารถใช้การผ่าตัดทำการรักษาได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยแต่ละบุคคล รวมไปถึงการวินิจฉัยจากแพทย์ด้วย
โดยส่วนมากแล้วผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์พร้อมอาการมะเร็งโพรงจมูกในระยะที่เริ่มลุกลาม ซึ่งเป็นระยะที่อาการของโรคจะปรากฏชัดเจนมากกว่าในระยะแรก ๆ แต่อย่างที่บอกไปค่ะว่า ไม่ว่าโรคใด ๆ ก็ตาม ตรวจพบได้ไว โอกาสในการรักษาให้หายก็ย่อมมากกว่า ดังนั้น หากมีความผิดปกติกับร่างกายขึ้นก็อย่าได้นิ่งนอนใจ รีบไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลกันดีกว่า แล้วก็อย่าลืมหมั่นรักษาสุขภาพ กินอาหารมีประโยชน์ ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอด้วยเนอะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มะเร็งหลังโพรงจมูก (Nasopharynx cancer) เป็นมายังไง
โรคมะเร็งหลังโพรงจมูก (Nasopharynx cancer) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศจีน ฮ่องกง และไต้หวัน รวมถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างบ้านเราด้วย โดยโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกมักจะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงประมาณ 2 เท่า ซึ่งผู้ป่วยส่วนมากจะอยู่ในกลุ่มอายุ 2 ช่วงด้วยกัน คือ ช่วงอายุ 15-25 ปี และ 50-60 ปี
มะเร็งหลังโพรงจมูก สาเหตุคืออะไร
สาเหตุของโรคมะเร็งหลังโพรงจมูก ได้แก่
1. พันธุกรรม
เนื่องจากโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกมีความชุกสูงเฉพาะในเขตภูมิศาสตร์ เช่น ประเทศจีนตอนใต้ และพื้นที่ที่มีชาวจีนอพยพไปอยู่ เช่น ฮ่องกง ไต้หวัน ทำให้มีการสันนิษฐานว่า พันธุกรรมอาจเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกได้
2. อาหารการกิน
สารก่อมะเร็งไนโตรซามีน (Nitrosamine) เป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งหลังโพรงจมูก โดยหากสูดดมสารนี้เข้าไปสัมผัสกับเยื่อบุหลังโพรงจมูก อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ DNA ของเซลล์เยื่อบุผิว จนเกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์ได้ ซึ่งเราจะพบสารก่อมะเร็งชนิดนี้ปนเปื้อนอยู่ในอาหารหมักดอง เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม แหนม ไส้กรอกอีสาน หรือแม้แต่อาหารปิ้งย่างต่าง ๆ ก็มี
3. เชื้อไวรัส
จากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูกจะมีสารภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเอปสไตน์บาร์ (Epstein-Barr virus - EBV) ในปริมาณที่สูงกว่าประชากรทั่วไปที่มีสุขภาพดี จึงสันนิษฐานว่าเชื้อไวรัสตัวนี้เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกด้วย
4. สิ่งแวดล้อม
ปัจจัยทางแวดล้อม เช่น ฝุ่นละออง ควันไฟจากการเผาไม้หรือหญ้า สารเคมีต่าง ๆ รวมไปถึงควันจากมวนบุหรี่ อาจมีผลต่อการเกิดมะเร็งหลังโพรงจมูกได้เช่นกัน
5. สุขภาพช่องปากที่ไม่ดี และภาวะอักเสบเรื้อรังของโพรงจมูก
สุขอนามัยทางช่องปากที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างที่ควร รวมไปถึงการอักเสบเรื้อรังของโพรงที่อยู่หลังจมูก ก็เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกได้นะคะ
อาการแสดงของโรคมะเร็งหลังโพรงจมูก สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
1. อาการทางจมูก
มีอาการระคายเคืองหลังโพรงจมูก มีน้ำมูกปนเลือด มีเลือดออกทางจมูกบ่อย ๆ แน่นจมูก หายใจไม่ค่อยสะดวก หรือคัดจมูก มีน้ำมูกไหลลงคอเรื้อรัง หรือเสียงเปลี่ยนไป ซึ่งอาการเหล่านี้อาจทำให้ผู้ป่วยหลายรายต้องเข้ารับการรักษาแบบเดียวกับโรคโพรงจมูกอักเสบ หรือไซนัสอักเสบเรื้อรังมาก่อน
2. อาการทางหู
