แม้จะเป็นยาแก้ปวด ลดไข้ แต่ก็มีข้อจำกัดในการใช้ที่ควรต้องระวัง มาดูกันว่ายาไอบูโพรเฟนใช้แบบไหนไม่อันตราย
เมื่อมีอาการปวดศีรษะ ปวดไมเกรน ปวดประจำเดือน หรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เราจะนึกถึงยาแก้ปวดที่ชื่อว่าไอบูโพรเฟนเป็นอันดับแรก ๆ เพราะมีสรรพคุณแก้ปวดได้ดี แต่ที่ผ่านมา เราก็มักจะได้เห็นข่าวคนแพ้ไอบูโพรเฟน หรือคำเตือนห้ามใช้ยาชนิดนี้กับโรคบางอย่าง นั่นแปลว่าไอบูโพรเฟนก็มีข้อควรระวังในการใช้ และเพื่อความปลอดภัย เราควรรู้จักยาไอบูโพรเฟนให้ดี จะได้ใช้อย่างถูกต้อง ไม่อันตรายต่อร่างกาย
ไอบูโพรเฟน คือยาอะไร
ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เป็นยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือยาในกลุ่ม NSAIDs โดยไอบูโพรเฟนจะอยู่ในรูปแบบเม็ดยา ขนาด 200 มิลลิกรัม และขนาด 400 มิลลิกรัม นอกจากยังมีในรูปแบบยาน้ำ ขนาด 100 มิลลิกรัม/5 มิลลิลิตร และแบบเจล สำหรับทาภายนอก
ไอบูโพรเฟน สรรพคุณคืออะไร
ไอบูโพรเฟนมีสรรพคุณลดอาการอักเสบ ลดปวดในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง สามารถใช้ลดไข้ แก้ปวดประจำเดือน ปวดไมเกรน หรือบรรเทาอาการปวดจากข้ออักเสบ และอาการปวดเมื่อยเนื้อตัวจากการออกกำลังกายได้ เพราะยาไอบูโพรเฟนจะไปยับยั้งการสร้างสารพรอสตาแกลนดิน (prostaglandins) ที่ทำให้เกิดอาการปวดและอักเสบ
ไอบูโพรเฟน พาราเซตามอล แอสไพริน ต่างกันอย่างไร
หลายคนสงสัยว่ายาไอบูโพรเฟน พาราเซตามอล และแอสไพริน ต่างกันอย่างไร คำตอบก็คือ ยาทั้ง 3 ชนิดเป็นยาแก้ปวดเหมือนกัน แต่พาราเซตามอลจะเป็นยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์ระงับอาการปวดอ่อน ๆ ได้ดี ลดไข้ได้ ไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร จัดเป็นยาแก้ปวดที่มีความปลอดภัย สามารถซื้อกินเองได้
- ปวดแบบไหนกินพาราเซตามอลไม่หาย แถมอาจเพิ่มอันตรายให้อีก
ส่วนแอสไพริน จะเป็นยาแก้ปวดที่มีสรรพคุณคล้ายพาราเซตามอล ทว่าจะออกฤทธิ์ต่ออาการบวมได้ดีกว่า ป้องกันภาวะแทรกซ้อนของหลายโรคได้ แต่ก็มีผลข้างเคียงจากการใช้ยามากกว่าพาราเซตามอล เช่น เลือดออกในระบบย่อยอาหาร เป็นต้น และไม่ควรใช้กับผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ
มาถึงไอบูโพรเฟน จะเป็นยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์แรงกว่าพาราเซตามอล ใช้ระงับอาการปวดระดับปานกลางถึงรุนแรงได้ และยังมีสรรพคุณแก้อาการอักเสบได้ดีกว่า แต่ยาชนิดนี้จะมีฤทธิ์กัดกระเพาะ ดังนั้นควรรับประทานหลังอาหารทันที
ไอบูโพรเฟนใช้ยังไง ให้ปลอดภัย
ปริมาณการกินยาไอบูโพรเฟน โดยทั่วไป คือ
- เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี รับประทานครั้งละ 10 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
- ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 400 มิลลิกรัม
หรือกินตามน้ำหนักตัว แต่ไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน ดังนี้
หากยังมีอาการปวดอยู่ แต่ลืมกินยา ให้กินยาทันทีที่นึกได้ หรือถ้าใกล้ถึงเวลากินยารอบต่อไปแล้ว ก็ให้ข้ามมื้อที่ลืมไปได้เลย แล้วกินยาตามรอบปกติ โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยา อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือ ควรกินยาไอบูโพรเฟนหลังอาหารทันที และให้ดื่มน้ำตามมาก ๆ เพราะยาอาจระคายเคืองกระเพาะอาหารได้
