อายุ 30 กว่า ๆ ประจำเดือนเริ่มหาย แถมยังมีอาการคล้าย ๆ วัยทอง ต้องสงสัยว่าอาจเป็นวัยทองก่อนวัย มาทำความเข้าใจจะได้ดูแลตัวเองได้ถูกต้อง
มีปัจจัยหลายประการด้วยกันที่ทำให้ผู้หญิงเกิดภาวะวัยทองก่อนวัยอันควร โดยสามารถจำแนกสาเหตุของวัยทองก่อนวัยได้ ดังนี้
- กรรมพันธุ์ มีคนในครอบครัวเป็นวัยทองก่อนวัยอันควรมาก่อน
- ความผิดปกติในกระบวนการทำงานของต่อมไร้ท่อและฮอร์โมน ส่งผลให้ระบบภายในแปรปรวนไปด้วย
- การพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งจะทำให้ระบบการทำงานของฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติได้
- ขาดการออกกำลังกาย ส่งผลให้ต่อมไฮโปธาลามัสซึ่งเป็นตัวควบคุมการหลั่งฮอร์โมนทำงานผิดปกติไป สมองหลั่งฮอร์โมนลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดรังไข่ก็หยุดทำงาน
- โรคไทรอยด์
- โรค SLE
- โรคอ้วน
เช็กอาการวัยทองก่อนวัย หากคุณยังเป็นสาวเป็นแส้ อายุ 30+ แต่เริ่มมีอาการดังต่อไปนี้แล้ว แนะนำให้รีบไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อเช็กสุขภาพมดลูกและการทำงานของรังไข่โดยด่วนนะคะ
1. ประจำเดือนผิดปกติ
หากประจำเดือนผิดปกติ มาบ้าง หายบ้าง ติดต่อกัน 3 เดือน แสดงให้เห็นว่าการหลั่งฮอร์โมนของร่างกายมีความไม่สม่ำเสมอ ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในข้อบ่งชี้ภาวะวัยทองก่อนวัยอันควรได้
2. หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน
นอกจากประจำเดือนมาไม่ปกติแล้ว คนเป็นวัยทองก่อนวัยอันควรมักจะมีอารมณ์แปรปรวน ขี้เหวี่ยงขี้วีนได้ง่าย หงุดหงิดง่าย หรือรู้สึกหดหู่ เศร้าโดยไม่มีเหตุผล
3. นอนไม่หลับ ร้อนวูบวาบ
ด้วยความที่ฮอร์โมนในร่างกายลดระดับลงจะส่งผลให้มีอาการร้อนวูบวาบ หนาว ๆ ร้อน ๆ ไม่สบายตัว ส่งผลให้นอนหลับยาก นอนหลับกระสับกระส่าย นำไปสู่การพักผ่อนไม่เพียงพอ
วัยทองก่อนวัยอันควร ดูแลอย่างไรดี
ปกติภาวะวัยทองจะเกิดในผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ฮอร์โมน ประกอบกับรังไข่หยุดการทำงาน จึงทำให้ประจำเดือนไม่มาและมีอาการวัยทอง อื่น ๆ ร่วมด้วย ทว่าวัยทองก่อนวัยอันควรก็เกิดขึ้นได้เช่นกันนะคะ โดยเฉพาะคนที่อายุยังไม่ถึง 50 ปี ยังแค่ 30 กลาง ๆ ก็ประจำเดือนไม่มาแล้ว รีบเช็กอาการวัยทองก่อนวัยด่วนเลย
วัยทองก่อนวัย คืออะไร
วัยหมดประจำเดือนหรือวัยทองคือภาวะที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายลดระดับลงเรื่อย ๆ จนไม่ผลิตออกมาอีก ทำให้ไข่ไม่ตก และไม่มีประจำเดือนอีกต่อไป ซึ่งโดยปกติแล้วอาการวัยทองจะเริ่มแสดงในเพศหญิงวัย 45-50 ปี ทว่าวัยทองก่อนวัยก็อาจเกิดขึ้นได้ในผู้หญิงอายุต่ำกว่า 40 ปี เช่นกัน ซึ่งภาวะวัยทองก่อนวัยก็จะเหมือนอาการวัยทองทั่วไปทุกประการ เพียงแต่เป็นอาการที่เกิดขึ้นก่อนเวลาอันสมควรเท่านั้นเอง
วัยทองก่อนวัย เกิดจากอะไร
มีปัจจัยหลายประการด้วยกันที่ทำให้ผู้หญิงเกิดภาวะวัยทองก่อนวัยอันควร โดยสามารถจำแนกสาเหตุของวัยทองก่อนวัยได้ ดังนี้
- กรรมพันธุ์ มีคนในครอบครัวเป็นวัยทองก่อนวัยอันควรมาก่อน
- ความผิดปกติในกระบวนการทำงานของต่อมไร้ท่อและฮอร์โมน ส่งผลให้ระบบภายในแปรปรวนไปด้วย
- การพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งจะทำให้ระบบการทำงานของฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติได้
- ขาดการออกกำลังกาย ส่งผลให้ต่อมไฮโปธาลามัสซึ่งเป็นตัวควบคุมการหลั่งฮอร์โมนทำงานผิดปกติไป สมองหลั่งฮอร์โมนลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดรังไข่ก็หยุดทำงาน
- โรคไทรอยด์
- โรค SLE
- โรคอ้วน
- โรคเบาหวาน
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคภูมิแพ้
- เคยผ่าตัดมดลูก ผ่าตัดรังไข่มาก่อน
- มีภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่
- โรคมะเร็งที่ต้องรักษาด้วยการฉายแสง ทำเคมีบำบัด ซึ่งจะทำให้รังไข่หยุดการทำงานก่อนเวลาอันควรได้
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคภูมิแพ้
- เคยผ่าตัดมดลูก ผ่าตัดรังไข่มาก่อน
- มีภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่
- โรคมะเร็งที่ต้องรักษาด้วยการฉายแสง ทำเคมีบำบัด ซึ่งจะทำให้รังไข่หยุดการทำงานก่อนเวลาอันควรได้
วัยทองก่อนวัย อาการเป็นยังไง
เช็กอาการวัยทองก่อนวัย หากคุณยังเป็นสาวเป็นแส้ อายุ 30+ แต่เริ่มมีอาการดังต่อไปนี้แล้ว แนะนำให้รีบไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อเช็กสุขภาพมดลูกและการทำงานของรังไข่โดยด่วนนะคะ
1. ประจำเดือนผิดปกติ
หากประจำเดือนผิดปกติ มาบ้าง หายบ้าง ติดต่อกัน 3 เดือน แสดงให้เห็นว่าการหลั่งฮอร์โมนของร่างกายมีความไม่สม่ำเสมอ ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในข้อบ่งชี้ภาวะวัยทองก่อนวัยอันควรได้
2. หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน
นอกจากประจำเดือนมาไม่ปกติแล้ว คนเป็นวัยทองก่อนวัยอันควรมักจะมีอารมณ์แปรปรวน ขี้เหวี่ยงขี้วีนได้ง่าย หงุดหงิดง่าย หรือรู้สึกหดหู่ เศร้าโดยไม่มีเหตุผล
3. นอนไม่หลับ ร้อนวูบวาบ
ด้วยความที่ฮอร์โมนในร่างกายลดระดับลงจะส่งผลให้มีอาการร้อนวูบวาบ หนาว ๆ ร้อน ๆ ไม่สบายตัว ส่งผลให้นอนหลับยาก นอนหลับกระสับกระส่าย นำไปสู่การพักผ่อนไม่เพียงพอ
4. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
เมื่อนอนไม่หลับบ่อย ๆ ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้เกิดอาการอ่อนเพลียระหว่างวัน รู้สึกพละกำลังถดถอยลง และเหนื่อยง่าย มีอาการเหนื่อยสะสม ไม่สดชื่น
5. ช่องคลอดแห้ง
การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนจะส่งผลให้ร่างกายผลิตน้ำหล่อลื่นน้อยลง บางคนจะมีอาการช่องคลอดแห้ง และความต้องการทางเพศลดลงด้วย
6. ผิวพรรณเริ่มหย่อนยาน
อาการผิวพรรณแห้งกร้าน มีริ้วรอยง่าย และไม่เต่งตึงเหมือนแต่ก่อน นี่ก็เป็นอีกหนึ่งอาการว่าเข้าสู่วัยทองแล้วนะคะ
เมื่อนอนไม่หลับบ่อย ๆ ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้เกิดอาการอ่อนเพลียระหว่างวัน รู้สึกพละกำลังถดถอยลง และเหนื่อยง่าย มีอาการเหนื่อยสะสม ไม่สดชื่น
5. ช่องคลอดแห้ง
การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนจะส่งผลให้ร่างกายผลิตน้ำหล่อลื่นน้อยลง บางคนจะมีอาการช่องคลอดแห้ง และความต้องการทางเพศลดลงด้วย
6. ผิวพรรณเริ่มหย่อนยาน
อาการผิวพรรณแห้งกร้าน มีริ้วรอยง่าย และไม่เต่งตึงเหมือนแต่ก่อน นี่ก็เป็นอีกหนึ่งอาการว่าเข้าสู่วัยทองแล้วนะคะ
7. หลง ๆ ลืม ๆ
ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนมักจะมีอาการขี้หลงขี้ลืมมากกว่าเดิม ซึ่งอาจเป็นผลจากอายุที่มากขึ้นบวกกับภาวะฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล ส่งผลให้การทำงานของสมองในด้านการเรียนรู้และจดจำถดถอยลงไป
