ลองมาเช็กกันว่าเพราะอะไรถึงเรอบ่อย เรอโดยไม่มีอะไรกั้น พร้อมวิธีแก้อาการเรอให้หายเป็นปกติ
![เรอบ่อยแบบไหน ผิดปกติ เรอบ่อยแบบไหน ผิดปกติ]()
เราพอรู้กันอยู่ว่าอาการเรอ เกิดจากมีแก๊สสะสมในกระเพาะอาหาร หลายคนที่รู้สึกอึดอัด แน่นท้อง เลยพยายามจะดื่มน้ำอัดลมเพื่อให้เรอออกมา แต่ถ้าเรอบ่อย แป๊บ ๆ ก็เรอโดยไม่มีอะไรกั้น อาจเป็นสัญญาณของโรคอะไรหรือไม่ ลองมาเช็กกันค่ะว่าอาการเรอบ่อยเกิดจากอะไร ส่อโรคที่น่ากังวลหรือไม่ และมีวิธีแก้เรอยังไงบ้าง
เรอบ่อย เกิดจากอะไร
อย่างที่บอกว่าอาการเรอมักจะเป็นผลจากมีแก๊สหรือลมในกระเพาะอาหารมากเกินไป โดยมีหลายปัจจัยที่ทำให้เรารับแก๊สและลมเข้าไปในกระเพาะอาหาร ดังนี้
- พูดคุยระหว่างรับประทานอาหาร ทำให้เผลอกลืนลมเข้าไปด้วย
- การกินอาหารเร็วเกินไป ทำให้ลมเล็ดลอดเข้าสู่กระเพาะได้มากกว่าปกติ
- การเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการท้องอืดได้
- การดื่มกาแฟ น้ำอัดลม หรืออาหารที่มีกรด แก๊สมาก เช่น ถั่ว ผักกะหล่ำปลี บรอกโคลี ดอกกะหล่ำ หัวหอม ต้นหอม เป็นต้น
- การรับประทานอาหารมากเกินไป โดยเฉพาะประเภทไขมัน ซึ่งร่างกายต้องใช้เวลาย่อยนาน และอาจกระตุ้นการเกิดแก๊สในกระเพาะและลำไส้ได้
- การกินอาหารที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ เช่น คนที่ไม่มีเอนไซม์ย่อยโปรตีนจากนม แต่ไปดื่มนม หรือคนแพ้กลูเตน แต่ไปกินอาหารที่มีกลูเตน ลำไส้ก็จะไม่สามารถย่อยอาหารที่กินเข้าไปได้ จนทำให้เกิดแก๊ส ท้องอืด หรือท้องเสีย
- การสูบบุหรี่
- การเคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอม
- การกินยาบางชนิด เช่น ยาจิตเวช ที่อาจลดการบีบตัวของลำไส้ ยาระบาย หรือการกินยาแก้ปวดในปริมาณมาก จนทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และมีอาการเรอบ่อยได้
- ภาวะภูมิแพ้ที่มีการหายใจทางปาก
- ภาวะเครียด ความวิตกกังวล หรือปัจจัยกระตุ้นบางอย่าง ที่ทำให้มีพฤติกรรมกลืนลมลงไปในกระเพาะโดยไม่รู้ตัว
- ใส่ฟันปลอมไม่พอดี ทำให้ลมลอดผ่านได้
เรอบ่อย ป่วยโรคอะไรได้บ้าง
![เรอบ่อยแบบไหน ผิดปกติ เรอบ่อยแบบไหน ผิดปกติ]()
หลายคนกังวลว่าการเรอบ่อย หรือตดบ่อย อาจเป็นสัญญาณความผิดปกติของลำไส้ บางคนก็กลัวจะเป็นอาการบ่งชี้โรคมะเร็งเลยทีเดียว แต่หากการเรอของเราไม่ได้มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เรอเป็นลมธรรมดา ไม่มีของเหลวรสเปรี้ยวขึ้นมาที่คอ ไม่รู้สึกแสบร้อนหน้าอก ไม่ปวดท้อง จุกเสียด แน่นท้อง ไม่มีอาการท้องเสีย ท้องผูก ขับถ่ายผิดปกติ ถ่ายเป็นเลือด น้ำหนักลด หรือมีอาการปวดเกร็งที่ท้อง ถือว่าเป็นการเรอปกติที่ไม่ได้บ่งชี้ถึงภาวะของโรคใด ไม่ก่อให้เกิดอันตราย อาจเป็นเพียงแค่อาหารไม่ย่อย ทำให้มีลมในท้อง ท้องอืด ซึ่งการเรอเป็นปฏิกิริยาระบายลมของร่างกาย ที่ช่วยให้รู้สึกสบายท้อง สบายตัวขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม หากมีอาการเรอ ร่วมกับความผิดปกติอื่น ๆ ของร่างกายตามนี้ด้วย ก็อาจจะเป็นเรอบอกโรคได้เหมือนกัน