ไอบูโพรเฟน ผลข้างเคียงที่ต้องระวัง
ผลข้างเคียงของยาไอบูโพรเฟน มีดังนี้
* ปวดท้อง โดยเฉพาะผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร
* คลื่นไส้ อาเจียน
* บวมตามแขน ขา โดยเฉพาะผู้มีภาวะไตบกพร่อง
อย่างไรก็ตาม การกินยาไอบูโพรเฟนเกินขนาด อาจทำให้เสี่ยงเป็นแผลในกระเพาะอาหาร และส่งผลต่อการทำงานของไตได้ด้วย
ข้อควรระวังในการใช้ยาไอบูโพรเฟน
* ห้ามกินยาตอนท้องว่าง เพราะอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร
* ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่มีประวัติแพ้ยาไอบูโพรเฟน หรือยาในกลุ่ม NSAIDs
* ห้ามใช้ยาที่หมดอายุ
* ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยไข้เลือดออก
* ระวังการใช้ยานี้กับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคไต โรคตับ โรคหัวใจ เบาหวาน ความดัน และผู้มีแผลในกระเพาะอาหาร
* ระวังการใช้ยานี้กับหญิงตั้งครรภ์
* ระวังการใช้ยานี้ในผู้สูงอายุ
* ไม่ควรกินยาไอบูโพรเฟนติดต่อกันนาน ๆ เพราะอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจวาย
ทำไมไอบูโพรเฟนจึงห้ามใช้ในผู้ป่วยไข้เลือดออก
คงเคยได้ยินกันบ้าง ว่าห้ามใช้ไอบูโพรเฟนกับผู้ป่วยไข้เลือดออก นั่นก็เพราะไอบูโพรเฟนเป็นยาที่มีผลยับยั้งการจับกลุ่มเกาะตัวกันของเกล็ดเลือด ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยไข้เลือดออก มีภาวะเลือดมากขึ้น จนเกล็ดเลือดในร่างกายต่ำลงถึงจุดที่อันตรายต่อชีวิต
ไอบูโพรเฟน กับโควิด 19
หากมีไข้ ปวดศีรษะ โดยทั่วไปยาพาราเซตามอลจะเป็นตัวเลือกแรกในการรักษา เพราะผลข้างเคียงจะน้อยกว่ายาแก้ปวดชนิดอื่น ๆ เช่นเดียวกับการรักษาโควิด 19 ทางองค์การอนามัยโลกก็แนะนำให้ใช้พาราเซตามอลในการลดไข้ และยังเตือนให้เลี่ยงการใช้ไอบูโพรเฟน เพราะฤทธิ์ของยาอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงขึ้นได้
แต่อย่างไรก็ตาม คณะนักวิทยาศาสตร์จากโรงพยาบาลกายส์ และโรงพยาบาลเซนต์โทมัส ในกรุงลอนดอน รวมทั้งสถาบันคิงส์คอลเลจ ของอังกฤษ มีแผนจะใช้ยาไอบูโพรเฟนสูตรพิเศษที่แตกต่างจากไอบูโพรเฟนทั่วไป ในการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 โดยอ้างอิงการศึกษาในสัตว์ทดลองก่อนหน้านี้ที่พบว่า ยาไอบูโพรเฟนอาจช่วยรักษาอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน จากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาขั้นรุนแรงได้
และทาง Commission on Human Medicines ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่ให้คำปรึกษาด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ยาแก่รัฐบาลสหราชอาณาจักร ยังมีข้อสรุปว่า ยาไอบูโพรเฟน มีความปลอดภัยในการใช้รักษาอาการติดเชื้อโควิด 19 เช่นเดียวกับยาพาราเซตามอล เนื่องจากยาทั้งสองชนิดนี้มีสรรพคุณลดไข้ และบรรเทาอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่เหมือนกัน ถึงกระนั้น ทางสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติ (NHS) ของอังกฤษ ก็ยังแนะนำให้ผู้ป่วยเลือกใช้พาราเซตามอลก่อน เพราะมีผลข้างเคียงน้อยกว่า
ไอบูโพรเฟนเป็นยาแก้ปวดที่ช่วยรักษาอาการปวด และการอักเสบต่าง ๆ ได้ดี แต่ทั้งนี้ก็เป็นยาในกลุ่มที่มีผลข้างเคียง และข้อจำกัดในการใช้ ซึ่งเพื่อความปลอดภัย ควรใช้ยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร และตัวเราเองก็ควรสังเกตอาการของร่างกายเมื่อใช้ยาชนิดต่าง ๆ ด้วย จะได้รู้ว่าเรามีอาการแพ้ยาตัวไหนไหม ซึ่งอาการแพ้ยาส่วนใหญ่ที่พอจะจับสังเกตได้ ก็มี ดังนี้
- อาการแพ้ยา สังเกตอย่างไร สัญญาณไหนที่บอกว่าเราแพ้
ขอบคุณข้อมูลจาก
รามาชาแนล, มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา, arincare, bbc
ไอบูโพรเฟน คือยาอะไร
ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เป็นยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือยาในกลุ่ม NSAIDs โดยไอบูโพรเฟนจะอยู่ในรูปแบบเม็ดยา ขนาด 200 มิลลิกรัม และขนาด 400 มิลลิกรัม นอกจากยังมีในรูปแบบยาน้ำ ขนาด 100 มิลลิกรัม/5 มิลลิลิตร และแบบเจล สำหรับทาภายนอก
ไอบูโพรเฟน สรรพคุณคืออะไร
ไอบูโพรเฟนมีสรรพคุณลดอาการอักเสบ ลดปวดในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง สามารถใช้ลดไข้ แก้ปวดประจำเดือน ปวดไมเกรน หรือบรรเทาอาการปวดจากข้ออักเสบ และอาการปวดเมื่อยเนื้อตัวจากการออกกำลังกายได้ เพราะยาไอบูโพรเฟนจะไปยับยั้งการสร้างสารพรอสตาแกลนดิน (prostaglandins) ที่ทำให้เกิดอาการปวดและอักเสบ
ไอบูโพรเฟน พาราเซตามอล แอสไพริน ต่างกันอย่างไร
หลายคนสงสัยว่ายาไอบูโพรเฟน พาราเซตามอล และแอสไพริน ต่างกันอย่างไร คำตอบก็คือ ยาทั้ง 3 ชนิดเป็นยาแก้ปวดเหมือนกัน แต่พาราเซตามอลจะเป็นยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์ระงับอาการปวดอ่อน ๆ ได้ดี ลดไข้ได้ ไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร จัดเป็นยาแก้ปวดที่มีความปลอดภัย สามารถซื้อกินเองได้
- ปวดแบบไหนกินพาราเซตามอลไม่หาย แถมอาจเพิ่มอันตรายให้อีก
ส่วนแอสไพริน จะเป็นยาแก้ปวดที่มีสรรพคุณคล้ายพาราเซตามอล ทว่าจะออกฤทธิ์ต่ออาการบวมได้ดีกว่า ป้องกันภาวะแทรกซ้อนของหลายโรคได้ แต่ก็มีผลข้างเคียงจากการใช้ยามากกว่าพาราเซตามอล เช่น เลือดออกในระบบย่อยอาหาร เป็นต้น และไม่ควรใช้กับผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ
มาถึงไอบูโพรเฟน จะเป็นยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์แรงกว่าพาราเซตามอล ใช้ระงับอาการปวดระดับปานกลางถึงรุนแรงได้ และยังมีสรรพคุณแก้อาการอักเสบได้ดีกว่า แต่ยาชนิดนี้จะมีฤทธิ์กัดกระเพาะ ดังนั้นควรรับประทานหลังอาหารทันที
ไอบูโพรเฟนใช้ยังไง ให้ปลอดภัย
ปริมาณการกินยาไอบูโพรเฟน โดยทั่วไป คือ
- เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี รับประทานครั้งละ 10 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
- ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 400 มิลลิกรัม
หรือกินตามน้ำหนักตัว แต่ไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน ดังนี้
ไอบูโพรเฟน ผลข้างเคียงที่ต้องระวัง
ผลข้างเคียงของยาไอบูโพรเฟน มีดังนี้
* ปวดท้อง โดยเฉพาะผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร
* คลื่นไส้ อาเจียน
* บวมตามแขน ขา โดยเฉพาะผู้มีภาวะไตบกพร่อง
อย่างไรก็ตาม การกินยาไอบูโพรเฟนเกินขนาด อาจทำให้เสี่ยงเป็นแผลในกระเพาะอาหาร และส่งผลต่อการทำงานของไตได้ด้วย
ข้อควรระวังในการใช้ยาไอบูโพรเฟน
* ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่มีประวัติแพ้ยาไอบูโพรเฟน หรือยาในกลุ่ม NSAIDs
* ห้ามใช้ยาที่หมดอายุ
* ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยไข้เลือดออก
* ระวังการใช้ยานี้กับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคไต โรคตับ โรคหัวใจ เบาหวาน ความดัน และผู้มีแผลในกระเพาะอาหาร
* ระวังการใช้ยานี้กับหญิงตั้งครรภ์
* ระวังการใช้ยานี้ในผู้สูงอายุ
* ไม่ควรกินยาไอบูโพรเฟนติดต่อกันนาน ๆ เพราะอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจวาย
ทำไมไอบูโพรเฟนจึงห้ามใช้ในผู้ป่วยไข้เลือดออก
คงเคยได้ยินกันบ้าง ว่าห้ามใช้ไอบูโพรเฟนกับผู้ป่วยไข้เลือดออก นั่นก็เพราะไอบูโพรเฟนเป็นยาที่มีผลยับยั้งการจับกลุ่มเกาะตัวกันของเกล็ดเลือด ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยไข้เลือดออก มีภาวะเลือดมากขึ้น จนเกล็ดเลือดในร่างกายต่ำลงถึงจุดที่อันตรายต่อชีวิต
ไอบูโพรเฟน กับโควิด 19
หากมีไข้ ปวดศีรษะ โดยทั่วไปยาพาราเซตามอลจะเป็นตัวเลือกแรกในการรักษา เพราะผลข้างเคียงจะน้อยกว่ายาแก้ปวดชนิดอื่น ๆ เช่นเดียวกับการรักษาโควิด 19 ทางองค์การอนามัยโลกก็แนะนำให้ใช้พาราเซตามอลในการลดไข้ และยังเตือนให้เลี่ยงการใช้ไอบูโพรเฟน เพราะฤทธิ์ของยาอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงขึ้นได้
แต่อย่างไรก็ตาม คณะนักวิทยาศาสตร์จากโรงพยาบาลกายส์ และโรงพยาบาลเซนต์โทมัส ในกรุงลอนดอน รวมทั้งสถาบันคิงส์คอลเลจ ของอังกฤษ มีแผนจะใช้ยาไอบูโพรเฟนสูตรพิเศษที่แตกต่างจากไอบูโพรเฟนทั่วไป ในการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 โดยอ้างอิงการศึกษาในสัตว์ทดลองก่อนหน้านี้ที่พบว่า ยาไอบูโพรเฟนอาจช่วยรักษาอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน จากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาขั้นรุนแรงได้
และทาง Commission on Human Medicines ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่ให้คำปรึกษาด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ยาแก่รัฐบาลสหราชอาณาจักร ยังมีข้อสรุปว่า ยาไอบูโพรเฟน มีความปลอดภัยในการใช้รักษาอาการติดเชื้อโควิด 19 เช่นเดียวกับยาพาราเซตามอล เนื่องจากยาทั้งสองชนิดนี้มีสรรพคุณลดไข้ และบรรเทาอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่เหมือนกัน ถึงกระนั้น ทางสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติ (NHS) ของอังกฤษ ก็ยังแนะนำให้ผู้ป่วยเลือกใช้พาราเซตามอลก่อน เพราะมีผลข้างเคียงน้อยกว่า
ไอบูโพรเฟนเป็นยาแก้ปวดที่ช่วยรักษาอาการปวด และการอักเสบต่าง ๆ ได้ดี แต่ทั้งนี้ก็เป็นยาในกลุ่มที่มีผลข้างเคียง และข้อจำกัดในการใช้ ซึ่งเพื่อความปลอดภัย ควรใช้ยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร และตัวเราเองก็ควรสังเกตอาการของร่างกายเมื่อใช้ยาชนิดต่าง ๆ ด้วย จะได้รู้ว่าเรามีอาการแพ้ยาตัวไหนไหม ซึ่งอาการแพ้ยาส่วนใหญ่ที่พอจะจับสังเกตได้ ก็มี ดังนี้
- อาการแพ้ยา สังเกตอย่างไร สัญญาณไหนที่บอกว่าเราแพ้
ขอบคุณข้อมูลจาก
รามาชาแนล, มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา, arincare, bbc