หัวปลีที่เรากินกันมาตั้งแต่เด็ก กำลังบูมมาก ๆ ในต่างประเทศ เพราะรสชาติคล้ายเนื้อสัตว์ แต่แคลอรีต่ำ ซ้ำยังเปี่ยมไปด้วยคุณประโยชน์
หัวปลี นับเป็นกระแสอาหารเพื่อสุขภาพที่มาแรงในต่างประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มคนกินมังสวิรัติ เพราะหัวปลีมีเส้นใยเหนียวแน่น ให้รสสัมผัสคล้ายเนื้อสัตว์ ที่สำคัญหัวปลีมีแคลอรีต่ำมาก คนที่กำลังลดน้ำหนักก็สนใจเทรนด์กินหัวปลีมากเหมือนกัน ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ราคาหัวปลีในต่างประเทศจะพุ่งสูงถึงกิโลกรัมละพันบาท ! โอ้โห...บูมขนาดนี้เราต้องมาอ่านสรรพคุณของหัวปลีสักหน่อยแล้วล่ะค่ะว่าหัวปลีประโยชน์ดียังไง
หัวปลี ลักษณะเป็นอย่างไร
หัวปลีมีรูปทรงคล้ายหยดน้ำ โคนปลีกว้าง ปลายปลีแหลม หัวปลีเป็นส่วนดอกของต้นกล้วยที่ทำหน้าที่ห่อหุ้มกล้วยหลาย ๆ ผลรวมกัน หัวปลีจะผลิกล้วยออกมาหลายหวีจนกระทั่งไม่คายกาบออกมาเป็นกล้วยแล้ว ซึ่งคราวนี้ก็จะเหลือแต่หัวปลีที่มีเนื้อสีขาวภายใน หรือที่เรียกกันว่าปลีกล้วยนั่นแหละค่ะ
คุณค่าทางโภชนาการของหัวปลี
ข้อมูลจากกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แสดงคุณค่าทางโภชนาการของหัวปลีในปริมาณ 100 กรัม ดังนี้
- พลังงาน 28 กิโลแคลอรี
- น้ำ 92.3 กรัม
- โปรตีน 1.4 กรัม
- ไขมัน 0.2 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 5.2 กรัม
- กากใยอาหาร 0.8 กรัม
- เถ้า 0.9 กรัม
- แคลเซียม 28 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 40 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 0.7 มิลลิกรัม
- วิตามินเอ 26 ไมโครกรัม
- ไทอะมีน 0.01 มิลลิกรัม
- ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม
- ไนอะซิน 0.6 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 25 มิลลิกรัม
ประโยชน์ของหัวปลี มีดีตรงไหน ?
มาดูสรรพคุณของหัวปลี ของดีจากบ้านเรากันบ้างดีกว่า
1. บำรุงเลือด
หัวปลีมีธาตุเหล็กสูง ช่วยบำรุงเลือด ป้องกันโลหิตจาง โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์หรือคุณแม่หลังคลอดบุตร
2. ขับน้ำนม
ข้อมูลจากกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แสดงคุณค่าทางโภชนาการของหัวปลีในปริมาณ 100 กรัม ดังนี้
- พลังงาน 28 กิโลแคลอรี
- น้ำ 92.3 กรัม
- โปรตีน 1.4 กรัม
- ไขมัน 0.2 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 5.2 กรัม
- กากใยอาหาร 0.8 กรัม
- เถ้า 0.9 กรัม
- แคลเซียม 28 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 40 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 0.7 มิลลิกรัม
- วิตามินเอ 26 ไมโครกรัม
- ไทอะมีน 0.01 มิลลิกรัม
- ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม
- ไนอะซิน 0.6 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 25 มิลลิกรัม
ประโยชน์ของหัวปลี มีดีตรงไหน ?
