เริ่มจากข้อมูลจากฝั่งที่เชื่อกันว่ากินฉี่รักษาโรคได้ มีทั้งในไทยและในต่างประเทศ ซึ่งเป็นการใช้ปัสสาวะบำบัดโรคมาเป็นเวลานานแล้ว โดยต่างประเทศมีการนำสูตรยาผสมปัสสาวะมาใช้หยอดตา หยอดหู ใช้กลั้วคอรักษาอาการเจ็บคอ ทาแผลที่ถูกแมลงกัดต่อย รักษาผมร่วง รวมทั้งรักษาโรคติดเชื้อต่าง ๆ หรือแม้แต่การอาบน้ำปัสสาวะ
- รู้จักหนุ่มผู้ดื่มฉี่ตัวเองมา 6 ปี ชี้ให้ประโยชน์สารพัด ทั้งดื่มและอาบ ไปจนถึงล้างตา
ขณะที่ในประเทศไทย การใช้น้ำปัสสาวะรักษาโรคเป็นความเชื่อในสายการแพทย์ทางเลือก และในสายของผู้ปฏิบัติธรรมบางกลุ่ม ดังเช่นที่ปรากฏเป็นข่าวในช่วงที่ผ่านมา
- เปิดใจมนุษย์กินฉี่ ยกซดโชว์กลางรายการ อวดสรรพคุณรักษาโรคชะงัด ดารา-ไฮโซ ยังกิน
- หนุ่มจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม ใช้น้ำปัสสาวะล้างจมูกรักษาไซนัส หยอดตา หยอดหู ดื่ม และใช้อาบน้ำ รวมไปถึงรักษาแผลสุนัขกัด
ทั้งนี้ ในกลุ่มที่เชื่อเรื่องปัสสาวะบำบัด (Urine Therapy) เช่น ชาวสันติอโศก ได้อ้างอิงพระไตรปิฎกที่มีการระบุไว้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้ใช้น้ำมูตรเน่า (ปัสสาวะ) รักษาภิกษุอาพาธ ชาวสันติอโศกจำนวนไม่น้อย จึงนำน้ำปัสสาวะมาดื่ม เพราะเชื่อว่าช่วยรักษาโรคได้ และเสริมสุขภาพให้ดีขึ้น
เช่นเดียวกับ ดร.ใจเพชร กล้าจน หรือหมอเขียว ประธานมูลนิธิแพทย์วิถีธรรมแห่งประเทศไทย ต้นตำรับการดื่มน้ำปัสสาวะ ยืนยันว่า การดื่มน้ำปัสสาวะรักษาโรคได้จริง เช่น นิ้วล็อก นิ่วในไต ปวดหลัง โรคไต กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นต้น เพราะการกินฉี่กลับเข้าไปจะได้ธาตุที่เป็นประโยชน์ เนื่องจากปัสสาวะมีธาตุ สารพลังงานของโรคหรือพิษของเราแบบอ่อน ๆ ก็เหมือนวัคซีน เพราะวัคซีนคือการนำพิษอ่อนเข้าไปในร่างกาย แล้วไปกระตุ้นให้ร่างกายผลิตเม็ดเลือดขาวมาขับพิษออกมาจากร่างกายของเรา
ด้าน นพ. บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทางเลือก เคยกล่าวในการประชุมวิชาการเรื่อง "น้ำปัสสาวะรักษาโรคได้จริงหรือ" ว่า ในปัสสาวะประกอบไปด้วยน้ำ 95% ยูเรีย 2.5% และสารอื่น ๆ อีก 2.5% และแม้จะดูเหมือนว่าปัสสาวะมีสารน้อย ทว่าหากเปรียบกับเซรุ่มก็ไม่ต่างกันเท่าไร สามารถใช้รักษาอาการปวดเรื้อรัง ปวดเมื่อยร่างกาย ไมเกรน รูมาตอยด์ โรคภูมิแพ้ สะเก็ดเงิน โรค SLE หรือนำปัสสาวะมาทาแผลเบาหวาน แผลไฟไหม้ หรือแม้แต่นำปัสสาวะมาบำรุงผิวพรรณ บำรุงผมก็ยังได้ เพราะในปัสสาวะมียูเรียซึ่งเปรียบเสมือนสารให้ความชุ่มชื้นที่มักจะใช้ในเครื่องสำอางราคาแพง ๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าให้คนไทยลุกขึ้นมาดื่มน้ำปัสสาวะ หากมีร่างกายปกติก็ไม่จำเป็น
ฝั่ง นพ. สิทธา ลิขิตนุกูล หรือ หมอกอล์ฟ แพทย์สังคมสื่อสารเพื่อคุณธรรม ก็เผยว่า แนวคิดเรื่องการกินฉี่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ แม้ในปัสสาวะจะเป็นของเสียที่ร่างกายเราขับออก แต่ยังมีของดีที่ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น แคลเซียม โซเดียม เอนไซม์ต่าง ๆ แต่ต้องกินปัสสาวะตัวเองที่บริสุทธิ์หลังจากตื่นนอนตอนเช้าเท่านั้น เพราะร่างกายยังไม่ได้กินอาหารอย่างอื่นมา เมื่อกินฉี่ตัวเองเข้าไปร่างกายก็จะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต้านภัยตัวเอง เป็นเสมือนวัคซีน ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ หรือรูมาตอยด์ แต่ทั้งนี้ในปัสสาวะจะมีสารปนเปื้อนจากอาหารที่เรากินได้ด้วย ดังนั้นการกินฉี่เป็นประจำอาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคนิ่วได้ เนื่องจากในปัสสาวะมีกรดยูเรีย หากสารตะกอนในกรดยูริกสะสมในร่างกายมาก ๆ ก็อาจเสี่ยงต่อการเป็นนิ่วนั่นเอง
อย่างไรก็ดี แม้จะมีคนกลุ่มหนึ่งที่มองว่าปัสสาวะบำบัดโรคได้ แต่คนจำนวนไม่น้อยก็ไม่เห็นด้วยกับการกินฉี่สักเท่าไร เรามาลองฟังเหตุผลของฝั่งที่คิดต่างกันบ้าง
ทางฝั่งไม่เห็นด้วยกับการกินฉี่รักษาโรคมีความเห็นว่า ปัสสาวะเป็นของเสียที่ร่างกายขับออกมา และในน้ำปัสสาวะยังมีสิ่งปนเปื้อนทั้งเชื้อโรค พยาธิ แบคทีเรีย เลือด และสารอื่น ๆ อีกมากมาย อีกทั้งการกินฉี่รักษาโรคหรือปัสสาวะบำบัด ยังไม่มีงานวิจัยทางการแพทย์มายืนยัน และอาจมีอันตรายต่อสุขภาพอีกด้วย
โดยประเด็นนี้มีแพทย์ออกมาให้ความเห็นกันอย่างแพร่หลาย ทั้ง หมอแล็บแพนด้า หรือ ทนพ. ภาคภูมิ เดชหัสดิน นักเทคนิคการแพทย์ชื่อดัง ก็ได้เผยภาพปัสสาวะจากกล้องจุลทรรศน์ ที่ทำให้เห็นทั้งพยาธิ และเชื้อโรคหลายชนิด
ซึ่งทางหมอแล็บแพนด้าก็ได้ออกมาเตือนว่า หากใครคิดจะนำปัสสาวะไปหยอดตาหรือใส่แผล ก็ให้นึกถึงเชื้อโรคและพยาธิที่ปะปนอยู่ในปัสสาวะด้วย พร้อมกับขอร้องประชาชนว่าอย่ากินฉี่เลย เพราะฉี่มีประโยชน์น้อยกว่าอาหาร 1 คำ ด้วยซ้ำ
- หมอแล็บแพนด้า เตือนเลิกกินเยี่ยว ฉี่รักษาโรคไม่ได้ กินข้าวหนึ่งคำยังมีประโยชน์กว่า
ทางด้าน พล.ต.ต. ธนิต จิรนันท์ธวัช นายแพทย์ (สบ6) โรงพยาบาลตำรวจ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรมโรคไต ก็ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กโรงพยาบาลตำรวจ Police General Hospital ว่า โดยปกติปัสสาวะพร้อมจะมีเชื้อโรคเกิดขึ้นและเน่าเสียโดยง่าย ดังนั้นหากดื่มน้ำปัสสาวะที่เก็บอย่างไม่สะอาด หรือทิ้งไว้นาน จะทำให้เสี่ยงต่อการได้รับน้ำปนเปื้อนเชื้อโรค และทำให้เกิดการติดเชื้อในร่างกาย และจะยิ่งอันตรายหากมีโรคประจำตัว เช่น โรคไต โรคหัวใจ โรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ ก็จะยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดโทษรุนแรง หากดื่มน้ำปัสสาวะ
ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข ก็ได้ออกมาเตือนประชาชนผ่านเฟซบุ๊ก กระทรวงสาธารณสุข ถึงประเด็นนี้ด้วยเช่นกัน โดยมีข้อมูลว่า การใช้น้ำปัสสาวะบำบัดยังไม่มีงานวิจัยทางคลินิกที่น่าเชื่อถือรองรับว่า กินฉี่รักษาโรคได้ ดังนั้นอย่าหลงเชื่อ นอกจากนี้การดื่มฉี่ยังอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพอีกมากมาย เช่น การดื่มน้ำปัสสาวะเพื่อรักษาโรคเรื้อรัง อาจทำให้ไม่สามารถควบคุมการลุกลามของโรค และอาจเกิดอันตรายได้
ไม่ต่างจากอายุรแพทย์โรคไต โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ก็ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Anutra Chittinandana ว่า หยุดดื่มและแนะนำให้คนอื่นดื่มน้ำปัสสาวะเถอะ เพราะปัสสาวะแทบไม่มีสารอะไรที่มีปริมาณเพียงพอที่จะเป็นประโยชน์กับร่างกายเลย ที่สำคัญปัสสาวะจะถูกเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะก่อนที่เราจะฉี่ออกมาผ่านท่อปัสสาวะ ซึ่งตรงนี้แหละที่เสี่ยงปนเปื้อนเชื้อโรคต่าง ๆ ได้มาก เนื่องจากปลายท่อปัสสาวะจะอยู่ใกล้ทวารหนักของเรา จึงมีโอกาสที่ปัสสาวะจะปนเปื้อนเชื้อโรคได้ง่าย นอกจากนี้ยังไม่มีการศึกษาวิจัยผลดีผลเสียของการใช้ปัสสาวะมาป้องกันหรือรักษาโรคเลย มีเพียงข้อมูลจากประสบการณ์ที่ว่า ดื่มน้ำปัสสาวะแล้วทำให้แข็งแรง หายจากโรค ซึ่งข้อมูลนี้ก็ไม่น่าเชื่อถือพอว่าน้ำปัสสาวะมีประโยชน์
นอกจากนี้ยังมี นพ. ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย ให้ความเห็นว่า ปกติแล้วร่างกายพยายามขับของเสียออกมาเพื่อสร้างความสมดุลให้ระบบการทำงานของร่างกาย แต่เรายังเอาของเสียเหล่านี้กลับเข้าไปใหม่ ยิ่งหากใครใช้ปัสสาวะที่ทิ้งค้างไว้ อาจทำให้แบคทีเรียหรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เติบโต ส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่า และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะไปดื่มปัสสาวะของผู้อื่น หรือนำปัสสาวะของตัวเองไปให้ผู้อื่นดื่ม เพราะขนาดนมแม่ ซึ่งเป็นอาหารที่ร่างกายผลิตออกมาเพื่อเลี้ยงลูก หากบีบทิ้งไว้และไม่เก็บรักษาให้ดี ๆ นำไปให้คนอื่นดื่มก็อาจเสี่ยงต่อการเกิดปฏิกิริยาของแบคทีเรียได้เช่นกัน
ทางฝั่ง นพ. ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ให้ความเห็นเช่นกันว่า ของเสียก็คือของเสีย ปัสสาวะก็คือของเสีย ถามว่าได้ผลหรือไม่ก็ยังไม่มีงานวิจัยมายืนยันอะไร ดังนั้นก็ไม่ควรไปกิน เพราะเรามีอย่างอื่นให้กินเยอะแยะ ที่กินแล้วรักษาโรคได้ ทั้งนี้ก็ควรต้องใช้วิจารณญาณว่าปลอดภัยหรือไม่ จำเป็นต้องใช้หรือไม่ และปัจจุบันก็มีช่องทางเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุขได้ง่าย และหลากหลาย ศาสตร์การแพทย์แผนไทยมีเยอะแยะ แต่ก่อนที่จะเอามาเผยแพร่ให้ประชาชนใช้ก็ต้องมีการคัดกรองก่อนว่าอะไรที่ใช้ได้ เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน ไม่ใช่ว่าอะไรที่เขียนไว้ก็จะเอามาใช้หมด ฉะนั้นเราต้องมีวิจารณญาณว่าอะไรที่ทำได้และเหมาะสมกับปัจจุบัน
ขณะที่ พระมหาไพรวัลย์ ชี้แจงถึงประเด็นที่มีการยกเรื่อง "ปูติมุตตเภสัช" จากพระไตรปิฎก ผ่านเฟซบุ๊ก พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ ว่า เรื่องที่พระพุทธเจ้าสนับสนุนเรื่องการกินฉี่ตนเองเพื่อเป็นยารักษาโรคนั้นเป็นความเข้าใจที่ผิด โดยคำว่า "มูตร" ที่ปรากฏใน "ปูติมุตตเภสัช" หมายถึง ฉี่โค ไม่มีส่วนใดที่ระบุถึงฉี่ของมนุษย์สักที่เดียว ส่วนเรื่องที่มีคนอ้างว่าพระพุทธเจ้าตรัสเรื่องการดื่ม "น้ำมูตรเน่า" ก็พบคือ เป็นน้ำมูตรที่ผสมตัวยาสำหรับรักษาโรคต่าง ๆ แล้วเท่านั้น ซึ่งน้ำมูตรที่เป็นฉี่โค ไม่มีสรรพคุณในการรักษาโรค แต่สามารถใช้เป็นส่วนประกอบเภสัชบางอย่างได้ เช่น ดองกับผลไม้ที่ใช้เป็นยา ดังนั้นอย่าอ้างวาพระพุทธเจ้าก็กิน การมองฉี่เป็นยาวิเศษเป็นผลเสียมากกว่า
ในน้ำปัสสาวะ มีอะไรบ้าง ?
น้ำปัสสาวะใช้ตรวจโรคอะไรได้บ้าง ?
กินฉี่ อันตรายไหม ในมุมมองของแพทย์ ?
การดื่มน้ำปัสสาวะอาจไม่ได้ทำให้เกิดโทษรุนแรง แต่เราก็พบอันตรายได้ ดังนี้
* คลื่นไส้ อาเจียนจากกลิ่นฉุนของปัสสาวะ
* ปวดท้อง เวียนศีรษะ ท้องเสีย จากการระคายเคืองของกระเพาะอาหารและลำไส้
* กระหายน้ำ จากการได้รับเกลือแร่และของเสียเข้าสู่ร่างกาย
* อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อภายในร่างกาย จากการปนเปื้อนเชื้อโรคในปัสสาวะ
* อาจได้รับสารที่เป็นพิษต่อร่างกาย หากดื่มน้ำปัสสาวะหลังจากรับประทานยา หรือรับสารเคมีบางอย่างเข้าไป
* การดื่มน้ำปัสสาวะในผู้ป่วยโรคเรื้อรังอาจทำให้อาการของโรคลุกลามได้ โดยเฉพาะโรคไต โรคตับ โรคหัวใจ โรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ หรือโรคที่ต้องควบคุมปริมาณน้ำ แร่ธาตุ และสารอาหารให้เหมาะสม
กินฉี่ รักษาโรคมะเร็งได้ไหม ?
ดื่มปัสสาวะ ลดความอ้วนได้ไหม ?
กินฉี่คนเป็นเอดส์ จะติดเอดส์ไหม
ทำไมใช้ปัสสาวะทาหน้า แล้วหน้าถึงนุ่ม ?
แอบผสมฉี่ให้คนอื่นกิน ผิดกฎหมายไหม ?
ไม่ว่าจะประโยชน์ของฉี่ หรืออันตรายของฉี่ ก็ยังไม่มีงานวิจัยทางคลินิกรองรับว่าฉี่รักษาโรคได้จริง หรือฉี่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ แต่ที่แน่ ๆ ในปัสสาวะมีทั้งเชื้อโรคและแบคทีเรียปะปนอยู่จริง ๆ ตามที่เห็นในกล้องจุลทรรศน์ ดังนั้นหากจะกินก็ต้องระมัดระวัง และอยากให้ศึกษาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนก่อนนะคะ
อ้อ ! แต่หากใครสงสัยว่าฉี่บอกโรคอะไรได้บ้างไหม เราสามารถเช็กความผิดปกติได้จากสีของปัสสาวะได้ด้วยล่ะ
กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, ไทยพีบีเอส, เดลินิวส์, สำนักข่าวไทย, อมรินทร์ทีวี, หมอแล็บแพนด้า, เฟซบุ๊ก โรงพยาบาลตำรวจ Police General Hospital, เฟซบุ๊ก Anutra Chittinandana, Drama-addict, โรงพยาบาลธัญญารักษ์ สงขลา, กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางลือก, เฟซบุ๊ก พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