หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ไม่ใช่เรื่องไกลตัว เพราะหนุ่มสาวก็เป็นได้ ถ้ามักมีพฤติกรรมนั่งนาน ๆ จนปวดหลังเรื้อรัง
มีหลายสาเหตุที่ทำให้หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คือ
- เกิดจากความเสื่อมของกระดูกตามวัย มักพบในผู้สูงอายุ
- เกิดจากพฤติกรรมที่ใช้ในชีวิตประจำวัน คือการใช้ร่างกายที่ผิดลักษณะท่าทาง ไม่ว่าจะเป็นก้ม, ยืน, นั่ง, ยกของ, บิดตัว หรือแม้กระทั่งการเล่นกีฬาและออกกำลังกาย ซึ่งหากใช้ท่าทางผิดบ่อย ๆ ก็จะส่งผลให้เกิดแรงกดทับที่หมอนรองกระดูกมากเกินไป
- เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น หกล้มก้นกระแทกพื้น ตกจากที่สูง หรือได้รับแรงกระเทือนที่แผ่นหลัง
- เกิดจากพันธุกรรม แม้จะพบผู้ป่วยไม่มากแต่ก็เคยมีรายงานว่าผู้ป่วยบางรายป่วยเป็นโรคนี้จากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
ใครเสี่ยงป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
รู้ไหมว่าอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไม่ได้พบแต่ในผู้สูงอายุอย่างที่เราเข้าใจกันนะคะ เพราะที่ผ่านมาพบคนหลากหลายอาชีพและทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะ
- หนุ่มสาววัยทำงาน อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป คนกลุ่มนี้ปวดหลังจากการทำงานที่เคร่งเครียด จึงต้องนั่งทำงานนาน ๆ ไม่มีการปรับเปลี่ยนอิริยาบถ หรือนั่งในอิริยาบถที่ไม่ถูกต้อง
- คนที่ต้องขับรถติดต่อกันหลายชั่วโมง
- คนที่ยกของหนัก ๆ หรือก้ม ๆ เงย ๆ เพื่อยกของบ่อย ๆ เช่น คนงานก่อสร้าง อาจยกผิดท่าทางทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อน
- คนที่เล่นกีฬาที่ต้องออกแรงผ่านหลังมาก ๆ เช่น การตีกอล์ฟ เทนนิส แบดมินตัน
- ผู้สูงอายุซึ่งหมอนรองกระดูกเสื่อมตามอายุ
- ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก เพราะกระดูกต้องแบกรับน้ำหนักตัวอยู่ตลอดเวลา
- คนที่ชอบสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุให้อวัยวะต่าง ๆ เสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ แม้แต่หมอนรองกระดูกก็มีความเสี่ยงจะสูญเสียความยืดหยุ่นไป
- ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือได้รับแรงกระเทือนที่บริเวณหลัง
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการแบบนี้คือใช่ !
อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ส่วนคอไปจนถึงเอวตามแนวกระดูกสันหลัง โดยมีอาการไม่ต่างกันมากนัก
* อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทส่วนคอ
ชาวออฟฟิศที่นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน หรือคนทั่วไปที่ก้มหน้าเล่นสมาร์ตโฟนทั้งวัน นาน ๆ เข้าอาจทำให้กระดูกต้นคอเกิดความผิดปกติ หรือหากประสบอุบัติเหตุ ได้รับบาดเจ็บที่บริเวณต้นคอ ก็อาจทำให้หมอนรองกระดูกยื่นมากดทับเส้นประสาทบริเวณคอได้ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการ เช่น
- ปวดคอ ขยับคอไม่ค่อยได้เหมือนปกติ
- รู้สึกปวดร้าวแปล๊บ ๆ เหมือนไฟช็อตลงไปที่แขนข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ปวดไปตามเส้นประสาทจากไหล่ ศอก ลงมาถึงปลายนิ้ว
- อาจมีอาการชาหรืออ่อนแรงตรงปลายนิ้วจนลามไปถึงฝ่ามือ
- มีอาการเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หรืออาจเป็นเฉพาะเวลาหันหน้าซ้าย-ขวา
* อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณหลังส่วนล่าง
- ปวดหลังเป็น ๆ หาย ๆ เป็นเวลานานมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป
- ปวดขาตั้งแต่บริเวณสะโพก หรือกระเบนเหน็บ รู้สึกเสียวแปล๊บ ร้าวไปถึงบริเวณน่อง เท้า โดยอาการปวดหลังร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างถือเป็นอาการเด่นของโรคนี้
- ปวดมากเวลาเดิน ต้องหยุดเดินเป็นระยะ ๆ รวมทั้งปวดเวลาก้ม ยืน นั่ง หรือจะลุก รวมทั้งเมื่อไอ จาม หรือเบ่งถ่าย
- อาจมีอาการชาบริเวณขาหรือเท้า และมีอาการอ่อนแรงร่วมด้วย
- หากปล่อยไว้นานโดยไม่รักษา เส้นประสาทจะทำงานได้น้อยลง ทำให้กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง เดินและควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ อาจถึงขั้นเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท รักษาอย่างไร
ปัจจุบันการรักษาอาการหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิมค่ะ ซึ่งสามารถรักษาหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัดหากอาการไม่หนักมาก แต่หากมีอาการรุนแรง แพทย์ก็จะต้องผ่าตัดให้ ทั้งนี้ผู้ป่วยทุกรายควรได้รับการวินิจฉัยให้แน่นอนก่อนด้วยการทำ MRI ที่จะช่วยให้มองเห็นหมอนรองกระดูกสันหลังที่ปลิ้นได้ชัดเจน จากนั้นจึงทำการรักษา โดยวิธีการรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจะเป็นไปตามลำดับ ดังนี้
1. กินยาแก้ปวด เพื่อช่วยบรรเทาอาการ ร่วมกับให้ยาลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบที่เกิดขึ้นรอบ ๆ เส้นประสาทหรือหมอนรองกระดูกสันหลัง จะทำให้อาการปวดลดลงได้
2. ทำกายภาพบำบัด ในผู้ป่วยที่ยังเป็นไม่มาก การกายภาพบำบัดจะช่วยให้เคลื่อนไหวร่างกายได้ดีขึ้น อาการปวดทุเลาลง โดยอาการปวดจะค่อย ๆ ดีขึ้นได้ภายใน 4-6 สัปดาห์
3. ฉีดยาลดการอักเสบที่เส้นประสาท เพื่อแก้ไขการกดทับของเนื้อรอบ ๆ เส้นประสาทสันหลัง (Spinal Nerve Roots) ที่เรียกว่า Intervention Selective Nerve Root Block ซึ่งเป็นการรักษาแบบไม่ผ่าตัดที่ได้ผลดีมาก เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ปวดมากแต่การกดทับเป็นน้อย ๆ จนถึงปานกลาง หรือผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงผ่าตัดสูงไม่สามารถดมยาสลบได้
4. ผ่าตัด กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง หรือพิจารณาแล้วว่ามีอาการปวดมากจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ และการกินยาร่วมกับการกายภาพบำบัดก็ไม่ทำให้โอกาสในการรักษาดีขึ้น แพทย์จำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อคีบหรือตัดเอาส่วนที่กดทับเส้นประสาทออก ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดเพื่อช่วยลดอาการเกร็ง และบิดตัวของกล้ามเนื้อหลัง ทำให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น โดยในปัจจุบันมีการผ่าตัดอยู่ 3 วิธี คือ
- ผ่าตัดแบบแผลเปิดด้วยกล้องจุลทรรศน์ (Microdiscectomy) โดยใส่อุปกรณ์เข้าไปเพื่อเลาะกล้ามเนื้อออกจากกระดูกเป็นแนวยาว แล้วแพทย์จะมองผ่านกล้อง Microscope ที่อยู่ภายนอก แล้วตัดกระดูกบางส่วนออกเพื่อให้สามารถผ่าตัดตำแหน่งที่มีการกดทับของเส้นประสาทได้ การผ่าตัดวิธีนี้จะทำให้เกิดความบอบช้ำต่อกล้ามเนื้อและอวัยวะข้างเคียง โดยจะมีแผลขนาดประมาณ 3-5 เซนติเมตร
- ผ่าตัดแบบส่องกล้อง วิธีนี้จะทำโดยเจาะและสอดกล้อง Endoscope ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 มิลลิเมตร ซึ่งมีเลนส์ติดอยู่ส่วนปลายผ่านใยกล้ามเนื้อไปยังหมอนรองกระดูกส่วนที่กดทับเส้นประสาท จากนั้นใส่เครื่องมือผ่าตัดผ่านกล้องเข้าไปตัดหมอนรองกระดูกโดยตรง
