เป็นตุ่มที่น้องสาว ตุ่มที่อวัยวะเพศหญิง ปัญหาเกี่ยวกับจุดซ่อนเร้น อาการแบบนี้เกิดจากอะไร น่ากลัวแค่ไหน แล้วจะต้องรักษายังไง ตามมาหาคำตอบกันเลยค่ะสาว ๆ
ปัญหาเกี่ยวกับจุดซ่อนเร้น สาว ๆ
หลายคนคงจะเคยประสบปัญหาที่แก้ไม่ตกกันมาบ้างแล้ว
และก็เชื่อว่าปัญหาเหล่านั้นคงจะสร้างความกังวลใจให้กับสาว ๆ
ได้ไม่น้อยเลยทีเดียว โดยเฉพาะอาการที่สาว ๆ หลายคนเป็นกันบ่อย ๆ อย่าง
"มีตุ่มขึ้นที่น้องสาว" ซึ่งอาการนี้เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่
และควรจะแก้ไขหรือดูแลรักษาอย่างไร วันนี้กระปุกดอทคอมจะพาคุณสาว ๆ
ไปทำความเข้าใจในเรื่องนี้กันค่ะ
ซึ่งอาการที่มีตุ่มขึ้นบริเวณจุดซ่อนเร้นอาจเป็นเพราะหลายสาเหตุ ดังนี้
เป็นตุ่มที่อวัยวะเพศหญิง อาจเกิดจากสาเหตุนี้
เป็นสิวที่จุดซ่อนเร้น
หากตุ่มที่ขึ้นเป็นตุ่มแดง ๆ มีหัวคล้าย ๆ สิว ตุ่มแบบนี้มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย อันเนื่องมาจากการอับชื้น หรือรูขุมขนอักเสบ ทั้งนี้ วิธีดูแลก็ง่าย ๆ เพียงแค่ล้างทำความสะอาดอวัยวะเพศด้วยน้ำสบู่อ่อน ๆ รักษาความสะอาดบริเวณจุดซ่อนเร้น อย่าปล่อยให้อับชื้น หรือกินยาปฏิชีวนะร่วมด้วย ไม่นานตุ่มนั้นจะค่อย ๆ หายไปเอง แต่ห้ามบีบเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้เชื้อแบคทีเรียกระจายทำให้ตุ่มลามไปยังบริเวณอื่น ๆ ได้
ต่อมไขมัน Fordyce spot
ถ้าเป็นตุ่มเม็ดเล็ก ๆ ขนาดไม่เกิน 5 มิลลิเมตร มีลักษณะนูน สีขาวหรือเหลือง และไม่มีอาการคัน ไม่เจ็บ อาจเป็นเพียงต่อมไขมัน Fordyce spot ที่พบได้ปกติ ไม่ได้อันตรายหรือเป็นโรคใด ๆ เมื่อมีตุ่มเช่นนี้เกิดขึ้นแล้วจะอยู่ไปตลอด ไม่หายไปเอง ยกเว้นจะใช้ยาทาเพื่อผลัดเซลล์ผิว หรือทำเลเซอร์ แต่ก็มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีก
ติ่งเนื้อ (Skin Tag)
เป็นติ่งเนื้อที่ขึ้นได้ทั่วไปตามข้อพับ เช่น รักแร้ หัวหน่าว ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กไม่เกิน 2 นิ้ว ลักษณะเป็นก้อนเนื้อนุ่มนูนออกมาจากผิวหนัง แต่ไม่เจ็บ ไม่ใช่เนื้อร้าย สามารถกำจัดได้ด้วยการผ่าตัด หรือใช้ความร้อนจี้ออก
มีขนคุดหรือต่อมไขมันอักเสบ
หากบริเวณอวัยวะเพศมีขนคุด หรือต่อมไขมันอักเสบ ก็สามารถทำให้เกิดตุ่มขึ้นที่บริเวณน้องสาวได้เช่นกัน แต่อาการแบบนี้ไม่อันตราย แค่จะมีอาการปวดบวมแดงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งวิธีรักษาให้ประคบร้อนจะช่วยลดอาการได้ในเบื้องต้น นอกจากนี้ควรทายาแก้อักเสบบริเวณผิวหนังด้วย เช่น ครีม Hydrocortisone จะช่วยลดการอักเสบลงได้ แต่ทั้งนี้ถ้ายังไม่ดีขึ้นควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจมีการติดเชื้อก็เป็นได้
มีตุ่มขึ้นเพราะแพ้ผ้าอนามัย หรือแพ้สารระคายเคือง
การใส่ผ้าอนามัยเป็นเวลานาน ๆ นับเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้หญิงมีตุ่มขึ้นบริเวณจุดซ่อนเร้นได้บ่อยที่สุด ทั้งนี้ เพราะเกิดการอับชื้น หรือบางคนอาจจะเป็นเพราะแพ้ผ้าอนามัยก็เป็นได้ เพราะปัจจุบันผ้าอนามัยส่วนใหญ่มีทั้งสารเคมีและน้ำหอม ดังนั้น การใส่ผ้าอนามัยเป็นเวลานาน ๆ จึงทำให้มีตุ่มขึ้นที่น้องสาวได้ง่าย ๆ ทั้งนี้ วิธีรักษาก็คือพยายามหลีกเลี่ยงการใช้ผ้าอนามัยที่มีน้ำหอมปริมาณมาก รวมถึงเวลาเป็นประจำเดือนก็ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ ทุก 3-4 ชั่วโมง เพียงเท่านี้ก็สามารถช่วยป้องกันได้ส่วนหนึ่งแล้วล่ะค่ะ
