มาทำความรู้จักประโยชน์ของถั่ว 5 สี สรรพคุณดีต่อสุขภาพอย่างไร รู้แล้วจะอยากต้มเครื่องดื่มถั่ว 5 สีดื่มทุกวัน บำรุงร่างกายเลย
ประโยชน์ของถั่วแต่ละชนิดเรารู้กันดีว่าถั่วมีโปรตีนสูง มีวิตามินและแร่ธาตุที่ช่วยบำรุงร่างกายของเราให้มีสุขภาพดี จัดเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่หากินได้ง่าย ทำเมนูก็ได้หลากหลาย และเท่านั้นยังไม่พอ เพราะหากเรานำถั่ว 5 สี 5 ชนิดมารวมกัน ประโยชน์ที่เราจะได้จากสรรพคุณของ ถั่ว 5 สียังดีต่อสุขภาพมาก ๆ เอาเป็นว่าเรามาอ่านสรรพคุณของถั่ว 5 สี โดยเริ่มจากคำถามที่ว่า...
ชื่อก็บอกกันอยู่โต้ง ๆ ว่าเป็นถั่ว 5 สี โดยถั่ว 5 สีก็จะประกอบไปด้วย ถั่วดำ, ถั่วเขียว, ถั่วแดง, ถั่วเหลือง และถั่วขาว คราวนี้เราไปดูกันว่า ถั่ว 5 สี มีประโยชน์อะไรบ้าง
ถั่ว 5 สี สรรพคุณดีอย่างไร
1. บำรุงอวัยวะภายใน 5 ระบบ
1. บำรุงอวัยวะภายใน 5 ระบบ
ถั่วแต่ละชนิดมีสรรพคุณบำรุงอวัยวะภายใน โดยถั่วดำช่วยบำรุงไต ถั่วเขียวช่วยบำรุงตับ ถั่วแดงบำรุงหัวใจ ถั่วขาวบำรุงปอด และถั่วเหลืองมีสรรพคุณบำรุงม้าม
2. ปรับสมดุลธาตุในร่างกาย
ถั่วจัดเป็นอาหารบำรุงธาตุในร่างกาย โดยถั่วดำเปรียบเป็นธาตุน้ำ ถั่วเขียว จัดอยู่ในส่วนของธาตุไม้ ถั่วแดงเป็นธาตุไฟ ถั่วขาวเป็นธาตุทอง และถั่วเหลืองเป็นธาตุดิน ซึ่งเมื่อนำมารวมกัน ถั่ว 5 สีก็จะมีประโยชน์ในด้านปรับสมดุลธาตุในร่างกายให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม ทำให้ร่างกายแข็งแรงและไม่ป่วยไข้ง่าย ๆ
3. ถั่ว 5 สี ลดน้ำหนักก็ได้
2. ปรับสมดุลธาตุในร่างกาย
ถั่วจัดเป็นอาหารบำรุงธาตุในร่างกาย โดยถั่วดำเปรียบเป็นธาตุน้ำ ถั่วเขียว จัดอยู่ในส่วนของธาตุไม้ ถั่วแดงเป็นธาตุไฟ ถั่วขาวเป็นธาตุทอง และถั่วเหลืองเป็นธาตุดิน ซึ่งเมื่อนำมารวมกัน ถั่ว 5 สีก็จะมีประโยชน์ในด้านปรับสมดุลธาตุในร่างกายให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม ทำให้ร่างกายแข็งแรงและไม่ป่วยไข้ง่าย ๆ
3. ถั่ว 5 สี ลดน้ำหนักก็ได้
สำหรับคนที่ลดน้ำหนัก ถั่ว 5 สีก็ช่วยให้การลดน้ำหนักเป็นไปด้วยดียิ่งขึ้น โดยสามารถต้มถั่ว 5 สีให้เละคล้ายโจ๊กแล้วกินแทนข้าวได้เลย ถั่ว 5 สีจะช่วยให้อิ่มอยู่ท้อง และไฟเบอร์ของถั่ว 5 สีก็จะช่วยในเรื่องของการขับถ่ายอีกด้วย
4. ลดเบาหวาน
ศ.วุฒิคุณ ดร. นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานกินถั่ว 5 สีต้มแทนข้าวได้เลย เพราะถั่ว 5 สี ประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ที่ไม่ทำให้น้ำตาลในร่างกายสูงขึ้นอย่างทันทีทันใดเหมือนคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวขาว ข้าวและแป้งขัดสี แต่ทั้งนี้ควรต้มถั่ว 5 สีแบบไม่ใส่น้ำตาลนะคะ