ข้อดีของการผ่าตัดแบบส่องกล้องคือ แพทย์สามารถมองได้ทุกมุมในบริเวณที่จะผ่าตัด และอุปกรณ์มีระบบน้ำไหลเวียน สามารถชะล้างสิ่งที่ผ่าตัด ทำให้มองเห็นชัดเจนตลอดเวลา อีกทั้งแผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็กเพียง 1 เซนติเมตร เพราะแพทย์ไม่ต้องตัดกระดูกหรือเลาะกล้ามเนื้อบางส่วนออก แต่ใช้การขยายกล้ามเนื้อแล้วสอดกล้องเข้าไปที่หมอนรองกระดูกได้เลย จึงช่วยให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บน้อยกว่าและฟื้นตัวได้เร็วกว่า
อย่างไรก็ตาม หลังการรักษาด้วยการผ่าตัดแล้ว ผู้ป่วยจะต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อดูอาการอย่างน้อย 1-3 วัน และในช่วง 6 สัปดาห์แรกต้องระมัดระวังตัวเอง ห้ามบิดตัว เอี้ยวตัว ก้ม ๆ เงย ๆ เพราะอาจทำให้หมอนรองกระดูกปลิ้นซ้ำออกมาได้
- จี้ด้วยคลื่นความร้อน (Nucleoplasty) เป็นเทคโนโลยีการรักษาแบบใหม่โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ โดยจะใช้เข็มเจาะลงไป แล้วปล่อยคลื่นความร้อนประมาณ 40-70 องศาเซลเซียส ออกมาจี้หมอนรองกระดูกสันหลังที่เคลื่อนไปกดทับเส้นประสาท ทำให้ความดันในหมอนรองกระดูกลดลง จึงดึงหมอนรองกระดูกที่ยื่นอยู่ให้กลับเข้ามาได้ และทำให้เส้นประสาทที่กระดูกกดทับอยู่ฟื้นสภาพ
ข้อดีของการรักษาด้วยวิธีนี้ก็คือ ไม่ต้องถูกวางยาสลบ ไม่มีแผลผ่าตัด มีเพียงบาดแผลเล็ก ๆ จากเข็ม เจ็บน้อย นอนพักรักษาตัวไม่กี่ชั่วโมงหรือเพียง 1 วันก็สามารถกลับบ้านได้ และยังสามารถลดการอักเสบภายในหมอนรองกระดูกได้ด้วย เพราะคลื่นที่ปล่อยออกมาไม่ได้ทำลายเนื้อเยื่อที่ใกล้เคียง แต่อาจมีอาการระบมจากการเจาะเข็มบ้างเล็กน้อย ทั้งนี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์
ข้อจำกัดของวิธี Nucleoplasty ก็คือ มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงคือหลักแสนบาท และผู้ที่จะทำได้ต้องเป็นแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษาด้วยวิธีนี้ นอกจากนี้ยังอาจใช้ได้กับผู้ป่วยบางราย เช่น ผู้ป่วยที่หมอนรองกระดูกเคลื่อนที่ไปกดทับเส้นประสาทยังไม่แตกออกมา และยังเป็นไม่มาก ขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของผู้ป่วยด้วย
นอนกลิ้งไปมาช่วยรักษาหมอนรองกระดูกได้ไหม ?
หลายคนอาจเคยได้รับการแชร์ข้อมูลที่อ้างว่าการนอนดิ้นไปดิ้นมาเหมือนเด็กก็ช่วยรักษาโรคหมอนรองกระดูกได้โดยไม่ต้องไปผ่าตัด แต่นี่ไม่ใช่เรื่องจริงค่ะ โดยเพจ Drama-addict ซึ่งเป็นแอดมินประกอบอาชีพแพทย์ ออกมาเตือนว่าอย่าหลงเชื่อเด็ดขาด เพราะหากหมอนรองกระดูกไปกดทับเส้นประสาทมาก ๆ แล้วไม่ยอมไปพบแพทย์ เอาแต่นอนกลิ้งไปกลิ้งมาจะยิ่งทำให้เส้นประสาทเสียหาย จนถึงขั้นพิการตลอดชีวิตได้
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ป้องกันหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
สำรวจตัวเองดูว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงที่จะทำให้เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทหรือไม่ แล้วรีบเปลี่ยนตัวเองก่อนเลยค่ะ ด้วยการ..
- หลีกเลี่ยงการนั่ง ยืน เดิน เป็นระยะเวลานาน ๆ ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ ทุก ๆ ชั่วโมง
- ใช้กล้ามเนื้อบริเวณหลังในชีวิตประจำวันอย่างถูกวิธี เช่น การยืนควรยืนให้น้ำหนักตัวค่อนมาทางส้นเท้า แขม่วท้อง อกผาย ไหล่ผึ่ง หากนั่งจะต้องนั่งหลังตรงหรือแอ่นน้อยที่สุด ที่นั่งต้องรองรับก้นและโคนขาทั้งหมด ความสูงต้องพอดีที่ฝ่าเท้าวางเต็มที่
- ไม่ควรก้มตัวลงไปยกของหนัก แต่ต้องย่อตัวนั่งลงกับพื้นก่อน ยกของให้ชิดตัว แล้วลุกด้วยกำลังขา
- หากนอนหงายควรใช้หมอนข้างใบใหญ่หนุนที่โคนขา ซึ่งจะช่วยให้กระดูกสันหลังแบนราบ แต่หากนอนตะแคง ควรนอนให้ขาล่างเหยียดตรง ขาที่อยู่ด้านบนงอ สะโพกและเข่ากอดหมอนข้างไว้ (4 ท่านอนแก้ปวดหลัง ไม่อยากหลังพังรีบเปลี่ยนท่านอนด่วน !)
