วัยหมดประจำเดือนหรือวัยทองมีอาการแสดงออกอย่างไรบ้าง หลายคนไม่แน่ใจว่าที่ไม่สบายบ่อย ๆ ทุกวันนี้ใช่อาการวัยทองไหม ลองเช็กดู
อาการวัยทอง ที่หลายคนบอกว่าจะอารมณ์ฉุนเฉียว บ้านหมุน ร้อนวูบ ๆ วาบ ๆ
แต่นั่นยังไม่ใช่อาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อเราเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนนะคะ
เพราะยังมีอาการวัยทองอีกมากที่สาววัยหมดประจำเดือนเป็นกัน
ซึ่งนั่นจะมีอาการอะไรบ้าง
เรามารู้จักอาการวัยทองพร้อมส่องลิสต์อาการวัยทองจากข้อมูลด้านล่างเลยดีกว่า
วัยทอง ความจริงเกี่ยวกับภาวะหมดประจำเดือน
วัยทองจริง ๆ แล้วหมายถึงวัยหมดประจำเดือนอย่างถาวร โดยผู้หญิงวัยทองจะมีช่วงอายุระหว่าง 45-59 ปี และอายุที่มากขึ้นก็ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเพศถูกสร้างลดน้อยลง จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยอาจจะมีความผิดปกติในหลายระบบของร่างกายทั้งแบบค่อยเป็นค่อยไปและแบบเฉียบพลันทันที ทั้งนี้อาการวัยทองในแต่ละบุคคลจะมีความรุนแรงต่างกัน
อาการวัยทอง ความสตรองที่ค่อย ๆ หายไป
สำหรับผู้หญิงวัย 40 ปีขึ้นไป ที่เริ่มจะป่วยออด ๆ แอด ๆ จนไม่แน่ใจว่าเราเข้าสู่ "วัยทอง" แล้วหรือยัง ลองมาดูอาการวัยทองจากลิสต์ด้านล่างนี้เลยค่ะ
1. ประจำเดือนผิดปกติ
เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนลดลง ส่งผลให้ประจำเดือนเริ่มมาไม่ปกติ บางคนประจำเดือนมาเร็วขึ้น หรือมาช้าบ้างตามระดับฮอร์โมนเพศที่เหวี่ยงขึ้น ๆ ลง ๆ ไม่สม่ำเสมอ ซึ่งเมื่อฮอร์โมนเพศไม่ปกติแล้ว อาการผิดปกติทางกายอื่น ๆ ก็จะตามมาได้
2. อารมณ์หงุดหงิด
อารมณ์หงุดหงิดเป็นผลพวงมาจากระดับฮอร์โมนเพศที่ผิดปกติไป หลายคนจึงมีอารมณ์แปรปรวนได้ง่าย ส่งผลให้ความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างแย่ลงไปบ้าง
3. นอนหลับยาก นอนไม่ค่อยหลับ
บางคนมีอาการนอนไม่หลับทั้งคืน บ้างก็นอนหลับยาก กว่าจะได้นอนก็พลิกตัวไป-มาหลายตลบ หรือบางคนก็มีอาการตื่นกลางดึกบ่อย ๆ รวมไปถึงตื่นเช้ากว่าปกติได้
4. เหงื่อออกมากตอนกลางคืน
อาการเหงื่อออกมากจะเป็นบ่อยในช่วง 2-3 ปีแรกที่ประจำเดือนหมด โดยมักจะมีอาการเหงื่อออกมากตอนกลางคืน แม้จะนอนอยู่ในห้องแอร์ก็ตาม ทั้งนี้อาการเหงื่อออกมากของแต่ละคนจะมีความรุนแรงไม่เท่ากัน โดยบางคนอาจไม่มีอาการนี้เลยก็เป็นได้
5. อาการร้อนวูบวาบ
ประมาณ 3 ใน 4 ของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะมีอาการร้อนวูบวาบเกิดขึ้นกับร่างกาย แต่อาการร้อนวูบวาบมักจะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ ก่อให้เกิดความรำคาญมาก-น้อยแตกต่างกันในแต่ละบุคคล
อาการปวดศีรษะ หรือเวียนศีรษะเกิดขึ้นบ่อยในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนเช่นกัน และบางคนอาจมีอาการคล้ายจะเป็นไข้อยู่เนือง ๆ ร่วมด้วย
7. อ่อนเพลีย
เมื่อนอนไม่ค่อยหลับ ฮอร์โมนก็แปรปรวน แน่นอนว่าจะส่งผลให้คนวัยทองเหนื่อยง่าย อ่อนเพลียอยู่บ่อย ๆ และมีความรู้สึกไม่แอ็คทีฟ ไม่สดชื่น กระปรี้กระเปร่าเช่นเคย
8. ใจสั่น ใจเต้นแรงผิดปกติ
การที่ร่างกายขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ระบบหัวใจและหลอดเลือดทำงานผิดปกติได้ ก่อให้เกิดอาการใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือที่เรียกความรู้สึกนี้ว่า ใจไม่ดี นั่นเอง