5. เติมพลังให้ร่างกาย
ศ.วุฒิคุณ ดร. นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานกินถั่ว 5 สีต้มแทนข้าวได้เลย เพราะถั่ว 5 สี ประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ที่ไม่ทำให้น้ำตาลในร่างกายสูงขึ้นอย่างทันทีทันใดเหมือนคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวขาว ข้าวและแป้งขัดสี แต่ทั้งนี้ควรต้มถั่ว 5 สีแบบไม่ใส่น้ำตาลนะคะ
5. เติมพลังให้ร่างกาย
โดยเฉพาะวัยทำงาน หากได้กินถั่ว 5 สีเข้าไปจะช่วยให้ร่างกายมีพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน โปรตีน และวิตามินอีกหลายชนิดด้วยกัน ที่สำคัญไฟเบอร์ยังช่วยให้รู้สึกอิ่มอยู่ท้องได้นานด้วยนะ
นอกจากประโยชน์ของถั่ว 5 สี ดังกล่าวแล้ว ถั่วแต่ละชนิดยังมีประโยชน์ในตัวมันเองด้วยนะคะ ลองมาดูกันว่าถั่ว 5 สี มีดีอะไรซ่อนอยู่อีกบ้าง
ประโยชน์ของถั่วดำ
นอกจากประโยชน์ของถั่ว 5 สี ดังกล่าวแล้ว ถั่วแต่ละชนิดยังมีประโยชน์ในตัวมันเองด้วยนะคะ ลองมาดูกันว่าถั่ว 5 สี มีดีอะไรซ่อนอยู่อีกบ้าง
ประโยชน์ของถั่วดำ
ถั่วดำมีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุน้ำในร่างกาย ดีต่อการทำงานของไต ช่วยแก้อาการเวียนศีรษะ อ่อนแรง และช่วยขับน้ำส่วนเกินในร่างกาย ทำให้ร่างกายเกิดความสมดุลได้
- 10 ประโยชน์ของถั่วดำ ธัญพืชต้านมะเร็งได้หลายชนิด
ประโยชน์ของถั่วเขียว
- 10 ประโยชน์ของถั่วดำ ธัญพืชต้านมะเร็งได้หลายชนิด
ประโยชน์ของถั่วเขียว
ถั่วเขียวแม้จะเมล็ดเล็กแต่สรรพคุณไม่เล็กตาม เพราะช่วยบำรุงการทำงานของตับ ช่วยแก้ท้องผูก ป้องกันภาวะติดเชื้อ และจัดเป็นอาหารล้างพิษอีกด้วย
ถั่วแดงเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี และมีไขมันต่ำมาก ช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรง แถมยังลดความอ้วนได้ด้วย พร้อมช่วยบำรุงธาตุไฟ ดังนั้น หากช่วงไหนอากาศเย็น ๆ ชื้น ๆ ฝนตกมาก ๆ ร่างกายเย็นเกินไป สามารถกินถั่วแดงเติมความร้อนให้ร่างกายได้เลย
ถั่วเหลืองมีสรรพคุณเกินตัวมาก ๆ โดยนอกจากจะมีโปรตีนสูงแล้ว ยังช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ แก้อาการวัยทอง ดีต่อสุขภาพผู้หญิง ป้องกันโรคกระดูกพรุน และสรรพคุณอื่น ๆ อีกเพียบ หรือใครที่รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีแรง ก็สามารถกินถั่วเหลืองบำรุงม้าม และบำรุงธาตุดินให้ร่างกายของเราได้
- ประโยชน์ของถั่วเหลือง สรรพคุณเด็ดจัดเต็มทุกเมล็ด
ประโยชน์ของถั่วขาว
- ประโยชน์ของถั่วเหลือง สรรพคุณเด็ดจัดเต็มทุกเมล็ด
ประโยชน์ของถั่วขาว
