อันตราย... ในไอศกรีม!! (สยามดารา)
ไอศกรีม อาหารว่างเย็น ๆ ที่เป็นของโปรดของเด็ก ๆ หรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่หลายคน ต่างชื่นชอบในรสชาติของไอศกรีมกันทั้งนั้น
แต่หารู้ไม่ว่า สารสังเคราะห์จากสารเคมีบางอย่าง ที่ใช้เป็นสารเติมแต่งรสชาติและแต่งแต้มสีสันในไอศกรีมบางยี่ห้อนั้น ได้นำพาสิ่งที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของผู้บริโภคเสียแล้ว
ที่เลวร้ายกว่านั้น ผู้ผลิตไอศกรีมหัวใสบางราย ยังได้นำไขมันที่เหลือจากโรงฆ่าสัตว์มาใช้เป็นส่วนผสมในไอศกรีม ซึ่งไขมันจากสัตว์นั้นมีจำนวนของไขมันอิ่มตัวที่สูง เป็นไขมันชั้นเลวที่หากบริโภคไปมาก ๆ จะก่อให้เกิดโรคอ้วน และไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้ สำหรับสารสังเคราะห์จากสารเคมีที่เป็นอันตราย และได้มีการนำมาผสมในไอศกรีมนั้น มีดังต่อไปนี้
1. ไดอิธิลกลูคอล (Diethyl Glucol)
สารเคมีราคาถูกที่ใช้ในการตีไขมันให้กระจายแทนการใช้ไข่ สารชนิดนี้เป็นสารกันเยือกแข็งที่ใช้กันน้ำแข็งไม่ให้ละลายเร็ว และใช้ในน้ำยากัดสีด้วย
2. อัลดีไฮด์ – ซี71 (Aldehyde-C71)
เป็นสารที่ใช้ ในการสร้างกลิ่นที่ไม่ค่อยมีในประเทศไทย เช่น เชอร์รี่ และเพื่อให้ไอศกรีมเป็นของเหลวติดไฟง่าย และยังนำไปใช้ทำสีอะนิลีน จำพวกพลาสติกและยาง
3. ไปเปอร์โอรัล (Piperoral)
ใช้แทนกลิ่นวานิลลา เป็นสารเคมีเดียวกับที่ใช้ผสมในยาฆ่าเหาและหมัด
4. อิธิลอะซีเตท (Ethyl acetate)
ใช้สร้างกลิ่นรสสับปะรด อีกทั้งยังใช้เป็นตัวทำความสะอาดหนังและผ้าทอ กลิ่นของสารเคมีตัวนี้ก่อให้เกิดโรคปอดเรื้อรัง ตับ และหัวใจที่ผิดปกติ
5. บิวธีรัลดีไฮด์(Butyraldehyde)
ใช้สร้างกลิ่นรสเมล็ดในผลไม้เปลือกแข็ง เช่น ถั่วต่าง ๆ สารนี้เป็นสารที่ใช้เป็นสารประกอบสำคัญในกาวยาง
6. แอนนิล อะซีเตท(Anyle acetate)
สารนี้จะให้กลิ่นกล้วยหอม และเป็นสารที่ใช้ทำลายล้างไขมัน
7. เบนซิล อะซีเตท(Benzyle acetate)
เป็นสารที่ใช้สร้างกลิ่นและรสสตรอเบอร์รี่เป็นสารละลายไนเตรท ทำให้เกิดความอยากอาหาร
สารเคมีที่กล่าวมาทั้งหมด เช่น สารกันเยือกแข็ง ตัวทำละลายน้ำมัน น้ำยาลอกสี ยาฆ่าเหาและฆ่าหมัดนั้น ไม่ใช่ว่าในไอศกรีมทุกยี่ห้อจะมีสารเหล่านี้ทั้งหมด บางยี่ห้ออาจจะผสมสารตัวนี้หรือตัวอื่น
นอกจากสารที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีการใช้สารให้ความหวาน คือ แซคคารินหรือน้ำตาลเทียม เติมเพื่อให้มีสีและกลิ่นที่หอมหวาน ซึ่งสารแซคคารินนั้นได้มีการพิสูจน์แล้วว่า มีส่วนสนับสนุนทำให้เกิดมะเร็งได้เช่นกัน
ไอศกรีมนั้นเป็นอาหารขยะชนิดหนึ่ง ที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายพอสมควร ทั้งนี้ ก็ต้องขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของผู้ผลิตบางราย และความพอดีในการบริโภคของตัวผู้บริโภคเอง ที่ต้องดูแลเรื่องการบริโภคให้ได้สัดส่วนที่พอดีกับความต้องการของร่างกาย
อาหารขยะ!! ก็คือขยะที่ร่างกายเราไม่จำเป็นต้องกิน ก็สามารถอยู่ได้ไม่ใช่หรือ??
ขอขอบคุณข้อมูลจาก