ไข้เลือดออก อาการป่วยที่อันตรายกว่าที่คิด ใครยังสงสัยเรื่องไหนอยู่ เรารวบรวมคำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องโรคไข้เลือดออกมาอธิบายให้เคลียร์ ๆ
ไข้เลือดออก เป็นโรคที่พบผู้ป่วยจำนวนมากในช่วงฤดูฝน และบางคนป่วยด้วยอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ภายในไม่กี่วัน ทำให้คนที่ติดตามข่าวรู้สึกตระหนกถึงอันตรายของโรคนี้ พาลสงสัยไปว่าเป็นไข้เลือดออกสายพันธุ์ใหม่ หรือไข้เลือดออกกลายพันธุ์แล้วหรือไม่ วันนี้เราจึงรวบรวมคำถามที่หลายคนสงสัยเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกมาตอบให้เข้าใจ ไว้เป็นความรู้และเพื่อสังเกตอาการของตัวเอง

1. ไข้เลือดออกเกิดจากอะไร ติดต่อกันได้อย่างไร ?
ไข้เลือดออกที่พบในไทยเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue) โดยมียุงลายเป็นพาหะของโรค เมื่อยุงลายที่มีเชื้อไวรัสเดงกีมากัดเรา เชื้อนั้นก็จะเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ติดเชื้อได้ และยุงยังแพร่เชื้อให้คนอื่นได้อีกด้วย
2. อาการไข้เลือดออกในผู้ใหญ่ แตกต่างจากเด็กไหม ?
ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น แต่ผู้ใหญ่จะมีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดกล้ามเนื้อร่วมกับไข้สูงด้วย ซึ่งในผู้ใหญ่บางคนอาจมีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นได้อีก เพราะมีความเสี่ยงมากกว่าทั้งจากโรคประจำตัว การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ ที่เป็นปัจจัยเสริมทำให้เกิดเลือดออกได้มาก รวมทั้งการซื้อยาลดไข้มากินเอง ซึ่งยาบางประเภทอาจกระทบต่อเกล็ดเลือด ทำให้การรักษายุ่งยากมากขึ้น

เมื่อติดเชื้อไข้เลือดออกแล้ว จะมีระยะฟักตัวประมาณ 3-5 วัน หลังจากนั้นจะแสดงอาการออกเป็น 3 ระยะคือ
- ระยะที่ 1 ระยะไข้สูง
จะมีไข้สูงเฉียบพลัน 39-40 องศาเซลเซียส กินยาลดไข้ก็ไม่หาย ร่วมกับมีอาการเบื่ออาหาร ปวดศีรษะ หน้าแดง อาเจียน แต่อาจจะไม่ปรากฏตุ่มชัดเจน หากอาการไม่รุนแรงมากจะหายไปได้เองภายใน 1 สัปดาห์
- ระยะที่ 2 ระยะช็อกและมีเลือดออก
เรียกว่าเป็นช่วงไข้ลด จะเกิดขึ้นหลังจากป่วยประมาณ 3-7 วัน ช่วงนี้ต้องเฝ้าระวังอย่างมากที่สุด เพราะหากไข้ลดลงไปแล้วเริ่มมีอาการดีขึ้น จะถือว่าปลอดภัย ทว่าหากไข้ลดลงไปแล้ว แต่ผู้ป่วยกลับมีเลือดออกตามผิวหนัง เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน มีอาการซึมมากขึ้น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระบอกตา ปวดท้องมาก อาเจียนเป็นเลือด ตัวเย็น มือเท้าเย็น กระสับกระส่าย เหงื่อแตก หิวน้ำตลอดเวลาแต่ปัสสาวะออกน้อย ถ่ายเป็นเลือด ตับโต ชีพจรเต้นแผ่วแต่เร็ว และความดันต่ำ นี่เป็นสัญญาณเข้าสู่ภาวะช็อก ต้องรีบรักษาโดยด่วน
- ระยะที่ 3 ระยะฟื้นตัว
ในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการช็อก หรือช็อกไม่รุนแรง และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เมื่อไข้ลดลง ผู้ป่วยจะฟื้นตัวสู่สภาพปกติภายใน 2 วัน โดยจะรู้สึกสบายตัวมากขึ้น เริ่มรับประทานอาหารได้มากขึ้น ร่าเริง กลับมาพูดคุย ยิ้มแย้มแจ่มใส แสดงว่าอาการเริ่มดีขึ้น และจะกลับมาเป็นปกติได้ในระยะ 7-10 วัน
4. ตุ่มหรือผื่นไข้เลือดออกแตกต่างจากโรคอื่นอย่างไร จะสังเกตได้ยังไง
หากเป็นไข้สูงมาแล้ว 2-7 วัน แล้วเริ่มมีผื่นหรือตุ่มขึ้นในช่วงที่ไข้ลด ให้ลองสังเกตว่าเป็นตุ่มแดงขนาดเล็ก กระจายทั่วตัวหรือไม่ ซึ่งนี่คือลักษณะของตุ่มไข้เลือดออก

เมื่อไข้เริ่มลดลง แต่กลับมีตุ่มขึ้นตามตัว มีจุดเลือดออก หรือเลือดออกตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน ร่วมกับรู้สึกเบื่ออาหาร ซึม ตัวเย็น ปวดท้องมาก นี่คือการป่วยไข้เลือดออกระยะที่ 2 ซึ่งเสี่ยงต่อการช็อกได้ หากไดัรับการรักษาช้าอาจเสียชีวิตได้ภายใน 24 ชั่วโมง
6. ไข้เลือดออกต่างจากไข้หวัดใหญ่อย่างไร
อาการแสดงค่อนข้างคล้ายกันคือ ปวดหัว ตัวร้อน มีไข้สูง อ่อนเพลีย แต่ไข้เลือดออกมักจะไม่มีอาการเจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล เหมือนโรคไข้หวัดใหญ่ แต่เป็นไข้สูงลอยร่วมกับอาการปวดท้อง อาเจียน นอกจากนี้ก็ยังพอแยกความแตกต่างของโรคได้อีก ดังนี้

ไม่สามารถติดต่อโดยตรงจากคนสู่คน ดังนั้นแม้จะอยู่ใกล้ผู้ป่วยไข้เลือดออกก็จะไม่ได้รับเชื้อ ยกเว้นว่าหากมียุงมากัดผู้ป่วย แล้วยุงตัวนั้นมากัดเราต่อ เราอาจป่วยติดเชื้อไข้เลือดออกได้ เพราะยุงเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสจากตัวผู้ป่วยมาแพร่เชื้อให้เราอีกที
8. ไข้เลือดออก กี่วันหาย รักษาอย่างไร
ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคไข้เลือดออกโดยตรง จึงเป็นการรักษาตามอาการ คือ ให้ยาลดไข้ ให้น้ำเกลือเพื่อชดเชยน้ำที่เสียไป ซึ่งโดยปกติจะเป็นไข้สูงประมาณ 3-5 วัน หากอาการไม่รุนแรง ไม่มีโรคแทรกซ้อน ก็จะหายไปได้เองภายใน 1 สัปดาห์
9. เคยป่วยไข้เลือดออกแล้ว จะเป็นซ้ำได้อีกไหม ?
อย่างที่ทราบว่าเชื้อไวรัสเดงกีมีอยู่ 4 สายพันธุ์ ซึ่งในแต่ละปีจะมีการระบาดของสายพันธุ์ต่าง ๆ สลับกันไป ดังนั้น หากเราเคยได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ไหนแล้วป่วยก็จะมีภูมิคุ้มกันเฉพาะสายพันธุ์นั้นไปตลอดชีวิต แต่ก็ยังมีโอกาสป่วยด้วยสายพันธุ์อื่นได้อีก 3 ครั้ง

10. ไข้เลือดออกสายพันธุ์ใหม่มีจริงไหม กลายพันธุ์หรือเปล่า ?
เห็นคนแชร์ข้อมูลกันอยู่บ่อย ๆ
ว่ามีผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออกสายพันธุ์ใหม่
หรือเดี๋ยวนี้ไข้เลือดออกกลายพันธุ์ไปแล้ว แต่ในความเป็นจริง
แพทย์ได้ยืนยันว่า ขณะนี้ยังไม่มีไข้เลือดออกสายพันธุ์ใหม่ระบาดแต่อย่างใด
โดยไข้เลือดออกที่ระบาดในไทยจะมีอยู่ 4 สายพันธุ์ คือ เดงกีสายพันธุ์ที่ 1, 2, 3 และ 4 ซึ่งทำให้เกิดอาการรุนแรงต่างกันได้ โดยเฉพาะหากป่วยครั้งที่ 2
ขึ้นไป อาการก็จะรุนแรงขึ้น
ซึ่งนี่อาจทำให้คนเข้าใจกันไปว่าเกิดจากไข้เลือดออกสายพันธุ์ใหม่
เมื่อติดเชื้อครั้งแรกแล้วร่างกายจะมีภูมิต้านทานเชื้อสายพันธุ์แรก ดังนั้น เมื่อได้รับเชื้อตัวนี้อีกครั้งก็จะไม่ป่วย หรืออาจจะมีอาการป่วยเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ คล้ายไข้หวัด
แต่หากได้รับเชื้อสายพันธุ์อื่นจนป่วยเป็นไข้เลือดออกครั้งที่ 2 ร่างกายจะคิดว่าเป็นเชื้อตัวเดิม จึงพยายามสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมากำจัดเชื้อนั้น แต่เนื่องจากเป็นเชื้อคนละตัวที่เคยได้รับจึงไม่สามารถกำจัดเชื้อได้ ร่างกายจึงยิ่งสร้างภูมิคุ้มกันตัวเดิมให้มากขึ้นเพื่อต่อสู้เชื้อโรค แต่นั่นอาจทำให้ภูมิคุ้มกันที่สร้างขึ้นมานั้นไปกระทบต่อเซลล์อื่น ๆ ในร่างกายด้วย อาจทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายเร็วขึ้น แบ่งตัวเร็วขึ้น สารน้ำรั่วออกมานอกหลอดเลือด จนอาจทำให้ช็อกและเสียชีวิตได้เลย ทั้งนี้ อาการที่รุนแรงนี้อาจไม่ได้เกิดกับผู้ป่วยทุกราย
12. ไข้เลือดออก ทำไมเป็นแล้วเสียชีวิตได้
ต้องบอกก่อนว่าโดยปกติแล้วผู้ป่วยไข้เลือดออกทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ราวร้อยละ 70 จะหายได้เอง โดยเฉพาะเมื่อป่วยครั้งแรกอาจมีไข้หรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเท่านั้น แต่อาการจะรุนแรงขึ้นเมื่อติดเชื้อครั้งที่ 2 ด้วยสายพันธุ์ที่ต่างไป ซึ่งจะทำให้มีภาวะเลือดออกและช็อกได้ หรือในกรณีป่วยแล้วไข้ลด หลายคนนึกว่าจะหายแล้ว แต่จริง ๆ โรคกำลังเข้าสู่ระยะที่ 2 มีจุดเลือดออก ปวดท้อง ซึม ตัวเย็น ซึ่งหากมีอาการเช่นนี้ต้องรีบรักษาทันที เพราะเมื่อป่วยหนักขึ้น เลือดจะออกมากขึ้น รวมทั้งพลาสมาไหลออกจากเส้นเลือด และอาจเกิดภาวะขาดน้ำจนช็อกได้ หากรักษาไม่ทันจะเสียชีวิตในช่วงนี้
นอกจากนี้ในผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคที่เกี่ยวกับภูมิต้านทาน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือแม้แต่ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมาก ก็เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ทำให้อาการไข้เลือดออกรุนแรงขึ้นได้เหมือนกัน