ถั่วขาวมีสรรพคุณช่วยขับเสมหะ ช่วยบำรุงปอด ลดอาการไอ ช่วยลดแป้ง ลดน้ำตาล เพราะในถั่วขาวมีเอนไซม์เฉพาะตัวซึ่งคอยช่วยยับยั้งการดูดซึมแป้งและน้ำตาลเข้าสู่ร่างกาย อีกทั้งถั่วขาวยังเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ย่อยช้ามาก ๆ ทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่มได้นาน เหมาะกับคนที่ลดน้ำหนักอยู่
- ถั่วขาว สรรพคุณสุดว้าว มีประโยชน์ต่อร่างกาย
ได้รู้สรรพคุณของถั่วแต่ละชนิดไปแล้ว เรามาดูวิธีทำเครื่องดื่มถั่ว 5 สีกันบ้างดีกว่า
ได้รู้สรรพคุณของถั่วแต่ละชนิดไปแล้ว เรามาดูวิธีทำเครื่องดื่มถั่ว 5 สีกันบ้างดีกว่า
เครื่องดื่มถั่ว 5 สี ทำไม่ยากจริง ๆ นะ
ส่วนผสม
1. ถั่วดำ 1 ส่วน
2. ถั่วแดง 1 ส่วน
3. ถั่วเขียว 1 ส่วน
4. ถั่วขาว 1/2 ส่วน
5. ถั่วเหลือง 1/2 ส่วน
6. น้ำสะอาด 2 ลิตร
7. ใบเตย
8. น้ำตาล
วิธีทำเครื่องดื่มถั่ว 5 สี
1. แช่ถั่วทุกอย่างข้ามคืน (ประมาณ 8 ชั่วโมง)
2. หลังจากแช่ถั่วเสร็จแล้ว ให้ตั้งหม้อไฟปานกลาง แล้วนำถั่วที่แช่ไว้เทใส่ลงไป
3. เติมน้ำ 1 1/2 ส่วนของถั่ว เช่น ถ้าถั่ว 1 ลิตร ให้ใส่น้ำ 1 ลิตรครึ่ง
4. ต้มไปครึ่งชั่วโมง ให้หรี่ไฟอ่อน แล้วเติมน้ำลงไปอีก 1/2 ลิตร (สามารถเติมน้ำตาลเพิ่มความหวานได้ตามต้องการ หรือต้มใบเตยรวมไปด้วยก็ได้) รอจนเดือด ก็สามารถตักน้ำต้มถั่ว 5 สี มาดื่มบำรุงร่างกายได้
5. หากต้องการกินเนื้อถั่ว 5 สีด้วย ให้ต้มต่อไปอีก 2 ชั่วโมง ก็จะได้เนื้อถั่วนิ่ม ๆ กินแทนข้าวได้เลย รวมทั้งคนที่เป็นเบาหวานก็สามารถต้มถั่ว 5 สีกินแทนข้าวได้เลยโดยไม่ต้องเติมน้ำตาล
2. ถั่วแดง 1 ส่วน
3. ถั่วเขียว 1 ส่วน
4. ถั่วขาว 1/2 ส่วน
5. ถั่วเหลือง 1/2 ส่วน
6. น้ำสะอาด 2 ลิตร
7. ใบเตย
8. น้ำตาล
วิธีทำเครื่องดื่มถั่ว 5 สี
1. แช่ถั่วทุกอย่างข้ามคืน (ประมาณ 8 ชั่วโมง)
2. หลังจากแช่ถั่วเสร็จแล้ว ให้ตั้งหม้อไฟปานกลาง แล้วนำถั่วที่แช่ไว้เทใส่ลงไป
3. เติมน้ำ 1 1/2 ส่วนของถั่ว เช่น ถ้าถั่ว 1 ลิตร ให้ใส่น้ำ 1 ลิตรครึ่ง
4. ต้มไปครึ่งชั่วโมง ให้หรี่ไฟอ่อน แล้วเติมน้ำลงไปอีก 1/2 ลิตร (สามารถเติมน้ำตาลเพิ่มความหวานได้ตามต้องการ หรือต้มใบเตยรวมไปด้วยก็ได้) รอจนเดือด ก็สามารถตักน้ำต้มถั่ว 5 สี มาดื่มบำรุงร่างกายได้
5. หากต้องการกินเนื้อถั่ว 5 สีด้วย ให้ต้มต่อไปอีก 2 ชั่วโมง ก็จะได้เนื้อถั่วนิ่ม ๆ กินแทนข้าวได้เลย รวมทั้งคนที่เป็นเบาหวานก็สามารถต้มถั่ว 5 สีกินแทนข้าวได้เลยโดยไม่ต้องเติมน้ำตาล
เห็นไหมคะว่าเครื่องดื่มถั่ว 5 สี ทำได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากเลย ดังนั้นใครอยากบำรุงร่างกาย ปรับสมดุลธาตุให้ตัวเอง ก็ไปหาซื้อถั่ว 5 สี 5 ชนิดมาต้มได้เลยจ้า
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Thaipbs
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Thaipbs
ธนาคารแห่งประเทศไทย