1. มะนาวแก้เจ็บคอ
นี่เป็นสูตรแก้เจ็บคอที่ใช้กันมาเนิ่นนาน อย่างที่เราเคยได้ยินผู้ใหญ่แนะนำให้ดื่มน้ำมะนาวแก้เจ็บคอนั่นยังไงล่ะคะ เพราะมะนาวมีวิตามินซีสูง มีกรดซิตริก ที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอของเราได้ ยิ่งถ้าดื่มน้ำมะนาวผสมน้ำผึ้ง ฤทธิ์ฆ่าเชื้อที่มีอยู่ในน้ำผึ้งก็จะมาเสริมทัพทำให้อาการเจ็บคอที่เป็นอยู่ลดน้อยลงไปได้ แถมสูตรนี้ยังช่วยแก้ไอได้ด้วยล่ะค่ะ
2. มะขามป้อม
ทุกคนคงเคยเห็นยาแก้ไอมะขามป้อมหรือยาแก้เจ็บคอที่มีมะขามป้อมเป็นส่วนประกอบหลัก นั่นก็เพราะว่ามะขามป้อมมีวิตามินซีสูงเกินเบอร์ พ่วงด้วยสารแทนนินที่มีคุณสมบัติแก้เจ็บคอ แก้ไอ ลดเสมหะ และบรรเทาอาการหวัด เห็นไหมล่ะว่าสรรพคุณของมะขามป้อมน่ะเริดแค่ไหน ฉะนั้นถ้าเจ็บคอแถมยังไอ ลองหยิบมะขามป้อมมาจิ้มเกลือสักนิด แล้วอมไว้สักพักก็จะรู้สึกชุ่มคอขึ้นได้ง่าย ๆ
3. มะขาม
4. ส้ม
ผลไม้รสเปรี้ยวอมหวานอย่างส้มนอกจากจะมีวิตามินซีสูงแล้ว รสเปรี้ยวเล็ก ๆ ของส้มยังดีต่ออาการเจ็บคอของเราด้วยแหละค่ะ โดยจะกินส้มบ่อย ๆ หรือจะนำส้ม 3 ผล ขนาดย่อมมาคั้นเอาแต่น้ำ เติมเกลือปรุงรสเล็กน้อยให้พออร่อยแล้วจิบแก้เจ็บคอก็ดีไปอีกแบบ
5. เสาวรส
ผลไม้รสเปรี้ยวที่เปี่ยมไปด้วยวิตามินซีสูงอย่างเสาวรสก็จัดเป็นผลไม้แก้เจ็บคอชนิดหนึ่งได้เหมือนกัน โดยน้ำเสาวรสที่มีรสเปรี้ยวจะช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำลาย ทำให้รู้สึกชุ่มคอ ในขณะที่วิตามินซีในเสาวรสจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอพร้อมขจัดเสมหะไปด้วย
6. มะดัน
ถ้าใครมีอาการเจ็บคอแถมยังมีเสมหะน่ารำคาญ จัดมะดันรสเปรี้ยวจี๊ดสักหน่อยคงจะดี เพราะมะดันมีวิตามินซีสูง มีสรรพคุณช่วยแก้เจ็บคอ แก้ไอ ขับเสมหะ เรียกได้ว่ามะดันผลเดียวก็เปี่ยมไปด้วยสรรพคุณที่ช่วยบรรเทาอาการป่วยได้หลายอย่าง
อ้อ ! ใครจะกินมะดันจิ้มเกลือแบบรับความเปรี้ยวจัดเต็มก็ได้ หรือถ้าไม่ชอบกินเปรี้ยวจัดก็กินมะดันจิ้มกะปิหวานแทน
7. สับปะรด
8. ลูกสำรอง
น้ำลูกสำรองที่หลายคนนิยมดื่มเพื่อช่วยลดความอ้วน ช่วยแก้ท้องผูก ก็มีสรรพคุณแก้เจ็บคอให้เราได้เหมือนกัน โดยตำรับยาพื้นบ้านจะใช้ลูกสำรองประมาณ 10-20 ลูก ต้มกับชะเอมจีนจนได้น้ำสำรองเข้มข้น มาจิบแก้เจ็บคอและแก้ไอบ่อย ๆ พ่วงด้วยสรรพคุณอื่นจากน้ำลูกสำรองได้เลย
นอกจากผลไม้เหล่านี้จะแก้เจ็บคอได้แล้ว ก็ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านต่าง ๆ อีกมากมาย อย่างน้อย ๆ วิตามินซี และสารอาหารอื่น ๆ ในผลไม้ข้างต้นก็ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายเราแข็งแรงพอจะต่อสู้กับอาการป่วยอื่น ๆ ได้ด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ชีวจิต
หมอชาวบ้าน
Thai PBS
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