13. ป่วยไข้เลือดออกห้ามกินอะไร
อาหารที่ไม่ควรกิน คือ อาหารรสจัด รสเผ็ด เพราะจะมีผลต่อกระเพาะอาหาร รวมทั้งอาหารและเครื่องดื่มที่มีสีแดงหรือดำ เพราะอาจจะทำให้อุจจาระมีสีเข้ม ซึ่งมีผลต่อการวินิจฉัยอาการ
นอกจากนี้ ห้ามใช้ยาลดไข้กลุ่มแอสไพริน ยาแก้ปวดกลุ่มไอบูโปรเฟน และยาที่มีสเตียรอยด์ ซึ่งมีผลต่อการทำงานของเกล็ดเลือด เพราะยาจะไปกัดกระเพาะอาหาร ทำให้เลือดออกง่ายขึ้นและตับวายได้ กรณีต้องการลดไข้ควรใช้ยาพาราเซตามอลแทน แต่ก็ไม่ควรกินมากหรือบ่อยเกินกว่า 4-6 ชั่วโมง เพราะยามีผลต่อตับด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ หากป่วยไข้เลือดออกควรรับประทานอาหารรสอ่อนที่ย่อยง่ายไปก่อน เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ดื่มน้ำเปล่าให้มาก ๆ น้ำเกลือแร่ หรือน้ำผลไม้ใส่เกลือเล็กน้อย เพื่อชดเชยเกลือแร่ที่สูญเสียไป ไม่ให้ร่างกายอ่อนเพลีย
สรุปได้ว่า โรคไข้เลือดออกจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตหากรักษาได้ทันท่วงที ดังนั้น ถ้าใครป่วยเป็นไข้สูงเกิน 2 วันแล้วยังไม่ดีขึ้น ให้ต้องสงสัยไว้เลยว่าอาจเป็นไข้เลือดออก แล้วรีบไปพบแพทย์ก่อนดีกว่า แต่ถ้าใครยังไม่ป่วย ขอให้ป้องกันตัวเองด้วยการทายากันยุง นอนในมุ้ง รวมทั้งทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายตามจุดต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ยุงลายแพร่เชื้อไข้เลือดออกให้เราและคนในครอบครัว
- ไข้เลือดออก โรคตัวร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะ อันตรายถึงชีวิต !
- ยุงกัดเพราะอะไร ระวังไว้ ก่อนป่วยไข้เลือดออก !
- วิธีดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก ทำถูกวิธี มีสิทธิ์รอดสูง
- ยุงกัดเพราะอะไร ระวังไว้ ก่อนป่วยไข้เลือดออก !
- วิธีดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก ทำถูกวิธี มีสิทธิ์รอดสูง
ขอบคุณข้อมูลจาก
กรมควบคุมโรค, มหาวิทยาลัยมหิดล, ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, โรงพยาบาลวิภาวดี, เดลินิวส์, โรงพยาบาลพญาไท