มาดูสรรพคุณของหัวปลี ของดีจากบ้านเรากันบ้างดีกว่า
1. บำรุงเลือด
หัวปลีมีธาตุเหล็กสูง ช่วยบำรุงเลือด ป้องกันโลหิตจาง โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์หรือคุณแม่หลังคลอดบุตร
2. ขับน้ำนม
ด้วยสรรพคุณหัวปลีที่ช่วยบำรุงเลือด ทำให้หัวปลีมีประโยชน์ในการช่วยขับน้ำนมของหญิงหลังคลอดบุตร โดยให้รับประทานเมนูหัวปลีหลังคลอดใหม่ ๆ จะช่วยขับน้ำนมได้ดีมาก
3. ลดระดับน้ำตาลในเลือด
การศึกษาในวารสาร Phytoterapy Research เมื่อปี 2000 เผยผลการวิจัยฤทธิ์ของหัวปลีกับการลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยทดลองให้หนูกินหัวปลี 0.15-0.25 กรัมต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ตลอดระยะเวลา 30 วัน ซึ่งพบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดของหนูลดลง และมีระดับฮีโมโกลบินเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การทดลองนี้ยังอยู่ในขอบเขตของสัตว์ทดลองเท่านั้น ส่วนการทดลองในคนยังคงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
3. ลดระดับน้ำตาลในเลือด
การศึกษาในวารสาร Phytoterapy Research เมื่อปี 2000 เผยผลการวิจัยฤทธิ์ของหัวปลีกับการลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยทดลองให้หนูกินหัวปลี 0.15-0.25 กรัมต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ตลอดระยะเวลา 30 วัน ซึ่งพบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดของหนูลดลง และมีระดับฮีโมโกลบินเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การทดลองนี้ยังอยู่ในขอบเขตของสัตว์ทดลองเท่านั้น ส่วนการทดลองในคนยังคงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
4. ลดการอักเสบในร่างกาย
ในหัวปลีมีสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า มีทานอล ซึ่งงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Food Science and Biotechnology เมื่อปี 2010 พบว่า สารสกัดจากหัวปลีมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ค่อนข้างมาก และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันเซลล์ถูกทำลาย ป้องกันการอักเสบในร่างกายได้
5. ประจำเดือนมามาก หัวปลีช่วยได้
แมัห้วปลีจะมีสรรพคุณบำรุงเลือด แต่สำหรับสาว ๆ ที่ประจำเดือนมามากเกินไป (ต้องใช้ผ้าอนามัยเกิน 5 ชิ้นต่อวัน) หัวปลีจะช่วยลดปริมาณเลือดประจำเดือนให้ได้ค่ะ โดยหัวปลีมีสรรพคุณกระตุ้นร่างกายให้สร้างฮอร์โมนโปรเจสเทอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชาย ช่วยให้ปริมาณเลือดประจำเดือนที่มามาก มาเกินความจำเป็นลดน้อยลงไปได้
6. ช่วยต้านเศร้า
6. ช่วยต้านเศร้า
หัวปลีมีแมกนีเซียม ธาตุอาหารสำคัญที่มีผลรักษาอาการซึมเศร้า ดังนั้นใครรู้สึกไม่ค่อยดี เหมือนซึม ๆ เศร้า ๆ ลองรับประทานหัวปลีสักเมนูสิคะ
7. รักษาโรคกระเพาะ
ยางจากหัวปลีมีฤทธิ์สมานแผลในกระเพาะอาหาร โดยวิธีใช้ให้นำหัวปลีมาเผาแล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่มให้ได้ประมาณครึ่งแก้ว ใช้เป็นยาเคลือบกระเพาะก่อนรับประทานอาหารประมาณ 1 ชั่วโมง สูตรนี้เป็นยาโบราณเลยล่ะค่ะ
ข้อควรระวังในการกินหัวปลี
หัวปลีเป็นสมุนไพรที่มีแป้งซึ่งร่างกายจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลทีหลัง ดังนั้นคนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ก็พยายามอย่ากินหัวปลีเยอะจนเกินไป เพราะอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้นะคะ
หัวปลีทำเมนูอาหารอะไรได้บ้าง
หัวปลีเป็นสมุนไพรที่มีแป้งซึ่งร่างกายจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลทีหลัง ดังนั้นคนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ก็พยายามอย่ากินหัวปลีเยอะจนเกินไป เพราะอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้นะคะ
หัวปลีทำเมนูอาหารอะไรได้บ้าง
สำหรับคนที่คิดเมนูหัวปลีไม่ออก กระปุกดอทคอมขอนำเสนอเมนูหัวปลีกินง่าย อร่อยแซ่บ ไม่อ้วนด้วย
- ยำหัวปลีกุ้งสด เมนูยำสูตรโบราณอร่อยแซ่บเครื่องแน่นสไตล์เรา
นอกจากอร่อยแล้ว หัวปลียังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกมากมาย และยังเป็นอาหารมังสวิรัติที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง แคลอรีต่ำ ที่สำคัญรสชาติยังคล้ายเนื้อสัตว์ไม่เบาเลยล่ะค่ะ
- ยำหัวปลีกุ้งสด เมนูยำสูตรโบราณอร่อยแซ่บเครื่องแน่นสไตล์เรา
นอกจากอร่อยแล้ว หัวปลียังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกมากมาย และยังเป็นอาหารมังสวิรัติที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง แคลอรีต่ำ ที่สำคัญรสชาติยังคล้ายเนื้อสัตว์ไม่เบาเลยล่ะค่ะ
และถ้าอยากรู้จักประโยชน์ส่วนอื่น ๆ ของกล้วย โดยเฉพาะผลกล้วยที่คนนิยมกินบ่อย ๆ ตามมาอ่านบทความข้างล่างนี้ต่อไปเลย
บทความเกี่ยวกับกล้วย
- กล้วยน้ำว้า สรรพคุณไม่ธรรมดา เป็นผลไม้มีฤทธิ์เป็นยาที่ควรกินให้ได้ทุกวัน
- 8 ข้อน่ารู้ กินกล้วยพาสวยได้จริง เกิดเป็นหญิงต้องห้ามพลาด !
- 12 สูตรกล้วยน้ำว้า รักษาโรค บรรเทาป่วย เสริมความสวยก็ได้
- ประโยชน์ของกล้วย ช่วยเรื่องสุขภาพ มีสรรพคุณมากกว่าที่คิด
- 20 ประโยชน์ของเปลือกกล้วย ช่วยได้สารพัด เพราะทำได้ตั้งเท่านี้
- กินกล้วยตอนเช้า ประโยชน์น่าว้าวหรืออันตราย
- 8 ประโยชน์จากเปลือกกล้วย ช่วยดูแลสุขภาพได้ด้วยนะ
- กินกล้วยมื้อเย็น ลดน้ำหนักได้จริงไหม ไขข้อสงสัยเรื่องที่คนไดเอตต้องรู้
- 8 ข้อน่ารู้ กินกล้วยพาสวยได้จริง เกิดเป็นหญิงต้องห้ามพลาด !
- 12 สูตรกล้วยน้ำว้า รักษาโรค บรรเทาป่วย เสริมความสวยก็ได้
- ประโยชน์ของกล้วย ช่วยเรื่องสุขภาพ มีสรรพคุณมากกว่าที่คิด
- 20 ประโยชน์ของเปลือกกล้วย ช่วยได้สารพัด เพราะทำได้ตั้งเท่านี้
- กินกล้วยตอนเช้า ประโยชน์น่าว้าวหรืออันตราย
- 8 ประโยชน์จากเปลือกกล้วย ช่วยดูแลสุขภาพได้ด้วยนะ
- กินกล้วยมื้อเย็น ลดน้ำหนักได้จริงไหม ไขข้อสงสัยเรื่องที่คนไดเอตต้องรู้
ขอบคุณข้อมูลจาก
เฟซบุ๊ก กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ DITP
กองโภชนาการ กรมอนามัย
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ
คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
livestrong
stylecraze