นักวิจัยในสหรัฐพบว่า ความรู้สึกเปล่าเปลี่ยวเดียวดายสามารถแพร่ระบาดไปยังคนอื่นได้ ทำนองเดียวกับไข้หวัดใหญ่ ซึ่งผู้หญิงมีโอกาสมากกว่าผู้ชายที่จะ "ติดเชื้อ" นี้
ข้อมูลจากไทยโพสต์รายงานว่า งานวิจัยของทีมจากมหาวิทยาลัยชิคาโก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก พบว่า คนที่เหงามักแพร่ความรู้สึกซึมเศร้าแก่คนรอบตัว ซึ่งในที่สุดคนเหล่านี้จะแยกตัวออกจากสังคม
จอห์น คาซีออพโป นักจิตวิทยาของ ม.ชิคาโก หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า คนที่เหงาจะแพร่เชื้อไปยังเพื่อน ๆ ที่ยังหลงเหลืออยู่ ขณะเจ้าตัวเองก็จะมีเพื่อนน้อยลง ๆ เพื่อนที่เหลือนั้นก็จะพากันเหงา และสูญเสียเพื่อนเช่นกัน
เนื่องจากความเหงาเกี่ยวข้องกับทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ ซึ่งทำให้อายุของคนเราสั้นลง เขาบอกว่าเราควรตระหนักถึงเรื่องนี้ และช่วยเหลือคนที่เหงาก่อนที่คนเหล่านั้นจะปลีกตัวออกจากสังคม
งานชิ้นนี้ได้ศึกษาข้อมูลในโครงการติดตามโรคหัวใจ ซึ่งได้ศึกษาความเสี่ยงของโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดในคนไข้กว่า 5,000 รายนับแต่ปี 2491 ซึ่งโครงการนี้ได้ขยายรวมถึงคนรุ่นที่สองอีก 5,124 คน
นักวิจัยพบว่าเมื่อคนเรารู้สึกเหงา ก็จะรู้สึกเชื่อใจไว้ใจคนอื่นน้อยลง และทำให้ยากแก่การสร้างมิตรภาพให้เกิดขึ้น
นักวิจัยบอกว่า โดยธรรมชาติแล้วสังคมมักกีดกันคนแบบนี้ออกไป ซึ่งพบได้ในการทดลองกับลิง ฉะนั้น จึงต้องหาทางรับมือกับความเหงาก่อนที่จะแพร่เชื้อไปยังคนอื่น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก