เมื่อป่วยโรคไตต้องใส่ใจเรื่องอาหารการกินให้มากขึ้น แม้แต่ผักที่ขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารมีประโยชน์ก็กินไม่ได้ทุกชนิด แล้วผักสำหรับผู้ป่วยโรคไต กินอะไรได้บ้างล่ะเนี่ย
โรคไต ป่วยแล้วชีวิตก็ยากขึ้นไปอีกสเต็ป เพราะต้องดูแลเรื่องอาหารที่จะกินให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เป็นการซ้ำเติมโรคไตให้มีความรุนแรงมากไปกว่าเดิม อย่างการกินผักที่สำหรับคนปกติอาจกินผักได้ทุกชนิด แต่กับผู้ป่วยโรคไต มีผักบางชนิดที่ควรกินและผักบางชนิดที่ควรเลี่ยง เอาเป็นว่ามาเช็กให้เคลียร์ว่าผู้ป่วยโรคไตกินผักอะไรได้บ้าง
หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมผู้ป่วยโรคไตถึงกินผักไม่ได้ทุกชนิด คำตอบก็คือ ผักบางชนิดมีสารหรือแร่ธาตุบางอย่างในปริมาณสูง ซึ่งอาจก่อให้เกิดโทษกับผู้ป่วยโรคไตได้ โดยเฉพาะผักที่มีกรดออกซาลิก (Oxalic Acid) ในปริมาณสูง ซึ่งสารตัวนี้จะไปจับกับแคลเซียมและตกตะกอนเป็นก้อนนิ่วที่ไตได้ อีกทั้งผักที่มีโพแทสเซียมสูงก็อาจทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมเกิน (Hyperkalemia) ส่งผลให้ไตต้องรับภาระหนักในการขับแร่ธาตุชนิดนี้ ซี่งไม่เป็นผลดีกับไตแน่ ๆ
ผักผู้ป่วยโรคไต กินอะไรได้บ้าง
เพราะผักบางชนิดก็มีสารอาหารและแร่ธาตุที่อาจเป็นพิษต่อสุขภาพผู้ป่วยโรคไต ดังนั้นการกินผักของผู้ป่วยโรคไตจึงต้องเลือกผักที่ปลอดภัยต่อไตด้วย ซึ่งผู้ป่วยโรคไตควรกินผักที่มีกรดออกซาลิก (Oxalic Acid) ค่อนข้างต่ำ รวมทั้งควรกินผักที่มีโพแทสเซียมต่ำหรือปานกลาง คราวนี้เรามาดูตัวอย่างกันค่ะว่ามีผักชนิดไหนที่ผู้ป่วยโรคไตกินได้บ้าง
จะเห็นได้ว่าผักที่ผู้ป่วยโรคไตควรรับประทานจะเป็นผักในกลุ่มสีเขียวอ่อน หรือสีขาว ซึ่งจะเป็นผักที่มีโพแทสเซียมต่ำ และเคล็ดลับอีกอย่างคือควรนำไปต้มให้สุกหรือทำให้สุกก่อนรับประทาน เพื่อให้ความร้อนช่วยลดปริมาณโพแทสเซียมในผักอีกทางหนึ่ง
ผักที่ผู้ป่วยโรคไตควรเลี่ยง
ผักที่ผู้ป่วยโรคไตควรเลี่ยง
คราวนี้เรามาดูตัวอย่างผักที่มีโพแทสเซียมสูง และผักที่มีกรดออกซาลิกสูง (Oxalic Acid) ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผักที่มีสีเขียวเข้ม หรือสีเหลืองเข้ม โดยผู้ป่วยโรคไตที่มีค่าโพแทสเซียมในเลือดสูงควรเลี่ยง ดังนี้
ผักข้างต้นเป็นผักที่มีโพแทสเซียมสูง และมีกรดออกซาลิก (Oxalic Acid) สูง ดังนั้นผู้ป่วยโรคไตที่มีปริมาณโพแทสเซียมในเลือดสูงควรหลีกเลี่ยง แล้วหันไปรับประทานผักชนิดอื่นแทน หรือบางกรณีที่เลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ให้รับประทานแบบสุก เพราะผักที่ผ่านความร้อนแล้ว ปริมาณโพแทสเซียมจะลดลงไปได้บ้าง
อย่างไรก็ตาม โภชนาการสำหรับผู้ป่วยโรคไตที่เหมาะสม อาจต้องปรึกษานักกำหนดอาหารหรือแพทย์ประจำตัวอีกที เพราะในผู้ป่วยบางคนอาจมีโรคประจำตัวอื่น ๆ ร่วมกับโรคไตอีก ซึ่งการเลือกรับประทานอาหารจะแตกต่างกัน จึงไม่ควรเลือกกินแต่ผักชนิดนั้น ๆ เพียงอย่างเดียว และไม่ควรกินสมุนไพรหรือยาพื้นบ้านโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนด้วยนะคะ
อย่างไรก็ตาม โภชนาการสำหรับผู้ป่วยโรคไตที่เหมาะสม อาจต้องปรึกษานักกำหนดอาหารหรือแพทย์ประจำตัวอีกที เพราะในผู้ป่วยบางคนอาจมีโรคประจำตัวอื่น ๆ ร่วมกับโรคไตอีก ซึ่งการเลือกรับประทานอาหารจะแตกต่างกัน จึงไม่ควรเลือกกินแต่ผักชนิดนั้น ๆ เพียงอย่างเดียว และไม่ควรกินสมุนไพรหรือยาพื้นบ้านโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนด้วยนะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงพยาบาลราชวิถี, โรงพยาบาลวิภาวดี, สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย, เฟซบุ๊ก ดูแลผู้ป่วยฟอกไตง่ายนิดเดียว กับ Nurse Mali, ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, กลุ่มงานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลกำแพงเพชร