อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคตับแข็ง ควรกิน ควรเลี่ยง อาหารประเภทไหน ที่จะไม่ทำให้สุขภาพผู้ป่วยโรคตับแข็งทรุดไว เลือกกินอาหารให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ
เมื่อป่วยไข้ ร่างกายควรได้รับการดูแลอย่างพิถีพิถันมากขึ้น โดยเฉพาะหากป่วยเป็นโรคเรื้อรังอะไรบางอย่าง เช่น โรคตับแข็ง ที่ผู้ป่วยมักจะมีอาการเบื่ออาหาร ท้องอืด กินได้น้อยลง จนอาจได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ส่งผลให้อาการโรคตับแข็งทรุดลง ดังนั้นมาดูกันว่า ผู้ป่วยโรคตับแข็งควรกินอาหารแบบไหน หรืออาหารต้องห้ามสำหรับผู้ป่วยโรคตับแข็งมีอะไรบ้าง หากกำลังป่วยหรือมีคนใกล้ตัวเป็นโรคนี้อยู่ ลองมาเก็บข้อมูลอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคตับแข็งกัน
เป็นโรคตับแข็ง ควรกินอะไร
* โรคตับแข็งในระยะเริ่มต้น
ผู้ป่วยโรคตับแข็งที่ตับยังคงทำงานได้ดี ควรบริโภคอาหารให้ครบทุกหมวดหมู่ตามหลักโภชนาการ โดยรับประทานอาหารประเภทโปรตีนประมาณวันละ 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือควรรับประทานโปรตีนวันละประมาณ 60 กรัม หรือกินเนื้อสัตว์ให้ได้วันละ 6-12 ช้อนโต๊ะ
ทั้งนี้ควรเลือกกินโปรตีนคุณภาพดี เช่น นม ไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เนื้อปลา เนื้อหมู เนื้อไก่ เป็นต้น และกินผัก ผลไม้สด เพื่อเพิ่มการขับถ่าย ช่วยลดของเสียจากการเผาผลาญโปรตีนของร่างกาย
* โรคตับแข็งระยะตับทำงานไม่ปกติแล้ว
หากเป็นผู้ป่วยโรคตับแข็งที่มีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง (ดีซ่าน) ท้องโต ขาบวม ซึมลง รวมไปถึงการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ผู้ป่วยตับแข็งระยะนี้มักจะมีภาวะขาดสารอาหารอยู่แล้ว จากอาการเบื่ออาหาร กินอาหารได้น้อยลง ดังนั้นควรกินอาหารให้ได้ 2,500-3,000 กิโลแคลอรีต่อวัน โดยเลือกรับพลังงานจากอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตจำพวกแป้งและข้าวเป็นหลัก เช่น ข้าวสวย ข้าวต้ม ข้าวเหนียว ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน และเพิ่มการรับประทานข้าวและแป้งไม่ขัดสี อย่างข้าวกล้อง โฮลวีต ร่วมด้วย นอกจากนี้ควรกินอาหารประเภทโปรตีนให้ได้ประมาณ 80-90 กรัม ต่อวัน และรับประทานผัก-ผลไม้ร่วมด้วย
อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารประเภทโปรตีนในผู้ป่วยโรคตับแข็งระยะหนัก ๆ อาจส่งผลต่ออาการทางสมอง ทำให้ซึมลงหรือเกิดอาการสับสน มึนงงได้ เพราะร่างกายไม่สามารถขับแอมโมเนียที่เกิดจากการสลายโปรตีนออกได้ ดังนั้นแพทย์จะแนะนำให้กินโปรตีนมากเท่าที่ทนได้ หรือเปลี่ยนมารับประทานโปรตีนจากพืช เช่น โปรตีนจากถั่วเหลือง ถั่วดำ ถั่วเขียว ถั่วแดง แทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เพราะโปรตีนจากพืชจะเกิดอาการทางสมองน้อยกว่าโปรตีนจากเนื้อสัตวนั่นเอง รวมทั้งเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตจากแป้งปลอดโปรตีนแทน เช่น วุ้นเส้น ก๋วยเตี๋ยวเซี่ยงไฮ้ แป้งซาหริ่ม แป้งสาคู แป้งมัน ฯลฯ ใช้ทดแทนอาหารหมู่ข้าวได้ เพราะเป็นคาร์บที่ไม่มีโปรตีน
* โรคตับแข็งระยะลึก ๆ
ผู้ป่วยโรคตับแข็งที่มีอาการมากแล้ว ส่วนใหญ่จะรับประทานอาหารได้ไม่มาก เนื่องจากมีอาการท้องอืด ท้องโต มีน้ำในช่องท้อง ดังนั้นแพทย์จะแนะนำให้รับประทานโปรตีนที่เป็นกรดอะมิโนชนิดกิ่งโซ่ (Branch chain amino acid : BCAA) ซึ่งเป็นโปรตีนเสริมสำหรับผู้ป่วยโรคตับแข็งโดยเฉพาะ โดยจะมีผลต่ออาการทางสมองค่อนข้างน้อย ทว่าโปรตีนชนิดกิ่งโซ่ รสชาติจะไม่อร่อย อีกทั้งยังมีราคาค่อนข้างแพง
ผู้ป่วยยังควรทานผักสดและผลไม้ เพื่อให้มีใยอาหารไปช่วยเรื่องการขับถ่าย ซึ่งจะช่วยลดของเสียจากการเผาผลาญโปรตีนได้บ้าง อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยโรคตับแข็งมักจะขาดวิตามินหลายชนิด ซึ่งก็ควรกินวิตามินเสริมเข้าไป แต่ทั้งนี้ควรให้แพทย์เป็นผู้สั่งให้ ไม่ควรซื้อวิตามินกินเอง เพราะถ้ารับประทานไม่เหมาะสมจะไปสะสมที่ตับ ทำให้ตับทำงานหนัก และในคนที่ร่างกายไม่ได้ขาดธาตุเหล็ก ก็ไม่ควรกินธาตุเหล็กเพิ่มเข้าไป เพราะธาตุเหล็กอาจทำให้เกิดการสร้างพังผืดในตับมากขึ้น
โรคตับแข็ง ห้ามกินอะไร
ผู้ป่วยโรคตับแข็งควรหลีกเลี่ยงอาหาร ดังนี้
- อาหารไขมันสูง
เนื่องจากผู้ป่วยโรคตับแข็งจะมีปัญหาในการย่อยและดูดซึมไขมัน จึงไม่ควรรับประทานอาหารไขมันสูงมากจนเกินไป ควรปรุงอาหารด้วยน้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันรำข้าว หรือน้ำมันถั่วเหลืองแทนน้ำมันหมู
- อาหารรสจัด
โดยเฉพาะอาหารที่มีรสเค็ม มีปริมาณโซเดียมสูง เช่น อาหารแปรรูป ขนมขบเคี้ยว หรืออาหารหมัก ดอง อาหารฟาสต์ฟู้ด เพราะผู้ป่วยโรคตับแข็งอาจมีน้ำในช่องท้อง จึงควรรับประทานอาหารรสจืด และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัดดังกล่าว
- ถั่วลิสง พริกป่น
ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารอะฟาท็อกซินปนเปื้อนสูง เช่น ถั่วลิสงตากแห้ง พริกป่น ปลาเค็ม เป็นต้น เนื่องจากผู้ป่วยโรคตับแข็งจะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งตับได้มากกว่าคนทั่วไป จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารก่อมะเร็ง
- อาหารทะเลสุก ๆ ดิบ ๆ
อาหารทะเลสุก ๆ ดิบ ๆ อาจปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียที่อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงจนเสียชีวิตได้
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ผู้ป่วยโรคตับแข็งควรงดดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะอาจทำให้อาการของตับแย่ลง อีกทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังมีส่วนเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการแตกของเส้นเลือดโป่งพองในหลอดอาหาร และกระเพาะอาหาร อันเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคตับแข็ง
อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยมีอาการบวมน้ำ ก็ไม่ควรดื่มน้ำมากเกินไป ซึ่งโดยทั่วไปไม่ควรเกิน 6 แก้วต่อวัน หรืออาจต้องลดมากกว่านี้ถ้ามีอาการบวมมาก ๆ หรืออาจต้องกินยาขับปัสสาวะตามที่แพทย์สั่งด้วย
นอกจากอาหารที่ควรเลี่ยงแล้ว ผู้ป่วยโรคตับก็ไม่ควรกินยา อาหารเสริม วิตามิน หรือสมุนไพร โดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อน เพราะอาจส่งผลเสียต่อตับได้ หากเราใช้ยาไม่ถูกวิธี หรือไม่เหมาะสม
ตารางกินอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคตับแข็ง
ผู้ป่วยโรคตับแข็งที่ตับเริ่มทำงานไม่ปกติแล้ว ควรรับประทานอาหารวันละ 4-7 มื้อ การแบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ จะช่วยลดอาการท้องอืด แน่นท้อง และป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ด้วย ดังนั้นเพื่อความเหมาะสม ผู้ป่วยโรคตับแข็งควรรับประทานอาหารตามมื้อ ดังนี้
เวลา 07.00 น. อาหารเช้า
เวลา 10.00 น. อาหารว่าง
เวลา 12.00 น. อาหารเที่ยง
เวลา 15.00 น. อาหารว่าง
เวลา 18.00 น. อาหารเย็น
เวลา 21.30 น. อาหารก่อนนอน
นอกจากใส่ใจเรื่องอาหารการกินแล้ว ผู้ป่วยโรคตับแข็งในระยะเริ่มต้น ตับยังสามารถทำงานได้ดี ควรหมั่นออกกำลังกายเบา ๆ เช่น วิ่งเหยาะ ๆ หรือเดินเร็ว และพักผ่อนให้เพียงพอ รวมไปถึงรักษาเนื้อรักษาตัวให้ดี พยายามอย่าให้บาดเจ็บ หรือมีแผล เนื่องจากผู้ป่วยโรคตับแข็งอาจมีเกล็ดเลือดต่ำ และมีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกง่าย หยุดยากได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงพยาบาลราชวิถี, มูลนิธิตับแห่งประเทศไทย
เป็นโรคตับแข็ง ควรกินอะไร
* โรคตับแข็งในระยะเริ่มต้น
ผู้ป่วยโรคตับแข็งที่ตับยังคงทำงานได้ดี ควรบริโภคอาหารให้ครบทุกหมวดหมู่ตามหลักโภชนาการ โดยรับประทานอาหารประเภทโปรตีนประมาณวันละ 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือควรรับประทานโปรตีนวันละประมาณ 60 กรัม หรือกินเนื้อสัตว์ให้ได้วันละ 6-12 ช้อนโต๊ะ
ทั้งนี้ควรเลือกกินโปรตีนคุณภาพดี เช่น นม ไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เนื้อปลา เนื้อหมู เนื้อไก่ เป็นต้น และกินผัก ผลไม้สด เพื่อเพิ่มการขับถ่าย ช่วยลดของเสียจากการเผาผลาญโปรตีนของร่างกาย
* โรคตับแข็งระยะตับทำงานไม่ปกติแล้ว
หากเป็นผู้ป่วยโรคตับแข็งที่มีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง (ดีซ่าน) ท้องโต ขาบวม ซึมลง รวมไปถึงการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ผู้ป่วยตับแข็งระยะนี้มักจะมีภาวะขาดสารอาหารอยู่แล้ว จากอาการเบื่ออาหาร กินอาหารได้น้อยลง ดังนั้นควรกินอาหารให้ได้ 2,500-3,000 กิโลแคลอรีต่อวัน โดยเลือกรับพลังงานจากอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตจำพวกแป้งและข้าวเป็นหลัก เช่น ข้าวสวย ข้าวต้ม ข้าวเหนียว ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน และเพิ่มการรับประทานข้าวและแป้งไม่ขัดสี อย่างข้าวกล้อง โฮลวีต ร่วมด้วย นอกจากนี้ควรกินอาหารประเภทโปรตีนให้ได้ประมาณ 80-90 กรัม ต่อวัน และรับประทานผัก-ผลไม้ร่วมด้วย
อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารประเภทโปรตีนในผู้ป่วยโรคตับแข็งระยะหนัก ๆ อาจส่งผลต่ออาการทางสมอง ทำให้ซึมลงหรือเกิดอาการสับสน มึนงงได้ เพราะร่างกายไม่สามารถขับแอมโมเนียที่เกิดจากการสลายโปรตีนออกได้ ดังนั้นแพทย์จะแนะนำให้กินโปรตีนมากเท่าที่ทนได้ หรือเปลี่ยนมารับประทานโปรตีนจากพืช เช่น โปรตีนจากถั่วเหลือง ถั่วดำ ถั่วเขียว ถั่วแดง แทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เพราะโปรตีนจากพืชจะเกิดอาการทางสมองน้อยกว่าโปรตีนจากเนื้อสัตวนั่นเอง รวมทั้งเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตจากแป้งปลอดโปรตีนแทน เช่น วุ้นเส้น ก๋วยเตี๋ยวเซี่ยงไฮ้ แป้งซาหริ่ม แป้งสาคู แป้งมัน ฯลฯ ใช้ทดแทนอาหารหมู่ข้าวได้ เพราะเป็นคาร์บที่ไม่มีโปรตีน
* โรคตับแข็งระยะลึก ๆ
ผู้ป่วยโรคตับแข็งที่มีอาการมากแล้ว ส่วนใหญ่จะรับประทานอาหารได้ไม่มาก เนื่องจากมีอาการท้องอืด ท้องโต มีน้ำในช่องท้อง ดังนั้นแพทย์จะแนะนำให้รับประทานโปรตีนที่เป็นกรดอะมิโนชนิดกิ่งโซ่ (Branch chain amino acid : BCAA) ซึ่งเป็นโปรตีนเสริมสำหรับผู้ป่วยโรคตับแข็งโดยเฉพาะ โดยจะมีผลต่ออาการทางสมองค่อนข้างน้อย ทว่าโปรตีนชนิดกิ่งโซ่ รสชาติจะไม่อร่อย อีกทั้งยังมีราคาค่อนข้างแพง
ผู้ป่วยยังควรทานผักสดและผลไม้ เพื่อให้มีใยอาหารไปช่วยเรื่องการขับถ่าย ซึ่งจะช่วยลดของเสียจากการเผาผลาญโปรตีนได้บ้าง อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยโรคตับแข็งมักจะขาดวิตามินหลายชนิด ซึ่งก็ควรกินวิตามินเสริมเข้าไป แต่ทั้งนี้ควรให้แพทย์เป็นผู้สั่งให้ ไม่ควรซื้อวิตามินกินเอง เพราะถ้ารับประทานไม่เหมาะสมจะไปสะสมที่ตับ ทำให้ตับทำงานหนัก และในคนที่ร่างกายไม่ได้ขาดธาตุเหล็ก ก็ไม่ควรกินธาตุเหล็กเพิ่มเข้าไป เพราะธาตุเหล็กอาจทำให้เกิดการสร้างพังผืดในตับมากขึ้น
โรคตับแข็ง ห้ามกินอะไร
ผู้ป่วยโรคตับแข็งควรหลีกเลี่ยงอาหาร ดังนี้
- อาหารไขมันสูง
เนื่องจากผู้ป่วยโรคตับแข็งจะมีปัญหาในการย่อยและดูดซึมไขมัน จึงไม่ควรรับประทานอาหารไขมันสูงมากจนเกินไป ควรปรุงอาหารด้วยน้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันรำข้าว หรือน้ำมันถั่วเหลืองแทนน้ำมันหมู
- อาหารรสจัด
โดยเฉพาะอาหารที่มีรสเค็ม มีปริมาณโซเดียมสูง เช่น อาหารแปรรูป ขนมขบเคี้ยว หรืออาหารหมัก ดอง อาหารฟาสต์ฟู้ด เพราะผู้ป่วยโรคตับแข็งอาจมีน้ำในช่องท้อง จึงควรรับประทานอาหารรสจืด และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัดดังกล่าว
- ถั่วลิสง พริกป่น
ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารอะฟาท็อกซินปนเปื้อนสูง เช่น ถั่วลิสงตากแห้ง พริกป่น ปลาเค็ม เป็นต้น เนื่องจากผู้ป่วยโรคตับแข็งจะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งตับได้มากกว่าคนทั่วไป จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารก่อมะเร็ง
- อาหารทะเลสุก ๆ ดิบ ๆ
อาหารทะเลสุก ๆ ดิบ ๆ อาจปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียที่อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงจนเสียชีวิตได้
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ผู้ป่วยโรคตับแข็งควรงดดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะอาจทำให้อาการของตับแย่ลง อีกทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังมีส่วนเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการแตกของเส้นเลือดโป่งพองในหลอดอาหาร และกระเพาะอาหาร อันเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคตับแข็ง
อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยมีอาการบวมน้ำ ก็ไม่ควรดื่มน้ำมากเกินไป ซึ่งโดยทั่วไปไม่ควรเกิน 6 แก้วต่อวัน หรืออาจต้องลดมากกว่านี้ถ้ามีอาการบวมมาก ๆ หรืออาจต้องกินยาขับปัสสาวะตามที่แพทย์สั่งด้วย
นอกจากอาหารที่ควรเลี่ยงแล้ว ผู้ป่วยโรคตับก็ไม่ควรกินยา อาหารเสริม วิตามิน หรือสมุนไพร โดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อน เพราะอาจส่งผลเสียต่อตับได้ หากเราใช้ยาไม่ถูกวิธี หรือไม่เหมาะสม
ตารางกินอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคตับแข็ง
ผู้ป่วยโรคตับแข็งที่ตับเริ่มทำงานไม่ปกติแล้ว ควรรับประทานอาหารวันละ 4-7 มื้อ การแบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ จะช่วยลดอาการท้องอืด แน่นท้อง และป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ด้วย ดังนั้นเพื่อความเหมาะสม ผู้ป่วยโรคตับแข็งควรรับประทานอาหารตามมื้อ ดังนี้
เวลา 07.00 น. อาหารเช้า
เวลา 10.00 น. อาหารว่าง
เวลา 12.00 น. อาหารเที่ยง
เวลา 15.00 น. อาหารว่าง
เวลา 18.00 น. อาหารเย็น
เวลา 21.30 น. อาหารก่อนนอน
นอกจากใส่ใจเรื่องอาหารการกินแล้ว ผู้ป่วยโรคตับแข็งในระยะเริ่มต้น ตับยังสามารถทำงานได้ดี ควรหมั่นออกกำลังกายเบา ๆ เช่น วิ่งเหยาะ ๆ หรือเดินเร็ว และพักผ่อนให้เพียงพอ รวมไปถึงรักษาเนื้อรักษาตัวให้ดี พยายามอย่าให้บาดเจ็บ หรือมีแผล เนื่องจากผู้ป่วยโรคตับแข็งอาจมีเกล็ดเลือดต่ำ และมีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกง่าย หยุดยากได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงพยาบาลราชวิถี, มูลนิธิตับแห่งประเทศไทย