x close

สุขภาพในช่องปาก เรื่องใกล้ตัวที่ต้องใส่ใจ



สุขภาพในช่องปาก เรื่องใกล้ตัวที่ต้องใส่ใจ


สุขภาพในช่องปาก เรื่องใกล้ตัวที่ต้องใส่ใจ

          สุขอนามัยในช่องปาก เรื่องใกล้ตัวแต่เป็นเรื่องที่หลายคนอาจละเลย และคิดว่าแค่การแปรงฟันอย่างเดียวก็เพียงพอแล้วในการทำความสะอาดช่องปาก เพราะสุขภาพช่องปากมีผลต่อสุขภาพร่างกาย เมื่อเราดูแลสุขภาพช่องปากได้ดีนอกจะช่วยเสริมความมั่นใจให้เราได้ แล้วยังแถมทำให้สุขภาพในด้านอื่น ๆ ก็ดีตามไปด้วย

          เคยสังเกตไลฟ์สไตล์ของตัวเองกันบ้างไหมว่า ปกติแล้วเรามีพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างไรบ้าง เช่น ชอบกินอาหารรสหวานมัน และเค็มจัด ชอบเครียด ไม่ชอบออกกำลังกาย ติดบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฯลฯ ซึ่งไลฟ์สไตล์เหล่านี้แหละที่ทำให้เราเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพช่องปาก และยังทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคติดต่อไม่เรื้อรัง หรือกลุ่มโรค NCDs (Non-Communicable Diseases) อาทิเช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง แม้กระทั่งโรคอ้วนลงพุง

          ฟังชื่อโรคแล้วคงไม่มีใครอยากย่างกรายเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยแน่ ๆ แล้วจะเชื่อไหมคะ ถ้าเราจะบอกว่า การดูแลอนามัยของช่องปาก เพื่อส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมทันตสุขภาพที่ดี มีการปฏิบัติอย่างถูกต้อง และสม่ำเสมอก็จะเป็นการลดโอกาสเสี่ยงและความรุนแรงในการเป็นกลุ่มโรคNCDs ด้วย

          หลายคนอาจจะบอกว่า เราแปรงฟันทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้งอยู่แล้ว ก็คงไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่จริง ๆ แล้ว ยังมีสิ่งสำคัญประการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในช่องปาก ที่เราควรทำความเข้าใจให้ดีด้วยค่ะ


ไบโอฟิล์ม ตัวการสำคัญทำเราเกิดโรคในช่องปาก แค่แปรงฟันไม่พอ


          น่าตกใจที่ว่า พฤติกรรมการแปรงฟันในตอนเช้าและตอนเย็นของเรานั้น ช่วยดูแลสุขภาพในช่องปากได้เพียงร้อยละ 25 ของพื้นผิวทั้งหมดในช่องปากเท่านั้น ! ที่ถึงแม้ว่าหลังการแปรงฟันเสร็จ เราจะรู้สึกปากสะอาดแล้วก็ตาม แต่ความจริงแล้ว ยังมีแบคทีเรียที่ยังคงติดค้างอยู่ที่ฟัน เหงือก กระพุ้งแก้ม และเพดานปาก และจะค่อย ๆ ก่อตัวเป็นคราบบนผิวฟัน หรือที่เราเรียกว่า ไบโอฟิล์ม หากเราปล่อยให้ไบโอฟิล์มสะสมตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้วละก็ ปัญหาสุขภาพในช่องปากอื่น ๆ ตามมาแน่ ทั้งมีกลิ่นปาก ฟันผุ เหงือกอักเสบ รวมถึงโรคปริทันต์ที่รุนแรง

          ถ้าจะป้องกันไม่ให้สุขภาพช่องปากมีปัญหา ก็ต้องหาตัวช่วยลดการสะสมของไบโอฟิล์มภายในช่องปาก นั่นคือ การเลือกใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีคุณสมบัติแอนตี้แบคทีเรียนั่นเอง หรือถ้าหากใครที่ใช้วิธีนี้เป็นตัวช่วยในการดูแลช่องปากอยู่แล้ว ก็ลองเช็กดูว่า น้ำยาบ้วนปากที่เราใช้เป็นประจำนี้ มีคุณสมบัติที่เหมาะสมตามนี้แล้วหรือยัง


สุขภาพในช่องปาก เรื่องใกล้ตัวที่ต้องใส่ใจ

มารู้จักน้ำยาบ้วนปากกันเถอะ

          การเลือกใช้น้ำยาบ้วนปาก สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ ส่วนประกอบและคุณสมบัติของสารระงับเชื้อหรือสารออกฤทธิ์นั้น ๆ ด้วย เพื่อให้มั่นใจในประสิทธิภาพการใช้อย่างแท้จริง ดังต่อไปนี้

