โรคอิไตอิไต ภัยร้ายจากสารแคดเมียมที่ไม่ควรละเลย โดยเฉพาะคนที่ชอบส้มตำถาดสียิ่งควรระวัง !
ส้มตำเป็นอาหารยอดนิยมของคนทุกเพศทุกวัย เนื่องจากรสชาติที่จัดจ้าน และยิ่งในตอนนี้เมนูอย่างส้มตำถาด กำลังฮอตฮิตกันไปทั่วบ้านทั่วเมืองเพราะเครื่องเคียงที่หลากหลาย การจัดจานที่แปลกตาโดยการนำถาดเคลือบสีเราเห็นกันมาตั้งแต่เด็กมาเป็นภาชนะ โดยหารู้ไม่ว่าที่จริงแล้ว เจ้าถาดโลหะเคลือบสีที่หลายคนบอกว่ามันช่วยทำให้การกินส้มตำถาดอร่อยขึ้น คือวายร้ายที่นำพาโรคร้ายมาสู่เราเลยล่ะ
โรคที่ว่านั่นก็คือโรคอิไตอิไต ซึ่งเป็นโรคที่มาจากสารแคดเมียมที่อยู่ในสีที่เคลือบอยู่บนถาดนั่นล่ะค่ะ เมื่อมันถูกกัดกร่อนด้วยกรดที่มาจากน้ำมะนาว หรือจากน้ำส้มสายชู ก็จะทำให้สารแคดเมียมที่เคลือบอยู่ละลายออกมาปะปนกับส้มตำสุดอร่อยของเรา กลายเป็นสาเหตุของโรคอิไตอิไต แต่โรคอิไตอิไตคือโรคอะไรล่ะ หลายคนคงสงสัย วันนี้กระปุกดอทคอมจึงขออาสาพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับโรคอิโตอิไตให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้ระมัดระวังตัวกันให้มากขึ้นค่ะ
ภาพประกอบจาก 2010.igem.org
โรคอิไตอิไต คืออะไร
โรคพิษแคดเมียมหรือโรคที่เราเรียกกันทั่วไปว่า โรคอิไตอิไต (itai itai) เป็นโรคที่สารแคดเมียมที่เข้าไปสะสมอยู่ในร่างกายจนถึงระดับอันตรายและสารแคดเมียมได้ทำลายอวัยวะ และ ระบบต่าง ๆ ในร่างกายจนทำให้เกิดอาการเพลีย น้ำหนักลด คลื่นไส้อาเจียน ไอเรื้อรัง เกิดวงสีเหลืองที่บริเวณฟัน มีภาวะเลือดจาง และความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดอักเสบ นอกจากนี้แคดเมียมยังทำให้เกิดมะเร็งของต่อมลูกหมากได้ และโรคอิไตอิไตยังเป็นโรคที่ส่งผลร้ายกับกระดูกโดยตรง ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดในกระดูก กระดูกเสื่อมสภาพและเสียรูปไปในที่สุด
โรคอิไตอิไตนี้ถูกพบครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2463 จากเหตุการณ์พิษของแคดเมียมระบาดในประเทศญี่ปุ่นโดยครั้งนั้นเกิดขึ้นบริเวณตามริมฝั่งของแม่น้ำจินสุ อันมีสาเหตุมาจากการทําเหมืองและถลุงโลหะของบริษัทมิตซุย ซึ่งทำอุตสาหกรรมผลิตโลหะทองแดง ตะกั่วและสังกะสี ได้แอบลักลอบนํากากโลหะจากโรงงานมาทิ้งลงแม่นํ้าเป็นเวลานาน จนชาวบ้านที่อาศัยในแถบนั้นที่เป็นเพศหญิง โดยเฉพาะหญิงที่มีบุตรหลายคนและวัยหมดประจําเดือน เกิดอาการปวดกระดูกตามน่อง ซี่โครงและสันหลัง การระบาดในครั้งนี้ทําให้มีคนเสียชีวิต 100 กว่าราย และมากกว่า 180 ราย มีอาการถึงปัจจุบัน โดยมีการค้นพบว่าสาเหตุมาจากการบริโภคข้าวที่ปนเปื้อนสารแคดเมียมเป็นเวลานานมากกว่า 30 ปี
สาเหตุของโรคอิไตอิไต
โรคอิไตอิไตมีสาเหตุมาจากสารแคดเมียมที่ปนเปื้อนมากับสิ่งต่าง ๆ ที่เรานำเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะน้ำ อาหาร หรืออากาศที่เราหายใจเข้าไป โดยอาการของโรคจะสามารถเกิดจากความเป็นพิษเฉียบพลันและความเป็นพิษจากเรื้อรังได้ ซึ่งความเป็นพิษแบบเรื้อรังจะทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายถูกทำลายและมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากสูงขึ้น
สารแคดเมียมคืออะไร
แคดเมียม (Cadmium) เป็นโลหะหนัก มีสีขาว ฟ้า วาว มีลักษณะเนื้ออ่อน สามารถบิดโค้งงอได้และถูกตัดได้ง่ายด้วยมีด มักอยู่ในรูปแท่ง แผ่น เส้นลวด หรือเป็นผงเม็ดเล็ก ๆ ถูกค้นพบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2360 แต่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในงานอุตสาหกรรมเมื่อครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา
ปัจจุบันแคดเมียมเป็นโลหะที่ถูกนำมาใช้กันมาก เนื่องจากสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมายโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ที่พบในชุบสังกะสี ซึ่งใช้แคดเมียมผสมกับโลหะอื่น เพื่อเพิ่มความเหนียวและทนทานต่อการสึกกร่อน ใช้ทำแบตเตอรี่อัลคาไลน์ โดยการใช้ร่วมกับนิกเกิลเพื่อใช้ในการทำเม็ดสี พลาสติก ยาง และหมึกพิมพ์ นอกจากนี้ใช้เป็นสารประกอบในการผลิตสารกำจัดแมลงบางชนิด และใช้การหลอมโลหะบางชนิดอย่างเช่น ตะกั่ว ทองแดง และสังกะสี เป็นต้น
ปัจจุบันแคดเมียมเป็นโลหะที่ถูกนำมาใช้กันมาก เนื่องจากสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมายโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ที่พบในชุบสังกะสี ซึ่งใช้แคดเมียมผสมกับโลหะอื่น เพื่อเพิ่มความเหนียวและทนทานต่อการสึกกร่อน ใช้ทำแบตเตอรี่อัลคาไลน์ โดยการใช้ร่วมกับนิกเกิลเพื่อใช้ในการทำเม็ดสี พลาสติก ยาง และหมึกพิมพ์ นอกจากนี้ใช้เป็นสารประกอบในการผลิตสารกำจัดแมลงบางชนิด และใช้การหลอมโลหะบางชนิดอย่างเช่น ตะกั่ว ทองแดง และสังกะสี เป็นต้น
ลักษณะพิเศษของแคดเมียมคือ มีจุดหลอมเหลวต่ำ อยู่ที่ 302 องศาเซลเซียส และมีคุณสมบัติละลายได้ทั้งในกรดอินทรีย์ และกรดอนินทรีย์ อย่างเช่น กรดของน้ำมะนาวหรือกรดของน้ำส้มสายชู และเมื่อนำแคดเมียมมาเผาจะได้แคดเมียมออกไซด์ซึ่งมีสีน้ำตาล ในอากาศที่มีความชื้น แคดเมียมจะถูกออกซิไดซ์ช้า ๆ ให้แคดเมียมออกไซด์ ในธรรมชาติแคดเมียมมักจะอยู่รวมกับกำมะถันเป็นแคดเมียมซัลไฟด์ หรือเจือปนอยู่ในสินแร่สังกะสี ตะกั่ว หรือทองแดง การนำเอาแคดเมียมมาใช้จะทำให้มีการปนเปื้อนของแคดเมียมในสิ่งแวดล้อม ทั้งในอากาศ น้ำ ดิน รวมทั้งในอาหารด้วย และเมื่อเกิดการสะสมในร่างกายมากเกินไปสารชนิดนี้จะส่งผลร้ายต่อร่างกาย
กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคอิไตอิไต
โรคอิไตอิไตเป็นโรคที่มักจะเกิดกับผู้ที่มีโอกาสสัมผัสหรือเสี่ยงกับสารชนิดนี้ ตัวอย่างเช่นผู้ที่ทำงานอยู่ในอุตสหกรรมที่มีการใช้และต้องสัมผัสกับแคดเมียมโดยตรงได้แก่ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ผลิตแบตเตอรี่อัลคาไลน์ หรือผู้ที่ต้องอยู่กับงานไฟฟ้า เชื่อมหรือหลอมโลหะ ทาสี งานชุบสังกะสีเป็นต้น แต่ในปัจจุบันความเสี่ยงยิ่งเข้ามาใกล้ตัวมาขึ้น จากการรับประทานอาหารโดยใช้ภาชนะที่เป็นโลหะเคลือบสี อย่างเช่น ส้มตำถาด อาหารที่อยู่ในจานชามโลหะเคลือบสี หากในอาหารมีส่วนผสมของกรดน้ำมะนาวหรือ กรดน้ำส้มสายชูก็อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะได้รับสารแคดเมียมสะสมในร่างกายจนเกิดโรคอิไตอิไตได้เช่นกัน
โรคอิไตอิไต กับอาการที่ปรากฏ
เมื่อแคดเมียมเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตโดยจะไปจับกับแกมม่าโกลบุลิน (Grammar-globulin) และจะมีแคดเมียมบางส่วนจะไปจับกับฮีโมโกลบิน หรือ เมทัลโลไธโอนีน (metallothionein) ในเม็ดเลือดแดง โดยแคดเมียมส่วนใหญ่จะไปสะสมอยู่ในไตและบางส่วนที่ไปสะสมยังตับอ่อนและต่อมไทรอยด์ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่จะถูกขับถ่ายออกทางปัสสาวะ
ในการตรวจเพื่อเฝ้าระวังปัญหาพิษจากแคดเมียมจึงไม่ใช้การตรวจหาปริมาณแคดเมียมในเลือดหรือในปัสสาวะ แต่ใช้การตรวจปริมาณโปรตีนที่ขับออกมาในปัสสาวะ โดยเฉพาะเบตาไมโครโกรบูลิน จากการศึกษาพบว่าการดูดซึมของแคดเมียมในระบบทางเดินอาหารเป็นไปได้น้อยมากประมาณร้อยละ 5-10 ของปริมาณแคดเมียมที่กินเข้าไป การดูดซึมแคดเมียมในลำไส้จะดีขึ้นถ้าปริมาณแคลเซียมในอาหารต่ำ
สำหรับการดูดซึมแคดเมียมในปอดโดยการหายใจสูดดม แคดเมียมจะถูกดูดซึมได้มากขึ้นถึงร้อยละ 10-40 และถ้าหากร่างกายมนุษย์มีปริมาณของแคดเมียมสูงเกินไปจะทำให้เกิดอันตรายต่อไตขึ้นได้โดยที่จะทำให้เกิดการทำลายเนื้อไต ทำให้มีโปรตีน กรดอะมิโนและแคลเซียมออกมาทางปัสสาวะด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดเป็นนิ่วในปัสสาวะได้ และถ้าหากติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของกระดูกในที่สุด
สำหรับการดูดซึมแคดเมียมในปอดโดยการหายใจสูดดม แคดเมียมจะถูกดูดซึมได้มากขึ้นถึงร้อยละ 10-40 และถ้าหากร่างกายมนุษย์มีปริมาณของแคดเมียมสูงเกินไปจะทำให้เกิดอันตรายต่อไตขึ้นได้โดยที่จะทำให้เกิดการทำลายเนื้อไต ทำให้มีโปรตีน กรดอะมิโนและแคลเซียมออกมาทางปัสสาวะด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดเป็นนิ่วในปัสสาวะได้ และถ้าหากติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของกระดูกในที่สุด
นอกจากนี้หากได้รับแคดเมียมเข้าสู่ร่างกายในปริมาณสูงอย่างเฉียบพลันก็อาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ มีน้ำลายไหล ปวดท้อง ช็อก มีอาการเจ็บหน้าอก หายใจสั้น มีกลิ่นโลหะในปาก ไอมีเสมหะเป็นฟองหรือมีเสมหะเป็นเลือด อ่อนเพลีย ปวดเจ็บขา ต่อมาปัสสาวะจะเริ่มน้อยลงและมีไข้ จากนั้นจะเกิดอาการปอดอักเสบ จากนั้นตับและไตจะถูกทำลาย ซึ่งถ้าหากเกิดอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์โดยด่วนเพื่อทำการรักษาต่อไปค่ะ
วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคอิไตอิไต
ผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากแคดเมียมสามารถไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย โดยใช้วิธีการอย่างเช่น การฉายภาพรังสีทรวงอก ตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอด ตรวจปัสสาวะ และเลือด เพื่อหาระดับของแคดเมียมที่อยู่ในร่างกาย โดยองค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่ามาตรฐานของแคดเมียมในร่างกายไว้ที่ดังนี้ หากเป็นคนปกติทั่วไปต้องมีระดับแคดเมียมในปัสสาวะ < 2 ไมโครกรัม/กรัม ครีอะตินีน และไม่เกิน 10 ไมโครกรัม/กรัม ครีอะตินีน และต้องมีระดับแคดเมียมในเลือด 5 ไมโครกรัม/ลิตร แต่ไม่เกิน 10 ไมโครกรัม/ลิตร
วิธีการรักษาโรคอิไตอิไต
โรคอิไตอิไตแบ่งออกเป็นอาการพิษแบบเฉียบพลัน และอาการพิษแบบเรื้อรัง ซึ่งวิธีการรักษาในแต่ละประเภทก็แตกต่างกันออกไป ดังนี้
อาการพิษแบบเฉียบพลัน
วิธีการรักษา
หากผู้ป่วยได้รับพิษแคดเมียมผ่านทางการหายใจ ควรนำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่มีสารแคดเมียมอยู่ในอากาศและนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน ซึ่งเมื่อถึงมือแพทย์แล้ว แพทย์จะทำการรักษาอาการปอดบวมน้ำ (Pulmonary edema) และจะให้แคลเซียมไดโซเดียมอีดีเทต (Calcium disodium edetate) เช่น อีดีทีเอ (EDTA) ทางหลอดเลือดดำ หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ในปริมาณ 25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 1 สัปดาห์ และอาจให้ซ้ำอีกครั้งได้
หากผู้ป่วยได้รับพิษแคดเมียมผ่านทางการรับประทาน ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ให้ผู้ช่วยเหลือให้นมหรือไข่ที่ตีแล้วแก่ผู้ป่วย เพื่อลดการระคายเคืองของทางเดินอาหาร หลังจากนั้นให้นำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล แพทย์จะให้ทำการถ่ายท้องด้วย Fleet\'s Phosphosoda (เจือจาง 1:4 ด้วยน้ำ) 30-60 มิลลิลิตร เพื่อลดการดูดซึมแคดเมียม ซึ่งถ้าหากอาการยังไม่ดีขึ้นก็จำเป็นที่จะต้องให้แคลเซียมไดโซเดียมอีดีเทต (Calcium disodium edetate) เช่น อีดีทีเอ (EDTA) เช่นเดียวกับผู้ป่วยที่ได้รับพิษแคดเมียมทางการหายใจ เมื่ออาการดีขึ้นแล้วจึงจะเริ่มรักษาอาการของตับ และไตที่ถูกทำลายต่อไป
อาการพิษแบบเรื้อรัง
วิธีการรักษา
