
การรักษาการติดเชื้อแคนดิด้า (อาหาร & สุขภาพ)
โดย Tess Dingle
ยีสต์แคนดิด้าที่เจริญเติบโตมากเกินไปทำให้เกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์หลายอย่าง Tess Dingle จะมาอธิบายให้ฟัง และบอกวิธีแก้ไขความเสียหายที่เกิดจากมัน
คุณอาจทราบมาก่อนแล้วว่าการเจริญของเชื้อ Candida albicans ที่มากเกินไปทำให้เกิดอาการของการติดเชื้อราในช่องคลอด ต่อไปนี้คือสาเหตุที่ทำให้เป็นและจะรักษาหรือป้องกันได้อย่างไร
C. albicans อาศัยอยู่ในร่างกายของเรา ในสภาวะปกติ มันมีหน้าที่สำคัญในการช่วยการทำงานของภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อสมดุลของจุลชีพที่อยู่ในลำไส้เล็กเกิดปั่นป่วนและแคนดิด้าเพิ่มจำนวนมากขึ้น รูปแบบการเจริญของมันก็เปลี่ยนไปแล้วรูปแบบกลายมาเป็นเส้นใยแบบเชื้อรา แล้วเจริญแทรกเยื่อ

หากคุณมีอาการดังที่กล่าวต่อไปนี้ ก็อาจเกิดจากการมีเชื้อแคนดิด้าเติบโตมากเกินไป





เมือกทำให้เกิดเป็นช่องแล้วทำให้เกิดอาการ "ลำไส้รั่ว" หรือ "leaky gut syndrome" จากนั้นสารพิษที่แคนดิด้าสร้างขึ้นก็ไหลไปตามกระแสโลหิตพร้อม ๆ กับสารอาหารที่ยังไม่ได้รับการย่อยอย่างถูกต้อง รวมทั้งตัวยีสต์เองด้วย


ปัจจัยหลายอย่างทำให้จุลชีพในลำไส้เสียสมดุล ยาปฏิชีวนะทำลายแบคทีเรีย รวมถึงชนิดแบคทีเรียที่ดีคอยควบคุมแคนดิด้าเอาไว้ การใช้ยาปฏิชีวนะบ่อย ๆ, การใช้ยากดภูมิคุ้มกัน, ยาคุมกำเนิด, คอร์ติโคสเตรอยด์ และยาฮอร์โมนอื่น ๆ เป็นสาเหตุให้ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ที่เยื่อเมือกที่ปกติจะเป็นกรดให้มีค่าสูงขึ้นกลายเป็นด่างและเหมาะกับการเจริญของแคนดิด้ามากขึ้น
ในสภาวะปกติ เอสโตรเจนกระตุ้นการหลั่งกลูคากอน (glucagon-คือกลูโคสในรูปที่ถูกเก็บสะสม) จากผนังช่องคลอด แล้วถูกหมักด้วยเชื้อแลคโตบาซิลลัสชนิดต่าง ๆ (lactobacilli) ทำให้เกิดเป็นกรดแลคติค สภาพที่เป็นกรดนี้ช่วยป้องกันการติดเชื้อแคนดิด้า และป้องกันไม่ให้มันเจริญมากเกินไป หากกระบวนการถูกรบกวนก็จะเกิดการอักเสบในช่องคลอด (vaginitis หรือ vaginal thrush) ทารกเกิดใหม่มีภูมิคุ้มกันที่ไม่เจริญเต็มที่และถูกรุกรานจากเชื้อแคนดิด้าได้ง่ายที่บริเวณที่อุ่นและชื้น ซึ่งเชื้อนี้จะชอบมาก
นอกเหนือจากสมดุลของจุลชีพและภูมิคุ้มกันที่ตกลงแล้วทำให้แคนดิด้ามีจำนวนมากขึ้นได้แล้ว อีกประการที่ทำให้มันเจริญขึ้นมาได้ก็คือมันได้รับอาหารมากเกินไป คนที่เคยต้มเหล้าจะทราบดีว่ายีสต์ชอบน้ำตาล แคนดิด้าที่เจริญมากเกินไปก็มักมาจากกลูโคสในเลือดสูงกินไป ไม่ว่าจะจากโภชนาการที่ไม่ดี หรือความไม่สมดุลทางสรีระ (ดื้ออินซูลินหรือทนต่อกลูโคสไม่ได้) การดื้ออินซูลินกระตุ้นให้กลูคากอนหลั่งออกมาจากตับและกล้ามเนื้อให้มากลายเป็นเชื้อเพลิงให้แก่แคนดิด้าต่อไป

