ช่อผลสุก
ตะคร้อ (หมอชาวบ้าน)
โดย สุภาภรณ์ เลขวัต ฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
ตะคร้อ สรรพคุณทางยาเพียบ ช่วยรักษาสารพัดอาการป่วยใกล้ตัว มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schleichera oleosa (Lour.) Oken
ชื่อวงศ์ : Sapindaceae
ชื่อสามัญ : ตะคร้อ (ไทย) Ceylon Oak (อังกฤษ) Pongro (กัมพูชา, ฝรั่งเศส) gum-lac tree (ฟิลิปปินส์) kasambi (อินโดนีเซีย) kusambi (มาเลเซีย) c[aa]y van rao (เวียดนาม)
ชื่อท้องถิ่น : บักคร้อ (อีสาน) มะโจ๊ก เคาะ ค้อ คอส้ม (เหนือ) ตะคร้อไข่ (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น : ตะคร้อเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-25 เมตร ในบางพื้นที่อาจพบสูงกว่า 40 เมตร ลำต้น บิดงอ เรือนยอดเป็นพุ่มแผ่กว้าง รูปทรงกรวยหรือรูปร่ม เปลือกเรียบสีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นสะเก็ดหนา ๆ
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปรี โคนใบมนปลายใบมีหางสั้น ขอบใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา ใบอ่อนมีขนเล็กน้อย
ดอก : แยกแขนงออกที่ง่ามใบและปลายกิ่ง สีเหลืองอมเขียว
ผล : ตะคร้อมีลักษณะเป็นทรงกลมหรือรูปไข่ปลายติ่งแหลม แข็ง ผลดิบมีสีเขียว และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อสุก เนื้อในมีสีเหลืองส้ม ลักษณะเนื้อเป็นเยื่อหุ้มเมล็ด แต่ละผลมี 1-2 เมล็ด
ระยะเวลาออกดอกและติดผล : ออกดอกและผลเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่วงออกดอกประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน ออกผลเดือนมีนาคม-กรกฎาคม
แหล่งเพาะปลูก
ตะคร้อพบตามป่าผลัดใบหรือป่าผลัดใบผสม ปกติขึ้นตามเชิงเขาทั่วไป แต่ยังสามารถพบที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 900-1,200 เมตร พบมากในประเทศอินเดีย ถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยสามารถพบได้ในภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
ตำรายาพื้นบ้านของตะคร้อ
แก่น : ต้มน้ำดื่ม แก้ฝีหนอง
เปลือก : ต้มน้ำดื่มเป็นยาสมานท้อง แก้ท้องร่วง
น้ำมันจากเมล็ด : บำรุงผมแก้ผมร่วง
ช่อดอก
คุณประโยชน์จากตะคร้อ
ใบและกิ่ง : ใบอ่อนกินสดหรือนำมาลวกกินเป็นผักเคียง ใบและกิ่งรวมถึงกากเมล็ดนำมาทำเป็นอาหารสัตว์
ลำต้น : ในประเทศอินเดียใช้ต้มตะคร้อเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ครั่ง
เนื้อไม้ : นำมาทำฟืนและถ่านได้ดี แก่นไม้ซึ่งมีความแข็งและทนทานสามารถนำมาทำเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้หลายชนิด เช่น ส่วนของด้ามจับครกบดยาด้ามขวานหรือพลั่ว และล้อเกวียน
เปลือกไม้ : เปลือกใช้เป็นยารักษาผิวหนังอักเสบ และแผลเปื่อยได้ดี
มีงานวิจัยได้ศึกษาฤทธิ์ทางยาของส่วนเปลือกลำต้นตะคร้อโดยการทดสอบฤทธิ์ในหนูทดลอง พบว่ามีส่วนช่วยลดปริมาณน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ซึ่งจะป้องกันและลดการอักเสบอันเนื่องมาจากแผลในกระเพาะอาหารได้ (Srinivas & Celestin, 2011)
สารสกัดจากเปลือกและลำต้นมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ (Ghosh et al., 2011) และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Pettit et al., 2000 ; Thind et al., 2010)
