x close

เจาะลึก กลูเตน-ปลอดกลูเตน แบบไหนดีต่อสุขภาพเราจริง ๆ

เจาะลึก กลูเตน-ปลอดกลูเตน แบบไหนดีต่อสุขภาพเราจริง ๆ

          กลูเตน-ปลอดกลูเตน คำโฆษณายอดฮิตบนผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ทำให้หลายคนยังเข้าใจไม่เคลี­ยร์เลยว่า สรุปแล้ว การกินอาหารปลอดกลูเตนดีต่อสุขภาพมากกว่าจริงหรือ ควรเช็กให้ชัวร์ด่วนว่าเราไม่ได้กำลังเข้าใจผิด 

          เทรนด์อาหารสุขภาพกำลังมาแรงทีเดียวนะคะ ทำให้เกิดกระแสอาหารเพื่อสุขภาพออกมาให้เราเลือกซื้อกันอย่างมา­กมาย แต่เราก็อย่าเพิ่งหลงเชื่อฉลากโฆษณาทุกชนิดที่ติดบนอาหารว่ากิน­แล้วดีต่อสุขภาพจริง ควรอ่านฉลากโภชนาการควบคู่ไปด้วยเสมอ โดยเฉพาะคำว่า กลูเตนและปลอดกลูเตน ซึ่งหลายคนอาจเข้าใจไปว่า อาหารที่มีกลูเตนไม่ดี อาหารปลอดกลูเตนดีกว่า แต่จะจริงหรือไม่ประการใด กระปุกดอทคอมมีข้อมูลจาก สสส.  มาช่วยไขข้อข้องใจอยู่ตรงนี้แล้วค่ะ มาอ่านกันเลย 

          ปัจจุบันกระแสอาหารเพื่อสุขภาพกำลัง ได้รับความนิยม หากไปตามซุปเปอร์มาเก็ตก็มักจะพบกับฉลากบรรจุภัณฑ์อาหารระบุว่า­ ไม่มีน้ำตาล (Sugar Free) ไม่มีไขมัน (Fat free) รวมถึงฉลากปลอดกลูเตน (Gluten Free) ที่เป็นเทรนด์มาแรงในการเลือกรับประทานอาหารของคนรักสุขภาพ ซึ่งหากขาดความเข้าใจที่ถูกต้อง อาจส่งผลเสียตามมาได้ 

          สุพิศ กลิ่นหวล นักโภชนาการชำนาญการพิเศษ ฝ่ายโภชนาการ โรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์ ให้ข้อมูลว่า กลูเตน (Gluten) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่พบได้ในข้าวสาลี ข้าวไรย์ และข้าวบาร์เลย์ ซึ่งพบในผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแป้งข้าวสาลี เช่น เบเกอรี่ พาย เค้ก เนื้อปูเทียม โดยกลูเตนมักใช้เป็นส่วนประกอบในการทำเนื้อเทียมในอาหารมังสวิร­ัติ และอาหารเจ รวมถึงยังพบได้ใน ปลากระป๋อง กะทิสำเร็จรูป น้ำมันหอย ซอสถั่วเหลือง เป็นต้น 

เจาะลึก กลูเตน-ปลอดกลูเตน แบบไหนดีต่อสุขภาพเราจริง ๆ

          ประโยชน์ของกลูเตน คือ เป็นตัวช่วยให้ขนมปังฟูขึ้น และเนื้อนุ่ม นอกจากนี้ กลูเตนในข้าวสาลียังอุดมไปด้วยโปรตีนถึง 23 กรัมต่อข้าวสาลีประมาณ ¼ ถ้วย ซึ่งมากกว่าเนื้อวัว เนื้อปลา และเนื้อไก่ประมาณ 85 กรัมอีกด้วย 

          กลูเตนจะส่งผลเสียกับ "ผู้ที่แพ้กลูเตน" โดยมีอาการคล้ายกับคนที่แพ้นมวัว แม้กินเพียงเล็กน้อย ก็ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ ทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ ท้องอืด ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการชาตามแขนและขา 

          สำหรับความเชื่อในการเลือกรับประทาน "อาหารปลอดกลูเตน" (Gluten-free) จะส่งผลดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่ 

          นักโภชนาการชำนาญการพิเศษ อธิบายว่า การเลือกกินอาหารที่ไม่มีกลูเตน ไม่ได้ทำให้ผอมหรือสุขภาพดี สำหรับคนไทยอาจจะยังไม่ค่อยรู้จักกลูเตนกันมากนัก แต่ในต่างประเทศมีประชากรที่แพ้กลูเตนมากมาย ผลิตภัณฑ์ปลอดกลูเตน จึงได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ รวมทัั้งผลิตภัณฑ์ฟาสต์ฟู้ด และเบเกอรี่ ก็ออกผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่มีกลูเตนมาเพื่อเอาใจผู้บริโภค ซึ่งแท้จริงการรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ด หรือเบเกอรี ก็มีความเสี่ยงต่อสุขภาพในเรื่องของไขมัน โซเดียม ความหวานที่มีปริมาณสูงอยู่แล้ว 

          "กลูเตนเป็นเพียงโปรตีนชนิดหนึ่ง ที่ไม่เป็นอันตรายสำหรับคนทั่วไป เพียงแต่ต้องรับประทานอย่างพอเหมาะ นอกจากผู้ที่มีอาการแพ้กลูเตน หรือโรคความผิดปกติในช่องท้องจากการที่กลูเตนไปขัดขวางการดูดซึ­มอาหาร ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ที่บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก ก็มีโอกาสเกิดโรคดังกล่าวน้อย" 

เจาะลึก กลูเตน-ปลอดกลูเตน แบบไหนดีต่อสุขภาพเราจริง ๆ

          ทั้งนี้ การอ่านฉลากก่อนซื้อ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ได้รับสารอาหารตรงตามความต้องการ เนื่องจากฉลากอาหารเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานที่จะบอกว่าอาหารนั้น­ผลิตที่ใด มีส่วนประกอบอะไร มีการปรุง การเก็บรักษาอย่างไร ผลิตหรือหมดอายุเมื่อใด มีการใช้สารหรือวัตถุเจือปนชนิดใด รวมถึงมีคำเตือนที่ควรระวัง และได้รับอนุญาตหรือผ่านการตรวจสอบจาก อย.หรือไม่ โดยดูจากเครื่องหมาย อย. ซึ่งมีเลขสารระบบอาหาร 13 หลัก อยู่ภายในกรอบเครื่องหมาย อย.จะช่วยให้เราดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม 

          นอกจากนี้ สุพิศ ยังแนะนำวิธีการตรวจสอบฉลากโภชนาการก่อนการเลือกซื้อ ดังนี้ 

 1. ตรวจดูว่าปริมาณพลังงานต่อ 1 หน่วยบริโภคเท่าไร 

 2. ตรวจดูว่าปริมาณไขมันและไขมันอิ่มตัวมีเท่าไร ในแต่ละวันเราควรได้รับไขมันอิ่มตัวไม่เกิน 20 กรัมต่อวัน เนื่องจากไขมันอิ่มตัวเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้คอเลสเตอรอลในร่า­งกายสูงขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ 

 3. ตรวจดูว่ามีปริมาณน้ำตาลเท่าไร ในแต่ละวันเราควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 24 กรัม หรือประมาณ 6 ช้อนชา น้ำตาลที่ได้รับเกินกว่าที่ต้องการจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมทำ­ให้เป็นโรคอ้วน และส่งผลให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด 

 4. ตรวจดูว่ามีปริมาณเกลือ (โซเดียม) ในแต่ละวันเราควรได้รับโซเดียมไม่เกิน 2300 มิลลิกรัม การได้รับโซเดียมมากเกินไปเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคไต และโรคความดันโลหิตสูง 

          "อาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูป เป็นอาหารที่ปลอดกลูเตนโดยธรรมชาติอยู่แล้ว เช่น ผลไม้และผักสด ปลา ไก่ เนื้อไร้มัน ถั่วชนิดต่าง ๆ ถั่วลันเตา ข้าวกล้อง ผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพืชต่าง ๆ น้ำมันมะกอก เช่นนี้แล้ว การเลือกรับประทานอาหารให้พอดี ถูกหลักอนามัย และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้สุขภาพร่างกายก็จะแข็งแรงสมวัยได้" คุณสุพิศ กล่าวทิ้งท้าย 






ขอขอบคุณข้อมูลจาก 

เรื่องโดย : กิดานัล กังแฮ Team Content  









เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เจาะลึก กลูเตน-ปลอดกลูเตน แบบไหนดีต่อสุขภาพเราจริง ๆ อัปเดตล่าสุด 4 กรกฎาคม 2562 เวลา 14:49:24 13,795 อ่าน
TOP