ฟันคุดมีกันทุกคนไหม แล้วจำเป็นแค่ไหนที่ต้องผ่าฟันคุด รวมไปถึงหลาย ๆ ข้อสงสัยเกี่ยวกับฟันคุดและการผ่าฟันคุด วันนี้เรามีคำตอบ
สุขภาพในช่องปากที่นอกจากปัญหาฟันผุ อาการปวดฟัน ก็มีอีกหนึ่งเรื่องที่หลายคนยังข้องใจและแอบกังวลอยู่เล็ก ๆ เรื่องนั้นก็คือ ฟันคุด นั่นเองค่ะ เพราะบางคนก็เคยมีประสบการณ์กับฟันคุดมาบ้างแล้ว
โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่จัดฟัน คุณหมอจะให้ผ่าฟันคุดก่อนเกือบจะทุกเคสก็ว่าได้
แต่กับคนที่ยังไม่รู้ตัว ไม่เคยแม้จะรู้สึกถึงการมีตัวตนของฟันคุดมาก่อน
แน่นอนว่าคงสงสัยกันบ้างว่าฟันคุดเรามีไหม
แล้วเมื่อไรจะแผลงฤทธิ์ปวดจนต้องไปผ่า หรือว่าควรไปผ่าฟันคุดก่อนดี
เคลียร์เรื่องนี้กันสักหน่อยดีกว่าค่ะ
ฟันคุดคืออะไร
ฟันคุด ภาษาอังกฤษเรียกว่า (Impacted Tooth, Wisdom Tooth) ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติในช่องปาก อาจจะโผล่มาบางส่วนหรือฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรทั้งซี่ โดยสาเหตุที่ฟันคุดไม่โผล่เหมือนฟันซี่อื่น ๆ ก็เพราะว่าฟันคุดขึ้นช้ากว่าฟันซี่อื่น ๆ ทำให้ไม่มีช่องว่างเพื่อที่จะโผล่ขึ้นมาได้
โดยฟันซี่ที่พบว่าเป็นฟันคุดบ่อยที่สุด คือ ฟันกรามล่างซี่สุดท้าย ซึ่งอยู่ด้านในสุดของกระดูกขากรรไกรล่าง ปกติแล้วฟันซี่นี้ควรจะขึ้นในช่วงอายุ 16-25 ปี โดยอาจโผล่ขึ้นมาในลักษณะตั้งตรง เอียง หรือนอนในแนวราบ และมักจะอยู่ชิดกับฟันซี่ข้างเคียงเสมอ ทว่าฟันคุดก็สามารถเจอกับฟันซี่อื่น ๆ ได้เหมือนกัน เช่น ฟันเขี้ยว (Canine) ฟันกรามน้อย (Premolar) เป็นต้น
ฟันคุดมีทุกคนไหม
ฟันคุดเป็นฟัน 1 ใน 32 ซี่ที่เราเรียน ๆ กันมานี่แหละค่ะ ฉะนั้นถ้าถามว่า ฟันคุดมีกันทุกคนไหม ตอบได้เลยว่ามี แต่ฟันคุดจะขึ้นหรือฝังอยู่ใต้กระดูกขากรรไกร อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะฟันของแต่ละคน
ฟันคุด ไม่ผ่าได้ไหม
เชื่อว่าหลายคนสงสัยว่าทำไมเราต้องผ่าฟันคุด ถึงจะมีฟันคุดแต่ไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ ไม่ได้จัดฟัน จำเป็นต้องผ่าฟันคุดไหม คำตอบคือ ผ่าดีกว่าไม่ผ่าฟันคุดค่ะ เพราะถ้าปล่อยฟันคุดให้เกหรือฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกร อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพฟันตามมาอีกหลายอย่าง เจอทันตแพทย์บ่อยขึ้นทั้งที่ไม่ควร ที่สำคัญการผ่าฟันคุดออกก่อนที่จะเจอกับอาการปวดฟันคุด ยังไงก็ผ่าฟันคุดก่อนปวดก็คงเป็นทางเลือกที่เจ็บน้อยกว่า
ฟันคุดคืออะไร
ฟันคุด ภาษาอังกฤษเรียกว่า (Impacted Tooth, Wisdom Tooth) ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติในช่องปาก อาจจะโผล่มาบางส่วนหรือฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรทั้งซี่ โดยสาเหตุที่ฟันคุดไม่โผล่เหมือนฟันซี่อื่น ๆ ก็เพราะว่าฟันคุดขึ้นช้ากว่าฟันซี่อื่น ๆ ทำให้ไม่มีช่องว่างเพื่อที่จะโผล่ขึ้นมาได้
โดยฟันซี่ที่พบว่าเป็นฟันคุดบ่อยที่สุด คือ ฟันกรามล่างซี่สุดท้าย ซึ่งอยู่ด้านในสุดของกระดูกขากรรไกรล่าง ปกติแล้วฟันซี่นี้ควรจะขึ้นในช่วงอายุ 16-25 ปี โดยอาจโผล่ขึ้นมาในลักษณะตั้งตรง เอียง หรือนอนในแนวราบ และมักจะอยู่ชิดกับฟันซี่ข้างเคียงเสมอ ทว่าฟันคุดก็สามารถเจอกับฟันซี่อื่น ๆ ได้เหมือนกัน เช่น ฟันเขี้ยว (Canine) ฟันกรามน้อย (Premolar) เป็นต้น
ฟันคุดเป็นฟัน 1 ใน 32 ซี่ที่เราเรียน ๆ กันมานี่แหละค่ะ ฉะนั้นถ้าถามว่า ฟันคุดมีกันทุกคนไหม ตอบได้เลยว่ามี แต่ฟันคุดจะขึ้นหรือฝังอยู่ใต้กระดูกขากรรไกร อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะฟันของแต่ละคน
ฟันคุด ไม่ผ่าได้ไหม
เชื่อว่าหลายคนสงสัยว่าทำไมเราต้องผ่าฟันคุด ถึงจะมีฟันคุดแต่ไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ ไม่ได้จัดฟัน จำเป็นต้องผ่าฟันคุดไหม คำตอบคือ ผ่าดีกว่าไม่ผ่าฟันคุดค่ะ เพราะถ้าปล่อยฟันคุดให้เกหรือฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกร อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพฟันตามมาอีกหลายอย่าง เจอทันตแพทย์บ่อยขึ้นทั้งที่ไม่ควร ที่สำคัญการผ่าฟันคุดออกก่อนที่จะเจอกับอาการปวดฟันคุด ยังไงก็ผ่าฟันคุดก่อนปวดก็คงเป็นทางเลือกที่เจ็บน้อยกว่า
เห็นบอกว่าผ่าฟันคุดจะดีกว่า แล้วที่ว่าดีกว่านี่มันดียังไง เรามาดูเหตุผลกันค่ะว่า ทำไมทันตแพทย์ถึงอยากให้ผ่าฟันคุด ทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีอาการเจ็บปวด
1. ช่วยป้องกันการอักเสบของเหงือกที่ปกคลุมฟัน
หากมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ใต้เหงือก แล้วไม่สามารถทำความสะอาดได้ เชื้อแบคทีเรียที่มาสะสมอยู่จะทำให้เหงือกอักเสบ ปวดและบวมเป็นหนอง ถ้าทิ้งไว้การอักเสบจะลุกลามไปใต้คาง หรือใต้ลิ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ง่าย บางรายถ้าเหงือกอักเสบมากและฟันคู่สบงอกยาวลงมากัดโดนเหงือก จะยิ่งทำให้อาการปวดฟันรุนแรงมาก
2. ช่วยป้องกันฟันผุ
เนื่องจากซอกฟันระหว่างฟันคุดกับฟันกรามซี่ที่สองที่อยู่ชิดกัน เป็นส่วนที่ทำความสะอาดได้ยาก เศษอาหารจะติดค้างอยู่ซึ่งอาจทำให้เกิดฟันผุได้กับฟันทั้งสองซี่นี้
3. ช่วยป้องกันอาการปวดฟัน
แรงดันจากฟันคุดที่พยายามดันขึ้นมาจะก่อให้เกิดอาการปวดฟันกรามซี่ที่ 3 หรือในบางคนอาจมีรากฟันคุดที่ยาวจนไปกดหรือเกี่ยวคลองประสาทและเส้นเลือดที่อยู่ในขากรรไกร ก่อให้เกิดอันตรายต่อเส้นประสาทและเส้นเลือดนั้นได้ ฉะนั้นจึงควรผ่าฟันคุดออกก่อนที่จะเกิดความทรมานดังกล่าว
4. ช่วยรักษารากฟันและกระดูกฟัน
การผ่าฟันคุดออกตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยป้องกันการละลายตัวของกระดูกรอบรากฟัน รวมทั้งยังช่วยรักษารากฟันข้างเคียงที่ติดอยู่กับฟันคุดด้วย เพราะหากถอนฟันคุดล่าช้าเกินไป แรงดันของฟันคุดที่พยายามจะดันตัวเองขึ้นมาอาจส่งผลกระทบให้กระดูกรอบรากฟันและรากฟันในบริเวณนั้น ๆ และส่วนที่ใกล้เคียงถูกทำลายได้
5. ช่วยป้องกันการเกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก
ฟันคุดที่ทิ้งไว้นานไปเนื้อเยื่อที่หุ้มรอบฟันคุดอาจจะขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นถุงน้ำ แล้วโตขึ้นโดยไม่แสดงอาการเลย จนในที่สุดเกิดการทำลายฟันซี่ข้างเคียง และกระดูกรอบ ๆ บริเวณนั้น ซึ่งหากไม่เคยได้รับการตรวจฟัน ไม่เคยรู้ตำแหน่งฟันคุด ก็มักจะรู้ตัวอีกทีเมื่อเห็นใบหน้าเอียง หรือขากรรไกรข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้าง
ซึ่งถ้าพบและรีบทำการผ่าตัดออกได้เร็วก็จะช่วยลดการสูญเสียอวัยวะขากรรไกร ทั้งยังสามารถรักษารูปหน้าให้เหมือนเดิมได้ แต่ถ้าถุงน้ำหรือเนื้องอกมีขนาดใหญ่มาก ๆ ก็อาจต้องตัดขากรรไกรบางส่วนออกไป ทำให้เสียรูปหน้าบริเวณนั้นได้
6. เพื่อป้องกันกระดูกขากรรไกรหัก
เนื่องจากการที่มีฟันคุดฝังอยู่ จะทำให้กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นบางกว่าตำแหน่งอื่น เกิดเป็นจุดอ่อน เมื่อได้รับอุบัติเหตุ หรือแรงกระทบกระแทก กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นอาจจะหักได้ง่าย
7. ช่วยลดอาการปวดฟันในผู้ที่ต้องใส่ฟันเทียม
ผู้ที่ต้องใส่ฟันเทียมหากไม่ถอนฟันคุดออกก่อน ฟันเทียมด้านท้ายอาจไปกดกระดูกรอบฟัน ส่งผลให้กระดูกส่วนนั้นถูกทำลาย และมีอาการปวดบริเวณด้านท้ายฟันเทียมทุกครั้งที่ต้องใส่ฟันเทียม
8. วัตถุประสงค์อื่น ๆ
เช่น ในการจัดฟัน ต้องถอนฟันกรามซี่ที่สามออกเสียก่อนเพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนฟันซี่อื่น ๆ เป็นต้น
- พักผ่อนให้เพียงพอ ก่อนวันผ่าฟันคุดควรนอนให้เต็มอิ่ม
- รับประทานอาหารให้พออิ่มท้อง อย่ารับประทานน้อยหรือมากจนเกินไป
- งดดื่มเครื่องดื่มมึนเมาและงดสูบบุหรี่
- ควรแปรงฟันและทำความสะอาดช่องปากให้พร้อมก่อนเข้ารับการผ่าฟันคุด
- ควรทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ปล่อยตัวตามสบาย ไม่เกร็ง เพราะการเกร็งอาจทำให้เกิดอาการขากรรไกรค้างได้
- หากมีโรคประจำตัวควรแจ้งทันตแพทย์ให้ทราบก่อนเข้ารับการผ่าฟันคุด
ผ่าฟันคุดที่ไหนดี
ผ่าฟันคุด ราคาในแต่ละสถานบริการก็จะมีความแตกต่างกันไป โดยเราสามารถเลือกสถานพยาบาลได้ตามสะดวก ซึ่งค่าผ่าฟันคุดตามโรงพยาบาลรัฐจะเริ่มต้นที่ประมาณ 800 บาทต่อซี่ ส่วนสถานพยาบาลเอกชนราคาผ่าฟันคุดก็จะสูงกว่า โดยมีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 1,000-5,000 ต่อซี่
อย่างไรก็ดี ราคาผ่าฟันคุดก็ขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการผ่าฟันคุดในแต่ละเคสด้วยนะคะ ทว่าสำหรับคนที่มีสิทธิประกันสังคมก็สามารถใช้สิทธิเบิกค่าผ่าฟันคุดกับประกันสังคมได้ โดยมีรายละเอียดดังบทความด้านล่างเลย
- ประกันสังคม ทำฟันอะไรได้บ้าง สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ผู้ประกันตนควรรู้ !
