
ยาไอซ์ วัยรุ่นอยากผอมอยากขาวแต่อาจตายได้ (Momypedia)
ยาไอซ์ มีชื่อทางเคมีว่า เมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์ ที่อยู่ในรูปเมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) หรือยาบ้า แต่ยาไอซ์มีความบริสุทธิ์สูงกว่ายาบ้า 4-5 เท่า ดังนั้น เมื่อเสพแล้วจึงออกฤทธิ์เร็วและแรงกว่ายาบ้า
ชื่อ ยาไอซ์ หรือ "ICE" เรียกตามลักษณะ คือ ก้อนผลึกใสเหมือนน้ำแข็ง ปัจจุบันจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ยาเสพติดร้ายแรงตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ยาไอซ์ที่ลักลอบขายในปัจจุบันนอกจากจะเป็นผลึกใส หรือผงสีขาวละเอียดแล้ว ยังมีสีชมพู สีฟ้า หรือเขียว รวมทั้งมีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น meth, crystal meth, shabu, glass, krank, tweak และ tina









เมื่อเสพยาไอซ์เข้าร่างกายแล้ว ยาไอซ์จะแสดงอาการและฤทธิ์ยานาน 8-24 ชั่วโมง และยังจะมีสารพิษตกค้างอยู่ในร่างกายหลายวัน วิธีการเสพยาไอซ์จะออกฤทธิ์ในเวลาที่ต่างกันดังนี้





สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ระบุว่า ความเชื่อที่ทำให้วัยรุ่นเสพยาไอซ์ไม่เป็นความจริง เพราะยาไอซ์เป็นยาเสพติดให้โทษชนิดรุนแรง แม้เสพยาไอซ์ในปริมาณน้อยก็สามารถทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้ โดยอาการเมื่อเสพยาไอซ์มีดังนี้









ภาพเปรียบเทียบก่อน-หลังของผู้เสพยาไอซ์

ภาพเปรียบเทียบก่อน-หลังของผู้เสพยาไอซ์

การบำบัดรักษายาไอซ์ ยังไม่มียารักษาเฉพาะ แต่จะรักษาตามอาการ ซึ่งผู้เสพยาไอซ์มักจะมีอาการซึมเศร้า บางรายรุนแรงถึงขั้นอยากฆ่าตัวตาย แพทย์จะใช้ยาต้านการซึมเศร้า นอกจากนี้ยังต้องฟื้นฟูโรคสมองติดยา เนื่องจากยาไอซ์เข้าไปทำลายเซลล์สมอง ซึ่งต้องใช้เวลาในการบำบัดรักษาและฟื้นฟูอย่างน้อย 3-4 เดือน และติดตามดูแลช่วยเหลือหลังผ่านการบำบัด 1 ปี เพื่อไม่ให้กลับไปเสพซ้ำอีก ผู้ที่ผ่านการบำบัดครบระยะเวลาสามารถเลิกเสพยาถาวรถึง 90%

จากการตรวจสอบพบว่ามีการเรียกยาไอซ์ว่าเป็นยาเสพติดชั้นสูง เพราะยาไอซ์เป็นยาเสพติดที่มีราคาแพง มีความบริสุทธิ์สูง ออกฤทธิ์เร็ว แต่ก็ไม่ใช่ยาเสพติดที่หาได้ง่ายทั่วไป การสถิติการจับกุมพบว่ายาไอซ์มักจะขายและตรวจพบได้ตามสถานบันเทิง สถานที่สังสรรค์ต่าง ๆ และพบว่ามีผู้เสพที่เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย







ยาเสพติดคือสิ่งเร้าและอันตรายจากภายนอกที่เราสามารถป้องกันได้จากภายใน คือ การสร้างภูมิคุ้มกันทางใจที่เข้มแข็ง และการปกป้องดูแลของพ่อแม่ที่เริ่มได้ตั้งแต่ในบ้านนะคะ
ขอปิดท้ายด้วยคลิปรณรงค์ต่อต้านยาไอซ์ความยาวคลิปละ 30 วินาที จากนักศึกษาและเยาวชนใน "โครงการปล่อยของ ๑" การประกวดสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์รณรงค์แก้ไขปัญหาค่านิยมที่ไม่พึงประสงค์เกี่ยวกับการใช้สารเสพติดประเภทไอซ์ของเด็กและเยาวชน โดยสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรมและสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) เมื่อปี 2555 ไอเดียในการรณรงค์ต้านยาไอซ์เจ๋งไม่เบาเลยค่ะ
คลิป ปล่อยของ ๑ ตอน ความสุขที่ใกล้ตัว โพสต์โดย FriendsChannelTv สมาชิกเว็บไซต์ยูทูบดอทคอม
คลิป ปล่อยของ ๑ ตอน ขอดำอย่างนี้ดีกว่า โพสต์โดย Panut julkasem สมาชิกเว็บไซต์ยูทูบดอทคอม
คลิป ปล่อยของ ๑ ตอน ขอดำอย่างนี้ดีกว่า โพสต์โดย Panut julkasem สมาชิกเว็บไซต์ยูทูบดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
