ลูกชิ้นปลาเรืองแสง เจออีก แพทย์ชี้อันตราย ไม่ควรกิน
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุ กดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก รายการเรื่องเล่าเช้านี้ โพสต์โดยคุณ เรื่องเล่าเช้านี้ บีอีซี-เทโร สมาชิกเว็บไซต์ยูทูบดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก รายการเรื่องเล่าเช้านี้ โพสต์โดยคุณ เรื่องเล่าเช้านี้ บีอีซี-เทโร สมาชิกเว็บไซต์ยูทูบดอทคอม
ผู้บริโภคตื่นลูกชิ้นปลาเรื องแสง เพิ่งซื้อมามั่นใจยังไม่เสีย เอาออกจากตู้เย็นมาเทใส่ชาม พบเรืองแสงสีเขียวได้กลางห้องมื ด แพทย์ชี้อันตราย
วันที่ 29 สิงหาคม 2557 รายการเรื่องเล่าเช้านี้ ทางช่อง 3 มีการเตือนภัยเรื่องลูกชิ้ นปลาเรืองแสง ซึ่งได้ข้อมูลมาจาก คุณ Mona Red ที่โพสต์เฟซบุ๊กของตัวเอง ระบุว่า...
"ลูกชิ้นปลาเยาวราชค่ะ ซื้อมาจากในห้างราคาไม่แพงมาก เข้าตู้เย็นเก็บไว้ทำสุกี้ บังเอิญห้องครัวมืดเลยเห็นเรื องแสงสีเขียวออกมาจากลูกชิ้นเต็ มไปหมดค่ะ (โชคดีที่ห้องครัวตอนนั้นมืดค่ะ เพราะฝนตก ถ้าเปิดไฟสว่างไม่เห็นสารเรื องแสงแล้วกินเข้าไป ตายหมู่ทั้งบ้านมั้งคะ) พอเปิดไฟแสงสีเขียวหายไปค่ะ ลูกชิ้นยังเย็นอยู่ค่ะ มี อย. นะคะ ยังไม่หมดอายุค่ะ เห็นมีคนแชร์เยอะ เลยไปหาข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ กรมอนามัยเค้าว่ามีการสุ่ มตรวจลูกชิ้นปลาในท้องตลาด พบว่ามีลูกชิ้นเรืองแสงเยอะ แล้วนำลูกชิ้นเรืองแสงไปตรวจ พบว่าส่วนหนึ่งมีสารบอแรกซ์ และอีกส่วนหนึ่งมีแบคทีเรียชนิ ดเรืองแสงอยู่ค่ะ มีคุณหมอท่านนึงเพิ่มมาว่ามีเชื้อราบางชนิดเรืองแสงค่ะ ชอบอากาศเย็นในตู้เย็นค่ะ ของจริงเรืองแสงน่ากลัวมากกว่ าในรูปอีกนะคะ"
พร้อมกันนี้เจ้าของเรื่องยังได้ ถ่ายภาพลูกชิ้นปลาที่เทใส่ ชามในแสงปกติเทียบกับในที่มื ดให้ดู ซึ่งเห็นได้ว่าลูกชิ้นที่ วางในที่มืดมีแสงสีเขียวเรื องออกมาชัดเจน นอกจากนี้ยังถ่ายฉลาก อย. ที่มากับห่อลูกชิ้นให้ดูด้วย
สำหรับเหตุการณ์ลูกชิ้นปลาเรื องแสงเคยกลายเป็นกรณีข่าวดั งมาแล้วเมื่อปี 2553 โดยนายแพทย์พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการองค์ การอาหารและยาประเทศไทยในตอนนั้ น ได้ออกมาให้ข้อมูลว่า การที่ลูกชิ้นปลาเกิดเรื องแสงได้อาจเป็นไปได้ใน 2 กรณี คือ ปนเปื้อนแบคทีเรียวิบริโอ (Vibrio) และซูโดโมแนส (Pseudomonas) จากกระบวนการผลิตที่ไม่สะอาด หรือมีสารโซเดียม ไตรโพลีฟอสเฟต (Sodium Tripolyphosphate; STPP) ที่ใช้ผสมให้ลูกชิ้นเหนียวนุ่ม ซึ่งตามกฎหมายอนุญาตให้มีได้ไม่ เกิน 300 ppm เท่านั้น
โดยในส่วนลูกชิ้นเรืองแสงที่เกิ ดขึ้นในปี 2553 สืบสวนพบว่าเกิดจากความบกพร่ องในกระบวนการผลิ ตและการทำความสะอาดอุปกรณ์ ทำให้พบแบคทีเรียที่เรืองแสงได้ ในที่มืดภายใต้แสงยูวี มีเชื้อจุลินทรีย์วิบริโอ คลอเรลลา (Vibrio Cholera) ซึ่งเชื้อเหล่านี้ถูกทำลายได้ด้ วยความร้อน จึงมีคำแนะนำให้ประชาชนหลีกเลี่ ยงการบริโภคลูกชิ้นปลาเรืองแสง หรือหากจะรับประทานต้องนำไปต้ มนาน ๆ ไม่ควรนำไปยำหรือทำอาหารที่ไม่ ได้ปรุงสุกด้วยความร้อน