การได้ยินบกพร่อง มีเสียงดังในหู รู้สึกปวดหู หรือมีของเหลวไหลออกจากหู อันเนื่องมาจากการทำงานผิดปกติของท่อเชื่อมหูชั้นกลาง เพราะการลุกลามของมะเร็ง เป็นผลให้ความกดอากาศในหูชั้นกลางลดลง ก่อให้เกิดอาการหูอื้อ และอาการนี้จะมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ
เป็นอาการที่สังเกตได้ค่อนข้างชัดของโรคนี้ โดยเฉพาะอาการของโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกระยะที่ลุกลามไปถึงต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ ซึ่งจะตรวจพบก้อนที่คอเพียงก้อนเดียว หรือหลายก้อนแบบติดกัน ห่างกันก็ได้ ทว่าเคสที่พบบ่อยมักจะเจอก้อนที่คอเพียงก้อนเดียว มีลักษณะแข็ง ไม่เจ็บ และเคลื่อนไหวไป-มาได้
4. อาการทางระบบประสาท
ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดศีรษะ มองเห็นภาพซ้อน ชาที่ใบหน้า เจ็บเสียวที่แก้มข้างเดียวกับตำแหน่งที่เป็นมะเร็ง และในรายที่อาการลุกลามมาก ผู้ป่วยอาจเป็นอัมพาตที่กล้ามเนื้อใบหน้า เวียนศีรษะ เสียงแหบ กลืนลำบาก หรือสำลักอาหาร รวมทั้งมีการรับกลิ่นและรสเปลี่ยนไปได้
5. อาการอื่น ๆ
เช่น น้ำหนักลด เบื่ออาหาร มีไข้ต่ำ ๆ และอาจมีอาการอ้าปากไม่ขึ้น สำลักน้ำขึ้นจมูก เป็นต้น ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากการลุกลามของเซลล์มะเร็งไปยังอวัยวะตำแหน่งอื่น
หากสังเกตว่าตัวเองมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะคลำเจอก้อนที่คอ ร่วมกับรู้ตัวว่ามีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหลังโพรงจมูก ก็ควรรีบเข้าไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยและซักประวัติเพิ่มเติม ทั้งนี้ เพื่อการรักษาที่รวดเร็วในกรณีที่มีเซลล์มะเร็งซ่อนตัวอยู่นะคะ
มะเร็งหลังโพรงจมูก รักษาหายไหม
โรคมะเร็งหลังโพรงจมูกสามารถรักษาให้หายขาดได้ ในกรณีที่ตรวจพบรอยโรคในระยะเริ่มแรก นั่นหมายความว่า ยิ่งรู้ตัวว่าป่วยเร็วเท่าไร โอกาสในการรักษาโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกให้หายขาดก็ยิ่งมีความหวังมากเท่านั้น ซึ่งแนวทางการรักษาโรคมะเร็งหลังโพรงจมูก มีดังนี้
1. การฉายรังสี
เนื่องจากบริเวณหลังโพรงจมูกเป็นตำแหน่งที่ยากต่อการผ่าตัด ดังนั้น การรักษาหลัก ๆ จึงเป็นการฉายรังสี โดยการฉายรังสีเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งหลังโพรงจมูก ระยะที่ 1 พบผลการรักษาที่น่าพอใจ เพราะช่วยควบคุมโรคเฉพาะที่ได้กว่า 90% นั่นหมายความว่ามีโอกาสตัดเซลล์มะเร็งทิ้งไปได้เกือบทั้งหมด
2. การฉายรังสีร่วมกับเคมีบำบัด
สำหรับกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกในระยะที่ 2 ขึ้นไป แพทย์อาจต้องใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีควบคู่กันเพื่อประสิทธิภาพการรักษาที่ดีขึ้น
3. การผ่าตัด
ในกรณีที่สามารถควบคุมเซลล์มะเร็งหลังโพรงจมูกได้แล้ว แต่ยังคงมีก้อนที่คออยู่ หรือในเคสที่ผู้ป่วยมีมะเร็งเกิดซ้ำหรือหลงเหลือเซลล์มะเร็งในบริเวณที่จำกัด เคสแบบนี้จะสามารถใช้การผ่าตัดทำการรักษาได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยแต่ละบุคคล รวมไปถึงการวินิจฉัยจากแพทย์ด้วย
โดยส่วนมากแล้วผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์พร้อมอาการมะเร็งโพรงจมูกในระยะที่เริ่มลุกลาม ซึ่งเป็นระยะที่อาการของโรคจะปรากฏชัดเจนมากกว่าในระยะแรก ๆ แต่อย่างที่บอกไปค่ะว่า ไม่ว่าโรคใด ๆ ก็ตาม ตรวจพบได้ไว โอกาสในการรักษาให้หายก็ย่อมมากกว่า ดังนั้น หากมีความผิดปกติกับร่างกายขึ้นก็อย่าได้นิ่งนอนใจ รีบไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลกันดีกว่า แล้วก็อย่าลืมหมั่นรักษาสุขภาพ กินอาหารมีประโยชน์ ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอด้วยเนอะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์