9. ช่องคลอดแห้ง
ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบและอวัยวะสืบพันธุ์ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยจะพบอาการช่องคลอดแห้ง แสบร้อน เจ็บ ขณะร่วมเพศ เนื่องจากต่อมผลิตสารหล่อลื่นในช่องคลอดทำงานลดลง
10. ช่องคลอดอักเสบ
ภาวะนี้พบได้บ่อยในผู้หญิงที่หมดประจำเดือนไปแล้ว เพราะเมื่อฮอร์โมนเพศหยุดทำงาน ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ก็จะขาดสมดุล เพิ่มโอกาสเสี่ยงให้เกิดภาวะอักเสบติดเชื้อได้
11. ติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะได้ง่าย
ระดับเอสโตรเจนที่ลดลงทำให้เนื้อเยื่อบริเวณเยื่อบุท่อปัสสาวะบางลง รวมไปถึงตัวกระเพาะปัสสาวะเองก็จะหย่อนสมรรถภาพลงด้วย เหตุนี้จึงทำให้ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนเสี่ยงติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้ง่ายกว่าปกติ
12. ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ความเสื่อมถอยของระบบทางเดินปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะส่งผลให้หญิงวัยทองกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือมีปัญหาปัสสาวะเล็ดได้เช่นเดียวกัน
13. ท้องอืด
ในบางรายจะมีอาการท้องอืด แน่นท้อง ร่วมกับภาวะปัสสาวะขัด อันเนื่องมาจากการขาดฮอร์โมนเพศ ส่งผลต่อระบบอวัยวะสืบพันธุ์ภายใน ลามไปถึงระบบการทำงานของลำไส้ด้วย
14. ผิวหนังแห้ง มีอาการคันง่าย
เมื่อฮอร์โมนเพศถูกสร้างน้อยลงหรือไม่สร้างเลย ความเต่งตึงชุ่มชื้นของผิวหนังก็จะลดลง เพราะร่างกายสร้างสารคอลลาเจนลดลง หญิงวัยหมดประจำเดือนจึงจะมีภาวะผิวแห้งง่าย มีอาการคัน ดังนั้นจึงควรทาโลชั่นหรือครีมบำรุงผิวก็จะช่วยบรรเทาอาการคันได้
15. ผมร่วง
อีกหนึ่งผลกระทบเมื่อร่างกายหยุดสร้างฮอร์โมนก็คืออาการผมร่วง ซึ่งโดยปกติแล้วผมของคนเราจะร่วงวันละเกือบ 100 เส้น แต่สำหรับหญิงวัยทองจะมีอาการผมร่วงมากกว่า 150 เส้นต่อวันเลยทีเดียว
16. ขี้หลงขี้ลืม
สมองและระบบประสาทก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยหญิงวัยหมดประจำเดือนอาจจะมีภาวะความจำเสื่อม สมาธิสั้น ขี้หลงขี้ลืมบ่อย ๆ ได้
17. กระดูกบาง กระดูกพรุน แตกหักง่าย
ไม่ใช่แค่อายุเท่านั้นที่เป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมกับกระดูกและร่างกาย แต่ภาวะขาดฮอร์โมนเพศในวัยหมดประจำเดือนก็เป็นเหตุให้กระดูกบาง กระดูกพรุน และเสี่ยงต่อภาวะกระดูกแตกหักง่ายได้ด้วยนะคะ
18. ความต้องการทางเพศลดลง
เมื่อร่างกายผลิตสารหล่อลื่นลดลง เวลามีเพศสัมพันธ์ก็จะมีอาการเจ็บ แสบ ส่งผลให้ความต้องการทางเพศของวัยทองลดลงตามไปด้วยนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม อาการวัยทองในแต่ละคนจะมีความผิดปกติแตกต่างกันไป แต่ 18 อาการวัยทองข้างต้นคือกลุ่มอาการวัยทองที่พบได้บ่อย และอาการวัยทองก็สามารถเกิดขึ้นก่อนวัยอันควรได้ รวมทั้งเกิดในเพศชายได้เหมือนกัน
โดยปกติแล้ววัยทองจะเริ่มตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป ทว่าในบางคนก็มีอาการวัยทองก่อนวัย ซึ่งอาจเป็นผลจากพันธุกรรม โรคภูมิแพ้ หรือเคยผ่านการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดมดลูก ผ่าตัดรังไข่ เนื่องจากมะเร็งปากมดลูก หรือมีภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ หรือรังไข่ได้รับผลกระทบจากการทำเคมีบำบัด รวมไปถึงการทำงานหนัก การออกกำลังกายหนักมากเกินไป พักผ่อนน้อย ความเครียด โรคอ้วน โรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือไตวาย เป็นต้น ซึ่งด้วยเหตุดังกล่าว อาจทำให้บางคนเข้าสู่วัยทองก่อนอายุ 40 ปีได้
วัยทองในผู้ชาย
ผู้ชายก็มีช่วงวัยทองของเขาเหมือนกันค่ะ โดยภาวะวัยทองของผู้ชายจะเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุระหว่าง 40-59 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ วัยทองของผู้ชายจะเป็นผลมาจากต่อมอัณฑะผลิตฮอร์โมนเพศชายลดลง แต่ไม่ถึงกับหยุดหลั่งฮอร์โมนเลยซะทีเดียว ดังนั้นวัยทองในผู้ชายจึงไม่ค่อยส่งผลต่อสุขภาพและไม่มีอาการวัยทองที่ชัดเจนเท่ากับอาการวัยทองของผู้หญิง
วัยทอง ท้องได้ไหม
แม้จะเข้าสู่วัยทอง มีการเจริญพันธุ์ลดลง มีภาวะไข่ตกไม่แน่นอน แต่หญิงวัยทองก็สามารถตั้งครรภ์ได้เสมอจนกว่าประจำเดือนจะหยุดมาเป็นเวลา 1 ปีเต็ม ซึ่งหลังจากนั้นโอกาสตั้งครรภ์ก็น้อยลงมาก ๆ หรือแทบจะเป็นศูนย์เลยล่ะค่ะ
วัยทอง ดูแลตัวเองอย่างไรดี
ในเมื่อเราหยุดอายุและความเสื่อมของร่างกายไม่ได้ ยังไงสักวันก็ต้องเดินมาถึงวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน ดังนั้นทางที่ดีเราหันมาดูแลสุขภาพตัวเองและหาวิธีรับมืออาการวัยทองกันดีกว่า โดยเรามีเคล็ดลับดูแลสุขภาพหญิงวัยทองมาให้ปฏิบัติตาม ดังนี้
1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
2. หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันจากสัตว์ แต่ควรเลือกใช้น้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูง เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว หรือน้ำมันงา
3. เน้นรับประทานผัก ผลไม้ ถั่ว โดยเฉพาะถั่วเหลือง ซึ่งมีสารเอสโตรเจนสูง
4. กินอาหารที่หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน
5. เพิ่มการกินคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวไม่ขัด ธัญพืช โฮลวีต โฮลเกรน เป็นต้น
6. ลดอาหารเค็ม โดยเฉพาะอาหารขบเคี้ยวหรืออาหารแปรรูป
7. ดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ อย่างน้อยควรดื่มน้ำวันละ 1-2 ลิตร
8. ดื่มนมพร่องไขมัน ทางที่ดีควรดื่มนมถั่วเหลือง
9. รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม
10. ควรกินอาหารให้ครบทุกมื้อ
11. งดสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
12. หมั่นออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละไม่ต่ำกว่า 30 นาที
13. หมั่นไปตรวจสุขภาพประจำปี
14. หากมีอาการวัยทองหนักมาก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน
วัยทองเป็นเพียงช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงช่วงหนึ่งของร่างกาย จากการขาดฮอร์โมนเพศ ซึ่งเราสามารถเรียนรู้วิธีดูแลตัวเองและรับมือกับอาการวัยทองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีบนพื้นฐานของการมีสุขภาพดีไปพร้อมกันด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
,
กรมสุขภาพจิต
กรมสุขภาพจิต
โรงพยาบาลยันฮี
วัยทอง ความจริงเกี่ยวกับภาวะหมดประจำเดือน
วัยทองจริง ๆ แล้วหมายถึงวัยหมดประจำเดือนอย่างถาวร โดยผู้หญิงวัยทองจะมีช่วงอายุระหว่าง 45-59 ปี และอายุที่มากขึ้นก็ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเพศถูกสร้างลดน้อยลง จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยอาจจะมีความผิดปกติในหลายระบบของร่างกายทั้งแบบค่อยเป็นค่อยไปและแบบเฉียบพลันทันที ทั้งนี้อาการวัยทองในแต่ละบุคคลจะมีความรุนแรงต่างกัน
อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่วัยทองของผู้หญิงนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วงด้วยกัน
กล่าวคือ ช่วงแรกประจำเดือนจะมาเร็วกกว่าทุกเดือน ช่วงที่ 2
ประจำเดือนจะเริ่มมาห่าง 2-3 เดือนมาครั้งหนึ่ง และช่วงที่สาม
ประจำเดือนจะหายไปนานจนครบ 1 ปี ซึ่งหลังจากนี้
ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะเริ่มมีภาวะผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย
หรือที่เรียกว่า อาการวัยทอง ขึ้นมาทีละนิดทีละหน่อย
สำหรับผู้หญิงวัย 40 ปีขึ้นไป ที่เริ่มจะป่วยออด ๆ แอด ๆ จนไม่แน่ใจว่าเราเข้าสู่ "วัยทอง" แล้วหรือยัง ลองมาดูอาการวัยทองจากลิสต์ด้านล่างนี้เลยค่ะ
1. ประจำเดือนผิดปกติ
เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนลดลง ส่งผลให้ประจำเดือนเริ่มมาไม่ปกติ บางคนประจำเดือนมาเร็วขึ้น หรือมาช้าบ้างตามระดับฮอร์โมนเพศที่เหวี่ยงขึ้น ๆ ลง ๆ ไม่สม่ำเสมอ ซึ่งเมื่อฮอร์โมนเพศไม่ปกติแล้ว อาการผิดปกติทางกายอื่น ๆ ก็จะตามมาได้
2. อารมณ์หงุดหงิด
อารมณ์หงุดหงิดเป็นผลพวงมาจากระดับฮอร์โมนเพศที่ผิดปกติไป หลายคนจึงมีอารมณ์แปรปรวนได้ง่าย ส่งผลให้ความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างแย่ลงไปบ้าง
3. นอนหลับยาก นอนไม่ค่อยหลับ
บางคนมีอาการนอนไม่หลับทั้งคืน บ้างก็นอนหลับยาก กว่าจะได้นอนก็พลิกตัวไป-มาหลายตลบ หรือบางคนก็มีอาการตื่นกลางดึกบ่อย ๆ รวมไปถึงตื่นเช้ากว่าปกติได้
4. เหงื่อออกมากตอนกลางคืน
อาการเหงื่อออกมากจะเป็นบ่อยในช่วง 2-3 ปีแรกที่ประจำเดือนหมด โดยมักจะมีอาการเหงื่อออกมากตอนกลางคืน แม้จะนอนอยู่ในห้องแอร์ก็ตาม ทั้งนี้อาการเหงื่อออกมากของแต่ละคนจะมีความรุนแรงไม่เท่ากัน โดยบางคนอาจไม่มีอาการนี้เลยก็เป็นได้
5. อาการร้อนวูบวาบ
ประมาณ 3 ใน 4 ของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะมีอาการร้อนวูบวาบเกิดขึ้นกับร่างกาย แต่อาการร้อนวูบวาบมักจะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ ก่อให้เกิดความรำคาญมาก-น้อยแตกต่างกันในแต่ละบุคคล
6. บ้านหมุน วิงเวียนศีรษะ
อาการปวดศีรษะ หรือเวียนศีรษะเกิดขึ้นบ่อยในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนเช่นกัน และบางคนอาจมีอาการคล้ายจะเป็นไข้อยู่เนือง ๆ ร่วมด้วย
7. อ่อนเพลีย
เมื่อนอนไม่ค่อยหลับ ฮอร์โมนก็แปรปรวน แน่นอนว่าจะส่งผลให้คนวัยทองเหนื่อยง่าย อ่อนเพลียอยู่บ่อย ๆ และมีความรู้สึกไม่แอ็คทีฟ ไม่สดชื่น กระปรี้กระเปร่าเช่นเคย
การที่ร่างกายขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ระบบหัวใจและหลอดเลือดทำงานผิดปกติได้ ก่อให้เกิดอาการใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือที่เรียกความรู้สึกนี้ว่า ใจไม่ดี นั่นเอง