หากผู้ป่วยได้รับพิษแคดเมียมและมีอาการเรื้อรังก็อาจจะทำให้อาการกระดูกเสื่อมและผิดรูปไปได้ ซึ่งสามารถด้วยวิธีการรักษาแบบ ไคโรแพรคติก (Chiropractic) ซึ่งเป็นการจัดกระดูกสันหลังที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคให้กลับคืนสู่ตำแหน่งเดิม วิธีนี้จะทำให้อาการของโรคดีขึ้นได้ แต่ถ้าหากพิษเรื้อรังนั้นเข้าสู่ระบบหายใจก็จะทำให้ปอดถูกทำลายอย่างรวดเร็วจนเกิดอาการปอดอักเสบเรื้อรังหรือเฉียบพลันได้ อาการในขั้นนี้จะมีทั้งการไอแห้ง ๆ อาการแพ้ ระคายเคืองบริเวณลำคอและโพรงจมูก ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หนาวสั่น และเจ็บหน้าอก และหากเข้าขั้นวิกฤตก็อาจจะถึงขนาดที่ตับหรือไตวายเฉียบพลันได้ และย่อมส่งผลถึงการติดเชื้อในกระแสโลหิต และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ดังนั้นหากเริ่มมีอาการเริ่มแรกของอาการปอดอักเสบควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาต่อไปค่ะ
โรคอิไตอิไต ป้องกันได้หรือไม่
โรคอิไตอิไตเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารแคดเมียมโดยตรงไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงตัวเราเท่านั้นที่ทำให้หลีกไกลจากสารแคดเมียมได้ แต่กลุ่มอุตสาหกรรมก็ต้องเข้ามาร่วมรับผิดชอบอย่างจริงจังเช่นกัน โดยวิธีที่ดีที่สุดก็คือการลดปริมาณการใช้สารแคดเมียม หรือใช้สารทดแทนในกรณีที่ทำได้ และควรหลีกเลี่ยงอาหารและน้ำ หรืออยู่ในบริเวณที่มีสารแคดเมียม งดใช้ภาชนะ วัสดุหรือสิ่งของที่มีแคดเมียมปนเปื้อนอยู่ หากต้องเข้าไปอยู่ใกล้บริเวณที่มีสารแคดเมียมกระจายอยู่ในอาการก็ควรใช้หน้ากากป้องกันสารพิษเพื่อป้องกันพิษจากแคดเมียมด้วยค่ะ
ไคโรแพรคติก (Chiropractic) รักษาโรคอิไตอิไตได้จริงหรือ?
แม้ว่ายังไม่มีการพิสูจน์ใด ๆ พิสูจน์ได้ว่า การรักษาโรคอิไตอิไต ด้วยวิธีไคโรแพรคติก (Chiropractic) ซึ่งเป็นวิธีนวดจัดกระดูกด้วยมือนั้นจะสามารถทำให้หายจากโรคนี้ได้ แต่การรักษาด้วยวิธีนี้ก็เป็นการช่วยทำให้ในการปรับสมดุลของร่างกายได้ และทำให้อาการความเป็นพิษของแคดเมียมลดลงได้ระดับหนึ่ง แต่ถึงอย่างไรก็ตามก็ควรที่จะปรึกษาแพทย์ก่อนทำการรักษาด้วยวิธีนี้เพราะในกลุ่มผู้ที่เป็นโรคอิไตอิไตนั้นจะมีอาการของภาวะกระดูกเสื่อมร่วมด้วย ซึ่งอาจทำให้กระดูกเกิดความเสียหายจากการรักษาได้ค่ะ
กินส้มตำถาดอย่างไรให้ห่างไกลโรคอิไตอิไต
ถึงแม้ว่าสารแคดเมียมจะมีความอันตราย แต่ก็เชื่อว่าคงมีอีกหลายคนที่ไม่อาจหักห้ามใจให้เลิกกินเจ้าส้มตำถาดได้ใช่ไหมคะ ดังนั้นเพื่อให้เราปลอดภัยจากโรคอิไตอิไตเราก็ควรที่จะระมัดระวังตัวให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยการหลีกเลี่ยงการกินส้มตำถาดที่ใช้ถาดโลหะเคลือบสี หรือถาดที่ทำจากพลาสติกนะคะ
ได้รู้จักโรคอิไตอิไตกันมากขึ้นแล้ว หวังว่าหลายคนที่กำลังชื่นชอบส้มตำถาดสีก็คงจะเริ่มระมัดระวังกันมากขึ้นแล้วนะคะ รวมทั้งผู้ที่ทำงานซึ่งเกี่ยวข้องกับสารแคดเมียม แม้ว่าโรคนี้จะไม่แสดงอาการป่วยให้เห็นในระยะเวลาอันสั้น แต่หากสะสมเข้าไปมาก ๆ นานหลายสิบปี อันตรายที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายของเรานั้นนับว่าน่ากลัวจริง ๆ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก