เงาะ ผลไม้รสหวานอมเปรี้ยวที่หลาย ๆ คนโปรดปราน แต่นอกจากความอร่อยแล้ว เงาะยังมีประโยชน์และสรรพคุณมากมายที่ใคร ๆ ก็คาดไม่ถึงซ่อนอยู่ด้วย
ลักษณะทางพฤกษ์ศาสตร์ของเงาะ
ลำต้น : เป็นไม้ขนาดกลาง สูงประมาณ 10-15 เมตร แต่ถ้าปลูกตามสวนเกษตรจะสูงแค่ประมาณ 4-8 เมตรเท่านั้น เพราะเป็นการปลูกโดยการเสียบยอดหรือตอนกิ่งแทนการปลูกด้วยเมล็ด จึงไม่สูงมากนัก ลำต้นของเงาะเป็นไม้เนื้อแข็งมีเปลือกสีเทาอมน้ำตาล ดูเป็นพุ่มหนาทึบ เพราะแตกกิ่งจำนวนมาก โดยกิ่งจะมีสีน้ำตาลอมแดง ขนาดเล็ก ทำให้เปราะหักได้ง่าย
ใบ : เป็นใบประกอบ ขนาด 4x15 เซนติเมตร ทรงไข่กลับหัว เรียบทั้งแผ่นและขอบ ปลายแหลม ไม่มีขน มีเส้นใบ 8-10 คู่ เรียงสลับกันบนก้าน ซึ่งมีขนาดยาว 15-20 เซนติเมตร โดยใบที่อยู่ด้านบนจะมีสีเขียวอมน้ำตาล ส่วนใบที่อยู่ด้านล่างจะมีสีอ่อนกว่า
ดอก : เป็นช่อ แทงออกจากปลายกิ่งหรือบริเวณตาใกล้ส่วนปลายกิ่ง (ในกรณีที่ปลายกิ่งถูกตัดออกไป) ช่อดอกจะมีสีน้ำตาลในช่วงแรก และจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อนเมื่อโตขึ้น แต่ละช่อจะยาวประมาณ 25 เซนติเมตร กว้างประมาณ 20 เซนติเมตร และมีดอกประมาณ 1,450 ดอก แต่จะติดเป็นผลได้ไม่ถึง 1% โดยดอกแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ ดอกเพศผู้ ดอกกะเทยเพศเมีย และดอกกะเทยเพศผู้
ผลและเมล็ด : เงาะมีลักษณะและสีต่างกันไปตามสายพันธุ์ แต่ส่วนมากแล้วจะเป็นทรงรี มีเปลือกสีเขียว (ผลอ่อน) และสีแดง (ผลแก่) มีเส้นขนอยู่บนเปลือกด้วย เนื้อของเงาะจะมีสีขาวหรือบางพันธุ์ก็ขาวอมชมพู แยกออกจากเปลือกได้ง่าย ส่วนเมล็ดของเงาะจะเป็นทรงรี รูปไข่ มีเปลือกสีน้ำตาลบาง ๆ หุ้ม ซึ่งเงาะบางพันธุ์เนื้อกับเมล็ดจะติดกัน ทำให้แยกออกได้ยาก แต่บางพันธุ์ก็ไม่ติดกัน ซึ่งจะแยกออกได้ง่าย
คุณค่าทางโภชนาการของเงาะ มีอะไรบ้างนะ ?
USDA Nutrient database ของกระทรวงเกษตร สหรัฐอเมริกา ให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการของเงาะ 100 กรัมไว้ ดังนี้
- พลังงาน 82 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 20.87 กรัม
- เส้นใย 0.21 กรัม
- ไขมัน 0.65 กรัม
- โปรตีน 2.5 กรัม
- วิตามินบี 1 0.013 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 2 0.022 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 3 1.352 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 6 0.02 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 9 8 ไมโครกรัม
- วิตามินซี 4.9 มิลลิกรัม
- ธาตุแคลเซียม 22 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 0.35 มิลลิกรัม
- ธาตุแมกนีเซียม 7 มิลลิกรัม
- ธาตุแมงกานีส 0.343 มิลลิกรัม
- ธาตุฟอสฟอรัส 9 มิลลิกรัม
- ธาตุโพแทสเซียม 42 มิลลิกรัม
- ธาตุสังกะสี 0.08 มิลลิกรัม
ประโยชน์ของเงาะ สรรพคุณดีงามที่คุณคู่ควร
1. มีสารอาหารอุดมสมบูรณ์
เงาะอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์มากมายเลยค่ะ ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน เหล็ก ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม แทนนิน วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามินบี 3 แถมยังมีวิตามินซีสูงอีกด้วย เรียกได้ว่ากินเงาะอย่างเดียวก็ได้รับสารอาหารเกือบครบถ้วนแล้ว
2. ดับร้อนให้ร่างกาย
เนื้อในของเงาะมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่มาก กินแล้วจะช่วยดับร้อน สร้างความเย็นฉ่ำให้กับร่างกาย อีกทั้งน้ำตาลที่สร้างความหวานฉ่ำให้กับเงาะยังช่วยเติมความสดชื่นให้กับตัวเราด้วยนะ
3. มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ แก้ท้องร่วง ท้องเสีย
เงาะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ในร่างกายได้ ดังนั้นการกินเงาะจึงช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในช่องท้อง อันเป็นสาเหตุของโรคบิด ท้องเสีย และท้องร่วงได้ดีทีเดียวค่ะ
4. ลดการอักเสบของช่องปาก
นำเนื้อเงาะไปต้ม แล้วนำน้ำมาดื่มเป็นยาแก้อักเสบก็ช่วยลดการอักเสบของช่องปากได้ด้วยนะคะ เพราะอย่างที่บอกว่าเงาะมีฤทธิ์ที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ จึงทำให้ช่องปากเราอักเสบน้อยลงนั่นเอง
5. บรรเทาอาการป่วย
การกินเงาะช่วยบรรเทาอาหารป่วยได้หลากหลาย เช่น ถ้าปวดหัว ให้นำใบเงาะมาวางไว้ที่บริเวณขมับ จะช่วยให้สมองผ่อนคลายและลดอาการปวดหัวได้มากขึ้น ถ้าเจ็บคอให้นำเปลือกเงาะมาต้มแล้วดื่มเพื่อรักษาอาการเจ็บคอ หรือถ้าเป็นไข้ ให้นำรากของเงาะมาต้มแล้วดื่มเพื่อลดไข้ได้ค่ะ
6. ขับของเสียออกจากไต
เนื่องจากในเงาะมีสารฟอสฟอรัสประกอบอยู่ ซึ่งสารฟอสฟอรัสเป็นสารที่ช่วยขับให้ของเสียออกไปจากไตได้ ดังนั้นการกินเงาะจึงช่วยให้ไตขับของเสียออกไปง่ายขึ้น โดยไม่ต้องทำงานหนักมาก นอกจากนั้นสารฟอสฟอรัสในเงาะยังช่วยซ่อมแซมและบำรุงเนื้อเยื่อและเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายของเราได้อีกด้วย การกินเงาะจึงช่วยให้ร่างกายเรารู้สึกแข็งแรงเพิ่มขึ้นได้นั่นเองค่ะ
7. มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
เปลือกของเงาะมีกรดแกลลิกที่ช่วยต้านสารอนุมูลอิสระอยู่เป็นจำนวนมาก จึงช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งลงได้
8. ไฟเบอร์สูง ช่วยแก้ท้องผูก
ในเงาะมีไฟเบอร์และน้ำในปริมาณมาก จึงช่วยให้ลำไส้ย่อยอาหารต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เมื่อระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ระบบขับถ่ายก็จะดีตามไปด้วย ทีนี้ก็หมดกังวลเรื่องอาการท้องผูกไปได้ แถมไฟเบอร์และน้ำในเงาะยังทำให้เราอิ่มนานขึ้น และช่วยให้ไม่หิวบ่อย คนที่กำลังควบคุมน้ำหนักอยู่สามารถกินเงาะเพื่อให้อยู่ท้องได้ แต่ควรกินในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้นนะคะ คือไม่เกิน 1 ส่วน หรือประมาณ 5-6 ผล เพราะในเงาะมีน้ำตาลสูง ถ้ามากไปก็จะทำให้อ้วนได้เหมือนกัน
9. เสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน
เงาะมีทั้งแคลเซียม แมกนีเซียม และฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน ดังนั้นเมื่อเรากินเงาะก็ถือเป็นการเพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดูกและฟันได้ด้วยค่ะ
10. เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
เห็นเงาะผลเล็ก ๆ แบบนี้แต่มีวิตามินซีสูงมาก ซึ่งรู้กันดีว่าวิตามินซีคือสารอาหารสำคัญที่ช่วยสร้างเกราะคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง จึงช่วยป้องกันไข้หวัด เลือดออกตามไรฟันได้ ยิ่งมาผนวกกับธาตุเหล็กและทองแดงที่มีอยู่เต็มเปี่ยมในเงาะ ก็ยิ่งช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแบบคูณสอง เพราะเหล็กและทองแดงจะช่วยสร้างและรักษาสมดุลของเซลล์เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดงและหลอดเลือดด้วยค่ะ
11. บำรุงผิวพรรณ
รู้หรือไม่ว่าเงาะสามารถทำให้ผิวของเราดูนุ่ม อ่อนโยน และชุ่มชื้นได้ด้วยนะคะ เนื่องจากในเงาะมีสารต้านอนุมูลอิสระและน้ำประกอบอยู่มาก จึงช่วยป้องกันความเสียหายจากอนุมูลอิสระ และช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวเราได้ นอกจากนี้เรายังสามารถนำเมล็ดเงาะมาบดทำเป็นสครับขัดผิวให้นุ่ม แลดูสุขภาพดีได้
12. ดูแลเส้นผม
นอกจากจะช่วยบำรุงผิวกายแล้ว เงาะยังสามารถบำรุงเส้นผมของเราได้อีกด้วยค่ะ ลองนำใบเงาะมาขยี้ แล้วเติมน้ำลงไปพอประมาณ จากนั้นให้คั้นเอาน้ำออก เสร็จแล้วก็สามารถนำน้ำจากใบเงาะมาชโลมบริเวณหนังศีรษะและเส้นผมได้เลย วิธีนี้จะช่วยให้รากผมแข็งแรงและเส้นผมยาวเร็วมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้เห็นผลดีควรทำแบบนี้เป็นประจำนะคะ
13. ประกอบเป็นอาหาร
แน่นอนว่าเงาะเป็นผลไม้ที่กินแค่เนื้อเฉย ๆ ก็อร่อยแล้ว แต่ถ้าใครอยากลองกินแบบเย็น ๆ โดยแกะเนื้อเงาะแช่ตู้เย็นก่อนแล้วค่อยนำมากิน ก็อร่อยไปอีกแบบนะคะ แต่แค่นั้นยังไม่พอ เพราะเงาะยังสามารถนำไปแปรรูปเพิ่มมูลค่าและความอร่อยได้อีกมากมาย ทั้งเงาะกระป๋อง เงาะกวน เงาะแช่อิ่ม และแยมเงาะ นอกจากนี้เงาะยังสามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการทำอาหาร เช่น ผัดเปรี้ยวหวาน แกงเผ็ด และต้มจืดเงาะได้ด้วย
14. ใช้ย้อมสีผ้า
หากอยากมีผ้าสีแดงหรือชมพูจากธรรมชาติ สามารถใช้เปลือกเงาะเป็นตัวช่วยได้นะคะ วิธีทำก็ง่าย ๆ ให้นำเปลือกเงาะประมาณ 1 ถ้วยกับน้ำเปล่าประมาณ 2 เท่าของเงาะ เทลงในหม้อแล้วต้มประมาณ 1 ชั่วโมง เสร็จแล้วพักให้สีเย็นสักครู่ จากนั้นก็เทสีใส่ในภาชนะที่จะใช้ย้อม แล้วให้นำผ้าที่ล้างน้ำเย็นแล้วมาจุ่มจนได้สีที่ต้องการได้เลย แค่นี้เราก็จะมีผ้าย้อมสีแบบธรรมชาติกันแล้วค่ะ
โทษของเงาะ กินมากเกินไปก็ต้องระวัง
เงาะเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลมาก ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจึงควรหลีกเลี่ยงที่จะกินเงาะ และในเงาะยังมีสารแทนนิน (Tannin) ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในกระเพาะอาหาร ซึ่งถ้าเราได้รับมากเกินไป อาจทำให้ท้องอืดหรือท้องผูกได้
นอกจากนั้นเมล็ดของเงาะก็ยังเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องระวังด้วยค่ะ เพราะเมล็ดของเงาะมีพิษที่ทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และมีไข้ ถึงแม้จะทำให้สุกแล้ว แต่ก็ยังอันตรายอยู่ดี ฉะนั้นทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการกินเมล็ดเงาะ และกินเนื้อเงาะในปริมาณพอเหมาะจะดีที่สุดค่ะ
วิธีเลือกซื้อเงาะ
การเลือกซื้อเงาะสามารถสังเกตดูได้จากเปลือกค่ะ เราควรเลือกเปลือกที่มีสีสดและขนที่ดูแข็งแรง ไม่แห้งดำ เงาะที่ดีควรมีขนาดพอ ๆ กัน และไม่ควรมีรอยช้ำ ซึ่งอาจหมายถึงเนื้อข้างในเสียหายหรือสุกเกินไปค่ะ
เชื่อว่าพออ่านจบแล้ว หลาย ๆ คนต้องอยากไปหาซื้อเงาะมากินบ้างแน่ ๆ แต่อย่างไรก็ตามอย่าลืมนะคะ ว่าถึงเงาะจะมีประโยชน์มากมาย แต่กินมากไปก็เป็นโทษได้ ดังนั้นจึงควรกินแบบพอดีคือประมาณ 5-6 ผลต่อวันเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
รายการครัวคุณต๋อย
Puechkaset
Foodfacts
Stylecraze
เงาะ ผลไม้เมืองร้อน
เปลือกขนสีแดง รสหวานฉ่ำอมเปรี้ยวนิด ๆ ที่ไม่ว่าใครกินก็ต้องติดใจ
ถือเป็นอีกหนึ่งผลไม้ที่มีประโยชน์ดี ๆ สรรพคุณเด็ด ๆ ซ่อนอยู่มาก
แถมยังหาซื้อได้ง่าย ราคาไม่แพง และมีคุณค่าทางโภชนาการอาหารแบบจัดเต็ม
เรียกได้ว่าเป็นสุดยอดผลไม้เลยทีเดียว
แต่น่าเสียดายที่ไม่ค่อยมีคนรู้ถึงเรื่องราวดี ๆ ของเงาะมากนัก
ดังนั้นวันนี้เราจึงนำเรื่องราวและประโยชน์ของเงาะมาฝากกันค่ะ
มาทำความรู้จักเงาะกันอีกสักนิด
เงาะ ภาษาอังกฤษคือ Rambutan มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Nephelium lappaceum Linn. จัดเป็นผลไม้ตระกูล Sapindaceae มีเปลือกสีเขียวหรือแดงตามความอ่อนแก่ มีเนื้อสีขาว และมีเมล็ดข้างในเนื้อ รสชาติของเนื้อเงาะจะหวานฉ่ำ แอบเปรี้ยวนิด ๆ กินแล้วชื่นใจ ซึ่งเงาะถือเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของไทย เพราะสามารถแปรรูปและส่งออกได้มากมาย ทั้งเงาะกระป๋อง เงาะกวน เงาะแช่อิ่ม และไวน์เงาะ
พันธุ์เงาะยอดนิยม
เงาะมีมากมายหลายสายพันธุ์แต่พันธุ์ที่นิยมมีเพียง 3 พันธุ์คือ เงาะโรงเรียน เงาะสีชมพู และเงาะสีทอง เพราะเงาะสายพันธุ์เหล่านี้เจริญเติบโตง่ายจึงเป็นพันธุ์ที่ชาวสวนเลือกปลูกเพื่อนำมาขายนั่นเองค่ะ
เงาะ ภาษาอังกฤษคือ Rambutan มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Nephelium lappaceum Linn. จัดเป็นผลไม้ตระกูล Sapindaceae มีเปลือกสีเขียวหรือแดงตามความอ่อนแก่ มีเนื้อสีขาว และมีเมล็ดข้างในเนื้อ รสชาติของเนื้อเงาะจะหวานฉ่ำ แอบเปรี้ยวนิด ๆ กินแล้วชื่นใจ ซึ่งเงาะถือเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของไทย เพราะสามารถแปรรูปและส่งออกได้มากมาย ทั้งเงาะกระป๋อง เงาะกวน เงาะแช่อิ่ม และไวน์เงาะ
พันธุ์เงาะยอดนิยม
เงาะมีมากมายหลายสายพันธุ์แต่พันธุ์ที่นิยมมีเพียง 3 พันธุ์คือ เงาะโรงเรียน เงาะสีชมพู และเงาะสีทอง เพราะเงาะสายพันธุ์เหล่านี้เจริญเติบโตง่ายจึงเป็นพันธุ์ที่ชาวสวนเลือกปลูกเพื่อนำมาขายนั่นเองค่ะ
ลักษณะทางพฤกษ์ศาสตร์ของเงาะ
ลำต้น : เป็นไม้ขนาดกลาง สูงประมาณ 10-15 เมตร แต่ถ้าปลูกตามสวนเกษตรจะสูงแค่ประมาณ 4-8 เมตรเท่านั้น เพราะเป็นการปลูกโดยการเสียบยอดหรือตอนกิ่งแทนการปลูกด้วยเมล็ด จึงไม่สูงมากนัก ลำต้นของเงาะเป็นไม้เนื้อแข็งมีเปลือกสีเทาอมน้ำตาล ดูเป็นพุ่มหนาทึบ เพราะแตกกิ่งจำนวนมาก โดยกิ่งจะมีสีน้ำตาลอมแดง ขนาดเล็ก ทำให้เปราะหักได้ง่าย
ใบ : เป็นใบประกอบ ขนาด 4x15 เซนติเมตร ทรงไข่กลับหัว เรียบทั้งแผ่นและขอบ ปลายแหลม ไม่มีขน มีเส้นใบ 8-10 คู่ เรียงสลับกันบนก้าน ซึ่งมีขนาดยาว 15-20 เซนติเมตร โดยใบที่อยู่ด้านบนจะมีสีเขียวอมน้ำตาล ส่วนใบที่อยู่ด้านล่างจะมีสีอ่อนกว่า
ดอก : เป็นช่อ แทงออกจากปลายกิ่งหรือบริเวณตาใกล้ส่วนปลายกิ่ง (ในกรณีที่ปลายกิ่งถูกตัดออกไป) ช่อดอกจะมีสีน้ำตาลในช่วงแรก และจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อนเมื่อโตขึ้น แต่ละช่อจะยาวประมาณ 25 เซนติเมตร กว้างประมาณ 20 เซนติเมตร และมีดอกประมาณ 1,450 ดอก แต่จะติดเป็นผลได้ไม่ถึง 1% โดยดอกแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ ดอกเพศผู้ ดอกกะเทยเพศเมีย และดอกกะเทยเพศผู้
ผลและเมล็ด : เงาะมีลักษณะและสีต่างกันไปตามสายพันธุ์ แต่ส่วนมากแล้วจะเป็นทรงรี มีเปลือกสีเขียว (ผลอ่อน) และสีแดง (ผลแก่) มีเส้นขนอยู่บนเปลือกด้วย เนื้อของเงาะจะมีสีขาวหรือบางพันธุ์ก็ขาวอมชมพู แยกออกจากเปลือกได้ง่าย ส่วนเมล็ดของเงาะจะเป็นทรงรี รูปไข่ มีเปลือกสีน้ำตาลบาง ๆ หุ้ม ซึ่งเงาะบางพันธุ์เนื้อกับเมล็ดจะติดกัน ทำให้แยกออกได้ยาก แต่บางพันธุ์ก็ไม่ติดกัน ซึ่งจะแยกออกได้ง่าย
USDA Nutrient database ของกระทรวงเกษตร สหรัฐอเมริกา ให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการของเงาะ 100 กรัมไว้ ดังนี้
- พลังงาน 82 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 20.87 กรัม
- เส้นใย 0.21 กรัม
- ไขมัน 0.65 กรัม
- โปรตีน 2.5 กรัม
- วิตามินบี 1 0.013 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 2 0.022 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 3 1.352 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 6 0.02 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 9 8 ไมโครกรัม
- วิตามินซี 4.9 มิลลิกรัม
- ธาตุแคลเซียม 22 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 0.35 มิลลิกรัม
- ธาตุแมกนีเซียม 7 มิลลิกรัม
- ธาตุแมงกานีส 0.343 มิลลิกรัม
- ธาตุฟอสฟอรัส 9 มิลลิกรัม
- ธาตุโพแทสเซียม 42 มิลลิกรัม
- ธาตุสังกะสี 0.08 มิลลิกรัม
ประโยชน์ของเงาะ สรรพคุณดีงามที่คุณคู่ควร
1. มีสารอาหารอุดมสมบูรณ์
เงาะอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์มากมายเลยค่ะ ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน เหล็ก ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม แทนนิน วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามินบี 3 แถมยังมีวิตามินซีสูงอีกด้วย เรียกได้ว่ากินเงาะอย่างเดียวก็ได้รับสารอาหารเกือบครบถ้วนแล้ว
2. ดับร้อนให้ร่างกาย
เนื้อในของเงาะมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่มาก กินแล้วจะช่วยดับร้อน สร้างความเย็นฉ่ำให้กับร่างกาย อีกทั้งน้ำตาลที่สร้างความหวานฉ่ำให้กับเงาะยังช่วยเติมความสดชื่นให้กับตัวเราด้วยนะ
3. มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ แก้ท้องร่วง ท้องเสีย
เงาะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ในร่างกายได้ ดังนั้นการกินเงาะจึงช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในช่องท้อง อันเป็นสาเหตุของโรคบิด ท้องเสีย และท้องร่วงได้ดีทีเดียวค่ะ
4. ลดการอักเสบของช่องปาก
นำเนื้อเงาะไปต้ม แล้วนำน้ำมาดื่มเป็นยาแก้อักเสบก็ช่วยลดการอักเสบของช่องปากได้ด้วยนะคะ เพราะอย่างที่บอกว่าเงาะมีฤทธิ์ที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ จึงทำให้ช่องปากเราอักเสบน้อยลงนั่นเอง
5. บรรเทาอาการป่วย
การกินเงาะช่วยบรรเทาอาหารป่วยได้หลากหลาย เช่น ถ้าปวดหัว ให้นำใบเงาะมาวางไว้ที่บริเวณขมับ จะช่วยให้สมองผ่อนคลายและลดอาการปวดหัวได้มากขึ้น ถ้าเจ็บคอให้นำเปลือกเงาะมาต้มแล้วดื่มเพื่อรักษาอาการเจ็บคอ หรือถ้าเป็นไข้ ให้นำรากของเงาะมาต้มแล้วดื่มเพื่อลดไข้ได้ค่ะ
6. ขับของเสียออกจากไต
เนื่องจากในเงาะมีสารฟอสฟอรัสประกอบอยู่ ซึ่งสารฟอสฟอรัสเป็นสารที่ช่วยขับให้ของเสียออกไปจากไตได้ ดังนั้นการกินเงาะจึงช่วยให้ไตขับของเสียออกไปง่ายขึ้น โดยไม่ต้องทำงานหนักมาก นอกจากนั้นสารฟอสฟอรัสในเงาะยังช่วยซ่อมแซมและบำรุงเนื้อเยื่อและเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายของเราได้อีกด้วย การกินเงาะจึงช่วยให้ร่างกายเรารู้สึกแข็งแรงเพิ่มขึ้นได้นั่นเองค่ะ
7. มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
เปลือกของเงาะมีกรดแกลลิกที่ช่วยต้านสารอนุมูลอิสระอยู่เป็นจำนวนมาก จึงช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งลงได้
ในเงาะมีไฟเบอร์และน้ำในปริมาณมาก จึงช่วยให้ลำไส้ย่อยอาหารต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เมื่อระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ระบบขับถ่ายก็จะดีตามไปด้วย ทีนี้ก็หมดกังวลเรื่องอาการท้องผูกไปได้ แถมไฟเบอร์และน้ำในเงาะยังทำให้เราอิ่มนานขึ้น และช่วยให้ไม่หิวบ่อย คนที่กำลังควบคุมน้ำหนักอยู่สามารถกินเงาะเพื่อให้อยู่ท้องได้ แต่ควรกินในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้นนะคะ คือไม่เกิน 1 ส่วน หรือประมาณ 5-6 ผล เพราะในเงาะมีน้ำตาลสูง ถ้ามากไปก็จะทำให้อ้วนได้เหมือนกัน
9. เสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน
เงาะมีทั้งแคลเซียม แมกนีเซียม และฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน ดังนั้นเมื่อเรากินเงาะก็ถือเป็นการเพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดูกและฟันได้ด้วยค่ะ
10. เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
เห็นเงาะผลเล็ก ๆ แบบนี้แต่มีวิตามินซีสูงมาก ซึ่งรู้กันดีว่าวิตามินซีคือสารอาหารสำคัญที่ช่วยสร้างเกราะคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง จึงช่วยป้องกันไข้หวัด เลือดออกตามไรฟันได้ ยิ่งมาผนวกกับธาตุเหล็กและทองแดงที่มีอยู่เต็มเปี่ยมในเงาะ ก็ยิ่งช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแบบคูณสอง เพราะเหล็กและทองแดงจะช่วยสร้างและรักษาสมดุลของเซลล์เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดงและหลอดเลือดด้วยค่ะ
11. บำรุงผิวพรรณ
รู้หรือไม่ว่าเงาะสามารถทำให้ผิวของเราดูนุ่ม อ่อนโยน และชุ่มชื้นได้ด้วยนะคะ เนื่องจากในเงาะมีสารต้านอนุมูลอิสระและน้ำประกอบอยู่มาก จึงช่วยป้องกันความเสียหายจากอนุมูลอิสระ และช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวเราได้ นอกจากนี้เรายังสามารถนำเมล็ดเงาะมาบดทำเป็นสครับขัดผิวให้นุ่ม แลดูสุขภาพดีได้
12. ดูแลเส้นผม
นอกจากจะช่วยบำรุงผิวกายแล้ว เงาะยังสามารถบำรุงเส้นผมของเราได้อีกด้วยค่ะ ลองนำใบเงาะมาขยี้ แล้วเติมน้ำลงไปพอประมาณ จากนั้นให้คั้นเอาน้ำออก เสร็จแล้วก็สามารถนำน้ำจากใบเงาะมาชโลมบริเวณหนังศีรษะและเส้นผมได้เลย วิธีนี้จะช่วยให้รากผมแข็งแรงและเส้นผมยาวเร็วมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้เห็นผลดีควรทำแบบนี้เป็นประจำนะคะ
13. ประกอบเป็นอาหาร
แน่นอนว่าเงาะเป็นผลไม้ที่กินแค่เนื้อเฉย ๆ ก็อร่อยแล้ว แต่ถ้าใครอยากลองกินแบบเย็น ๆ โดยแกะเนื้อเงาะแช่ตู้เย็นก่อนแล้วค่อยนำมากิน ก็อร่อยไปอีกแบบนะคะ แต่แค่นั้นยังไม่พอ เพราะเงาะยังสามารถนำไปแปรรูปเพิ่มมูลค่าและความอร่อยได้อีกมากมาย ทั้งเงาะกระป๋อง เงาะกวน เงาะแช่อิ่ม และแยมเงาะ นอกจากนี้เงาะยังสามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการทำอาหาร เช่น ผัดเปรี้ยวหวาน แกงเผ็ด และต้มจืดเงาะได้ด้วย
14. ใช้ย้อมสีผ้า
หากอยากมีผ้าสีแดงหรือชมพูจากธรรมชาติ สามารถใช้เปลือกเงาะเป็นตัวช่วยได้นะคะ วิธีทำก็ง่าย ๆ ให้นำเปลือกเงาะประมาณ 1 ถ้วยกับน้ำเปล่าประมาณ 2 เท่าของเงาะ เทลงในหม้อแล้วต้มประมาณ 1 ชั่วโมง เสร็จแล้วพักให้สีเย็นสักครู่ จากนั้นก็เทสีใส่ในภาชนะที่จะใช้ย้อม แล้วให้นำผ้าที่ล้างน้ำเย็นแล้วมาจุ่มจนได้สีที่ต้องการได้เลย แค่นี้เราก็จะมีผ้าย้อมสีแบบธรรมชาติกันแล้วค่ะ
โทษของเงาะ กินมากเกินไปก็ต้องระวัง
เงาะเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลมาก ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจึงควรหลีกเลี่ยงที่จะกินเงาะ และในเงาะยังมีสารแทนนิน (Tannin) ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในกระเพาะอาหาร ซึ่งถ้าเราได้รับมากเกินไป อาจทำให้ท้องอืดหรือท้องผูกได้
นอกจากนั้นเมล็ดของเงาะก็ยังเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องระวังด้วยค่ะ เพราะเมล็ดของเงาะมีพิษที่ทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และมีไข้ ถึงแม้จะทำให้สุกแล้ว แต่ก็ยังอันตรายอยู่ดี ฉะนั้นทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการกินเมล็ดเงาะ และกินเนื้อเงาะในปริมาณพอเหมาะจะดีที่สุดค่ะ
วิธีเลือกซื้อเงาะ
การเลือกซื้อเงาะสามารถสังเกตดูได้จากเปลือกค่ะ เราควรเลือกเปลือกที่มีสีสดและขนที่ดูแข็งแรง ไม่แห้งดำ เงาะที่ดีควรมีขนาดพอ ๆ กัน และไม่ควรมีรอยช้ำ ซึ่งอาจหมายถึงเนื้อข้างในเสียหายหรือสุกเกินไปค่ะ
เชื่อว่าพออ่านจบแล้ว หลาย ๆ คนต้องอยากไปหาซื้อเงาะมากินบ้างแน่ ๆ แต่อย่างไรก็ตามอย่าลืมนะคะ ว่าถึงเงาะจะมีประโยชน์มากมาย แต่กินมากไปก็เป็นโทษได้ ดังนั้นจึงควรกินแบบพอดีคือประมาณ 5-6 ผลต่อวันเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
รายการครัวคุณต๋อย
Puechkaset
Foodfacts
Stylecraze