น้ำต้มเปลือก : ช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน (Mahaptma & Sahoo, 2008) นอกจากนี้ สารแทนนินและสีย้อมที่ได้จากเปลือกยังสามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมหนังได้อีกด้วย
เมล็ด : น้ำมันที่สกัดจากเมล็ด หรือ Kusum oil ใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญของน้ำมันที่ใช้ตกแต่งทรงผมและบำรุงเส้นผม อาจใช้เป็นส่วนประกอบของอาหาร หรือใช้ในอุตสาหกรรมผ้าบาติก
จากงานวิจัยพบว่าเมล็ดตะคร้อมีน้ำมัน ซึ่งมีชื่อเรียกทางอินเดียว่า Kusum oil หรือ Macassar oil สามารถนำไปใช้ในทางยา โดยใช้บรรเทาอาการคัน ผิวหนังอักเสบ แผลไฟไหม้ โรคเกี่ยวกับไขข้อกระดูก รวมถึงช่วยบำรุงรากผมให้แข็งแรง (Council of Scientific & Industrial Research, 1972 ; Maharashtra State Gazetteers Department, 1953 อ้างโดย Palanuvej & Vipunngeun, 2008)
เมล็ดตะคร้อที่บดแห้งสามารถใช้ในแผลอักเสบของสัตว์พวกวัว-ควาย เพื่อกำจัดหนอนและแมลงที่ตอมแผล
ผล : ผลตะคร้อสุกสามารถนำมากินได้ ส่วนผลดิบสามารถนำมาทำเป็นผลไม้ดอง
นอกจากน้ำตะคร้อจะมีวิตามินซีและแคลเซียม ซึ่งมีส่วนช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง ช่วยในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ และมีส่วนช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจน และเนื้อเยื่อของเอ็นกระดูกอ่อน ยังพบกรดอินทรีย์หลายชนิด ได้แก่ กรดออกซาลิก กรดทาร์ทาริก กรดฟอร์มิก กรดแล็กติก และกรดชิตริก เป็นต้น ซึ่งกรดอินทรีย์ที่พบในผลไม้เหล่านี้นิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางที่ช่วยในการผลัดเซลล์ผิว
ผลสุกตะคร้อมีรสเปรี้ยวฝาด เหมาะแก่การนำมาทำเครื่องดื่มดับกระหายในหน้าร้อน รวมถึงนำมาปรุงเป็นอาหารประเภทยำ และน้ำตะคร้อสามารถนำมาใช้ทดแทนน้ำมะนาวได้ ในฤดูร้อนซึ่งมะนาวมีราคาแพง
ช่อผลสุกเปลือกสีน้ำตาล ผลสุกมีเนื้อในสีเหลือง เนื้อฉ่ำ รสเปรี้ยว
จากข้อมูลการวิเคราะห์การท้องปฏิบัติการพบว่าคุณค่าทางด้านโภชนาการของน้ำคั้นจากผลตะคร้อ 100 กรัม ประกอบด้วย
ไขมัน 1.14 กรัม
โปรตีน 0.93 กรัม
ความชื้น 87.2 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 9.82 กรัม
เส้นใย 0.16 กรัม
วิตามินบี 1 0.748 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.097 มิลลิกรัม
วิตามินอี 0.19 มิลลิกรัม
วิตามินซี 3.68 มิลลิกรัม
แคลเซียม 154.47 มิลลิกรัม
เหล็ก 2.12 มิลลิกรัม
วิเคราะห์โดยห้องปฏิบัติการศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
ส่วนผสมน้ำจิ้มอาหารทะเลจากตะคร้อ
น้ำตะคร้อ 1 ถ้วยตวง
สับปะรดชิ้น ½ ถ้วยตวง
กระเทียมสด 5-6 จีบ
พริกขี้หนูเขียว 20-30 เม็ด
รากผักชี 1 ต้น
ใบโหระพา ประมาณ 10 ใบ
น้ำตาลทราย ¼ ถ้วยตวง
น้ำต้มสุก ¼ ถ้วยตวง
เกลือป่น ½ ช้อนชา
น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีเตรียม
1. เตรียมน้ำตะคร้อโดยนำผลตะคร้อมาแกะเปลือกล้างทำความสะอาด
2. คั้นน้ำโดยยีเนื้อตะคร้อกับกระชอน แยกเอาเมล็ดออก
3. ตำหรือปั่นผสมพริกเขียว กระเทียม รากผักชี สับปะรด และใบโหระพา ให้ละเอียด ใส่เกลือ น้ำตาลทราย น้ำตะคร้อ น้ำปลา และน้ำต้มสุก ผสมให้เข้ากัน ปรุงแต่งรสชาติตามชอบ
