เมื่ออายุมากขึ้นจะเตี้ยลงทุกคนไหม หรือความเตี้ยลงจะเป็นสัญญาณโรคกระดูกพรุน ข้อเข่าเสื่อมหรือเปล่า ลองเช็กดูว่า แก่แล้วทำไมเตี้ยลง
หลายคนสงสัยว่าความสูงของเราจะลดลงได้ไหมเมื่อเราอายุมากขึ้น เพราะเมื่อก่อนเคยวัดส่วนสูงแล้วมันมากกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้ เอาล่ะค่ะ มาลองไขข้อข้องใจ อะไรที่เป็นสาเหตุให้เตี้ยลงได้บ้าง แล้วจะมีวิธีป้องกันความสูงลดลงเมื่อเราอายุมากขึ้นหรือเปล่า
เตี้ยลง เพราะอะไร
โดยปกติแล้วร่างกายจะหยุดการเจริญเติบโตทางด้านส่วนสูงที่อายุประมาณ 20 ปี ซึ่งเพศหญิงจะหยุดสูงเร็วกว่าเพศชาย และเมื่ออายุย่างเข้าเลข 4 ความสูงของเราจะค่อย ๆ ลดลงประมาณ 1 เซนติเมตร หรือประมาณครึ่งนิ้วทุก ๆ 10 ปี ซึ่งความสูงอายุก็มักจะมาพร้อมกับสภาพร่างกายที่เสื่อมลงไปด้วย หลาย ๆ อวัยวะของเราจะทำงานลดลง บางฮอร์โมนก็หยุดหลั่งไปซะเฉย ๆ เช่นเดียวกันกับความสูง ที่เมื่อก่อนเคยมีมากกว่านี้ แต่เพราะสาเหตุด้านล่างนี้แหละที่อาจทำให้เตี้ยลงได้
ความเสื่อมของหมอนรองกระดูก
เมื่ออายุมากขึ้นหมอนรองกระดูกสันหลังอาจมีภาวะยุบ ทำให้ความยาวของกระดูกสันหลังลดลง ความสูงเลยลดลงตามไปด้วย
การอยู่ในอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม
ไม่ว่าจะนั่งหลังค่อม นั่งไขว่ห้าง นั่งกอดอก หรือการยืนโดยลงน้ำหนักที่ขาข้างใดข้างหนึ่งจนติดเป็นนิสัย พฤติกรรมเหล่านี้อาจทำให้กระดูกมีการคด งอ ผิดรูป ทำให้ความสูงลดลงไปได้
กระดูกพรุน
เกิดจากการที่ร่างกายเกิดความไม่สมดุลในการสร้างและทำลายกระดูก ส่งผลให้มีการทำลายมวลกระดูกมากขึ้น แต่สร้างมวลกระดูกน้อยลง จนกลายเป็นโรคกระดูกพรุน กระดูกจึงมีขนาดเล็กและสั้นลง ส่วนสูงก็ลดลงในที่สุด โดยเฉพาะคนที่มีส่วนสูงลดลงมากกว่า 4 เซนติเมตร ต้องรีบเช็กมวลกระดูกกับแพทย์โดยด่วน
ข้อเข่าเสื่อม
ภาวะข้อเข่าเสื่อมอาจเกิดจากการเสื่อมของร่างกาย การมีน้ำหนักตัวมากเกินไป ทำให้เข่าต้องรับแรงกดจนเสื่อมสภาพเร็วขึ้น หรือปัจจัยเสี่ยงอย่างการใช้ข้อเข่าที่ไม่เหมาะสม อุบัติเหตุ การติดเชื้อต่าง ๆ ก็อาจทำให้เข่าเสื่อมสภาพในด้านโครงสร้าง เกิดการทรุด คด งอ ผิดรูป จนทำให้เตี้ยลงได้
- รู้จักโรคข้อเข่าเสื่อม และวิธีออกกำลังที่เหมาะสม
วัยหมดประจำเดือน
ผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลงหรือหายไป ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้มีผลกับการสร้างและลดมวลกระดูกในร่างกาย ทำให้ผู้หญิงวัยนี้เสี่ยงโรคกระดูกพรุนมากขึ้น และจะสังเกตได้ว่าความสูงลดลงจากที่เคยเป็นด้วย
การใช้ยาสเตียรอยด์ติดต่อกันนาน ๆ
ผู้ป่วยที่ต้องรักษาด้วยยาสเตียรอยด์ติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนเมื่อสูงอายุได้
พฤติกรรมดื่มสุราและสูบบุหรี่
นอกจากทำลายสุขภาพด้านอื่น ๆ แล้ว การสูบบุหรี่หรือดื่มสุราเป็นประจำจะเพิ่มความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนทำให้ความสูงลดลงได้
วิธีชะลอให้ส่วนสูงลดลงช้าหน่อย
แม้ว่าเราจะปฏิเสธความเสื่อมของร่างกายไม่ได้ แต่เราสามารถชะลอให้ร่างกายเสื่อมช้าลงได้ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
1. รับประทานอาหารเสริมกระดูก
แคลเซียมเป็นสารอาหารสำคัญสำหรับกระดูก โดยคนอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับแคลเซียม 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน และควรได้รับวิตามินดีวันละประมาณ 600 IU เพื่อช่วยในการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกด้วย โดยอาหารแคลเซียมสูงก็ได้แก่ ปลาเล็กปลาน้อย ผักใบเขียว นม กระดูกอ่อน ถั่ว เต้าหู้ เป็นต้น ส่วนวิตามินดีสามารถรับได้จากแสงแดด ดังนั้น ควรพยายามสัมผัสแสงแดดช่วงเช้าให้ได้ทุกวัน อย่างน้อยวันละ 15 นาที
- 12 อาหารอุดมแคลเซียม ไม่ต้องง้อนมเลยก็ได้
- 12 ผักแคลเซียมสูง ทางเลือกเสริมกระดูกแข็งแรง
2. ออกกำลังกายเป็นประจำ
ควรหมั่นออกกำลังกายตั้งแต่อายุยังน้อย และหากไม่มีปัญหาเรื่องกระดูก ข้อเข่า หรือน้ำหนักตัว แนะนำให้ออกกำลังกายแบบลงน้ำหนัก (Weight-bearing exercises) หรือการออกกำลังกายแบบต้านแรงโน้มถ่วง เช่น การเดิน วิ่งเหยาะ ๆ รำมวยจีน เต้นรำ วิดพื้น หรือกระโดดเชือก ซึ่งการออกกำลังกายแบบนี้จะช่วยกระตุ้นการสร้างมวลกระดูก ป้องกันการสูญเสียกระดูก ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น และยังทำให้กล้ามเนื้อและระบบเลือดทำงานได้ดีขึ้นด้วย แต่หากใครมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่ไม่สามารถออกกำลังกายแนวนี้ได้ ลองปรึกษาแพทย์ว่าควรเลือกออกกำลังกายแบบไหนถึงจะเหมาะ
- 15 วิธีออกกำลังกายเพิ่มส่วนสูง + ช่วยลดน้ำหนัก
3. พยายามอยู่ในท่าที่เหมาะสม
อย่างที่รู้กันว่าการนั่งไขว่ห้าง การนั่งหลังค่อม อาจทำให้กระดูกคด งอ โค้ง จนเตี้ยลงได้ ดังนั้นพยายามหลีกเลี่ยงอิริยาบถที่ไม่ดีต่อกระดูกจะดีกว่า
4. หลีกเลี่ยงการสูบบุรี่ และดื่มแอลกอฮอล์
ตัวบั่นทอนมวลกระดูกอย่างเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ ถ้าเป็นไปได้ควรเลี่ยงให้ไกล
5. หลีกเลี่ยงการใช้ยาสเตียรอยด์
แม้ยาสเตียรอยด์จะรักษาอาการป่วยบางอย่างได้ค่อนข้างดี แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาประเภทนี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะส่งผลเสียต่อมวลกระดูกของร่างกายได้
ถ้าไม่อยากให้ความสูงของตัวเราลดลง ก็พยายามดูแลสุขภาพร่างกายให้ดี นอกจากนี้ควรหมั่นเช็กความผิดปกติของตัวเองด้วย อย่างถ้าพบว่าความสูงของตัวเองลดลงเกิน 4 เซนติเมตร แบบนี้ต้องหาเวลาไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพแล้วนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
โรงพยาบาลลานนา, รามา แชนแนล, หมอชาวบ้าน, โรงพยาบาลพญาไท, huffpost
เตี้ยลง เพราะอะไร
โดยปกติแล้วร่างกายจะหยุดการเจริญเติบโตทางด้านส่วนสูงที่อายุประมาณ 20 ปี ซึ่งเพศหญิงจะหยุดสูงเร็วกว่าเพศชาย และเมื่ออายุย่างเข้าเลข 4 ความสูงของเราจะค่อย ๆ ลดลงประมาณ 1 เซนติเมตร หรือประมาณครึ่งนิ้วทุก ๆ 10 ปี ซึ่งความสูงอายุก็มักจะมาพร้อมกับสภาพร่างกายที่เสื่อมลงไปด้วย หลาย ๆ อวัยวะของเราจะทำงานลดลง บางฮอร์โมนก็หยุดหลั่งไปซะเฉย ๆ เช่นเดียวกันกับความสูง ที่เมื่อก่อนเคยมีมากกว่านี้ แต่เพราะสาเหตุด้านล่างนี้แหละที่อาจทำให้เตี้ยลงได้
ความเสื่อมของหมอนรองกระดูก
เมื่ออายุมากขึ้นหมอนรองกระดูกสันหลังอาจมีภาวะยุบ ทำให้ความยาวของกระดูกสันหลังลดลง ความสูงเลยลดลงตามไปด้วย
การอยู่ในอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม
ไม่ว่าจะนั่งหลังค่อม นั่งไขว่ห้าง นั่งกอดอก หรือการยืนโดยลงน้ำหนักที่ขาข้างใดข้างหนึ่งจนติดเป็นนิสัย พฤติกรรมเหล่านี้อาจทำให้กระดูกมีการคด งอ ผิดรูป ทำให้ความสูงลดลงไปได้
กระดูกพรุน
เกิดจากการที่ร่างกายเกิดความไม่สมดุลในการสร้างและทำลายกระดูก ส่งผลให้มีการทำลายมวลกระดูกมากขึ้น แต่สร้างมวลกระดูกน้อยลง จนกลายเป็นโรคกระดูกพรุน กระดูกจึงมีขนาดเล็กและสั้นลง ส่วนสูงก็ลดลงในที่สุด โดยเฉพาะคนที่มีส่วนสูงลดลงมากกว่า 4 เซนติเมตร ต้องรีบเช็กมวลกระดูกกับแพทย์โดยด่วน
ข้อเข่าเสื่อม
ภาวะข้อเข่าเสื่อมอาจเกิดจากการเสื่อมของร่างกาย การมีน้ำหนักตัวมากเกินไป ทำให้เข่าต้องรับแรงกดจนเสื่อมสภาพเร็วขึ้น หรือปัจจัยเสี่ยงอย่างการใช้ข้อเข่าที่ไม่เหมาะสม อุบัติเหตุ การติดเชื้อต่าง ๆ ก็อาจทำให้เข่าเสื่อมสภาพในด้านโครงสร้าง เกิดการทรุด คด งอ ผิดรูป จนทำให้เตี้ยลงได้
- รู้จักโรคข้อเข่าเสื่อม และวิธีออกกำลังที่เหมาะสม
วัยหมดประจำเดือน
ผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลงหรือหายไป ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้มีผลกับการสร้างและลดมวลกระดูกในร่างกาย ทำให้ผู้หญิงวัยนี้เสี่ยงโรคกระดูกพรุนมากขึ้น และจะสังเกตได้ว่าความสูงลดลงจากที่เคยเป็นด้วย
การใช้ยาสเตียรอยด์ติดต่อกันนาน ๆ
ผู้ป่วยที่ต้องรักษาด้วยยาสเตียรอยด์ติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนเมื่อสูงอายุได้
พฤติกรรมดื่มสุราและสูบบุหรี่
นอกจากทำลายสุขภาพด้านอื่น ๆ แล้ว การสูบบุหรี่หรือดื่มสุราเป็นประจำจะเพิ่มความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนทำให้ความสูงลดลงได้
1. รับประทานอาหารเสริมกระดูก
แคลเซียมเป็นสารอาหารสำคัญสำหรับกระดูก โดยคนอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับแคลเซียม 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน และควรได้รับวิตามินดีวันละประมาณ 600 IU เพื่อช่วยในการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกด้วย โดยอาหารแคลเซียมสูงก็ได้แก่ ปลาเล็กปลาน้อย ผักใบเขียว นม กระดูกอ่อน ถั่ว เต้าหู้ เป็นต้น ส่วนวิตามินดีสามารถรับได้จากแสงแดด ดังนั้น ควรพยายามสัมผัสแสงแดดช่วงเช้าให้ได้ทุกวัน อย่างน้อยวันละ 15 นาที
- 12 อาหารอุดมแคลเซียม ไม่ต้องง้อนมเลยก็ได้
- 12 ผักแคลเซียมสูง ทางเลือกเสริมกระดูกแข็งแรง
2. ออกกำลังกายเป็นประจำ
ควรหมั่นออกกำลังกายตั้งแต่อายุยังน้อย และหากไม่มีปัญหาเรื่องกระดูก ข้อเข่า หรือน้ำหนักตัว แนะนำให้ออกกำลังกายแบบลงน้ำหนัก (Weight-bearing exercises) หรือการออกกำลังกายแบบต้านแรงโน้มถ่วง เช่น การเดิน วิ่งเหยาะ ๆ รำมวยจีน เต้นรำ วิดพื้น หรือกระโดดเชือก ซึ่งการออกกำลังกายแบบนี้จะช่วยกระตุ้นการสร้างมวลกระดูก ป้องกันการสูญเสียกระดูก ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น และยังทำให้กล้ามเนื้อและระบบเลือดทำงานได้ดีขึ้นด้วย แต่หากใครมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่ไม่สามารถออกกำลังกายแนวนี้ได้ ลองปรึกษาแพทย์ว่าควรเลือกออกกำลังกายแบบไหนถึงจะเหมาะ
- 15 วิธีออกกำลังกายเพิ่มส่วนสูง + ช่วยลดน้ำหนัก
3. พยายามอยู่ในท่าที่เหมาะสม
อย่างที่รู้กันว่าการนั่งไขว่ห้าง การนั่งหลังค่อม อาจทำให้กระดูกคด งอ โค้ง จนเตี้ยลงได้ ดังนั้นพยายามหลีกเลี่ยงอิริยาบถที่ไม่ดีต่อกระดูกจะดีกว่า
4. หลีกเลี่ยงการสูบบุรี่ และดื่มแอลกอฮอล์
ตัวบั่นทอนมวลกระดูกอย่างเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ ถ้าเป็นไปได้ควรเลี่ยงให้ไกล
5. หลีกเลี่ยงการใช้ยาสเตียรอยด์
แม้ยาสเตียรอยด์จะรักษาอาการป่วยบางอย่างได้ค่อนข้างดี แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาประเภทนี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะส่งผลเสียต่อมวลกระดูกของร่างกายได้
ถ้าไม่อยากให้ความสูงของตัวเราลดลง ก็พยายามดูแลสุขภาพร่างกายให้ดี นอกจากนี้ควรหมั่นเช็กความผิดปกติของตัวเองด้วย อย่างถ้าพบว่าความสูงของตัวเองลดลงเกิน 4 เซนติเมตร แบบนี้ต้องหาเวลาไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพแล้วนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
โรงพยาบาลลานนา, รามา แชนแนล, หมอชาวบ้าน, โรงพยาบาลพญาไท, huffpost