* เรอบ่อย เรอเปรี้ยว
แถมมีอาการแสบร้อนกลางอก หรือแสบร้อนขึ้นมาถึงคอ จุกเสียดบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือเสียงแหบ ไอเรื้อรัง นี่อาจเป็นสัญญาณของโรคกรดไหลย้อนได้นะ
- กรดไหลย้อนเกิดจากอะไร ต่างจากโรคกระเพาะอย่างไร
* เรอบ่อย ปวดท้องเกร็ง
หากรู้สึกเหมือนมีลมในท้องแทบจะตลอดเวลา ตดบ่อย ท้องเสียสลับท้องผูก อาจต้องสงสัยโรคลำไส้แปรปรวน
* เรอบ่อย แสบท้อง จุกเสียด
อาจเป็นสัญญาณของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือโรคแผลในกระเพาะอาหาร
- โรคกระเพาะอาหาร ปวดท้องแบบไหนใช่เลย
* เรอบ่อย ท้องเสียเรื้อรัง น้ำหนักตัวลด
หากมีอาการเรอบ่อย พร้อมกับท้องเสียเรื้อรัง ท้องผูกเรื้อรัง ขับถ่ายผิดปกติ มีเลือดปนกับอุจจาระ หรือน้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือเรอบ่อยและมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกร่วมด้วย เคสแบบนี้ไม่น่าวางใจ ควรต้องรีบไปตรวจร่างกายโดยละเอียด เพื่อหาสาเหตุของความผิดปกติที่เกิดขึ้น
แก้เรอบ่อย ยังไงดี
![เรอบ่อยแบบไหน ผิดปกติ เรอบ่อยแบบไหน ผิดปกติ]()
หากมีอาการเรอ จุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด เพราะอาหารไม่ย่อย อาจกินยาลดกรด หรือยาที่ช่วยขับลม เพื่อลดอาการท้องอืด นอกจากนี้ อย่างที่ทราบว่า อาการเรอส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการกินอาหารของเราเองที่เป็นปัจจัยกระตุ้นการเรอ รวมทั้งพฤติกรรมบางอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น ดังนั้นควรแก้เรอบ่อยจากต้นตอของสาเหตุ เช่น
- เคี้ยวอาหารให้ละเอียด กินอาหารให้ช้าลง
- หลีกเลี่ยงการกินไปคุยไปในระหว่างมื้ออาหาร
- ลดอาหารที่ทำให้เกิดกรดและแก๊ส เช่น กาแฟ น้ำอัดลม โซดา เบียร์ ถั่ว ผักตระกูลกะหล่ำ หัวหอม อาหารไขมันสูง
- พยายามไม่กินอาหารที่แพ้ หรืออาหารที่ร่างกายย่อยไม่ได้
- เลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่ง อมลูกอม
- เลิกบุหรี่
- หลีกเลี่ยงการกลืนลม เช่น ไม่ดูดหลอดเล่น โดยเฉพาะการดูดน้ำจากแก้วที่น้ำหมดไปแล้ว เป็นต้น
- ตรวจฟันปลอมว่ามีขนาดพอดีหรือไม่
- หากพบว่ายาที่กินอยู่เป็นตัวการทำให้เรอ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อปรับยา
- รักษาโรคที่ทำให้มีอาการเรอให้หาย เช่น กรณีป่วยโรคกรดไหลย้อน ควรพบแพทย์ ไม่ควรซื้อยามากินเอง
อย่างไรก็ตาม หากเรอบ่อยโดยไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วยเลย ก็ไม่น่ากังวลใจเท่าไรหรอกนะคะ แค่อาจจะรู้สึกรำคาญการเรอของตัวเองเท่านั้น ดังนั้นลองพิจารณาให้ดีว่าเรามีพฤติกรรมที่กระตุ้นให้เกิดอาการเรอไหม หากพบก็ควรปรับ ไม่ว่าจะพฤติกรรม หรือการกินอาหารในชีวิตประจำวันของเราเอง แต่หากมีอาการเรอร่วมกับอาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น แสบร้อนกลางอก ปวดเกร็งท้อง เจ็บหน้าอก ถ่ายเป็นเลือด ควรปรึกษาแพทย์
ขอบคุณข้อมูลจาก
ชัวร์ก่อนแชร์, Rama channel, โรงพยาบาลสมิติเวช, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

เรอบ่อย เกิดจากอะไร

อย่างที่บอกว่าอาการเรอมักจะเป็นผลจากมีแก๊สหรือลมในกระเพาะอาหารมากเกินไป โดยมีหลายปัจจัยที่ทำให้เรารับแก๊สและลมเข้าไปในกระเพาะอาหาร ดังนี้
- พูดคุยระหว่างรับประทานอาหาร ทำให้เผลอกลืนลมเข้าไปด้วย
- การกินอาหารเร็วเกินไป ทำให้ลมเล็ดลอดเข้าสู่กระเพาะได้มากกว่าปกติ
- การเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการท้องอืดได้
- การดื่มกาแฟ น้ำอัดลม หรืออาหารที่มีกรด แก๊สมาก เช่น ถั่ว ผักกะหล่ำปลี บรอกโคลี ดอกกะหล่ำ หัวหอม ต้นหอม เป็นต้น
- การรับประทานอาหารมากเกินไป โดยเฉพาะประเภทไขมัน ซึ่งร่างกายต้องใช้เวลาย่อยนาน และอาจกระตุ้นการเกิดแก๊สในกระเพาะและลำไส้ได้
- การกินอาหารที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ เช่น คนที่ไม่มีเอนไซม์ย่อยโปรตีนจากนม แต่ไปดื่มนม หรือคนแพ้กลูเตน แต่ไปกินอาหารที่มีกลูเตน ลำไส้ก็จะไม่สามารถย่อยอาหารที่กินเข้าไปได้ จนทำให้เกิดแก๊ส ท้องอืด หรือท้องเสีย
- การสูบบุหรี่
- การเคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอม
- การกินยาบางชนิด เช่น ยาจิตเวช ที่อาจลดการบีบตัวของลำไส้ ยาระบาย หรือการกินยาแก้ปวดในปริมาณมาก จนทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และมีอาการเรอบ่อยได้
- ภาวะภูมิแพ้ที่มีการหายใจทางปาก
- ภาวะเครียด ความวิตกกังวล หรือปัจจัยกระตุ้นบางอย่าง ที่ทำให้มีพฤติกรรมกลืนลมลงไปในกระเพาะโดยไม่รู้ตัว
- ใส่ฟันปลอมไม่พอดี ทำให้ลมลอดผ่านได้

หลายคนกังวลว่าการเรอบ่อย หรือตดบ่อย อาจเป็นสัญญาณความผิดปกติของลำไส้ บางคนก็กลัวจะเป็นอาการบ่งชี้โรคมะเร็งเลยทีเดียว แต่หากการเรอของเราไม่ได้มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เรอเป็นลมธรรมดา ไม่มีของเหลวรสเปรี้ยวขึ้นมาที่คอ ไม่รู้สึกแสบร้อนหน้าอก ไม่ปวดท้อง จุกเสียด แน่นท้อง ไม่มีอาการท้องเสีย ท้องผูก ขับถ่ายผิดปกติ ถ่ายเป็นเลือด น้ำหนักลด หรือมีอาการปวดเกร็งที่ท้อง ถือว่าเป็นการเรอปกติที่ไม่ได้บ่งชี้ถึงภาวะของโรคใด ไม่ก่อให้เกิดอันตราย อาจเป็นเพียงแค่อาหารไม่ย่อย ทำให้มีลมในท้อง ท้องอืด ซึ่งการเรอเป็นปฏิกิริยาระบายลมของร่างกาย ที่ช่วยให้รู้สึกสบายท้อง สบายตัวขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม หากมีอาการเรอ ร่วมกับความผิดปกติอื่น ๆ ของร่างกายตามนี้ด้วย ก็อาจจะเป็นเรอบอกโรคได้เหมือนกัน
* เรอบ่อย เรอเปรี้ยว
แถมมีอาการแสบร้อนกลางอก หรือแสบร้อนขึ้นมาถึงคอ จุกเสียดบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือเสียงแหบ ไอเรื้อรัง นี่อาจเป็นสัญญาณของโรคกรดไหลย้อนได้นะ
- กรดไหลย้อนเกิดจากอะไร ต่างจากโรคกระเพาะอย่างไร
* เรอบ่อย ปวดท้องเกร็ง
หากรู้สึกเหมือนมีลมในท้องแทบจะตลอดเวลา ตดบ่อย ท้องเสียสลับท้องผูก อาจต้องสงสัยโรคลำไส้แปรปรวน
* เรอบ่อย แสบท้อง จุกเสียด
อาจเป็นสัญญาณของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือโรคแผลในกระเพาะอาหาร
- โรคกระเพาะอาหาร ปวดท้องแบบไหนใช่เลย
* เรอบ่อย ท้องเสียเรื้อรัง น้ำหนักตัวลด
หากมีอาการเรอบ่อย พร้อมกับท้องเสียเรื้อรัง ท้องผูกเรื้อรัง ขับถ่ายผิดปกติ มีเลือดปนกับอุจจาระ หรือน้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือเรอบ่อยและมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกร่วมด้วย เคสแบบนี้ไม่น่าวางใจ ควรต้องรีบไปตรวจร่างกายโดยละเอียด เพื่อหาสาเหตุของความผิดปกติที่เกิดขึ้น
แก้เรอบ่อย ยังไงดี

หากมีอาการเรอ จุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด เพราะอาหารไม่ย่อย อาจกินยาลดกรด หรือยาที่ช่วยขับลม เพื่อลดอาการท้องอืด นอกจากนี้ อย่างที่ทราบว่า อาการเรอส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการกินอาหารของเราเองที่เป็นปัจจัยกระตุ้นการเรอ รวมทั้งพฤติกรรมบางอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น ดังนั้นควรแก้เรอบ่อยจากต้นตอของสาเหตุ เช่น
- เคี้ยวอาหารให้ละเอียด กินอาหารให้ช้าลง
- หลีกเลี่ยงการกินไปคุยไปในระหว่างมื้ออาหาร
- ลดอาหารที่ทำให้เกิดกรดและแก๊ส เช่น กาแฟ น้ำอัดลม โซดา เบียร์ ถั่ว ผักตระกูลกะหล่ำ หัวหอม อาหารไขมันสูง
- พยายามไม่กินอาหารที่แพ้ หรืออาหารที่ร่างกายย่อยไม่ได้
- เลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่ง อมลูกอม
- เลิกบุหรี่
- หลีกเลี่ยงการกลืนลม เช่น ไม่ดูดหลอดเล่น โดยเฉพาะการดูดน้ำจากแก้วที่น้ำหมดไปแล้ว เป็นต้น
- ตรวจฟันปลอมว่ามีขนาดพอดีหรือไม่
- หากพบว่ายาที่กินอยู่เป็นตัวการทำให้เรอ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อปรับยา
- รักษาโรคที่ทำให้มีอาการเรอให้หาย เช่น กรณีป่วยโรคกรดไหลย้อน ควรพบแพทย์ ไม่ควรซื้อยามากินเอง
อย่างไรก็ตาม หากเรอบ่อยโดยไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วยเลย ก็ไม่น่ากังวลใจเท่าไรหรอกนะคะ แค่อาจจะรู้สึกรำคาญการเรอของตัวเองเท่านั้น ดังนั้นลองพิจารณาให้ดีว่าเรามีพฤติกรรมที่กระตุ้นให้เกิดอาการเรอไหม หากพบก็ควรปรับ ไม่ว่าจะพฤติกรรม หรือการกินอาหารในชีวิตประจำวันของเราเอง แต่หากมีอาการเรอร่วมกับอาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น แสบร้อนกลางอก ปวดเกร็งท้อง เจ็บหน้าอก ถ่ายเป็นเลือด ควรปรึกษาแพทย์
* หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 8 กันยายน 2563
ขอบคุณข้อมูลจาก
ชัวร์ก่อนแชร์, Rama channel, โรงพยาบาลสมิติเวช, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา