แพ้วัคซีน เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ ดังนั้นหลังฉีดวัคซีน ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนป้องกันโรคทั่วไป หรือวัคซีนโควิด ต้องเช็กอาการผิดปกติของตัวเองให้ดี หากแพ้ยาขึ้นมาจะได้รักษาทัน
วัคซีนเป็นตัวช่วยป้องกันความเสี่ยงการเกิดโรคกับร่างกาย โดยในวัคซีนจะมีเชื้อโรคอ่อนแรง หรือบางส่วนของเชื้อโรคที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ รวมทั้งอาจมีสารประกอบอื่น ๆ ปะปนอยู่ด้วยตามแต่ละชนิดของวัคซีน ซึ่งสารที่อยู่ในวัคซีนเหล่านี้จริง ๆ ก็ผ่านการทดสอบอันตรายมาหลายขั้นตอน ทว่าบางคนก็อาจมีอาการแพ้วัคซีนขึ้นได้ และอาจจะมีอาการแพ้เบา ๆ จนถึงอาการแพ้วัคซีนรุนแรงที่ต้องรีบรักษา ดังนั้นมาดูกันว่าอาการแพ้วัคซีนเป็นยังไง เวลาไปฉีดเราจะได้รู้เท่าทัน
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การฉีดวัคซีนโควิด 19, วัคซีนโรคอื่น ๆ, ยา หรือสารเคมีใด ๆ ที่ใช้กับร่างกาย ถือเป็นสิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายไม่รู้จัก ดังนั้นสามารถเกิดปฏิกิริยาขึ้นได้ 2 แบบ คือ อาการไม่พึงประสงค์ และอาการแพ้ ซึ่งทั้ง 2 อาการมีความแตกต่างกัน ที่พบได้บ่อยคืออาการไม่พึงประสงค์ ไม่ใช่อาการแพ้วัคซีน
อาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีน มีอะไรบ้าง
อาการไม่พึงประสงค์สามารถเกิดขึ้นได้ภายหลังฉีดวัคซีนทุกชนิด แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1. อาการที่เกิดขึ้นเฉพาะที่
- ปวด บวม แดง เจ็บบริเวณที่ฉีด สามารถใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบช่วยบรรเทาอาการได้
- มีตุ่มหนอง (หลังฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค)
1. อาการที่เกิดขึ้นเฉพาะที่
- ปวด บวม แดง เจ็บบริเวณที่ฉีด สามารถใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบช่วยบรรเทาอาการได้
- มีตุ่มหนอง (หลังฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค)
2. อาการแทรกซ้อนไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นทั่วร่างกาย เช่น
- มีไข้ต่ำ ๆ
- อ่อนเพลีย เหนื่อย
- ปวดเมื่อยเนื้อตัว
- ปวดศีรษะ
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- มีไข้ต่ำ ๆ
- อ่อนเพลีย เหนื่อย
- ปวดเมื่อยเนื้อตัว
- ปวดศีรษะ
- คลื่นไส้
- อาเจียน
อย่างไรก็ตาม อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ จะดีขึ้นภายใน 1-2 วัน
แพ้วัคซีน อาการเป็นอย่างไร
1. อาการแพ้วัคซีนไม่รุนแรง
- มีผื่นแดงบนผิวหนัง
- เกิดลมพิษ เป็นผื่นนูน มีขอบเขตชัดเจน อาจคันหรือไม่ก็ได้
- คันโดยไม่มีผื่น
- ใบหน้าบวม
- ปาก ลิ้นบวม
2. อาการแพ้วัคซีนที่รุนแรง หากมีอาการเหล่านี้ต้องรีบพบแพทย์ทันที
- มีผื่นแดงบนผิวหนัง
- เกิดลมพิษ เป็นผื่นนูน มีขอบเขตชัดเจน อาจคันหรือไม่ก็ได้
- คันโดยไม่มีผื่น
- ใบหน้าบวม
- ปาก ลิ้นบวม
2. อาการแพ้วัคซีนที่รุนแรง หากมีอาการเหล่านี้ต้องรีบพบแพทย์ทันที
- หลอดลมตีบ ทำให้หายใจลำบาก หอบเหนื่อย
- แน่นหน้าอก
- ไข้ขึ้นสูง
- เวียนศีรษะ ปวดศีรษะรุนแรง
- อุจจาระร่วง ปวดท้อง
- ปากเบี้ยว
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- เกล็ดเลือดต่ำ
- ความดันโลหิตลดลง
- มีจุดเลือดออกตามร่างกาย
- ผื่นขึ้นทั้งตัว
- อาเจียนมากกว่า 5 ครั้ง
- ชีพจรเต้นเร็ว หัวใจเต้นแรง
- ชัก
- หมดสติ
โดยอาการแพ้วัคซีนอาจเกิดขึ้นเฉียบพลัน หรือเกิดหลังจากฉีดวัคซีนไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง หรือบางเคสก็เกิดอาการแพ้หลังฉีดวัคซีนไปเป็นวันถึงหลายวันก็ได้ แต่อาการแพ้แบบรุนแรง อาจแสดงอาการตั้งแต่ 5-10 นาทีแรกหลังได้รับวัคซีน ซึ่งปกติแล้วเกิดขึ้นได้น้อยมาก แต่เพื่อความไม่ประมาท เมื่อฉีดวัคซีนเสร็จแล้วควรรอดูอาการผิดปกติที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 30 นาที หากมีอาการผิดปกติที่เป็นภาวะฉุกเฉินจะได้รักษาได้ทันท่วงที
แต่หากไม่มีความผิดปกติใด ๆ ก็กลับบ้านได้ และหากกลับบ้านไปแล้วมีอาการผิดปกติ เช่น แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ความดันลดลง เกิดขึ้นในช่วง 1-2 วัน ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะการแพ้วัคซีนรุนแรงแบบนี้มีโอกาสเสียชีวิตได้
กรณีฉีดวัคซีนโควิด 19 ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดใหม่ แนะนำให้สังเกตอาการหลังฉีด 24 ชั่วโมงแรก และสังเกตอาการหลังจากนั้น 7 วัน และหลังจากนั้น 30 วัน ทั้งนี้ ในผู้ที่มีประวัติแพ้ง่ายมาก่อน ควรติดตามสังเกตอาการมากกว่าคนที่ไม่มีประวัติแพ้มาก่อน
- แน่นหน้าอก
- ไข้ขึ้นสูง
- เวียนศีรษะ ปวดศีรษะรุนแรง
- อุจจาระร่วง ปวดท้อง
- ปากเบี้ยว
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- เกล็ดเลือดต่ำ
- ความดันโลหิตลดลง
- มีจุดเลือดออกตามร่างกาย
- ผื่นขึ้นทั้งตัว
- อาเจียนมากกว่า 5 ครั้ง
- ชีพจรเต้นเร็ว หัวใจเต้นแรง
- ชัก
- หมดสติ
โดยอาการแพ้วัคซีนอาจเกิดขึ้นเฉียบพลัน หรือเกิดหลังจากฉีดวัคซีนไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง หรือบางเคสก็เกิดอาการแพ้หลังฉีดวัคซีนไปเป็นวันถึงหลายวันก็ได้ แต่อาการแพ้แบบรุนแรง อาจแสดงอาการตั้งแต่ 5-10 นาทีแรกหลังได้รับวัคซีน ซึ่งปกติแล้วเกิดขึ้นได้น้อยมาก แต่เพื่อความไม่ประมาท เมื่อฉีดวัคซีนเสร็จแล้วควรรอดูอาการผิดปกติที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 30 นาที หากมีอาการผิดปกติที่เป็นภาวะฉุกเฉินจะได้รักษาได้ทันท่วงที
แต่หากไม่มีความผิดปกติใด ๆ ก็กลับบ้านได้ และหากกลับบ้านไปแล้วมีอาการผิดปกติ เช่น แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ความดันลดลง เกิดขึ้นในช่วง 1-2 วัน ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะการแพ้วัคซีนรุนแรงแบบนี้มีโอกาสเสียชีวิตได้
กรณีฉีดวัคซีนโควิด 19 ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดใหม่ แนะนำให้สังเกตอาการหลังฉีด 24 ชั่วโมงแรก และสังเกตอาการหลังจากนั้น 7 วัน และหลังจากนั้น 30 วัน ทั้งนี้ ในผู้ที่มีประวัติแพ้ง่ายมาก่อน ควรติดตามสังเกตอาการมากกว่าคนที่ไม่มีประวัติแพ้มาก่อน
ฉีดวัคซีนยังไงให้ปลอดภัย
ข้อปฏิบัติก่อนการฉีดวัคซีน ตามหลักการแพทย์แล้ว มีดังนี้
* หากมีประวัติแพ้ยา แพ้อาหาร ให้แจ้งแพทย์ทุกครั้ง
* หากกินยาประจำ ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบว่ากำลังรับประทานยาอะไรอยู่บ้าง
* คนที่มีโรคประจำตัว แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน
* หากตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบ โดยเฉพาะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เพราะวัคซีนบางชนิดไม่ควรฉีดขณะตั้งครรภ์
* ควรคุมกำเนิดอย่างน้อย 1 เดือน หลังฉีดวัคซีนหัด คางทูม หัดเยอรมัน วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส, วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ, วัคซีนป้องกันวัณโรค หรือวัคซีนไข้ไทฟอยด์ชนิดกิน เป็นต้น
* กรณีต้องฉีดวัคซีนหลายเข็มในวันเดียว ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบด้วยว่าต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง เพราะวัคซีนอาจปนกัน และอาจเสี่ยงต่อผลข้างเคียงของวัคซีนมากขึ้นได้
* หากเป็นไข้ มีไข้สูง ไม่ควรฉีดวัคซีนจนกว่าจะหายเป็นปกติ
- เป็นไข้ เป็นหวัด ฉีดวัคซีนได้ไหม อันตรายหรือเปล่า
* หากมีประวัติแพ้ยา แพ้อาหาร ให้แจ้งแพทย์ทุกครั้ง
* หากกินยาประจำ ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบว่ากำลังรับประทานยาอะไรอยู่บ้าง
* คนที่มีโรคประจำตัว แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน
* หากตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบ โดยเฉพาะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เพราะวัคซีนบางชนิดไม่ควรฉีดขณะตั้งครรภ์
* ควรคุมกำเนิดอย่างน้อย 1 เดือน หลังฉีดวัคซีนหัด คางทูม หัดเยอรมัน วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส, วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ, วัคซีนป้องกันวัณโรค หรือวัคซีนไข้ไทฟอยด์ชนิดกิน เป็นต้น
* กรณีต้องฉีดวัคซีนหลายเข็มในวันเดียว ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบด้วยว่าต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง เพราะวัคซีนอาจปนกัน และอาจเสี่ยงต่อผลข้างเคียงของวัคซีนมากขึ้นได้
* หากเป็นไข้ มีไข้สูง ไม่ควรฉีดวัคซีนจนกว่าจะหายเป็นปกติ
- เป็นไข้ เป็นหวัด ฉีดวัคซีนได้ไหม อันตรายหรือเปล่า
และแม้จะไม่เกิดอาการแพ้ แต่หลังฉีดวัคซีนอาจมีอาการมีไข้ ปวดแผล คันแผล ปวดกล้ามเนื้อบริเวณที่ฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีนที่มักจะไม่รุนแรงและสามารถปฐมพยาบาลได้ด้วยการกินยาลดไข้เมื่อมีไข้ ประคบเย็นเมื่อปวด บวม แดง หรือล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำต้มสุกหากมีตุ่มลักษณะคล้ายหนอง โดยอาการเหล่านี้ก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน
* หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 26 มีนาคม 2564
ขอบคุณข้อมูลจาก
โรงพยาบาลธนบุรี
โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
สถาบันวัคซีนแห่งชาติ
the asianparent thailand