1. สารคลอเฮกซิดีน (Chlorhexidine)

          เป็นสารออกฤทธิ์ชนิดที่มีประจุ จึงมีข้อควรระวังในการใช้ คือ ควรใช้หลังการแปรงฟันอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง และไม่ควรรับประทานอาหารหรือน้ำทันทีหลังบ้วนปาก เพราะอาจทำให้เกิดการติดสีบนผิวฟันจากอาหารบางชนิดได้ อย่างไรก็ตาม ต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือทันตแพทย์ และ ไม่สามารถใช้เป็นประจำทุกวัน หรือใช้ต่อเนื่องเกิน 2 สัปดาห์ได้ เพราะอาจเกิดคราบสีที่ฟัน ซึ่งไม่สามารถกำจัดได้ด้วยการแปรงฟัน

2. น้ำมันสกัดธรรมชาติ (Essential Oils)

          เป็นน้ำยาบ้วนปากชนิดที่ใช้น้ำมันสกัดธรรมชาติเป็นสารออกฤทธิ์ ไม่มีประจุและมีโมเลกุลขนาดเล็ก จึงสามารถออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในชั้นไบโอฟิล์มได้ลึกกว่า สามารถใช้ได้ทันทีหลังแปรงฟัน และไม่ก่อให้เกิดคราบสีที่ฟันเมื่อใช้ต่อเนื่อง มีรสชาติเฉพาะตัวเมื่อใช้ และให้ความรู้สึกเย็นซ่า ที่เกิดจาก Essential oils ไปกระตุ้นประสาทรับความรู้สึกร้อนเย็นในช่องปากให้ตอบสนองความรู้สึกมากกว่าปกติชั่วคราว ทำให้เกิดความรู้สึกผสมผสานระหว่างความรู้สึกเย็น (เหมือนการอมน้ำแข็ง) และความรู้สึกร้อน (เหมือนการทานพริก) ซึ่งจะเกิดขึ้นเพียงชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น เมื่อบ้วนออกแล้วความรู้สึกเหล่านั้นก็จะหายไป ไม่ใช่เกิดจากการระคายเคืองเนื้อเยื่อในช่องปาก

3. เซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์ (Cetylpyridinium Chloride หรือ CPC)

          น้ำยาบ้วนปากชนิด CPC มีสารออกฤทธิ์แบบมีประจุ จึงมีข้อพึงระวังในการใช้ คือ ควรใช้หลังการแปรงฟันอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง และไม่ควรรับประทานอาหารหรือน้ำทันทีหลังบ้วนปาก เพราะอาจทำให้เกิดการการติดสีบนผิวฟันจากอาหารบางชนิดได้ นอกจากนี้ สารในกลุ่มนี้ยังมีการวิจัยทางคลินิกถึงประสิทธิผลในการลดคราบไบโอฟิล์มและเหงือกอักเสบไม่มากนัก

          จากข้อมูลทางวิชาการพบว่า การใช้ฟลูออไรด์ร่วมกับสารระงับเชื้อด้วยนั้น จะให้ประสิทธิผลในการป้องกันฟันผุที่ดีกว่า เพราะนอกจากฟลูออไรด์ที่ช่วยทำให้เคลือบฟันแข็งแรงแล้ว สารระงับเชื้อยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและทำงานได้ดีกว่าน้ำยาบ้วนปากที่มีแต่ฟลูออไรด์เพียงอย่างเดียว

สุขภาพในช่องปาก เรื่องใกล้ตัวที่ต้องใส่ใจ


          อย่างไรก็ตาม การใช้น้ำยาบ้วนปากหลังการแปรงฟันจะยิ่งมีประสิทธิภาพในการดูแลสุขอนามัยในช่องปากของเรามากขึ้น หากเราปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ที่เคยชินควบคู่กันไปด้วย เช่น งดบุหรี่ ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มน้ำเปล่าแทนเครื่องดื่มหวานเย็นทุกชนิด ลดปริมาณการปรุงรสในอาหาร รวมถึงการเลือกกินอาหารที่ช่วยบำรุงสุขภาพฟันด้วย เพียงเท่านั้น เราก็ไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดโรคในช่องปากแล้วล่ะค่ะ













เรื่องที่คุณอาจสนใจ
สุขภาพในช่องปาก เรื่องใกล้ตัวที่ต้องใส่ใจ อัปเดตล่าสุด 26 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 17:22:28 2,922 อ่าน
TOP