โดย สุภาภรณ์ เลขวัต ฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
ตะคร้อ สรรพคุณทางยาเพียบ ช่วยรักษาสารพัดอาการป่วยใกล้ตัว มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schleichera oleosa (Lour.) Oken
ชื่อวงศ์ : Sapindaceae
ชื่อสามัญ : ตะคร้อ (ไทย) Ceylon Oak (อังกฤษ) Pongro (กัมพูชา, ฝรั่งเศส) gum-lac tree (ฟิลิปปินส์) kasambi (อินโดนีเซีย) kusambi (มาเลเซีย) c[aa]y van rao (เวียดนาม)
ชื่อท้องถิ่น : บักคร้อ (อีสาน) มะโจ๊ก เคาะ ค้อ คอส้ม (เหนือ) ตะคร้อไข่ (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น : ตะคร้อเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-25 เมตร ในบางพื้นที่อาจพบสูงกว่า 40 เมตร ลำต้น บิดงอ เรือนยอดเป็นพุ่มแผ่กว้าง รูปทรงกรวยหรือรูปร่ม เปลือกเรียบสีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นสะเก็ดหนา ๆ
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปรี โคนใบมนปลายใบมีหางสั้น ขอบใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา ใบอ่อนมีขนเล็กน้อย
ดอก : แยกแขนงออกที่ง่ามใบและปลายกิ่ง สีเหลืองอมเขียว
ผล : ตะคร้อมีลักษณะเป็นทรงกลมหรือรูปไข่ปลายติ่งแหลม แข็ง ผลดิบมีสีเขียว และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อสุก เนื้อในมีสีเหลืองส้ม ลักษณะเนื้อเป็นเยื่อหุ้มเมล็ด แต่ละผลมี 1-2 เมล็ด
ระยะเวลาออกดอกและติดผล : ออกดอกและผลเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่วงออกดอกประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน ออกผลเดือนมีนาคม-กรกฎาคม
แหล่งเพาะปลูก
ตะคร้อพบตามป่าผลัดใบหรือป่าผลัดใบผสม ปกติขึ้นตามเชิงเขาทั่วไป แต่ยังสามารถพบที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 900-1,200 เมตร พบมากในประเทศอินเดีย ถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยสามารถพบได้ในภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
ตำรายาพื้นบ้านของตะคร้อ
แก่น : ต้มน้ำดื่ม แก้ฝีหนอง
เปลือก : ต้มน้ำดื่มเป็นยาสมานท้อง แก้ท้องร่วง
น้ำมันจากเมล็ด : บำรุงผมแก้ผมร่วง
ช่อดอก
คุณประโยชน์จากตะคร้อ
ใบและกิ่ง : ใบอ่อนกินสดหรือนำมาลวกกินเป็นผักเคียง ใบและกิ่งรวมถึงกากเมล็ดนำมาทำเป็นอาหารสัตว์
ลำต้น : ในประเทศอินเดียใช้ต้มตะคร้อเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ครั่ง
เนื้อไม้ : นำมาทำฟืนและถ่านได้ดี แก่นไม้ซึ่งมีความแข็งและทนทานสามารถนำมาทำเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้หลายชนิด เช่น ส่วนของด้ามจับครกบดยาด้ามขวานหรือพลั่ว และล้อเกวียน
เปลือกไม้ : เปลือกใช้เป็นยารักษาผิวหนังอักเสบ และแผลเปื่อยได้ดี
มีงานวิจัยได้ศึกษาฤทธิ์ทางยาของส่วนเปลือกลำต้นตะคร้อโดยการทดสอบฤทธิ์ในหนูทดลอง พบว่ามีส่วนช่วยลดปริมาณน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ซึ่งจะป้องกันและลดการอักเสบอันเนื่องมาจากแผลในกระเพาะอาหารได้ (Srinivas & Celestin, 2011)
สารสกัดจากเปลือกและลำต้นมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ (Ghosh et al., 2011) และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Pettit et al., 2000 ; Thind et al., 2010)
