บำรุงสายตาให้แข็งแรงด้วยวิตามินบำรุงสายตาที่หาได้จากอาหารใกล้ตัว มองเห็นไม่ชัด สายตาพร่ามัว ต้องจัดเลย
บำรุงสายตาด้วยวิตามินอะไรดี หลายคนอาจลืมเลือนไปค่ะว่าวิตามินบำรุงสายตามีวิตามินอะไรบ้าง และแหล่งวิตามินบำรุงสายตาหาได้จากอาหารประเภทไหน ดังนั้นเพื่อความไม่มัว ไม่พร่าเลือนของสายตา กระปุกดอทคอมเลยจัดวิตามินบำรุงสายตามาให้ มาดูซิว่าหาได้จากอาหารอะไรบ้าง
บำรุงสายตาด้วยวิตามินอะไรดี
วิตามินบำรุงสายตามีอยู่หลายตัวด้วยกัน โดยหน้าที่ของแต่ละวิตามินบำรุงสายตาก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันไปค่ะ ซึ่งสามารถจำแนกได้ ดังนี้
1. วิตามิน A
วิตามินเอเป็นวิตามินที่ช่วยบำรุงสายตาในส่วนการทำงานของจอประสาทตา มีบทบาทสำคัญด้านการมองในที่มืด ซึ่งแหล่งอาหารที่มีวิตามินเอค่อนข้างสูง จะอยู่ในอาหารประเภทผักใบเขียว เช่น ชะอม คะน้า ยอดกระถิน ตำลึง ผักโขม ผักบุ้ง เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบวิตามินเอได้ในฟักทอง แครอท เสาวรส มะละกอ มะม่วงสุก และตับหมูอีกด้วย
2. วิตามิน B
ไม่ใช่แค่ป้องกันโรคเหน็บชาหรือปากนกกระจอกเท่านั้น แต่วิตามินบีก็มีส่วนสำคัญในการบำรุงสายตา โดยเฉพาะวิตามิน B1 และ B12 ซึ่งมีบทบาทในการชะลอการเกิดต้อกระจก โดยแหล่งที่มีวิตามินบีอยู่มากก็ได้แก่อาหาร เช่น ตับ ไข่ เนื้อสัตว์ นมสด เป็นต้น
3. วิตามิน C
มีการศึกษาที่พบว่า วิตามินซีมีส่วนช่วยชะลอการเกิดต้อกระจกได้ ด้วยสรรพคุณของสารต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยบำรุงหลอดเลือดฝอยให้แข็งแรง ทำให้ส่งเลือดไปยังจอประสาทตาและเลนส์ตาได้ดีขึ้น จึงช่วยชะลอความเสื่อมจากโรคต้อกระจกและจอประสาทตาเสื่อมได้
ทั้งนี้เราสามารถหาวิตามินซีได้จากผลไม้ ได้แก่ ฝรั่ง ส้ม สับปะรด มะขามป้อม และผักอย่างพริกหวาน มะเขือเทศ กะหล่ำดอก รวมไปถึงบรอกโคลี
4. วิตามิน E
วิตามินอีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในเซลล์รับแสงที่จอประสาทตา ช่วยปกป้องดวงตาจากแสงแดด และยังมีการศึกษาพบว่า วิตามินอีมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงโรคต้อกระจกได้ โดยแหล่งอาหารที่พบวิตามินอีอยู่มากก็ได้แก่ ข้าวกล้อง ถั่วเมล็ดแห้ง งา ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ น้ำมันพืช น้ำมันดอกคำฝอย ข้าวโพด และถั่วเหลือง เป็นต้น
5. เบต้าแคโรทีน
สารต้านอนุมูลอิสระอย่างเบต้าแคโรทีน เป็นสารตั้งต้นของวิตามิน A ดังนั้นนอกจากจะมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระแล้ว เบต้าแคโรทีนยังช่วยในการมองเห็นในที่มืดเช่นเดียวกับคุณสมบัติของวิตามิน A โดยเราสามารถรับเบต้าแคโรทีนได้จากแครอท มะละกอ ข้าวโพดอ่อน หน่อไม้ฝรั่ง ผักบุ้ง เป็นต้น
6. ลูทีนและซีแซนทีน
ลูทีนและซีแซนทีนเป็นส่วนประกอบสำคัญที่พบในจุดรับภาพที่จอประสาทตาและเลนส์ตา ทำหน้าที่ช่วยปกป้องเซลล์ของจอประสาทตาไม่ให้ถูกทำลาย โดยวิตามินทั้งสองชนิดนี้มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ และจากการศึกษายังพบด้วยว่า ลูทีนและซีแซนทีนมีส่วนช่วยชะลอการเกิดต้อกระจก และโรคจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งสามารถหาลูทีนและซีแซนทีนได้จากผัก-ผลไม้ที่มีสีเขียวเข้มและสีเหลือง เช่น ผักคะน้า ปวยเล้ง ผักโขม บรอกโคลี ข้าวโพด และพบได้ในไข่แดง เป็นต้น
7. ซีลีเนียม
สารต้านอนุมูลอิสระอีกตัวหนึ่งที่พบได้มากในหอยนางรม หอยลาย ตับไก่ และเมล็ดทานตะวัน โดยซีลีเนียมมีส่วนช่วยชะลอการเกิดต้อกระจกและมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย
8. สังกะสี
สังกะสีมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระเช่นกัน และจากการศึกษายังพบด้วยว่า สารต้านอนุมูลอิสระในสังกะสีมีส่วนช่วยชะลอความเสื่อมของจอประสาทตาที่มีอาการอยู่แล้ว ให้เกิดความเสื่อมช้าลง โดยแหล่งที่พบสังกะสี ได้แก่ หอยนางรม ตับ และเนื้อสัตว์
9. โอเมก้า 3
กรดไขมันอย่างโอเมก้า 3 มีบทบาทสำคัญในการรักษาภาวะตาแห้ง ซึ่งกรดไขมันโอเมก้า 3 พบได้มากในปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลากะพง ปลาช่อน และในผลไม้ เช่น กีวี เป็นต้น
10. เคอร์ซีทิน
สารเคอร์ซีทินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยต้านความเสื่อมของจอประสาทตา และป้องกันการเกิดโรคต้อหิน โดยเราสามารถหาแหล่งของเคอร์ซีทินได้ในหอมแดงเลยค่ะ
นอกจากวิตามินบำรุงสายตาเหล่านี้แล้ว ยังมีอาหารบำรุงสายตาอีกจำนวนไม่น้อยที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อระบบประสาทตาและการมองเห็นด้วยนะคะ ตามนี้เลย
- 10 ซูเปอร์ฟู้ดบำรุงสายตา คนติดหน้าจอ ติดโซเชียล กินให้ไว
- ดอกอัญชัญ สมุนไพรบำรุงสายตา ดูแลเส้นผมให้เงางาม
- ผักบุ้ง สรรพคุณจัดเต็ม บำรุงสายตา ลดเบาหวาน ของดีที่หาทานได้ใกล้ตัว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย
Golden Place
วิตามินบำรุงสายตามีอยู่หลายตัวด้วยกัน โดยหน้าที่ของแต่ละวิตามินบำรุงสายตาก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันไปค่ะ ซึ่งสามารถจำแนกได้ ดังนี้
วิตามินเอเป็นวิตามินที่ช่วยบำรุงสายตาในส่วนการทำงานของจอประสาทตา มีบทบาทสำคัญด้านการมองในที่มืด ซึ่งแหล่งอาหารที่มีวิตามินเอค่อนข้างสูง จะอยู่ในอาหารประเภทผักใบเขียว เช่น ชะอม คะน้า ยอดกระถิน ตำลึง ผักโขม ผักบุ้ง เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบวิตามินเอได้ในฟักทอง แครอท เสาวรส มะละกอ มะม่วงสุก และตับหมูอีกด้วย
ไม่ใช่แค่ป้องกันโรคเหน็บชาหรือปากนกกระจอกเท่านั้น แต่วิตามินบีก็มีส่วนสำคัญในการบำรุงสายตา โดยเฉพาะวิตามิน B1 และ B12 ซึ่งมีบทบาทในการชะลอการเกิดต้อกระจก โดยแหล่งที่มีวิตามินบีอยู่มากก็ได้แก่อาหาร เช่น ตับ ไข่ เนื้อสัตว์ นมสด เป็นต้น
มีการศึกษาที่พบว่า วิตามินซีมีส่วนช่วยชะลอการเกิดต้อกระจกได้ ด้วยสรรพคุณของสารต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยบำรุงหลอดเลือดฝอยให้แข็งแรง ทำให้ส่งเลือดไปยังจอประสาทตาและเลนส์ตาได้ดีขึ้น จึงช่วยชะลอความเสื่อมจากโรคต้อกระจกและจอประสาทตาเสื่อมได้
ทั้งนี้เราสามารถหาวิตามินซีได้จากผลไม้ ได้แก่ ฝรั่ง ส้ม สับปะรด มะขามป้อม และผักอย่างพริกหวาน มะเขือเทศ กะหล่ำดอก รวมไปถึงบรอกโคลี
4. วิตามิน E
วิตามินอีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในเซลล์รับแสงที่จอประสาทตา ช่วยปกป้องดวงตาจากแสงแดด และยังมีการศึกษาพบว่า วิตามินอีมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงโรคต้อกระจกได้ โดยแหล่งอาหารที่พบวิตามินอีอยู่มากก็ได้แก่ ข้าวกล้อง ถั่วเมล็ดแห้ง งา ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ น้ำมันพืช น้ำมันดอกคำฝอย ข้าวโพด และถั่วเหลือง เป็นต้น
สารต้านอนุมูลอิสระอย่างเบต้าแคโรทีน เป็นสารตั้งต้นของวิตามิน A ดังนั้นนอกจากจะมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระแล้ว เบต้าแคโรทีนยังช่วยในการมองเห็นในที่มืดเช่นเดียวกับคุณสมบัติของวิตามิน A โดยเราสามารถรับเบต้าแคโรทีนได้จากแครอท มะละกอ ข้าวโพดอ่อน หน่อไม้ฝรั่ง ผักบุ้ง เป็นต้น
ลูทีนและซีแซนทีนเป็นส่วนประกอบสำคัญที่พบในจุดรับภาพที่จอประสาทตาและเลนส์ตา ทำหน้าที่ช่วยปกป้องเซลล์ของจอประสาทตาไม่ให้ถูกทำลาย โดยวิตามินทั้งสองชนิดนี้มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ และจากการศึกษายังพบด้วยว่า ลูทีนและซีแซนทีนมีส่วนช่วยชะลอการเกิดต้อกระจก และโรคจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งสามารถหาลูทีนและซีแซนทีนได้จากผัก-ผลไม้ที่มีสีเขียวเข้มและสีเหลือง เช่น ผักคะน้า ปวยเล้ง ผักโขม บรอกโคลี ข้าวโพด และพบได้ในไข่แดง เป็นต้น
สารต้านอนุมูลอิสระอีกตัวหนึ่งที่พบได้มากในหอยนางรม หอยลาย ตับไก่ และเมล็ดทานตะวัน โดยซีลีเนียมมีส่วนช่วยชะลอการเกิดต้อกระจกและมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย
8. สังกะสี
สังกะสีมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระเช่นกัน และจากการศึกษายังพบด้วยว่า สารต้านอนุมูลอิสระในสังกะสีมีส่วนช่วยชะลอความเสื่อมของจอประสาทตาที่มีอาการอยู่แล้ว ให้เกิดความเสื่อมช้าลง โดยแหล่งที่พบสังกะสี ได้แก่ หอยนางรม ตับ และเนื้อสัตว์
กรดไขมันอย่างโอเมก้า 3 มีบทบาทสำคัญในการรักษาภาวะตาแห้ง ซึ่งกรดไขมันโอเมก้า 3 พบได้มากในปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลากะพง ปลาช่อน และในผลไม้ เช่น กีวี เป็นต้น
10. เคอร์ซีทิน
สารเคอร์ซีทินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยต้านความเสื่อมของจอประสาทตา และป้องกันการเกิดโรคต้อหิน โดยเราสามารถหาแหล่งของเคอร์ซีทินได้ในหอมแดงเลยค่ะ
นอกจากวิตามินบำรุงสายตาเหล่านี้แล้ว ยังมีอาหารบำรุงสายตาอีกจำนวนไม่น้อยที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อระบบประสาทตาและการมองเห็นด้วยนะคะ ตามนี้เลย
- 10 ซูเปอร์ฟู้ดบำรุงสายตา คนติดหน้าจอ ติดโซเชียล กินให้ไว
- ดอกอัญชัญ สมุนไพรบำรุงสายตา ดูแลเส้นผมให้เงางาม
- ผักบุ้ง สรรพคุณจัดเต็ม บำรุงสายตา ลดเบาหวาน ของดีที่หาทานได้ใกล้ตัว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย
Golden Place