9. ช่องคลอดแห้ง
ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบและอวัยวะสืบพันธุ์ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยจะพบอาการช่องคลอดแห้ง แสบร้อน เจ็บ ขณะร่วมเพศ เนื่องจากต่อมผลิตสารหล่อลื่นในช่องคลอดทำงานลดลง
10. ช่องคลอดอักเสบ
ภาวะนี้พบได้บ่อยในผู้หญิงที่หมดประจำเดือนไปแล้ว เพราะเมื่อฮอร์โมนเพศหยุดทำงาน ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ก็จะขาดสมดุล เพิ่มโอกาสเสี่ยงให้เกิดภาวะอักเสบติดเชื้อได้
11. ติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะได้ง่าย
ระดับเอสโตรเจนที่ลดลงทำให้เนื้อเยื่อบริเวณเยื่อบุท่อปัสสาวะบางลง รวมไปถึงตัวกระเพาะปัสสาวะเองก็จะหย่อนสมรรถภาพลงด้วย เหตุนี้จึงทำให้ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนเสี่ยงติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้ง่ายกว่าปกติ
12. ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ความเสื่อมถอยของระบบทางเดินปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะส่งผลให้หญิงวัยทองกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือมีปัญหาปัสสาวะเล็ดได้เช่นเดียวกัน
13. ท้องอืด
ในบางรายจะมีอาการท้องอืด แน่นท้อง ร่วมกับภาวะปัสสาวะขัด อันเนื่องมาจากการขาดฮอร์โมนเพศ ส่งผลต่อระบบอวัยวะสืบพันธุ์ภายใน ลามไปถึงระบบการทำงานของลำไส้ด้วย
เมื่อฮอร์โมนเพศถูกสร้างน้อยลงหรือไม่สร้างเลย ความเต่งตึงชุ่มชื้นของผิวหนังก็จะลดลง เพราะร่างกายสร้างสารคอลลาเจนลดลง หญิงวัยหมดประจำเดือนจึงจะมีภาวะผิวแห้งง่าย มีอาการคัน ดังนั้นจึงควรทาโลชั่นหรือครีมบำรุงผิวก็จะช่วยบรรเทาอาการคันได้
15. ผมร่วง
อีกหนึ่งผลกระทบเมื่อร่างกายหยุดสร้างฮอร์โมนก็คืออาการผมร่วง ซึ่งโดยปกติแล้วผมของคนเราจะร่วงวันละเกือบ 100 เส้น แต่สำหรับหญิงวัยทองจะมีอาการผมร่วงมากกว่า 150 เส้นต่อวันเลยทีเดียว
16. ขี้หลงขี้ลืม
สมองและระบบประสาทก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยหญิงวัยหมดประจำเดือนอาจจะมีภาวะความจำเสื่อม สมาธิสั้น ขี้หลงขี้ลืมบ่อย ๆ ได้
ไม่ใช่แค่อายุเท่านั้นที่เป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมกับกระดูกและร่างกาย แต่ภาวะขาดฮอร์โมนเพศในวัยหมดประจำเดือนก็เป็นเหตุให้กระดูกบาง กระดูกพรุน และเสี่ยงต่อภาวะกระดูกแตกหักง่ายได้ด้วยนะคะ
18. ความต้องการทางเพศลดลง
เมื่อร่างกายผลิตสารหล่อลื่นลดลง เวลามีเพศสัมพันธ์ก็จะมีอาการเจ็บ แสบ ส่งผลให้ความต้องการทางเพศของวัยทองลดลงตามไปด้วยนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม อาการวัยทองในแต่ละคนจะมีความผิดปกติแตกต่างกันไป แต่ 18 อาการวัยทองข้างต้นคือกลุ่มอาการวัยทองที่พบได้บ่อย และอาการวัยทองก็สามารถเกิดขึ้นก่อนวัยอันควรได้ รวมทั้งเกิดในเพศชายได้เหมือนกัน
อาการวัยทองก่อนวัยอันควร
โดยปกติแล้ววัยทองจะเริ่มตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป ทว่าในบางคนก็มีอาการวัยทองก่อนวัย ซึ่งอาจเป็นผลจากพันธุกรรม โรคภูมิแพ้ หรือเคยผ่านการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดมดลูก ผ่าตัดรังไข่ เนื่องจากมะเร็งปากมดลูก หรือมีภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ หรือรังไข่ได้รับผลกระทบจากการทำเคมีบำบัด รวมไปถึงการทำงานหนัก การออกกำลังกายหนักมากเกินไป พักผ่อนน้อย ความเครียด โรคอ้วน โรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือไตวาย เป็นต้น ซึ่งด้วยเหตุดังกล่าว อาจทำให้บางคนเข้าสู่วัยทองก่อนอายุ 40 ปีได้
วัยทองในผู้ชาย
ผู้ชายก็มีช่วงวัยทองของเขาเหมือนกันค่ะ โดยภาวะวัยทองของผู้ชายจะเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุระหว่าง 40-59 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ วัยทองของผู้ชายจะเป็นผลมาจากต่อมอัณฑะผลิตฮอร์โมนเพศชายลดลง แต่ไม่ถึงกับหยุดหลั่งฮอร์โมนเลยซะทีเดียว ดังนั้นวัยทองในผู้ชายจึงไม่ค่อยส่งผลต่อสุขภาพและไม่มีอาการวัยทองที่ชัดเจนเท่ากับอาการวัยทองของผู้หญิง
วัยทอง ท้องได้ไหม
แม้จะเข้าสู่วัยทอง มีการเจริญพันธุ์ลดลง มีภาวะไข่ตกไม่แน่นอน แต่หญิงวัยทองก็สามารถตั้งครรภ์ได้เสมอจนกว่าประจำเดือนจะหยุดมาเป็นเวลา 1 ปีเต็ม ซึ่งหลังจากนั้นโอกาสตั้งครรภ์ก็น้อยลงมาก ๆ หรือแทบจะเป็นศูนย์เลยล่ะค่ะ
วัยทอง ดูแลตัวเองอย่างไรดี
ในเมื่อเราหยุดอายุและความเสื่อมของร่างกายไม่ได้ ยังไงสักวันก็ต้องเดินมาถึงวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน ดังนั้นทางที่ดีเราหันมาดูแลสุขภาพตัวเองและหาวิธีรับมืออาการวัยทองกันดีกว่า โดยเรามีเคล็ดลับดูแลสุขภาพหญิงวัยทองมาให้ปฏิบัติตาม ดังนี้
1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
2. หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันจากสัตว์ แต่ควรเลือกใช้น้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูง เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว หรือน้ำมันงา
3. เน้นรับประทานผัก ผลไม้ ถั่ว โดยเฉพาะถั่วเหลือง ซึ่งมีสารเอสโตรเจนสูง
4. กินอาหารที่หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน
5. เพิ่มการกินคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวไม่ขัด ธัญพืช โฮลวีต โฮลเกรน เป็นต้น
6. ลดอาหารเค็ม โดยเฉพาะอาหารขบเคี้ยวหรืออาหารแปรรูป
7. ดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ อย่างน้อยควรดื่มน้ำวันละ 1-2 ลิตร
8. ดื่มนมพร่องไขมัน ทางที่ดีควรดื่มนมถั่วเหลือง
9. รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม
10. ควรกินอาหารให้ครบทุกมื้อ
11. งดสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
12. หมั่นออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละไม่ต่ำกว่า 30 นาที
13. หมั่นไปตรวจสุขภาพประจำปี
14. หากมีอาการวัยทองหนักมาก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน
วัยทองเป็นเพียงช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงช่วงหนึ่งของร่างกาย จากการขาดฮอร์โมนเพศ ซึ่งเราสามารถเรียนรู้วิธีดูแลตัวเองและรับมือกับอาการวัยทองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีบนพื้นฐานของการมีสุขภาพดีไปพร้อมกันด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
,
กรมสุขภาพจิต
กรมสุขภาพจิต
โรงพยาบาลยันฮี