8. กระดูกบาง
การขาดฮอร์โมนเพศส่งผลต่อความหนาแน่นของมวลกระดูกผู้หญิงมาก ๆ ค่ะ คนที่มีภาวะวัยทองจึงมีความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน กระดูกบาง เกิดภาวะแตก-หัก ง่ายด้วย
นอกจากนี้แล้วในบางคนอาจจะมีอาการวัยทองอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ท้องอืด น้ำหนักเพิ่มขึ้นง่าย เหงื่อออกมากตอนกลางคืน ใจสั่น หัวใจเต้นแรง ซึ่งล้วนแต่เป็นอาการบ่งชี้ภาวะหมดประจำเดือนในสตรีทั้งสิ้นนะคะ ดังนั้นหากพบว่าตัวเองประจำเดือนมาไม่ปกติ ร่วมกับมีอาการข้างต้น ก็ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีรับมืออาการวัยทองก่อนวัยอันควร
- 18 อาการทางการของผู้หญิงวัยทอง พร้อมวิธีทำให้สตรองเหมือนเคย
ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนมักจะมีอาการขี้หลงขี้ลืมมากกว่าเดิม ซึ่งอาจเป็นผลจากอายุที่มากขึ้นบวกกับภาวะฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล ส่งผลให้การทำงานของสมองในด้านการเรียนรู้และจดจำถดถอยลงไป
8. กระดูกบาง
การขาดฮอร์โมนเพศส่งผลต่อความหนาแน่นของมวลกระดูกผู้หญิงมาก ๆ ค่ะ คนที่มีภาวะวัยทองจึงมีความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน กระดูกบาง เกิดภาวะแตก-หัก ง่ายด้วย
นอกจากนี้แล้วในบางคนอาจจะมีอาการวัยทองอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ท้องอืด น้ำหนักเพิ่มขึ้นง่าย เหงื่อออกมากตอนกลางคืน ใจสั่น หัวใจเต้นแรง ซึ่งล้วนแต่เป็นอาการบ่งชี้ภาวะหมดประจำเดือนในสตรีทั้งสิ้นนะคะ ดังนั้นหากพบว่าตัวเองประจำเดือนมาไม่ปกติ ร่วมกับมีอาการข้างต้น ก็ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีรับมืออาการวัยทองก่อนวัยอันควร
- 18 อาการทางการของผู้หญิงวัยทอง พร้อมวิธีทำให้สตรองเหมือนเคย
วัยทองก่อนวัยอันควร ดูแลอย่างไรดี
ฮอร์โมนเพศหญิงเป็นสิ่งที่หมดแล้วหมดเลย ไม่สามารถกู้กลับคืนมาได้ ดังนั้นหากเรารู้ตัว รู้ทันภาวะวัยทอง ช่วยให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายไม่ลดลงจนถึงขั้นหมดไปเลย ก็จะพอช่วยชะลออาการวัยทองได้ไม่มากก็น้อย แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเองด้วยนะคะ โดยควรปฏิบัติตัวตามนี้
1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
2. พยายามไม่เครียด
3. ควบคุมน้ำหนัก
4. ดื่มน้ำให้มาก ๆ
3. ควบคุมน้ำหนัก
4. ดื่มน้ำให้มาก ๆ
5. หมั่นออกกำลังกายให้ได้สัปดาห์ละ 3 ครั้ง
6. งดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
6. งดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
7. หมั่นตรวจสุขภาพตัวเอง โดยเฉพาะคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป
อย่างไรก็ตาม หากมีภาวะวัยทองก่อนวัยอันควร ก็อยากแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อหาแนวทางดูแลตัวเองที่เหมาะสม เพราะร่างกายของแต่ละคนมีความแตกต่างกันไปนะคะ ดังนั้นเพื่อการดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง เราก็ควรได้รับคำแนะนำจากสูตินรีแพทย์จะดีกว่า
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, โรงพยาบาลสมิติเวช
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, โรงพยาบาลสมิติเวช