- ลดน้ำหนักให้สมดุลกับร่างกาย
- งดสูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
- หมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ โดยบริหารกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้อง เพื่อให้กล้ามเนื้อรอบกระดูกสันหลังแข็งแรง สามารถช่วยพยุงให้ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ แต่อย่าลืมวอร์มอัพก่อนออกกำลังกาย เพื่อยืดกล้ามเนื้อ ป้องกันอาการบาดเจ็บ
ท่าบริหารเสริมกล้ามเนื้อหลัง สร้างกล้ามเนื้อหน้าท้อง
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้แนะนำท่ากายบริหารเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง อันเป็นการป้องกันภาวะหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือกดทับเส้นประสาท คือ
- ท่าบริหารที่ 1 : นอนหงาย ยกขาขึ้นข้างหนึ่งให้สูงจากพื้นประมาณ 1 คืบ เข่าเหยียดตรง กระดกปลายเท้าเข้าหาตัว ค้างไว้ 5 วินาที แล้วทำสลับกับขาอีกข้าง ทำอย่างน้อย 3-5 ครั้ง ทุกเช้า-เย็น
- ท่าบริหารที่ 2 : นอนหงาย ใช้มือทั้งสองกอดเข่าข้างหนึ่ง โน้มเข่าลงมาให้ชิดลำตัว ค้างไว้ 5 วินาที แล้วทำสลับกับเข่าอีกข้าง ทำอย่างน้อย 3-5 ครั้ง ทุกเช้า-เย็น
- ท่าบริหารที่ 3 : นอนหงาย ชันเข่าขึ้น ประสานมือสองข้างไว้ด้านหลังบริเวณเอว จากนั้นแขม่วท้อง กดหลังลงค้างไว้ 5 วินาที ทำอย่างน้อย 3-5 ครั้ง ทุกเช้า-เย็น
จะเห็นแล้วว่าวิธีการป้องกันโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ดีที่สุดก็คือ การรักษาโครงสร้างร่างกายให้อยู่ในท่าทางที่ถูกต้อง ร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อให้หน้าท้องและแผ่นหลังแข็งแรง แต่หากใครเริ่มมีอาการปวดหลังแล้วมีอาการร้าวลงขา ควรปรึกษาแพทย์ทันที เพราะนั่นคือสัญญาณของหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท ซึ่งควรรีบรักษาค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
- คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- thaispine.com
- โรงพยาบาลเปาโล
- โรงพยาบาลพญาไท
บางครั้งอาการปวดหลังอาจไม่ได้เกิดจากการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
เพราะถ้าใครมีอาการปวดหลังส่วนล่างจนร้าวลงไปถึงขา
เป็นแบบนี้มานานแล้วก็ยังไม่หาย
ให้สงสัยไว้ว่านี่อาจไม่ใช่แค่อาการปวดหลังธรรมดาเสียแล้ว
แต่อาจเป็นสัญญาณเตือน "โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท" หรือ "หมอนรองกระดูกเคลื่อน" ก็เป็นได้ ซึ่งโรคนี้ไม่ได้พบบ่อยแค่ในกลุ่มผู้สูงอายุ
แต่วัยทำงานอย่างหนุ่ม-สาวออฟฟิศก็เจอไม่น้อยเหมือนกัน
แบบนี้ศึกษาไว้เพื่อป้องกันก่อนย่อมดีกว่าจริงไหมคะ
หมอนรองกระดูก คืออะไร
หมอนรองกระดูก (Intervertebral disc) ก็คือเนื้อเยื่อชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นวงกลม มีขอบเป็นพังผืดเหนียว ภายในมีของเหลวคล้ายเจลบรรจุอยู่ อยู่คั่นกลางระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อเพื่อผ่อนแรงและรองรับแรงกระแทกระหว่างกระดูก 2 ชิ้นที่อยู่ติดกัน และทำให้เราเคลื่อนไหวกระดูกสันหลังได้ดีขึ้น โดยปกติแล้วหมอนรองกระดูกจะค่อย ๆ เสื่อมสภาพลงตั้งแต่อายุ 25 ปี แต่หากคนนั้นมีพฤติกรรมเสี่ยงก็จะเร่งให้หมอนรองกระดูกเสื่อมเร็วขึ้นค่ะ
แต่ทว่าหากหมอนรองกระดูกได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรง หรือใช้หลังผิดท่าทาง เช่น ยกของหนัก นั่งนาน ๆ เล่นกีฬาที่ต้องใช้แผ่นหลังมาก ๆ อย่างการตีกอล์ฟ ก็อาจทำให้หมอนรองกระดูกเกิดการเสื่อม ทำให้ของเหลวในหมอนรองกระดูกทะลักออกมา หรือแตกออกมาจนกดทับเส้นประสาทที่อยู่ข้างเคียง ซึ่งหากไปกดทับประสาทส่วนที่เชื่อมโยงกับอวัยวะไหน ก็จะทำให้ปวดร้าวลงไปถึงส่วนนั้น เช่น หากไปกดทับเส้นประสาทที่เชื่อมโยงกับขา ก็จะทำให้มีอาการปวดบั้นเอวร้าวลงไปถึงขา ซึ่งนี่เป็นอาการเด่นของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated disc) ค่ะ
หมอนรองกระดูก (Intervertebral disc) ก็คือเนื้อเยื่อชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นวงกลม มีขอบเป็นพังผืดเหนียว ภายในมีของเหลวคล้ายเจลบรรจุอยู่ อยู่คั่นกลางระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อเพื่อผ่อนแรงและรองรับแรงกระแทกระหว่างกระดูก 2 ชิ้นที่อยู่ติดกัน และทำให้เราเคลื่อนไหวกระดูกสันหลังได้ดีขึ้น โดยปกติแล้วหมอนรองกระดูกจะค่อย ๆ เสื่อมสภาพลงตั้งแต่อายุ 25 ปี แต่หากคนนั้นมีพฤติกรรมเสี่ยงก็จะเร่งให้หมอนรองกระดูกเสื่อมเร็วขึ้นค่ะ
แต่ทว่าหากหมอนรองกระดูกได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรง หรือใช้หลังผิดท่าทาง เช่น ยกของหนัก นั่งนาน ๆ เล่นกีฬาที่ต้องใช้แผ่นหลังมาก ๆ อย่างการตีกอล์ฟ ก็อาจทำให้หมอนรองกระดูกเกิดการเสื่อม ทำให้ของเหลวในหมอนรองกระดูกทะลักออกมา หรือแตกออกมาจนกดทับเส้นประสาทที่อยู่ข้างเคียง ซึ่งหากไปกดทับประสาทส่วนที่เชื่อมโยงกับอวัยวะไหน ก็จะทำให้ปวดร้าวลงไปถึงส่วนนั้น เช่น หากไปกดทับเส้นประสาทที่เชื่อมโยงกับขา ก็จะทำให้มีอาการปวดบั้นเอวร้าวลงไปถึงขา ซึ่งนี่เป็นอาการเด่นของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated disc) ค่ะ
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท สาเหตุเกิดจากอะไร
- เกิดจากความเสื่อมของกระดูกตามวัย มักพบในผู้สูงอายุ
- เกิดจากพฤติกรรมที่ใช้ในชีวิตประจำวัน คือการใช้ร่างกายที่ผิดลักษณะท่าทาง ไม่ว่าจะเป็นก้ม, ยืน, นั่ง, ยกของ, บิดตัว หรือแม้กระทั่งการเล่นกีฬาและออกกำลังกาย ซึ่งหากใช้ท่าทางผิดบ่อย ๆ ก็จะส่งผลให้เกิดแรงกดทับที่หมอนรองกระดูกมากเกินไป
- แบกของหนัก หรือสะพายกระเป๋าหนัก ๆ
- อ้วน มีน้ำหนักตัวมาก ทำให้กระดูกสันหลังส่วนล่างต้องแบกรับน้ำหนัก
- เกิดจากพันธุกรรม แม้จะพบผู้ป่วยไม่มากแต่ก็เคยมีรายงานว่าผู้ป่วยบางรายป่วยเป็นโรคนี้จากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
รู้ไหมว่าอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไม่ได้พบแต่ในผู้สูงอายุอย่างที่เราเข้าใจกันนะคะ เพราะที่ผ่านมาพบคนหลากหลายอาชีพและทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะ
- เด็กนักเรียนที่สะพายกระเป๋าหนักอยู่เป็นประจำ
- คนที่ต้องขับรถติดต่อกันหลายชั่วโมง
- คนที่ยกของหนัก ๆ หรือก้ม ๆ เงย ๆ เพื่อยกของบ่อย ๆ เช่น คนงานก่อสร้าง อาจยกผิดท่าทางทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อน
- คนที่เล่นกีฬาที่ต้องออกแรงผ่านหลังมาก ๆ เช่น การตีกอล์ฟ เทนนิส แบดมินตัน
- ผู้สูงอายุซึ่งหมอนรองกระดูกเสื่อมตามอายุ
- ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก เพราะกระดูกต้องแบกรับน้ำหนักตัวอยู่ตลอดเวลา
- คนที่ชอบสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุให้อวัยวะต่าง ๆ เสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ แม้แต่หมอนรองกระดูกก็มีความเสี่ยงจะสูญเสียความยืดหยุ่นไป
- ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือได้รับแรงกระเทือนที่บริเวณหลัง
อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ส่วนคอไปจนถึงเอวตามแนวกระดูกสันหลัง โดยมีอาการไม่ต่างกันมากนัก
* อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทส่วนคอ
ชาวออฟฟิศที่นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน หรือคนทั่วไปที่ก้มหน้าเล่นสมาร์ตโฟนทั้งวัน นาน ๆ เข้าอาจทำให้กระดูกต้นคอเกิดความผิดปกติ หรือหากประสบอุบัติเหตุ ได้รับบาดเจ็บที่บริเวณต้นคอ ก็อาจทำให้หมอนรองกระดูกยื่นมากดทับเส้นประสาทบริเวณคอได้ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการ เช่น
- ปวดคอ ขยับคอไม่ค่อยได้เหมือนปกติ
- รู้สึกปวดร้าวแปล๊บ ๆ เหมือนไฟช็อตลงไปที่แขนข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ปวดไปตามเส้นประสาทจากไหล่ ศอก ลงมาถึงปลายนิ้ว
- อาจมีอาการชาหรืออ่อนแรงตรงปลายนิ้วจนลามไปถึงฝ่ามือ
- มีอาการเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หรืออาจเป็นเฉพาะเวลาหันหน้าซ้าย-ขวา
* อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณหลังส่วนล่าง
- ปวดหลังเป็น ๆ หาย ๆ เป็นเวลานานมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป
- ปวดขาตั้งแต่บริเวณสะโพก หรือกระเบนเหน็บ รู้สึกเสียวแปล๊บ ร้าวไปถึงบริเวณน่อง เท้า โดยอาการปวดหลังร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างถือเป็นอาการเด่นของโรคนี้
- ปวดมากเวลาเดิน ต้องหยุดเดินเป็นระยะ ๆ รวมทั้งปวดเวลาก้ม ยืน นั่ง หรือจะลุก รวมทั้งเมื่อไอ จาม หรือเบ่งถ่าย
- อาจมีอาการชาบริเวณขาหรือเท้า และมีอาการอ่อนแรงร่วมด้วย
- หากปล่อยไว้นานโดยไม่รักษา เส้นประสาทจะทำงานได้น้อยลง ทำให้กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง เดินและควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ อาจถึงขั้นเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท รักษาอย่างไร
ปัจจุบันการรักษาอาการหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิมค่ะ ซึ่งสามารถรักษาหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัดหากอาการไม่หนักมาก แต่หากมีอาการรุนแรง แพทย์ก็จะต้องผ่าตัดให้ ทั้งนี้ผู้ป่วยทุกรายควรได้รับการวินิจฉัยให้แน่นอนก่อนด้วยการทำ MRI ที่จะช่วยให้มองเห็นหมอนรองกระดูกสันหลังที่ปลิ้นได้ชัดเจน จากนั้นจึงทำการรักษา โดยวิธีการรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจะเป็นไปตามลำดับ ดังนี้
1. กินยาแก้ปวด เพื่อช่วยบรรเทาอาการ ร่วมกับให้ยาลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบที่เกิดขึ้นรอบ ๆ เส้นประสาทหรือหมอนรองกระดูกสันหลัง จะทำให้อาการปวดลดลงได้
2. ทำกายภาพบำบัด ในผู้ป่วยที่ยังเป็นไม่มาก การกายภาพบำบัดจะช่วยให้เคลื่อนไหวร่างกายได้ดีขึ้น อาการปวดทุเลาลง โดยอาการปวดจะค่อย ๆ ดีขึ้นได้ภายใน 4-6 สัปดาห์
3. ฉีดยาลดการอักเสบที่เส้นประสาท เพื่อแก้ไขการกดทับของเนื้อรอบ ๆ เส้นประสาทสันหลัง (Spinal Nerve Roots) ที่เรียกว่า Intervention Selective Nerve Root Block ซึ่งเป็นการรักษาแบบไม่ผ่าตัดที่ได้ผลดีมาก เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ปวดมากแต่การกดทับเป็นน้อย ๆ จนถึงปานกลาง หรือผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงผ่าตัดสูงไม่สามารถดมยาสลบได้
4. ผ่าตัด กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง หรือพิจารณาแล้วว่ามีอาการปวดมากจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ และการกินยาร่วมกับการกายภาพบำบัดก็ไม่ทำให้โอกาสในการรักษาดีขึ้น แพทย์จำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อคีบหรือตัดเอาส่วนที่กดทับเส้นประสาทออก ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดเพื่อช่วยลดอาการเกร็ง และบิดตัวของกล้ามเนื้อหลัง ทำให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น โดยในปัจจุบันมีการผ่าตัดอยู่ 3 วิธี คือ
- ผ่าตัดแบบแผลเปิดด้วยกล้องจุลทรรศน์ (Microdiscectomy) โดยใส่อุปกรณ์เข้าไปเพื่อเลาะกล้ามเนื้อออกจากกระดูกเป็นแนวยาว แล้วแพทย์จะมองผ่านกล้อง Microscope ที่อยู่ภายนอก แล้วตัดกระดูกบางส่วนออกเพื่อให้สามารถผ่าตัดตำแหน่งที่มีการกดทับของเส้นประสาทได้ การผ่าตัดวิธีนี้จะทำให้เกิดความบอบช้ำต่อกล้ามเนื้อและอวัยวะข้างเคียง โดยจะมีแผลขนาดประมาณ 3-5 เซนติเมตร
- ผ่าตัดแบบส่องกล้อง วิธีนี้จะทำโดยเจาะและสอดกล้อง Endoscope ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 มิลลิเมตร ซึ่งมีเลนส์ติดอยู่ส่วนปลายผ่านใยกล้ามเนื้อไปยังหมอนรองกระดูกส่วนที่กดทับเส้นประสาท จากนั้นใส่เครื่องมือผ่าตัดผ่านกล้องเข้าไปตัดหมอนรองกระดูกโดยตรง
ข้อดีของการผ่าตัดแบบส่องกล้องคือ แพทย์สามารถมองได้ทุกมุมในบริเวณที่จะผ่าตัด และอุปกรณ์มีระบบน้ำไหลเวียน สามารถชะล้างสิ่งที่ผ่าตัด ทำให้มองเห็นชัดเจนตลอดเวลา อีกทั้งแผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็กเพียง 1 เซนติเมตร เพราะแพทย์ไม่ต้องตัดกระดูกหรือเลาะกล้ามเนื้อบางส่วนออก แต่ใช้การขยายกล้ามเนื้อแล้วสอดกล้องเข้าไปที่หมอนรองกระดูกได้เลย จึงช่วยให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บน้อยกว่าและฟื้นตัวได้เร็วกว่า
อย่างไรก็ตาม หลังการรักษาด้วยการผ่าตัดแล้ว ผู้ป่วยจะต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อดูอาการอย่างน้อย 1-3 วัน และในช่วง 6 สัปดาห์แรกต้องระมัดระวังตัวเอง ห้ามบิดตัว เอี้ยวตัว ก้ม ๆ เงย ๆ เพราะอาจทำให้หมอนรองกระดูกปลิ้นซ้ำออกมาได้
- จี้ด้วยคลื่นความร้อน (Nucleoplasty) เป็นเทคโนโลยีการรักษาแบบใหม่โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ โดยจะใช้เข็มเจาะลงไป แล้วปล่อยคลื่นความร้อนประมาณ 40-70 องศาเซลเซียส ออกมาจี้หมอนรองกระดูกสันหลังที่เคลื่อนไปกดทับเส้นประสาท ทำให้ความดันในหมอนรองกระดูกลดลง จึงดึงหมอนรองกระดูกที่ยื่นอยู่ให้กลับเข้ามาได้ และทำให้เส้นประสาทที่กระดูกกดทับอยู่ฟื้นสภาพ
ข้อดีของการรักษาด้วยวิธีนี้ก็คือ ไม่ต้องถูกวางยาสลบ ไม่มีแผลผ่าตัด มีเพียงบาดแผลเล็ก ๆ จากเข็ม เจ็บน้อย นอนพักรักษาตัวไม่กี่ชั่วโมงหรือเพียง 1 วันก็สามารถกลับบ้านได้ และยังสามารถลดการอักเสบภายในหมอนรองกระดูกได้ด้วย เพราะคลื่นที่ปล่อยออกมาไม่ได้ทำลายเนื้อเยื่อที่ใกล้เคียง แต่อาจมีอาการระบมจากการเจาะเข็มบ้างเล็กน้อย ทั้งนี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์
ข้อจำกัดของวิธี Nucleoplasty ก็คือ มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงคือหลักแสนบาท และผู้ที่จะทำได้ต้องเป็นแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษาด้วยวิธีนี้ นอกจากนี้ยังอาจใช้ได้กับผู้ป่วยบางราย เช่น ผู้ป่วยที่หมอนรองกระดูกเคลื่อนที่ไปกดทับเส้นประสาทยังไม่แตกออกมา และยังเป็นไม่มาก ขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของผู้ป่วยด้วย
นอนกลิ้งไปมาช่วยรักษาหมอนรองกระดูกได้ไหม ?
หลายคนอาจเคยได้รับการแชร์ข้อมูลที่อ้างว่าการนอนดิ้นไปดิ้นมาเหมือนเด็กก็ช่วยรักษาโรคหมอนรองกระดูกได้โดยไม่ต้องไปผ่าตัด แต่นี่ไม่ใช่เรื่องจริงค่ะ โดยเพจ Drama-addict ซึ่งเป็นแอดมินประกอบอาชีพแพทย์ ออกมาเตือนว่าอย่าหลงเชื่อเด็ดขาด เพราะหากหมอนรองกระดูกไปกดทับเส้นประสาทมาก ๆ แล้วไม่ยอมไปพบแพทย์ เอาแต่นอนกลิ้งไปกลิ้งมาจะยิ่งทำให้เส้นประสาทเสียหาย จนถึงขั้นพิการตลอดชีวิตได้
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ป้องกันหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
สำรวจตัวเองดูว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงที่จะทำให้เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทหรือไม่ แล้วรีบเปลี่ยนตัวเองก่อนเลยค่ะ ด้วยการ..
- หลีกเลี่ยงการนั่ง ยืน เดิน เป็นระยะเวลานาน ๆ ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ ทุก ๆ ชั่วโมง
- ใช้กล้ามเนื้อบริเวณหลังในชีวิตประจำวันอย่างถูกวิธี เช่น การยืนควรยืนให้น้ำหนักตัวค่อนมาทางส้นเท้า แขม่วท้อง อกผาย ไหล่ผึ่ง หากนั่งจะต้องนั่งหลังตรงหรือแอ่นน้อยที่สุด ที่นั่งต้องรองรับก้นและโคนขาทั้งหมด ความสูงต้องพอดีที่ฝ่าเท้าวางเต็มที่
- ไม่ควรก้มตัวลงไปยกของหนัก แต่ต้องย่อตัวนั่งลงกับพื้นก่อน ยกของให้ชิดตัว แล้วลุกด้วยกำลังขา
- หากนอนหงายควรใช้หมอนข้างใบใหญ่หนุนที่โคนขา ซึ่งจะช่วยให้กระดูกสันหลังแบนราบ แต่หากนอนตะแคง ควรนอนให้ขาล่างเหยียดตรง ขาที่อยู่ด้านบนงอ สะโพกและเข่ากอดหมอนข้างไว้ (4 ท่านอนแก้ปวดหลัง ไม่อยากหลังพังรีบเปลี่ยนท่านอนด่วน !)
- ลดน้ำหนักให้สมดุลกับร่างกาย
- งดสูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
- หมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ โดยบริหารกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้อง เพื่อให้กล้ามเนื้อรอบกระดูกสันหลังแข็งแรง สามารถช่วยพยุงให้ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ แต่อย่าลืมวอร์มอัพก่อนออกกำลังกาย เพื่อยืดกล้ามเนื้อ ป้องกันอาการบาดเจ็บ
ท่าบริหารเสริมกล้ามเนื้อหลัง สร้างกล้ามเนื้อหน้าท้อง
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้แนะนำท่ากายบริหารเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง อันเป็นการป้องกันภาวะหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือกดทับเส้นประสาท คือ
- ท่าบริหารที่ 1 : นอนหงาย ยกขาขึ้นข้างหนึ่งให้สูงจากพื้นประมาณ 1 คืบ เข่าเหยียดตรง กระดกปลายเท้าเข้าหาตัว ค้างไว้ 5 วินาที แล้วทำสลับกับขาอีกข้าง ทำอย่างน้อย 3-5 ครั้ง ทุกเช้า-เย็น
- ท่าบริหารที่ 2 : นอนหงาย ใช้มือทั้งสองกอดเข่าข้างหนึ่ง โน้มเข่าลงมาให้ชิดลำตัว ค้างไว้ 5 วินาที แล้วทำสลับกับเข่าอีกข้าง ทำอย่างน้อย 3-5 ครั้ง ทุกเช้า-เย็น
- ท่าบริหารที่ 3 : นอนหงาย ชันเข่าขึ้น ประสานมือสองข้างไว้ด้านหลังบริเวณเอว จากนั้นแขม่วท้อง กดหลังลงค้างไว้ 5 วินาที ทำอย่างน้อย 3-5 ครั้ง ทุกเช้า-เย็น
จะเห็นแล้วว่าวิธีการป้องกันโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ดีที่สุดก็คือ การรักษาโครงสร้างร่างกายให้อยู่ในท่าทางที่ถูกต้อง ร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อให้หน้าท้องและแผ่นหลังแข็งแรง แต่หากใครเริ่มมีอาการปวดหลังแล้วมีอาการร้าวลงขา ควรปรึกษาแพทย์ทันที เพราะนั่นคือสัญญาณของหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท ซึ่งควรรีบรักษาค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
- คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- thaispine.com
- โรงพยาบาลเปาโล
- โรงพยาบาลพญาไท