Sick Building Syndrome ปีศาจร้ายบนตึกสูง !

ปวดหัว


Sick Building Syndrome ปีศาจร้ายบนตึกสูง! (She\'s)
โดย: สมร นอนใกล้รุ่ง
 
          คยสังเกตไหมว่า เพื่อนร่วมงานบางคนมีอาการเซื่องซึม เวียนหัว คลื่นไส้บ่อย ๆ และหลายสัปดาห์ต่อมาเพื่อนคนนั้น คนโน้น ก็มีอาการคล้ายกัน พนักงานที่เหลือเริ่มจิตหลอนว่าเหตุที่มีคนป่วยเยอะแบบนี้ อาจเป็นเพราะมี something สิงสู่อยู่ในออฟฟิศหรือเปล่า???

          จริง ๆ แล้วคงไม่ใช่เพราะสิ่งไม่ดีไม่งามสิงสู่อยู่ในออฟฟิศหรอกค่ะ แต่พนักงานออฟฟิศทั้งหลาย อาจจะกำลังมีอาการของโรค "ตึกเป็นพิษ" !!! อยู่ก็ได้
 
โรคตึกเป็นพิษคืออะไร?

          โรคตึกเป็นพิษ หรือ Sick Building Syndrome (SBS) ก็คืออาการที่เกิดขึ้นจากมลพิษภายในอาคารที่วางระบบหมุนเวียนอากาศไม่ดี จึงทำให้สารระเหยที่ถูกปล่อยออกมาจากเครื่องใช้สำนักงาน เช่น เครื่องซีร็อกซ์ พรินเตอร์ รวมถึงสารระเหยจากสีทาผนัง ไม้อัด สารเคลือบเงาทั้งหลาย หรือแม้กระทั่งไรฝุ่นในพรม วนเวียนอยู่ภายในระบบปรับอากาศของตึกน่ะ

          อาการที่ปรากฏก็คือ อ่อนล้า ปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้ คัดจมูก ไอ จาม เกิดผดผื่นคัน ระคายเคืองดวงตา และมีความผิดปกติของประสาทรับกลิ่น เป็นต้น

          ก็ร้ายแรงขนาดนี้แม้คุณหมอจะระบุว่าไม่ใช่ แต่ในความรู้สึกของพนักงานที่เหลือ อาการเหล่านี้ก็น่ากลัวประดุจการกระทำของผีร้ายนั่นทีเดียว
 
ใช่อาการที่ปีศาจ SBS คุกคามหรือไม่?

          มีข้อสังเกตให้พิจารณาสองประการ

          1.คนที่อยู่ในห้องหรือในตึกเดียวกันมีอาการพวกนี้เหมือนกันหรือไม่

          2.อาการนี้จะเกิดขึ้นเมื่ออยู่ในตึกเท่านั้น เมื่อออกมาภายนอกจะไม่หลงเหลืออาการอยู่อย่างนั้นหรือไม่

          ถ้าใช่ทั้งสองข้อล่ะก็...แปลว่าปีศาจแสนทันสมัยนาม Sick Building Syndrome ได้เร้นตัวอยู่ตามซอกหลืบต่าง ๆ ในออฟฟิศคุณเสียแล้วล่ะ

          และเจ้าปีศาจตนนี้ก็จะรังควานพนักงานจนเจ็บป่วยทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งหากไม่มีการแก้ไข ฤทธิ์เดชของเจ้าผีร้ายก็จะยิ่งแผ่กว้างครอบคลุมไปทั้งองค์กร เพราะเมื่อคนทำงานมีสภาพไม่พร้อมย่อมทำงานได้ไม่เต็มที่ สุดท้ายอาจแย่ถึงขนาดส่งผลต่อกิจการขององค์กรเลยทีเดียว
 

โรคตึกเป็นพิษ


วิธีปัดรังควาญปีศาจ SBS

          1.จัดการเรื่องการหมุนเวียนของอากาศให้ดีขึ้น เช่น ติดตั้งพัดลมดูดอากาศ หรือเปิดหน้าต่างตอนที่ปิดแอร์ เพื่อให้อากาศที่ค้างอยู่ในตึกระบายออกไปบ้าง

          2.ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นต้นกำเนิดของไอระเหยที่เป็นพิษให้น้อยที่สุด หรือเลือกวัสดุชนิดอื่นทดแทน เช่น ใช้สีทาผนังแบบที่ไม่มีโลหะหนักผสม ใช้เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้จริง หรือใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้อัดแบบที่ปล่อยไอระเหยน้อยกว่าปกติ

          3.จัดบริเวณที่มีการฟุ้งกระจายของสารระเหยแยกจากห้องทำงานของพนักงาน เช่น ห้องถ่ายเอกสาร ห้องพรินต์งาน ห้องเก็บผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด

          4.ทำความสะอาดในส่วนต่าง ๆ ให้บ่อยขึ้น เพื่อลดการสะสมของฝุ่นละออง เชื้อรา แบคทีเรียต่าง ๆ โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศและพัดลมดูดอากาศ

          5.หาต้นไม้ในร่มมาปลูกและตั้งไว้ตามจุดต่าง ๆ ในห้อง เพื่อช่วยฟอกอากาศและลดปริมาณสารพิษ ยิ่งถ้าเป็นไม้ประดับที่ดูดสารพิษได้ก็ยิ่งเลิศมาก
 
          และหลังจากที่ทุกคนช่วยกันทำความสะอาดโต๊ะตู้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ให้มีฝุ่นจับ รวมทั้งจัดให้มีการระบายอากาศที่ดีขึ้น เชื่อได้เลยว่า อาการต่าง ๆ จะดีขึ้นอย่างทันตาเห็น


  เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย 

 คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ



ขอขอบคุณข้อมูลจาก

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
Sick Building Syndrome ปีศาจร้ายบนตึกสูง ! อัปเดตล่าสุด 21 ตุลาคม 2560 เวลา 08:50:55 6,889 อ่าน
TOP
x close