ไม่รู้ว่านอนตกหมอนหรือไม่ว่าคอเคล็ดจะเกิดจากอะไร แต่อาการปวดคอไม่ยอมหาย แบบนี้จะทำยังไงดี ลองมาดู
คอเคล็ดจนหันซ้ายหันขวาไม่สะดวก ชีวิตประจำวันก็เซไปหมด แบบนี้ต้องรีบรักษาอาการคอเคล็ดให้หาย แต่จะมีวิธีแก้คอเคล็ดยังไงบ้าง ใครมีอาการนี้แล้วอยากหายไว ๆ คืนความปกติสุขให้ชีวิต ไปดูสาเหตุที่ทำให้คอเคล็ดและวิธีแก้คอเคล็ดกันเลย
คอเคล็ด เกิดจากอะไร
สาเหตุของคอเคล็ดเกิดได้หลายปัจจัย ดังนี้
* การอักเสบที่กล้ามเนื้อคอด้านข้างแนวกระดูกสันหลังใต้ท้ายทอย ทำให้ปวดคอร้าวไปที่ศีรษะ หรือการที่คอเคล็ดแล้วปวดหัวด้วยนั่นเอง ซึ่งพบสาเหตุนี้ได้ 90% เลยทีเดียว
* นอนผิดท่า เช่น นอนหมอนสูงเกินไป นอนหมอนต่ำเกินไป นอนคว่ำเป็นประจำ หรือชอบนอนตะแคงเกือบทั้งคืน
* การหันผิดท่าหรือการนั่งก้มนาน ๆ เงยหน้านาน ๆ หรือการกึ่งนั่งกึ่งนอนดูโทรทัศน์ การสะบัดผมบ่อย ๆ หรือการใช้คอหนีบโทรศัพท์
* การนั่งหลับ
* อุบัติเหตุที่ทำให้มีการเคลื่อนไหวคออย่างเฉียบพลันและรุนแรง เช่น รถชนท้าย หกล้มหน้าคว่ำ เป็นต้น
* การเสื่อมของกระดูกคอตามอายุ ทำให้มีหินปูนเกาะขอบกระดูก กดเส้นประสาท จนเกิดอาการปวดคอปวดร้าวตามไหล่ โดยสาเหตุนี้พบได้ราว 5%
* ภาวะเครียด หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ
วิธีแก้คอเคล็ด ทำได้ง่าย ๆ
1. นอนราบ
นอนราบไปกับเตียง โดยหนุนหมอนที่ไม่สูงหรือต่ำเกินไป ลองนอนแล้วให้ศีรษะ ต้นคอ และบ่า อยู่ในระนาบเดียวกัน ถ้าสอดมือเข้าไปต้องไม่มีช่องว่างใต้คอ การนอนราบสักพักจะช่วยให้กล้ามเนื้อคอคลายตัว หรือจะประคบร้อนในช่วงที่นอนพักไปพร้อม ๆ กันก็ได้
2. ประคบร้อน
ใช้ถุงน้ำร้อน หรือผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น ประคบบริเวณที่คอเคล็ดนาน 15-20 นาที เพื่อให้กล้ามเนื้อที่ตึงค่อย ๆ คลายตัว หลังจากนั้นกดนวดบริเวณที่เคล็ดเบา ๆ
3. ดันศีรษะเบา ๆ
ใช้มือจับที่ศีรษะด้านที่เคล็ด แล้วออกแรงดันเบา ๆ ไปด้านตรงข้าม ค้างท่าไว้ 10-15 วินาที จากนั้นใช้มือค่อย ๆ นวดบริเวณที่เคล็ดช้า ๆ เป็นระยะ แล้วประคบร้อนบริเวณที่เคล็ดอีกครั้งเพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว
ทั้งนี้ไม่ควรดันศีรษะแรง ๆ เพื่อแก้คอเคล็ด เพราะอาจเสี่ยงเส้นพลิกได้ และไม่ควรให้คนอื่นทำให้ เพราะเขาอาจกะน้ำหนักมือไม่ถูก และไม่รู้ระดับความปวดของเราด้วย อย่างไรก็ตาม ปกติอาการปวดคอมักจะหายภายใน 1-2 วัน แต่หากลองวิธีแก้คอเคล็ดเหล่านี้แล้วไม่หาย แนะนำให้ปรึกษานักกายภาพบำบัดหรือแพทย์เลยดีกว่า
ไม่อยากคอเคล็ดก็ป้องกันได้
อาการคอเคล็ดสามารถป้องกันได้ โดยมีหลักปฏิบัติตามนี้
- เลือกหมอนหนุนนอนให้เหมาะสมกับสรีระของตัวเอง
- นอนให้ถูกท่า ไม่นอนคว่ำหรือนอนตะแคงทั้งคืน
- ไม่นั่งหรืออยู่ในท่าเดิมนาน ๆ โดยเฉพาะการนั่งก้มหน้า หรือเกร็งไหล่
- ปรับจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนให้อยู่ในระดับสายตา จะได้ไม่ต้องก้มคอมองนาน ๆ
- จัดทรงผมให้เรียบร้อย ไม่ปรกหน้าจนต้องสะบัดบ่อย ๆ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- หมั่นออกกำลังกาย หรืออย่างน้อยควรยืดเหยียดกล้ามเนื้อบ่อย ๆ
- 34 ภาพท่ายืดกล้ามเนื้อ ผ่อนคลายทุกส่วนของร่างกาย
ใครมีอาการคอเคล็ดก็ลองนำวิธีแก้คอเคล็ดข้างต้นไปรักษาตัวเองให้หาย แล้วอย่าลืมปรับพฤติกรรมของตัวเองให้ไกลจากความเสี่ยงอาการคอเคล็ดด้วยล่ะ
* หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2563
ขอบคุณข้อมูลจาก
รายการสามัญประจำบ้าน, โรงพยาบาลวิภาวดี, ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลสุขุมวิท
คอเคล็ด เกิดจากอะไร
สาเหตุของคอเคล็ดเกิดได้หลายปัจจัย ดังนี้
* การอักเสบที่กล้ามเนื้อคอด้านข้างแนวกระดูกสันหลังใต้ท้ายทอย ทำให้ปวดคอร้าวไปที่ศีรษะ หรือการที่คอเคล็ดแล้วปวดหัวด้วยนั่นเอง ซึ่งพบสาเหตุนี้ได้ 90% เลยทีเดียว
* นอนผิดท่า เช่น นอนหมอนสูงเกินไป นอนหมอนต่ำเกินไป นอนคว่ำเป็นประจำ หรือชอบนอนตะแคงเกือบทั้งคืน
* การหันผิดท่าหรือการนั่งก้มนาน ๆ เงยหน้านาน ๆ หรือการกึ่งนั่งกึ่งนอนดูโทรทัศน์ การสะบัดผมบ่อย ๆ หรือการใช้คอหนีบโทรศัพท์
* การนั่งหลับ
* อุบัติเหตุที่ทำให้มีการเคลื่อนไหวคออย่างเฉียบพลันและรุนแรง เช่น รถชนท้าย หกล้มหน้าคว่ำ เป็นต้น
* การเสื่อมของกระดูกคอตามอายุ ทำให้มีหินปูนเกาะขอบกระดูก กดเส้นประสาท จนเกิดอาการปวดคอปวดร้าวตามไหล่ โดยสาเหตุนี้พบได้ราว 5%
* ภาวะเครียด หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ
วิธีแก้คอเคล็ด ทำได้ง่าย ๆ
1. นอนราบ
นอนราบไปกับเตียง โดยหนุนหมอนที่ไม่สูงหรือต่ำเกินไป ลองนอนแล้วให้ศีรษะ ต้นคอ และบ่า อยู่ในระนาบเดียวกัน ถ้าสอดมือเข้าไปต้องไม่มีช่องว่างใต้คอ การนอนราบสักพักจะช่วยให้กล้ามเนื้อคอคลายตัว หรือจะประคบร้อนในช่วงที่นอนพักไปพร้อม ๆ กันก็ได้
2. ประคบร้อน
ใช้ถุงน้ำร้อน หรือผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น ประคบบริเวณที่คอเคล็ดนาน 15-20 นาที เพื่อให้กล้ามเนื้อที่ตึงค่อย ๆ คลายตัว หลังจากนั้นกดนวดบริเวณที่เคล็ดเบา ๆ
3. ดันศีรษะเบา ๆ
ใช้มือจับที่ศีรษะด้านที่เคล็ด แล้วออกแรงดันเบา ๆ ไปด้านตรงข้าม ค้างท่าไว้ 10-15 วินาที จากนั้นใช้มือค่อย ๆ นวดบริเวณที่เคล็ดช้า ๆ เป็นระยะ แล้วประคบร้อนบริเวณที่เคล็ดอีกครั้งเพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว
ทั้งนี้ไม่ควรดันศีรษะแรง ๆ เพื่อแก้คอเคล็ด เพราะอาจเสี่ยงเส้นพลิกได้ และไม่ควรให้คนอื่นทำให้ เพราะเขาอาจกะน้ำหนักมือไม่ถูก และไม่รู้ระดับความปวดของเราด้วย อย่างไรก็ตาม ปกติอาการปวดคอมักจะหายภายใน 1-2 วัน แต่หากลองวิธีแก้คอเคล็ดเหล่านี้แล้วไม่หาย แนะนำให้ปรึกษานักกายภาพบำบัดหรือแพทย์เลยดีกว่า
ไม่อยากคอเคล็ดก็ป้องกันได้
อาการคอเคล็ดสามารถป้องกันได้ โดยมีหลักปฏิบัติตามนี้
- เลือกหมอนหนุนนอนให้เหมาะสมกับสรีระของตัวเอง
- นอนให้ถูกท่า ไม่นอนคว่ำหรือนอนตะแคงทั้งคืน
- ไม่นั่งหรืออยู่ในท่าเดิมนาน ๆ โดยเฉพาะการนั่งก้มหน้า หรือเกร็งไหล่
- ปรับจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนให้อยู่ในระดับสายตา จะได้ไม่ต้องก้มคอมองนาน ๆ
- จัดทรงผมให้เรียบร้อย ไม่ปรกหน้าจนต้องสะบัดบ่อย ๆ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- หมั่นออกกำลังกาย หรืออย่างน้อยควรยืดเหยียดกล้ามเนื้อบ่อย ๆ
- 34 ภาพท่ายืดกล้ามเนื้อ ผ่อนคลายทุกส่วนของร่างกาย
ใครมีอาการคอเคล็ดก็ลองนำวิธีแก้คอเคล็ดข้างต้นไปรักษาตัวเองให้หาย แล้วอย่าลืมปรับพฤติกรรมของตัวเองให้ไกลจากความเสี่ยงอาการคอเคล็ดด้วยล่ะ
รายการสามัญประจำบ้าน, โรงพยาบาลวิภาวดี, ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลสุขุมวิท