เสื้อชูชีพกับเสื้อพยุงตัว อุปกรณ์เซฟตี้ทางน้ำที่มีข้อจำกัดและข้อแนะนำการใช้งานที่ต่างกัน คนชอบเที่ยว-เดินทางทางน้ำบ่อย ๆ ควรรู้ไว้จะได้เลือกใช้ป้องกันภัยได้ถูกต้อง
อุปกรณ์ช่วยชีวิตยามเดินทางทางน้ำที่หลายคนรู้จักคือเสื้อชูชีพ แต่นอกจากเสื้อชูชีพแล้วยังมีอุปกรณ์เซฟตี้อีกชนิดที่เรียกว่า เสื้อพยุงตัว ความแตกต่างของเสื้อชูชีพ-เสื้อพยุงตัว และวัตถุประสงค์ในการใช้งานก็มีข้อจำกัดที่ต่างกันไป และที่เราเห็นเสื้อสีส้ม ๆ สีเด่น ๆ ที่ติดอยู่กับเรือโดยสาร ส่วนใหญ่แล้วไม่ใช่เสื้อชูชีพ 100% แต่เป็นเสื้อพยุงตัวซะมากกว่า
ดังนั้นเพื่อความกระจ่างชัดในด้านความปลอดภัยสำหรับการเลือกใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิตทางน้ำ สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อแตกต่างระหว่างเสื้อชูชีพและเสื้อพยุงตัว ดังนี้
อย่างไรก็ดี ทางสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้แนะนำเพิ่มเติมว่า การใส่เสื้อชูชีพจะต้องใส่ให้ถูกต้อง รัดตัวล็อกทุกจุด เพื่อป้องกันไม่ให้เสื้อชูชีพหลุดหายตามน้ำไปได้ ทั้งนี้การใส่เสื้อชูชีพที่ถูกต้องจะสามารถพยุงตัวผู้ประสบเหตุทางน้ำได้ 3-6 ชั่วโมง หรือหากเป็นเสื้อชูชีพคุณภาพดีก็สามารถลอยตัวได้นานเป็นวัน
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือผู้ประสบภัยต้องมีสติ และพยายามช่วยตัวเองให้ลอยตัวในน้ำได้ ที่สำคัญไม่แนะนำให้ว่ายเข้าฝั่งเพราะอาจทำให้หมดแรง แต่ควรลอยตัวอยู่ในน้ำและตะโกนเรียกให้คนช่วย หรือเป่านกหวีดที่ติดมากับเสื้อชูชีพ เป็นการส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สำนักโรคไม่ติดต่อ
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)
อุปกรณ์ช่วยชีวิตยามเดินทางทางน้ำที่หลายคนรู้จักคือเสื้อชูชีพ แต่นอกจากเสื้อชูชีพแล้วยังมีอุปกรณ์เซฟตี้อีกชนิดที่เรียกว่า เสื้อพยุงตัว ความแตกต่างของเสื้อชูชีพ-เสื้อพยุงตัว และวัตถุประสงค์ในการใช้งานก็มีข้อจำกัดที่ต่างกันไป และที่เราเห็นเสื้อสีส้ม ๆ สีเด่น ๆ ที่ติดอยู่กับเรือโดยสาร ส่วนใหญ่แล้วไม่ใช่เสื้อชูชีพ 100% แต่เป็นเสื้อพยุงตัวซะมากกว่า
ดังนั้นเพื่อความกระจ่างชัดในด้านความปลอดภัยสำหรับการเลือกใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิตทางน้ำ สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อแตกต่างระหว่างเสื้อชูชีพและเสื้อพยุงตัว ดังนี้
ภาพจาก สำนักโรคไม่ติดต่อ
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือผู้ประสบภัยต้องมีสติ และพยายามช่วยตัวเองให้ลอยตัวในน้ำได้ ที่สำคัญไม่แนะนำให้ว่ายเข้าฝั่งเพราะอาจทำให้หมดแรง แต่ควรลอยตัวอยู่ในน้ำและตะโกนเรียกให้คนช่วย หรือเป่านกหวีดที่ติดมากับเสื้อชูชีพ เป็นการส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ
สำนักโรคไม่ติดต่อ
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)