น้ำต้มเปลือก : ช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน (Mahaptma & Sahoo, 2008) นอกจากนี้ สารแทนนินและสีย้อมที่ได้จากเปลือกยังสามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมหนังได้อีกด้วย
เมล็ด : น้ำมันที่สกัดจากเมล็ด หรือ Kusum oil ใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญของน้ำมันที่ใช้ตกแต่งทรงผมและบำรุงเส้นผม อาจใช้เป็นส่วนประกอบของอาหาร หรือใช้ในอุตสาหกรรมผ้าบาติก
จากงานวิจัยพบว่าเมล็ดตะคร้อมีน้ำมัน ซึ่งมีชื่อเรียกทางอินเดียว่า Kusum oil หรือ Macassar oil สามารถนำไปใช้ในทางยา โดยใช้บรรเทาอาการคัน ผิวหนังอักเสบ แผลไฟไหม้ โรคเกี่ยวกับไขข้อกระดูก รวมถึงช่วยบำรุงรากผมให้แข็งแรง (Council of Scientific & Industrial Research, 1972 ; Maharashtra State Gazetteers Department, 1953 อ้างโดย Palanuvej & Vipunngeun, 2008)
เมล็ดตะคร้อที่บดแห้งสามารถใช้ในแผลอักเสบของสัตว์พวกวัว-ควาย เพื่อกำจัดหนอนและแมลงที่ตอมแผล
ผล : ผลตะคร้อสุกสามารถนำมากินได้ ส่วนผลดิบสามารถนำมาทำเป็นผลไม้ดอง
นอกจากน้ำตะคร้อจะมีวิตามินซีและแคลเซียม ซึ่งมีส่วนช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง ช่วยในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ และมีส่วนช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจน และเนื้อเยื่อของเอ็นกระดูกอ่อน ยังพบกรดอินทรีย์หลายชนิด ได้แก่ กรดออกซาลิก กรดทาร์ทาริก กรดฟอร์มิก กรดแล็กติก และกรดชิตริก เป็นต้น ซึ่งกรดอินทรีย์ที่พบในผลไม้เหล่านี้นิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางที่ช่วยในการผลัดเซลล์ผิว
ผลสุกตะคร้อมีรสเปรี้ยวฝาด เหมาะแก่การนำมาทำเครื่องดื่มดับกระหายในหน้าร้อน รวมถึงนำมาปรุงเป็นอาหารประเภทยำ และน้ำตะคร้อสามารถนำมาใช้ทดแทนน้ำมะนาวได้ ในฤดูร้อนซึ่งมะนาวมีราคาแพง
ช่อผลสุกเปลือกสีน้ำตาล ผลสุกมีเนื้อในสีเหลือง เนื้อฉ่ำ รสเปรี้ยว
จากข้อมูลการวิเคราะห์การท้องปฏิบัติการพบว่าคุณค่าทางด้านโภชนาการของน้ำคั้นจากผลตะคร้อ 100 กรัม ประกอบด้วย
ไขมัน 1.14 กรัม
โปรตีน 0.93 กรัม
ความชื้น 87.2 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 9.82 กรัม
เส้นใย 0.16 กรัม
วิตามินบี 1 0.748 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.097 มิลลิกรัม
วิตามินอี 0.19 มิลลิกรัม
วิตามินซี 3.68 มิลลิกรัม
แคลเซียม 154.47 มิลลิกรัม
เหล็ก 2.12 มิลลิกรัม
วิเคราะห์โดยห้องปฏิบัติการศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
ส่วนผสมน้ำจิ้มอาหารทะเลจากตะคร้อ
น้ำตะคร้อ 1 ถ้วยตวง
สับปะรดชิ้น ½ ถ้วยตวง
กระเทียมสด 5-6 จีบ
พริกขี้หนูเขียว 20-30 เม็ด
รากผักชี 1 ต้น
ใบโหระพา ประมาณ 10 ใบ
น้ำตาลทราย ¼ ถ้วยตวง
น้ำต้มสุก ¼ ถ้วยตวง
เกลือป่น ½ ช้อนชา
น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีเตรียม
1. เตรียมน้ำตะคร้อโดยนำผลตะคร้อมาแกะเปลือกล้างทำความสะอาด
2. คั้นน้ำโดยยีเนื้อตะคร้อกับกระชอน แยกเอาเมล็ดออก
3. ตำหรือปั่นผสมพริกเขียว กระเทียม รากผักชี สับปะรด และใบโหระพา ให้ละเอียด ใส่เกลือ น้ำตาลทราย น้ำตะคร้อ น้ำปลา และน้ำต้มสุก ผสมให้เข้ากัน ปรุงแต่งรสชาติตามชอบ