ผ่าฟันคุด เจ็บไหม
เป็นคำถามอันดับต้น ๆ ที่เกิดขึ้นในใจของคนที่ยังไม่เคยผ่าฟันคุด แต่ดันได้ยินประสบการณ์ของคนที่ผ่าฟันคุดว่าเจ็บอย่างนั้น ปวดอย่างนี้ ทั้งที่จริง ๆ แล้วการผ่าฟันคุดไม่ได้น่ากลัวและไม่เจ็บอย่างที่คิดเลยค่ะ
โดยขั้นตอนการผ่าฟันคุด ทันตแพทย์จะฉีดยาชาเพื่อระงับความรู้สึก หลังจากนั้นก็จะเปิดเหงือกให้เห็นฟัน และใช้เครื่องกรอตัดฟันออกมา จากนั้นก็จะล้างทำความสะอาดแผลผ่าตัดก่อนจะทำการเย็บปิดแผล เท่านี้ก็เรียบร้อยและสามารถกลับบ้านได้ทันที
ผ่าฟันคุด หน้าจะบวมนานกี่วันถึงหาย
หลังจากผ่าฟันคุด อาการที่พบบ่อยคือจะมีอาการปวดและบวมบริเวณแก้มด้านที่ทำการผ่าตัด อีกอาการคืออ้าปากได้น้อยลง แต่หากทานยาแก้ปวดและยาปฏิชีวนะที่ได้รับไป อาการหน้าบวมและอาการปวดก็จะบรรเทาลงได้ภายใน 1-2 วัน แต่ถ้าหลังผ่าตัด 2-3 วันแล้วอาการปวดบวมยังไม่หาย ควรรีบกลับไปพบทันตแพทย์เพื่อหาทางแก้ไข
1. ทันตแพทย์จะแนะนำให้กัดผ้าก๊อซให้แน่นเป็นเวลา 2 ชั่วโมง หลังการผ่าตัดหรือถอนฟันเป็นอย่างต่ำ
2. หากเลือดไม่หยุดไหล ควรประคบแก้มด้วยน้ำแข็งในบริเวณที่ทำการผ่าตัดหรือถอนฟัน
3. วันแรกห้ามใช้น้ำหรือน้ำยาใด ๆ บ้วนปาก วันที่สองสามารถใช้น้ำยาบ้วนปากหรือน้ำเกลืออุ่น ๆ ได้ โดยบ้วนเบา ๆ โดยเฉพาะหลังอาหาร
4. แปรงฟันทำความสะอาดช่องปากตามปกติ แต่ระมัดระวังอย่าให้โดนแผลบริเวณที่ผ่าตัดหรือถอนฟัน
5. รับประทานอาหารอ่อน ๆ สัก 3-5 วัน หลังการผ่าตัด
6. รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
7. ห้ามใช้นิ้วหรือไม้จิ้มฟันกดหรือแคะแผล ห้ามดูดแผลเล่น
8. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ อาหารรสจัด
9. หากมีอาการบวมผิดปกติควรกลับมาพบทันตแพทย์โดยเร็ว
10. หลังจากผ่าตัด 7 วัน แพทย์จะทำการนัดเพื่อตัดไหมเย็บแผล
การผ่าตัดฟันคุดไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดเลยนะคะ แต่การปล่อยฟันคุดไว้อย่างนั้น ไม่ยอมผ่าออก อาจส่งผลกระทบถึงสุขภาพช่องปากได้หลายต่อหลายอย่าง ฉะนั้นลองไปเอกซเรย์หาตำแหน่งของฟันคุด แล้วนัดทันตแพทย์เตรียมตัวผ่าฟันคุดก่อนที่จะเกิดผลเสียในภายหลังคงดีกว่า
***หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2560
ขอบคุณข้อมูลจาก
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
โรงพยาบาลยันฮี
โรงพยาบาลเปาโล
dentalthai