การจำกัดปริมาณกลูโคสนับเป็นขั้นตอนแรก อาหารที่ให้กลูโคสก็ได้แก่น้ำตาล เช่น น้ำตาลทั่วไป, น้ำผึ้ง, สารให้ความหวานทดแทน และฟรุคโตสจากผลไม้ คาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี ทั้งขนมปังขาว, ขนมอบ, พาสต้าแป้งขาวและข้าว ล้วนมีค่าดัชนีกลัยซีมิค (glycemic index-GI) สูง กลูโคสในนั้นถูกดูดซึมอย่างรวดเร็ว
ให้ระวังน้ำตาลที่ซ่อนอยู่ในอาหารที่ผ่านกระบวนการผลิต โดยเฉพาะในซอสต่าง ๆ พวกนี้บางทีอยู่ในส่วนผสมที่ลงท้ายด้วย "-ol" เช่น mannitol และ sorbitol หรือลงท้ายด้วย "-ose" เช่น dextrose, maltose และ sucrose ให้รับประทานอาหารสดที่มีประโยชน์ที่มีค่า GI ต่ำ และทำอาหารด้วยตัวเอง


สเตฟานี่ เคอร์วิน นักสมุนไพรและนักบำบัดแบบ homoeopath จาก Aurora Wellness กล่าวว่า "ดิฉันใช้สมุนไพร andrographis, pau d’arco, น้ำมัน aniseed และน้ำมันออริกาโน่, กระเทียม, slipperyeim และโปรไบโอติคส์ ในการรักษา เกลือแร่สังกะสีและซีเลเนียมทำให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรงและรักษาทางเดินอาหาร ดิฉันยังให้การรักษาแบบ homoeopathic คล้ายกับ "หนามยอกเอาหนามบ่ง" โดยการใช้แคนดิด้าที่มีฤทธิ์คล้ายกันเพื่อช่วยให้ร่างกายรับมือกับการติดเชื้อได้" เคอร์วิน เพิ่มเติมว่า การบริหารความเครียดเป็นสิ่งจำเป็นต้องรู้ว่าอะไรทำให้เครียด "หากคุณไม่ทราบ การบำบัดก็มีแนวโน้มที่จะสำเร็จน้อยลง"

การศึกษาของวารสาร Mycopathologia ระบุว่า กระเทียมเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของยาต่อต้านเชื้อราทั่วไป ซึ่งนี่มีความสำคัญเพราะเชื้อแคนดิด้าบางสายพันธุ์สามารถพัฒนาต่อต้านยาเหล่านี้ได้
ยีสต์, รา และอาหารหมักสามารถกระตุ้นให้แคนดิด้าเจริญมากผิดปกติและควรจะหลีกเลี่ยง อาหารเหล่านี้ได้แก่ ขนมปังที่ขึ้นฟูด้วยยีสต์, สารสกัดยีสต์, เห็ด, ชีส และแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเบียร์ โยเกิร์ตธรรมชาติที่ไม่เติมความหวานมีแลคโตบาซิลลัสและอะซิดอฟิลัสซึ่งช่วยเพิ่มจุลชีพที่ดีในทางเดินอาหารให้สมดุล และให้ความสมดุลกับความเป็นกรด-ต่าง และควรรับประทานโยเกิร์ตเป็นประจำหรือใช้อาหารเสริมโปรไบโอติคส์ก็ได้
วิตามินซี ก็ดูจะป้องกันการเจริญของแคนดิด้า นักวิจัยที่คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเทมเปิล ทำการวิจัยเกี่ยวกับหน้าที่ของวิตามินซี ที่ได้จากอาหาร (แอสคอร์บิค แอซิด) โดยทดสอบกับหนูตะเภาที่มีการติดเชื้อแคนดิด้า พบว่า หนูที่ได้รับแอสคอร์บิค แอชิด วันละ 0.5 ม.ก. มีแนวโน้มที่จะติดเชื้อได้มากกว่าพวกที่ได้รับในปริมาณที่สูงกว่าวันละ 20 ม.ก. อยู่มาก หากคุณมีการติดเชื้อแคนดิด้าซ้ำซาก ให้เพิ่มการรับประทานอาหารที่อุดมด้วยวิตามินซี เช่น พริกแดงและบรอกโคลี (จะให้ดีควรทานดิบ ๆ เพราะวิตามินซีจะสูญเสียไปกับความร้อนในการปรุงอาหาร) หรือรับประทานในรูปอาหารเสริมให้ได้ถึงวันละ 1 กรัม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

แปลและเรียบเรียงจาก
เรื่อง : Candida Cures
โดย : Tess Dingle
วารสาร : Nature & Health เดือนธันวาคม/มกราคม 2011
ผู้แปล : ฉัตรตระกูล เจียจันทร์พงษ์, M.P.H.