
อาหารที่กระตุ้นให้เกิดไมเกรน (APPEAL)
เราเชื่อว่าหลายคนต้องเคยประสบกับการปวดไมเกรน ซึ่งเป็นอาการปวดศีรษะแบบตุ๊บ ๆ คล้ายกับเส้นเลือดเต้นอยู่ ซึ่งมักจะเกิดที่ศีรษะข้างเดียว หรืออาจย้ายข้าง หรืออาจปวดทั้งสองข้างเลยกันมาบ้างแล้ว และหนึ่งในสาเหตุของการเกิดโรคนี้ก็คือ สิ่งกระตุ้นในกลุ่มของอาหารและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ ซึ่งถ้าเรามีการสังเกตประเภทของอาหารและเครื่องดื่มที่กินเข้าไป ก็จะช่วยลดอาการปวดให้น้อยลงได้ หรือไมเกรนอาจไม่ถามหาอีกต่อไป
...วันนี้เรามีข้อมูลดี ๆ จากเรืออากาศโท นพ.กีรติกร ว่องไววาณิชย์ อายุรแพทย์สมองและระบบประสาท จากโรงพยาบาลกรุงเทพ มาฝากผู้อ่านกัน

เป็นองค์ประกอบทางธรรมชาติในอาหารประเภทที่ผ่านการหมักบ่ม, รมควัน, เนื้อสัตว์ที่ผ่านกรรมวิธียืดอายุ, ของหมักดอง, อาหารที่มีส่วนผสมของยีสต์ และเบียร์ เป็นต้น ซึ่งผู้ที่มีความไวต่อสารไทรามีน เมื่อกินอาหารเหล่านี้เข้าไปก็จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงได้

เป็นสารที่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลปกติ 180-200 เท่า แม้จะยังไม่มีผลการวิจัยรับรองอย่างเป็นทางการว่าแอสปาร์แตมเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน แต่ก็พบว่าในผู้ป่วยบางรายมีอาการปวดศีรษะหลังจากกินสารตัวนี้เข้าไป


ผงชูรสเป็นสารปรุงแต่งรสชาติอาหารที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย สิ่งที่ทำให้ปวดศีรษะอาจมาจากการกระตุ้นให้มีการหลั่งสารสื่อประสาทบางชนิด หรือไปกระตุ้นให้เซลล์ของผนังหลอดเลือดหลั่งสารไนตริกออกไซด์ ซึ่งเป็นสารที่ทำให้หลอดเลือดเกิดการขยายตัว จนนำไปสู่อาการปวดศีรษะในที่สุด

เป็นสารกันบูดที่ใช้ในการถนอมอาหาร เช่น อาหารหมักดอง อาหารรมควัน กลไกในการกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะอาจเกิดจากสารชนิดนี้กระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารไนตริกออกไซด์ หรือสารที่ทำให้หลอดเลือดขยายตัวชนิดอื่น ๆ ออกมา ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะตามมานั่นเอง


กาเฟอีนมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ขึ้นอยู่กับขนาดที่กินเข้าไป โดยปกติจะพบในเครื่องดื่ม 115 มก. ซึ่งคาเฟอีนในขนาด 50-300 มก. มีผลทำให้ร่างกายตื่นตัว แต่หากมากกว่า 300 มก. จะทำให้เกิดอาการวิตกกังวล กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ หงุดหงิด ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะ แนะนำให้หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภท ชา กาแฟ อาหารหรือยาที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน

พบว่าเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนได้บ่อย โดยอาจทำให้มีอาการปวดศีรษะภายใน 3 ชั่วโมงหลังจากดื่ม หรือเกิดตามมาในช่วงท้าย สาเหตุเกิดจากเครื่องดื่ม เช่น ไวน์ ซึ่งมีส่วนประกอบของไทรามีน, ซัลไฟด์, ฮีสตามีน และฟลาโวนอยด์ สารเหล่านี้สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
