กรดไหลย้อน เกิดจากอะไร อาการเป็นอย่างไร
วิธีแก้อาการกรดไหลย้อน รักษาอย่างไรได้บ้าง
วิธีรักษากรดไหลย้อน หรือการดูแลตัวเองเมื่อเป็นกรดไหลย้อน สามารถทำเองได้ง่าย ๆ ดังนี้
- ไม่กินแล้วนอนทันที แต่ถ้าจะนอนควรรออย่างน้อย 2 ชั่วโมง หลังรับประทานอาหาร
- หลังรับประทานอาหารเสร็จ ควรเดินเล่น เดินย่อยอย่างน้อย 20 นาที
- หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีกรดแก๊สมาก เช่น น้ำอัดลม กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือผักประเภทหัวหอม กระเทียม สะระแหน่ ผลไม้รสเปรี้ยว ซอสมะเขือเทศ น้ำมะเขือเทศ เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงอาหารทอด ๆ อาหารมัน ๆ เช่น ของทอดต่าง ๆ วิปครีม เบเกอรี่ ช็อกโกแลต อาหารฟาสต์ฟู้ด เป็นต้น
- งดสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่จะทำให้เกิดกรดมากได้เช่นกัน
- หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้ารัดแน่น โดยเฉพาะบริเวณช่วงท้อง เพราะการใส่เสื้อผ้ารัดติ้ว จะกระตุ้นให้กระเพาะหลั่งกรดออกมามากขึ้นได้
- ลดความอ้วน เพราะการมีน้ำหนักเกินจะไปทำให้มีความดันในช่องท้องสูง เพิ่มความเสี่ยงกรดไหลย้อนได้มาก
- หมั่นออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายจะช่วยให้อวัยวะและระบบต่าง ๆ ทำงานได้ตามปกติ อีกทั้งยังช่วยขับทั้งไขมันและกรดแก๊สส่วนเกินได้ด้วย
- หลีกเลี่ยงความเครียด
- หลีกเลี่ยงการนอนตะแคงขวา เพราะท่านี้จะทำให้กระเพาะอยู่เหนือหลอดอาหาร ซึ่งอาจทำให้อาการกำเริบได้ แต่ควรนอนยกหัวให้สูงประมาณ 6-10 นิ้ว โดยอาจนอนบนหมอน 2 ใบ เพื่อไม่ให้กรดไหลเอ่อขึ้นมาที่คอ
- ใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์ขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ก็พอจะช่วยรักษากรดไหลย้อนได้ ซึ่งมีให้เลือกอยู่หลายชนิดด้วยกัน
สมุนไพรบรรเทากรดไหลย้อน มีอะไรบ้าง
1. ลูกยอ
ลูกยอเป็นสมุนไพรรักษากรดไหลย้อนตามตำรับยาโบราณเลยทีเดียวค่ะ โดยสรรพคุณของเขาคือช่วยเพิ่มการบีบตัวของหลอดอาหาร ทำให้หูรูดหลอดอาหารแข็งแรงขึ้นขึ้น ส่งผลให้อาหารเคลื่อนจากกระเพาะไปสู่ลำไส้เล็กได้ดีขึ้น อีกทั้งลูกยอยังช่วยป้องกันหลอดอาหารอักเสบจากกรดไหลย้อน ช่วยขับลม ทำให้อาหารไม่ตกค้าง ลดการเกิดลมในกระเพาะอาหาร และลดการเกิดแรงดันที่ทำให้กรดไหลย้อนมาที่หลอดอาหาร นอกจากนี้สารในลูกยอยังช่วยเร่งการสมานแผลของกระเพาะอาหาร ทั้งยังช่วยลดการอักเสบเฉียบพลันของกระเพาะอาหารเนื่องจากฤทธิ์ของแอลกอฮอล์อีกด้วย
โดยเบื้องต้น ทางสมุนไพรอภัยภูเบศร แนะนำให้รับประทานสมุนไพรลูกยอ 2 แคปซูล ก่อนอาหาร 3 มื้อ ร่วมกับขมิ้นชัน 2 แคปซูล หลังอาหาร 3 มื้อ เพื่อช่วยเสริมฤทธิ์ซึ่งกันและกัน
ข้อควรระวัง : ผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคไต หรือผู้ที่ต้องควบคุมปริมาณโพแทสเซียม รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ ไม่ควรใช้สมุนไพรลูกยอ
2. ขิง
ข้อควรระวัง :
- หากเพิ่งเริ่มดื่มน้ำขิง แนะนำให้คั้นในปริมาณน้อย ๆ ก่อน อย่าเพิ่งใช้ปริมาณที่เข้มข้นเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอาการร้อนในหรืออักเสบ อีกทั้งอาจทำให้มีฤทธิ์รุนแรงเกินไปจนกระทบกับสุขภาพได้
- ขิงมีฤทธิ์ร้อน จึงไม่เหมาะกับคนที่มีความร้อนภายในร่างกายอยู่แล้ว เช่น มีอาการตาแดง ร้อนใน ตัวร้อน เหงื่อออกมาก เจ็บคอ มีเสมหะออกเหลือง เหนียวข้น หากรับประทานขิงอาจมีอาการทรุดลง
- ผู้ที่มีอาการเลือดออกผิดปกติ หรือกำลังใช้ยาละลายลิ่มเลือด รวมทั้งยาต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือด เช่น แอสไพริน ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานขิง เพราะขิงมีสรรพคุณต้านการแข็งตัวของเลือด
- หญิงตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานขิงเพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ
- ผู้ป่วยนิ่วในถุงน้ำดีไม่ควรรับประทานขิง เพราะขิงมีฤทธิ์ขับน้ำดี
- ขิงอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหารควรระมัดระวังการรับประทานทานขิง
3. กล้วยน้ำว้าดิบ
กล้วยดิบ มีสารสำคัญซึ่งมีผลช่วยบรรเทาอาการกรดไหลย้อนที่ทำให้ปวดท้อง แสบอกจุกเสียดลิ้นปี่ โดยสารนั้น ได้แก่ สารแทนนินที่มีฤทธิ์ฝาดสมาน บรรเทาอาการกรดไหลย้อน แก้ท้องเสีย, สารซิโตอินโดไซส์ (Sitoindoside) และสารลิวโคไซยานิดินส์ (Leucocyanidins) ที่มีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
โดยวิธีกินตามข้อมูลในงานสาธารณสุขมูลฐานเพื่อบรรเทาอาการท้องเสีย อาการปวดท้องจุกเสียด คือ ให้นำกล้วยน้ำว้าดิบหั่นบาง ๆ ตากแดดให้แห้ง และบดให้ละเอียดเป็นแป้ง ตักปริมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ แล้วรับประทาน
ข้อควรระวัง : สารซิโตอินโดไซส์ (Sitoindoside) เป็นสารออกฤทธิ์ในกลุ่มสเตียรอยด์ การใช้กล้วยดิบในระยะยาวจึงต้องระมัดระวังเรื่องผลข้างเคียง เพราะยังไม่มีการศึกษาพิษ
4. ว่านหางจระเข้
ข้อควรระวัง :
- ไม่ควรดื่มน้ำว่านหางจระเข้มากเกินไป (ไม่เกิน 12 ช้อนโต๊ะ) เพราะอาจจะทำให้ท้องเสียได้ เนื่องจากการได้รับสารอะโลอิน (aloin) ที่มากเกินกว่าร่างกายจะรับไหวนั่นเอง ซึ่งสารชนิดนี้เป็นหนึ่งในสารที่อยู่ในยาถ่าย และหากใช้ติดต่อกันในระยะยาวก็อาจจะทำให้ร่างกายสูญเสียแร่ธาตุบางชนิด โดยเฉพาะโพแทสเซียมได้ค่ะ
- ผู้ที่มีอาการแพ้หัวหอม กระเทียม หรือเกสรทิวลิป อาจมีอาการแพ้ว่านหางจระเข้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงไว้ก่อนดีกว่า
- ไม่ควรดื่มน้ำว่านหางจระเข้ขณะที่เป็นประจำเดือน หรือขณะที่ตั้งครรภ์
- ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำว่านหางจระเข้หากมีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น ริดสีดวงทวาร หรือมีการเสื่อมสภาพของตับและน้ำดี
5. คาโมมายล์
การศึกษาในปี 2006 พบว่า สารสกัดจากคาโมมายล์สามารถลดกรดในกระเพาะอาหารได้พอ ๆ กับยาลดกรดที่วางจำหน่ายทั่วไป และยังช่วยป้องกันการเกิดภาวะกรดเกินในกระเพาะอาหารได้ดีกว่ายาลดกรดอีกต่างหาก
ทว่าการใช้คาโมมายล์ช่วยบรรเทาอาการกรดไหลย้อนยังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป แต่สิ่งที่คาโมมายล์ทำได้แน่ ๆ ก็คือช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ซึ่งการอยู่ในจุดที่สบาย ๆ ไม่เครียดก็จะช่วยลดปัจจัยกระตุ้นการเกิดกรดเกินในกระเพาะอาหารได้ด้วย ดังนั้นหากจะลองดื่มชาคาโมมายล์เพื่อบรรเทาอาการกรดไหลย้อนดูบ้างก็ตามสบายเลย
ข้อควรระวัง :
- ผู้ที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาวาร์ฟาริน (warfarin) ไม่ควรดื่มชาดอกคาโมมายล์ เพราะอาจไปเสริมฤทธิ์ของยาได้
- ระมัดระวังการแพ้คาร์โมมายล์ โดยเฉพาะคนที่มีประวัติแพ้ดอกเกสร แพ้พืชต่าง ๆ อยู่แล้ว
- การใช้คาร์โมมายล์ในระยะยาว ๆ อาจต้องระวังผลข้างเคียง เพราะยังไม่มีการศึกษาความเป็นพิษที่แน่ชัด