เชื้อราในช่องคลอด
อาการเด่นชัดคือ รู้สึกแสบ คัน บริเวณปากช่องคลอด โดยเฉพาะเวลาปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์ มักมีผื่นแดงขึ้นร่วมด้วย และมีตกขาวสีขาวขุ่นหรือสีเหลืองจับตัวคล้ายแป้งเปียก กรณีนี้ต้องรักษาด้วยการทาครีมต้านเชื้อรา หรือรับประทานยาต้านเชื้อราตามแพทย์สั่ง
เป็นเริมที่อวัยวะเพศ
สำหรับโรคนี้มักเกิดจากเชื้อไวรัส ถือเป็นโรคติดต่อทางผิวหนังชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้เนื่องจากใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้อื่น หรือติดจากผู้ที่มีเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ทั้งนี้ อาการของโรคเริมที่อวัยวะเพศจะมีตุ่มน้ำใส ๆ ขึ้นรวมกันเป็นจุด ๆ และจะรู้สึกคัน ๆ เมื่อตุ่มน้ำใส ๆ แตกจะรู้สึกปวดแสบปวดร้อน ทั้งนี้ วิธีรักษาก็คือรักษาตามอาการ เช่น กินยาแก้ปวด กินยาป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือทายากลุ่ม Vilerm, Acyclovir Zovirax เป็นต้น
เป็นโรคหิด
โรคหิดสามารถเกิดขึ้นที่อวัยวะเพศได้เช่นเดียวกัน ถือเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งจะมีลักษณะเป็นตุ่มน้ำใส ๆ และตุ่มหนอง ทั้งนี้ จะรู้สึกคันมาก วิธีรักษาควรรีบไปพบแพทย์ และควรทายาหรือกินยาตามที่แพทย์สั่ง รวมถึงต้องดูแลความสะอาดของน้องสาวให้ดี อย่าปล่อยให้อับชื้น หลีกเลี่ยงการสัมผัส เพราะอาจทำให้ลุกลามได้
หูดหงอนไก่
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อ HPV ลักษณะหูดจะเป็นตุ่มเนื้อหรือติ่งเนื้อขนาดเล็กตะปุ่มตะป่ำยื่นออกมาจากผิวหนัง มีทั้งสีขาว ชมพู แดง ขนาดไม่เท่ากัน ร่วมกับอาการคันและแสบร้อนอวัยวะเพศ รักษาได้ด้วยการทายาที่ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์โรคหูดหงอนไก่ หรือถ้าหูดมีขนาดใหญ่มากอาจต้องผ่าตัดออกหรือรักษาด้วยเลเซอร์
หูดข้าวสุก
ลักษณะตุ่มเป็นทรงโดมขนาดเล็ก สีเดียวกับผิวหนัง มีรอยบุ๋มตรงกลาง ไม่เจ็บ ไม่คัน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสมอลลัสคุม โดยปกติหูดข้าวสุกสามารถหายได้เองในระยะเวลาไม่กี่เดือน แต่ก็อาจเกิดขึ้นใหม่ได้ และสามารถติดต่อไปสู่คนอื่นได้ จึงควรงดการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่หูดข้าวสุกยังไม่หายดี
ต่อมเหงื่ออักเสบ (Hidradenitis Suppurativa)
เกิดจากฮอร์โมนบางชนิดทำให้เซลล์ในรูขุมขนหรือต่อมเหงื่อทำงานมากเกินไปจนไปปิดกั้นรูขุมขน จึงเกิดตุ่มแดงขึ้นบริเวณผิวหนัง เริ่มจากตุ่มเดียวแล้วเพิ่มจำนวนขึ้นจนเป็นแผลและรู้สึกเจ็บ
ต่อมบาร์โธลินอักเสบ
