หัวใจวายเฉียบพลันที่พบบ่อยที่สุดคือกล้ามเนื้อหัวใจตาย ส่งผลให้หัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงกระทั่งเสียชีวิตในที่สุดหากไม่ได้รับการปั๊มหัวใจ หรือการ CPR อย่างถูกต้อง แต่หากไม่อยากตกอยู่ในสภาพนั้นก็จำเป็นต้องเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเหล่านี้
ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute Myocardial Infarction) คือภาวะที่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด ส่งผลให้หัวใจไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง
ๆ ของร่างกายได้ทันที
โดยสาเหตุของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมักจะเกิดจากการอุดตันเฉียบพลันของหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
หรืออาจเกิดจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตีบเฉียบพลัน
ทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้
ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจสูญเสียการทำงานหรือตายไป
อาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น เกิดจากโรคหัวใจที่เป็นอยู่
ซึ่งผู้ป่วยอาจรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ เพราะไม่เคยตรวจหัวใจมาก่อน แต่ที่น่ากลัวไปกว่านั้น
คือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันอาจเกิดขึ้นกับใคร ตอนไหนก็ได้
โดยไม่จำเป็นต้องเป็นโรคหัวใจหรือมีโรคประจำตัวใด ๆ สักโรค แต่อยู่ในสถานการณ์ หรือมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ดังนี้
พฤติกรรมเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ทราบแล้วเปลี่ยนให้ทันก่อนสาย !
1. ชอบรับประทานอาหารไขมันสูง
2. อ้วน
3. ออกกำลังกายมากเกินไป
ฉะนั้นหากออกกำลังกายแล้วรู้สึกเหนื่อยเกินพอดี (เหนื่อยหอบจนไม่สามารถพูดคุยได้แม้แต่คำสั้น ๆ) แนะนำให้ชะลอการออกกำลังกาย (Cool Down) และหยุดพักดีกว่าฝืนออกกำลังกายต่อไปนะคะ ที่สำคัญอย่าหยุดออกกำลังกายอย่างกะทันหันนะคะ เพราะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเช่นกัน
- วิ่งแล้วหยุดกะทันหัน เตือนนักวิ่งอย่าทำ อันตรายถึงชีวิต !
พฤติกรรมขาดการออกกำลังกายมักจะนำภาวะอ้วนมาให้ ซึ่งเมื่ออ้วนขึ้นก็เสี่ยงต่อโรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิต และโรคเรื้อรังอื่น ๆ อีกมากมาย ที่สำคัญหากไม่ออกกำลังกายบ้างเลย การทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตอาจไม่คล่องตัว เกิดตะกรันไขมันมาเกาะตามผนังหลอดเลือด ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ได้ไม่ดี หรืออาจเกิดภาวะไขมันอุดตันเส้นเลือด ทำให้หัวใจขาดเลือดได้
5. ดื่มคาเฟอีนมากเกินไป
เมื่อร่างกายได้รับคาเฟอีนในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดภาวะเสียสมดุลของสารเกลือแร่ในร่างกาย ก่อให้เกิดอาการชักเกร็ง หลังแอ่น ปอดแฟบ ความดันโลหิตพุ่งสูงอย่างเฉียบพลัน หัวใจบีบรัดมากเกินไป ส่งผลให้ภาวะการหายใจและระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลวจนถึงแก่ชีวิตได้ โดยปริมาณคาเฟอีนที่อันตรายต่อร่างกายถึงเพียงนี้ก็จะอยู่ที่ราว ๆ 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัว หรือประมาณ 5,000-10,000 มิลลิกรัมในผู้ใหญ่ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการขับคาเฟอีนออกจากร่างกายของแต่ละคนด้วยนะคะ
6. เสียใจอย่างหนัก สะเทือนใจอย่างแรง
