
อาหารเสริม-สมุนไพร ผู้ที่มีปัญหาลิ่มเลือดอุดตันควรระวัง (หมอชาวบ้าน)
โดย ภกญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ปราจีนบุรี
ยาละลายลิ่มเลือด คือ ยาที่มีชื่อว่า วาร์ฟาริน (warfarin) หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ซึ่งแพทย์มักสั่งใช้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ่มเลือดอุดตันหัวใจเต้นผิดปกติ หรือผู้ที่ทำการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียมเพื่อป้องกันไม่ให้ลิ่มเลือดไหลไปอุดตันหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น สมอง ถ้าขาดเลือดไปเลี้ยงก็อาจทำให้เป็นอัมพาต หัวใจ หากมีลิ่มเลือดไปอุดตันก็อาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายได้
ส่วนยาแอสไพริน (aspirin) นั้น ความจริงแล้วไม่ใช่ยาละลายลิ่มเลือดอย่างที่หลาย ๆ ท่านอาจเข้าใจหรือเรียกผิดไป แต่แอสไพรินเป็นยาป้องกันการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ซึ่งแพทย์มักสั่งใช้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคเรื้อรังอย่าง เบาหวาน ไขมัน ความดัน เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดและหัวใจ หรือในรายที่เป็นโรคหลอดเลือดและหัวใจแล้ว ก็สามารถกินยานี้เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรคได้
สำหรับผู้ป่วยที่กินยาวาร์ฟาริน จะมีการติดตามการรักษาและมีการปฏิบัติตัวที่เคร่งครัดกว่าการกินยาแอสไพริน เนื่องจากเป็นยาที่มีช่วงการรักษาแคบ หมายความว่าถ้ากินยาน้อยไปการรักษาก็จะได้ผลไม่ดี ทำให้ผู้ป่วยยังคงมีความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดที่เป็นอันตรายเหมือนกับไม่ได้กินยา แต่ถ้ากินยามากเกินไปก็จะเกิดปัญหาเลือดออกง่าย เนื่องจากเลือดไม่ยอมแข็งตัว โดยแพทย์จะนัดดูผลเลือด เรียกว่า ค่าไอเอ็นอาร์ (INR) ว่าผู้ป่วยได้รับยาในขนาดที่เหมาะสมตามค่าเลือดที่ต้องการหรือไม่
สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งของการกินยาวาร์ฟาริน คือ การกินยาวาร์ฟาริน ร่วมกับยาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายชนิด ที่มักเกิดการตีกัน ส่งผลต่อระดับยาวาร์ฟารินในเลือดไม่คงที่หรือผิดปกติไปโดยสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ส่งผลต่อระดับยาวาร์ฟาริน และผู้ที่ใช้ยาควรระมัดระวัง มีดังนี้


สำหรับโสม มีทั้งรายงานที่เพิ่มฤทธิ์และลดฤทธิ์ยาวาร์ฟาริน
แต่อย่างไรก็ตาม สมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่กล่าวถึงนั้น ให้ระมัดระวังในท่านที่กินในรูปแบบสารสกัด หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารส่วนการกินในรูปแบบผักหรือที่ไม่ใช่สารสกัดก็สามารถกินได้ สำหรับท่านที่มีความต้องการกินในรูปแบบสารสกัดหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ เพื่อติดตามค่าเลือดว่ายังอยู่ในช่วงการรักษาที่เหมาะสมหรือไม่
การกินสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในผู้ป่วยที่กินยาแอสไพริน ไม่ได้มีข้อควรระวังเท่ากับผู้ป่วยที่กินยาวาร์ฟาริน ยกเว้นในรายที่เสี่ยงจะเกิดเลือดออกง่าย เช่น มีแผลในกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยสูงอายุอาจมีการติดตามหรือสังเกตว่ามีอาการอะไรผิดปกติหรือไม่ เช่น ถ่ายดำปัสสาวะมีสีคล้ำ ไอหรืออาเจียนเป็นเลือด เกิดจ้ำเลือดใต้ผิวหนังเป็นสีม่วง ๆ ช้ำ โดยที่ไม่ได้ไปกระแทกหรือโดนอะไรมา หากมีอาการดังกล่าวนี้ ผู้ป่วยที่กินยาวาร์ฟาริน หรือแอสไพรินอยู่ควรรีบไปพบแพทย์ หรือคนที่จะทำการผ่าตัด หรือถอนฟัน ควรมีการหยุดยาวาร์ฟาริน หรือแอสไพรินก่อนตามคำแนะนำของแพทย์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