สาเหตุของต่อมบาร์โธลินอักเสบเกิดได้จากการติดเชื้อ หรือต่อมอุดตันจากการสวมกางเกงรัดเกินไป ทำให้เมือกที่ถูกสร้างขึ้นในต่อมบาร์โธลินค้างสะสมอยู่ในท่อ เมื่อคลำดูจะพบก้อนคล้ายถุงน้ำและอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนรู้สึกอึดอัดเวลาเดินหรือนั่ง วิธีรักษาเบื้องต้นคือให้นั่งแช่น้ำอุ่นทุกวันเพื่อให้ก้อนยุบ แต่ถ้าไม่หายจะต้องให้แพทย์ผ่าฝีออกให้
ตุ่มขึ้นอวัยวะเพศหญิงแบบไหน อันตราย ควรไปพบแพทย์
หากมีตุ่มขึ้นน้องสาวโดยไม่ทราบสาเหตุ และเกิดขึ้นร่วมกับอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์
- ตุ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น
- ตุ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น
- ตุ่มบวม แดงมากขึ้น
- รู้สึกเจ็บหรือปวดบริเวณที่มีตุ่มขึ้น
- มีไข้
- รู้สึกเจ็บหรือปวดบริเวณที่มีตุ่มขึ้น
- มีไข้
- ปวดท้อง
- ปวดอุ้งเชิงกราน
- เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
- ตกขาวมากผิดปกติและมีกลิ่น
- คันและมีรอยแดงบริเวณช่องคลอด
- ปวดและแสบขณะปัสสาวะหรือเวลามีเพศสัมพันธ์
ตุ่มขึ้นน้องสาว รักษายังไง
เมื่อมีตุ่มขึ้นอวัยวะเพศหญิงจะต้องวินิจฉัยหาสาเหตุก่อนว่าเกิดจากอะไร จากนั้นจึงรักษาตามสาเหตุที่เป็น เช่น
- แช่น้ำอุ่นหรือประคบร้อน
- หยุดใช้ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองบริเวณอวัยวะเพศ
- รักษาความสะอาดบริเวณจุดซ่อนเร้น
- รับประทานยาปฏิชีวนะตามที่แพทย์สั่ง หากเกิดจากการติดเชื้อ
- ทาครีมหรือยาเฉพาะที่
- ใช้การผ่าตัด ทำเลเซอร์ หรือใช้ความร้อน-ความเย็นจี้ตุ่มนั้นออก
- ทาครีมหรือยาเฉพาะที่
- ใช้การผ่าตัด ทำเลเซอร์ หรือใช้ความร้อน-ความเย็นจี้ตุ่มนั้นออก
วิธีป้องกันตุ่มขึ้นที่อวัยวะเพศหญิง
- เลือกใส่ชุดชั้นในที่ทำจากผ้าฝ้าย เพื่อช่วยระบายความอับชื้นได้ดีกว่าแบบใยสังเคราะห์
- ไม่ควรอาบน้ำร้อนจัดจนเกินไป
- หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของน้ำหอม
- ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ทำความสะอาดเสื้อผ้า ชุดชั้นใน หมอน ผ้าห่ม ของใช้ส่วนตัวเป็นประจำ
- หากมีตุ่มขึ้นอวัยวะเพศ อย่านำมือไปสัมผัสตุ่ม ไม่แกะ ไม่เกา เพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อ หรือนำเชื้อนั้นแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น
บทความที่เกี่ยวข้องกับจุดซ่อนเร้นผู้หญิง
- ส่องอาการต่อมบาร์โธลินอักเสบ สาว ๆ รีบเช็กก่อนฝีแตก !
- 5 ข้อดีของการไม่โกนขนน้องสาว ที่ผู้หญิงทุกคนต้องรู้ ก่อนตัดสินใจกำจัดขน
- อาการคันปากมดลูก เรื่องภายในที่ผู้หญิงควรรู้
- เชื้อราในช่องคลอด ยังไงก็ไม่รอดถ้ายังทำ 12 พฤติกรรมนี้ !
- จุดซ่อนเร้นของผู้หญิงในแต่ละวัย อายุเท่าไร เปลี่ยนไปอย่างไร รู้ไหม ?
- 5 ข้อดีของการไม่โกนขนน้องสาว ที่ผู้หญิงทุกคนต้องรู้ ก่อนตัดสินใจกำจัดขน
- อาการคันปากมดลูก เรื่องภายในที่ผู้หญิงควรรู้
- เชื้อราในช่องคลอด ยังไงก็ไม่รอดถ้ายังทำ 12 พฤติกรรมนี้ !
- จุดซ่อนเร้นของผู้หญิงในแต่ละวัย อายุเท่าไร เปลี่ยนไปอย่างไร รู้ไหม ?
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเมดพาร์ค, โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต, healthline.com, health.com, medicalnewstoday.com,