ทั้งนี้อาการที่เกิดขึ้นก็มีส่วนเกี่ยวเนื่องมาจากสมองมีการหลั่งสารแคทีโคลามีน (Catecholamine) หรือสารสื่อประสาท เช่น อีพิเนฟริน นอร์อีพิเนฟริน และโดพามีน ในขณะที่เกิดความเครียดมาก ๆ หรือมีสิ่งสะเทือนใจอย่างรุนแรง เช่น สูญเสียคนรักอย่างกะทันหัน พ่อ แม่ ญาติสนิทเสียชีวิต เจอความผิดหวังเสียใจหนัก ๆ ทำให้หลอดเลือดหัวใจเกร็งและแข็งตัวทันที เลือดจึงไม่สามารถผ่านไปเลี้ยงหัวใจได้ และหากเป็นในเวลานาน หัวใจก็ไม่อาจสูบฉีดเลือดได้ตามปกติ นำมาซึ่งภาวะหัวใจล้มเหลว และอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด
7. ช็อก
ภาวะช็อกมักจะเกิดจากการสูญเสียเลือดในปริมาณมาก เช่น คนที่ประสบอุบัติเหตุ เสียเลือดมาก ส่งผลให้หัวใจมีเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอหรือเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดได้
8. ใช้สารเสพติด
พฤติกรรมเสพยาเสพติด เช่น โคเคน แอมเฟตามีน อีฟีดรีน หรือการได้รับยาเกินขนาด อาจส่งผลให้หลอดเลือดมีการหดตัวอย่างรุนแรง ก่อให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้เช่นกัน
9. สูบบุหรี่
10. เครียดง่าย
คนที่ทำงานหนักและมีความเครียดสูง ๆ คือกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจเต้นผิดปกติมากที่สุด เพราะความเครียดจะไปกระตุ้นให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ รวมไปถึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว ซึ่งเป็นภาวะที่หลอดเลือดแดงมีไขมัน มีการอักเสบต่าง ๆ มาเกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด ก่อให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดแดง และเสี่ยงต่อภาวะหัวใจขาดเลือดได้ โดยเฉพาะคนที่มีความเครียดมาก ๆ และเครียดอยู่เป็นประจำ
นอกจากนี้ การเจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัวบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับระบบหัวใจและหลอดเลือด ก็อาจเป็นสาเหตุให้หัวใจวายเฉียบพลันได้เช่นกัน
คำว่าเฉียบพลันก็บอกเป็นนัย ๆ ว่าอาจเกิดขึ้นตอนไหนก็ได้ ที่สำคัญคือมักจะเกิดแบบไม่มีสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติของร่างกาย ดังนั้นอีกหนึ่งข้อมูลที่อยากให้ทราบกันไว้ก็คืออาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรืออาการหัวใจวาย สังเกตได้ง่าย ๆ จากอะไรบ้าง ซึ่งอาการก็มีดังนี้ค่ะ
- เจ็บแน่นหน้าอกเหมือนมีอะไรมากดทับอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะตรงกลางอก และเป็นนานเกินกว่าหนึ่งนาทีขึ้นไป
- เจ็บแน่นหน้าอกร้าวไปยังบริเวณคอ กราม ไหล่และแขนทั้งสองข้าง
- มีเหงื่อออกตามร่างกาย
- เหนื่อยง่าย หายใจถี่กระชั้น
- วิงเวียน หน้ามืด
- ชีพจรเต้นเร็ว
หากพบเห็นใครก็ตามที่มีอาการข้างต้น ควรรีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยด่วน เพื่อกู้ชีพผู้ป่วยขึ้นมา โดยหลังจากโทร. เรียกรถพยาบาลแล้ว ก็ควรรีบทำ CPR อย่างถูกวิธีโดยเร็วที่สุด
- วิธีทำ CPR ที่ถูกต้อง ช่วยคนหัวใจหยุดเต้น-หยุดหายใจให้รอดชีวิต
อย่างไรก็ตาม โรคหัวใจวายเฉียบพลัน รู้ทัน ป้องกันได้นะคะ โดยการป้องกันโรคหัวใจวายเฉียบพลันก็เพียงแค่ใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ ทั้งในด้านการบริโภค โดยรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ เลี่ยงอาหารไขมันสูง อาหารปิ้ง ย่าง หรือของทอด รวมไปถึงควรงดการสูบบุหรี่ พฤติกรรมดื่มแอลกอฮอล์ และพยายามออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งพักผ่อนให้เพียงพอ และไม่เครียดบ่อย ๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก
สถาบันทรวงอก วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ พยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา